การปฏิบัติตามกฎหมายจราจรมีอะไรบ้าง

ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของกฎหมายก็คือ  กฎหมายต้องเป็นคำสั่ง  หรือข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป  (Continuity)  หมายความว่ากฎหมายเมื่อประกาศมีผลบังคับใช้แล้วก็ใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก  โดยกระบวนการที่ถูกต้องตามขั้นตอนในภายหลัง  เพราะตราบใดที่ยังไม่มีการยกเลิกก็ต้องถือว่ากฎหมายนั้นยังมีอยู่   จะหยิบยกขึ้นมาใช้เมื่อใดก็ยังคงมีผลบังคับใช้ได้ดังสุภาษิตกฎหมายที่กล่าวว่า  “กฎหมายนอนหลับบางคราวแต่ไม่เคยตาย” (The Laws Sometime Sleep, Never die)   การบังคับใช้ กฏหมายการจราจรบนท้องถนน จะมีการปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลง   เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการจราจรอยู่ตลอดเวลา   จึงจำเป็นต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

การปฏิบัติตามกฎหมายจราจรมีอะไรบ้าง

การกระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการจราจรเป็นการกระทำผิดที่มีโทษทางอาญาประเภท  Mala Prohibita    ซึ่งหมายถึงการกระทำผิดที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่าเป็นความผิด   กล่าวคือการกระทำนั้น ๆ  ไม่ได้เป็นความชั่วหรืออาชญากรรมด้วยตัวของมันเองแต่อย่างใด  เช่น  การที่ผู้ขับขี่รถยนต์จะเลี้ยวซ้าย หรือเลี้ยวขวาก็ย่อมสามารถกระทำได้โดยอิสระหากขับขี่ในบ้านของตนเอง   แต่หากขับขี่ไปบนท้องถนนแล้วฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรบังคับห้ามเลี้ยวซ้ายเข้า  ก็จะเป็นความผิดทันที  ทั้ง ๆ  ที่การเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาก็ไม่ได้เป็นการชั่วหรือเป็นอาชญากรรมแต่อย่างใด

กฎจราจรมีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนและแม้กระทั่งคนเดินเท้าก็ต้องปฎิบัติตามกฎจราจรเช่นเดียวกัน กฎจราจรของคนเดินเท้าก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เช่น การเดิมข้ามถนนจะต้องเดินข้ามตรงทางม้าลายหรือสะพานลอยเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้คนเท้าเองและผู้ขับขี่รถยนต์ เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับคนเดินเท้า คือการข้ามถนนไม่ตรงจุดที่กำหนดให้คือทางม้าลายหรือสะพานลอยนั้นเอง

กฎจราจรที่ควรรู้

1.

เขตปลอดภัย หมายความว่า
          พื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงให้เห็นได้ชัดเจนทุกเวลา สำหรับให้คนเดินเท้าที่ข้ามทางหยุดรอ หรือให้คนที่ขึ้นหรือลงรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป เช่น บริเวณที่ทาสีขาวกลางถนน หรือที่เรียกว่าเกาะสมมุติ เป็นต้น

2.

ที่คับขัน หมายความว่า
          ทางที่มีการจราจรพลุกพล่านหรือมีสิ่งกีดขวางหรือในที่ซึ่งมองเห็นหรือทราบได้ล่วงหน้า ว่าอาจเกิดอันตราย หรือความเสียหายแก่รถหรือคนได้ง่าย

3.

เมื่อผู้ขบขี่พบสัญญาณไฟกระพริบสีแดง จะต้องปฏิบัติอย่างไร
          ให้ผู้ขับขี่หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด (เส้นที่ขีดขวางถนน) เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจร แล้วให้ขับรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง

4.

เมื่อผู้ขบขี่พบสัญญาณไฟกระพริบสีเหลือง จะต้องปฏิบัติอย่างไร
          ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วของรถลงและขับผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง

5.

สัญญาณจราจรไฟสีแดงที่ทำเป็นรูปกากบาทเฉียงอยู่เหนือช่องทางเดินรถ หมายถึง
          ห้ามผู้ขับขี่ขับรถในช่องทางเดินรถนั้นได้

6.

สัญญาณจราจรไฟสีเขียวที่ทำเป็นรูปกากบาทเฉียงอยู่เหนือช่องทางเดินรถ หมายถึง
          ห้ามผู้ขับขี่ขับรถในช่องทางเดินรถนั้นได้

7.

เครื่องหมาย

การปฏิบัติตามกฎหมายจราจรมีอะไรบ้าง

หมายความว่า
          เครื่องหมาย "หยุด" หมายความว่า รถทุกชนิดต้องหยุดให้รถและคนเดินเท้าในทางขวางหน้าผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจรที่บริเวณทางแยกนั้นแล้วเคลื่อนรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง

8.

เครื่องหมาย

การปฏิบัติตามกฎหมายจราจรมีอะไรบ้าง

หมายความว่า
          เครื่องหมาย "ให้ทาง" หมายความว่า รถทุกชนิดต้องระมัดระวังและให้ทางแก่รถและคนเดินเท้าในทางขวาข้างหน้าผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรที่บริเวณทางแยกนั้นแล้ว จึงให้เคลื่อนรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง

9.

เครื่องหมาย

การปฏิบัติตามกฎหมายจราจรมีอะไรบ้าง

หมายความว่า
          เครื่องหมาย "ให้ชิดซ้าย" หมายความว่า ให้ขับรถไปทางด้านซ้ายของเครื่องหมาย

10.

เครื่องหมาย

การปฏิบัติตามกฎหมายจราจรมีอะไรบ้าง

หมายความว่า
          เครื่องหมาย "วงเวียน" หมายความว่า ให้รถทุกชนิดเดินวนทางซ้ายของวงเวียน และรถที่เริ่มจะเข้าสู่ทางร่วมบริเวณ วงเวียนต้องหยุดให้สิทธิแก่รถที่แล่นอยู่ในรอบวงเวียนผ่านไปก่อน ห้ามขับรถหรือตัดหน้ารถที่อยู่ในเขตทางรอบบริเวณวงเวียน

11.

เครื่องหมาย

การปฏิบัติตามกฎหมายจราจรมีอะไรบ้าง

หมายความว่า
          เครื่องหมาย "ห้ามกลับรถ" หมายความว่า ห้ามมิให้กลับรถไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ ในเขตทางที่ติดตั้งเครื่องหมาย

12.

เครื่องหมาย

การปฏิบัติตามกฎหมายจราจรมีอะไรบ้าง

หมายความว่า
          เครื่องหมาย "ห้ามเลี้ยวซ้าย" หมายความว่า ห้ามมิให้เลี้ยวรถไปทางซ้าย

13.

เครื่องหมาย

การปฏิบัติตามกฎหมายจราจรมีอะไรบ้าง

หมายความว่า
          เครื่องหมาย "ห้ามจอดรถ" หมายความว่า ห้ามจอดรถทุกชนิดในเขตทางที่ติดตั้งเครื่องหมาย

14.

เครื่องหมาย

การปฏิบัติตามกฎหมายจราจรมีอะไรบ้าง

หมายความว่า
          เครื่องหมาย "ทางลื่น" หมายความว่า ทางข้างหน้าลื่นอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ให้ขับรถให้ช้าลงให้มาก และระมัดระวังการลื่นไถล อย่าใช้ห้ามล้อโดยแรงและทันที การหยุดรถ การเบารถ หรือเลี้ยวรถ ในทางลื่นต้องกระทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ

15.

เครื่องหมาย

การปฏิบัติตามกฎหมายจราจรมีอะไรบ้าง

หมายความว่า
          เครื่องหมาย "สัญญาณไฟจราจร" หมายความว่า ทางข้างหน้ามีสัญญาณไฟจราจรติดตั้งอยู่ ให้ผู้ขับขี่รถเตรียมพร้อมที่จะหยุดรถได้ทันที

16.

เครื่องหมาย

การปฏิบัติตามกฎหมายจราจรมีอะไรบ้าง

หมายความว่า
          เครื่องหมาย "ทางโค้งซ้าย" หมายความว่า ทางข้างหน้าโค้งไปทางซ้าย ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควร และเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

17.

เครื่องหมาย

การปฏิบัติตามกฎหมายจราจรมีอะไรบ้าง

หมายความว่า
          เครื่องหมาย "ทางรถไฟตัดผ่านและไม่มีเครื่องกั้นทาง" หมายความว่า ให้ขับรถให้ช้าลงให้มากและสังเกตดูรถไฟทั้งขวาและทางซ้าย ถ้ามีรถไฟกำลังจะผ่านมาให้หยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟอย่างน้อย 5 เมตร แล้วรอคอยจนกว่ารถไฟนั้นผ่านพ้นไป และปลอดภัยแล้วจึงเคลื่อนรถต่อไปได้ ห้ามมิให้ขับรถตัดหน้ารถไฟในระยะที่อาจจะเกิดอันตรายได้เป็นอันขาด

18.

รถลักษณะใดที่ห้ามนำมาใช้ในทาง
          1. รถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง มีส่วนควบอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด หรืออาจเกิดอันตราย หรือเสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้รถ คนโดยสารหรือประชาชน เช่น รถที่มีโคมไฟหน้าหรือโคมท้ายชำรุด รถที่มีเครื่องห้ามล้อชำรุด รถที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล เอ รถที่มีควันดำเกินเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด รถที่ไม่มีกระจกด้านหน้า เป็นต้น
          2. รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน (ไม่ว่าจะ 1 หรือ 2 แผ่นป้าย) ไม่ติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี หรือเครื่องหมายอื่น ๆ ที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรถกำหนด
          3. รถที่มีเสียงอื้ออึงหรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ
          4. รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางที่ไม่ใช่ยาง ยกเว้น รถที่ใช้ในราชการสงคราม หรือรถที่ใช้ในราชการตำรวจ
          5. รถที่มีเสียงแตรได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
          6. รถที่ผู้ขับขี่ยอมให้ผู้อื่นนั่งที่นั่งแถวหน้าเกินกว่า 2 คน (แถวด้านหน้า ห้ามนั่งเกินกว่า 2 คน โดยรวมคนขับด้วย)
          7. รถที่ไม่ได้เสียภาษีประจำปี
          8. รถที่ใช้แผ่นป้ายที่ทำขึ้นเอง

19.

ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าเป็นระยะทางเท่าใด
          ห่างพอสมควรในระยะที่สามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัย

20.

ในขณะขับรถผู้ขับขี่ต้องมีเอกสารชนิดใด
          1. ใบอนุญาตขับรถ
          2. สำเนาภาพถ่ายคู่มือจดทะเบียนรถ

21.

ในการขับรถสวนทางกัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
          1. ให้ผู้ขับขี่รถชิดทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และให้ถือกึ่งกลางของทางเดินรถ หรือเส้นหรือแนวที่แบ่งทางเดินรถเป็นหลัก
          2. ทางเดินรถที่แคบ ให้ผู้ขับขี่แต่ละฝ่ายลดความเร็วของรถลง เพื่อให้สวนทางกันได้โดยปลอดภัย
          3. ทางเดินรถที่แคบซึ่งไม่อาจขับรถสวนทางกันได้โดยปลอดภัย ให้ผู้ขับขี่รถคันที่ใหญ่กว่าหยุดรถชิดขอบทางด้านซ้าย เพื่อให้ผู้ขับรถคันที่เล็กกว่าขับผ่านไปก่อน
          4. กรณีที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วหรือหยุดรถให้รถคันที่สวนทางขับผ่านมาก่อน

22.

การขับรถในกรณีที่ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
          ขับรถหลีกสิ่งกีดขวางล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถทางด้านขวาได้ และต้องไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถที่สวนทางมา หากไม่สามารถขับผ่านไปได้ต้องหยุดรอให้รถที่ขับสวนทางรถขับผ่านมาก่อน

ความรู้เกี่ยวกับรถที่นำมาใช้

             1. ห้ามนำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงมาใช้ในทางเดินรถ เพราะอาจเกิดอันตรายหรืออาจทำให้ผู้ใช้และคนรอบข้างเสียสุขภาพ เช่น รถตัวถังผุ ยางล้อรถไม่มีดอกยาง มีควันดำ ฯลฯ

             2. รถที่นำมาใช้ต้องมี โคมไฟหน้า-หลัง-ไฟเลี้ยว-ไฟจอด-ไฟเบรก-ไฟฉุกเฉิน-แตร-เบรกมือที่ใช้การได้-ที่ปัดน้ำฝน ครบถูกต้องตามกฎหมาย และต้องติดแผ่นป้ายทะเบียนหน้า-หลัง และติดป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีด้วย

ความรู้ในเรื่องอุบัติเหตุจราจรและการป้องกัน

อุบัติเหตุเป็นเรื่องที่เราป้องกันได้ โดยการแก้ไขจากสาเหตุที่ทำให้เกิดนั้นสำหรับการใช้รถใช้ถนนแล้ว สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะตลอดจนสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม ได้แก่

        1. ผู้ขับขี่ขาดความรอบรู้ในการใช้รถใช้ถนน

        2. ประชาชนผู้เดินถนนขาดความรู้เกี่ยวกับการเดินถนน ตลอดจนการโดยสามารถที่ปลอดภัย

        3. ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และขับรถอยู่บนความประมาทขาดความระมัดระวัง หรือขับรถในขณะมึนเมา ซึ่งอุบัติเหตุบนท้องถนนในปัจจุบันที่กำลังเพิ่มปริมาณขึ้นเกิดจากสาเหตุนี้โดยหลักใหญ่ ดังจะเห็นได้ว่ามีโครงการรณรงค์ไม่ให้ผู้ขับรถดื่มสุราหรือของมึนเมาขณะขับรถ

ความรู้ในการขับรถที่เสี่ยงต่ออันตราย

หมายถึง  การขับรถบนถนนที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เช่น ถนนลื่น ขึ้นลงเขาหรือขับรถทางไกล ซึ่งผู้ขับขี่ควรมีความรู้ต่าง ๆ ดังนี้

       1. ขับรถขณะฝนตกถนนลื่น ควรชะลอความเร็วรถให้ช้าลงกว่าปกติและทิ้งระยะห่างจากคันหน้าให้มากขึ้น ถ้าขับรถอยู่บนทางที่ให้รถขับสวนกันก็ควรเปิดไฟหน้ารถเพื่อเตือนให้รถที่วิ่งสวนมามองเห็น เวลาจะหยุดรถควรใช้เกียร์ช่วยไม่ควรเหยียบเบรกโดยกะทันหันหรือหักพวงมาลัยรถอย่างฉับพลันเพราะอาจทำให้รถปัดหรือหมุนได้

       2. การขับรถขึ้น-ลงเขาสูง เวลาขับรถขึ้นเขาควรใช้เกียร์ต่ำที่มีกำลังพอเพราะถ้าเครื่องยนต์ไม่มีกำลังพอจะทำให้รถดับได้ ถ้ารถดับและไหลลงจากขาต้องเหยียบเบรกและใช้เบรกมือช่วย ส่วนเวลาลงเขาก็ควรใช้เกียร์ต่ำเช่นกันเพื่อฉุดกำลังไม่ให้ไหลเร็วจนเกินไป หรือคอยประคองรถด้วยการเหยียบเบรกชะลอให้รถช้าพอที่จะบังคับได้

     3. การขับรถทางไกล ในบางครั้งเมื่อมีความจำเป็นต้องขับรถเดินทางไกล ซึ่งอาจมีโอกาสประสบอุบัติเหตุได้ ดังนั้นผู้ขับขี่ควรปฏิบัติตนดังนี้

ก. ตรวจสภาพและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของรถ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีและปลอดภัยก่อนออกเดินทาง ดังนี้

     - ตรวจช่วงล่าง คันส่งคันชักพวงมาลัย

     - ตรวจยางทั้ง 4 ล้อ และยางอะไหล่ด้วย ยางไม่มีดอกควรเปลี่ยน น็อตล้อขันแน่นหรือไม่ วัดลมยางทั้ง 4 ล้อ ให้ได้ขนาดเหมาะสมกับรถ และควรมีที่วัดลมยางติดไปด้วย

    - เตรียมแม่แรงประจำรถ เหลักขันแม่แรงและกุญแจขันแม่แรง พร้อมทั้งตรวจสอบว่าใช้การได้หรือไม่

    - ตรวจระบบเบรก ผ้าเบรก น้ำมันเบรก และตรวจเบรกมือว่าใช้การได้ดีหรือไม่

    - ตรวจระบบเครื่องยนต์ ลองสตาร์ทเครื่องว่าเดินเรียบหรือไม่ ถ้าเครื่องเดินไม่เรียบอาจต้องเปลี่ยนหัวเทียนหรือทองขาว

    - ตรวจดวงไฟหน้าทั้งสองดวง รวมถึงไฟทุกดวงของรถ ต้องสว่างเพียงพอและให้การได้ดีทุกดวง ปรับไฟสูง - ไฟต่ำ ให้ได้ขนาดตามที่กำหนดไว้ ถ้าหลอดขาวหรือฟิวส์ขาดให้เปลี่ยน

     - ตรวจระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ น้ำในหม้อน้ำ (รังผึ้ง) ถ้าหม้อน้ำแห้งหรือทางเดินของน้ำหมุนเวียนอุดตัน เครื่องยนต์จะร้อน สังเกตได้จากหน้าปัดวัดความร้อน อาจทำให้เสื้อสูบแตกหรือชาร์จละลาย

    - ตรวจน้ำล้างกระจก ท่อฉีดน้ำกระจกต้องไม่อุดตัน ที่ปัดน้ำฝนยังใช้การได้ดี

    -  ตรวจน้ำมันเครื่อง และไส้กรองน้ำมันเครื่องจะต้องเปลี่ยนทุก 5,000 - 10,000 กม.

    - ตรวจน้ำมันเชื้อเพลิงว่ามีเพียงพอหรือไม่ และไส้หม้อกรองน้ำมันเชื้อเพลิงต้องสะอาด ซึ่งจะต้องเปลี่ยนทุก 10,000- 20,000กม.น้ำมันเชื้อเพลิงต้องเติมให้ค่าออกเทนตรงกับสภาพรถซึ่งสามารถ สอบถามได้ตามสถานีบริการน้ำมันต่างๆ

    - ตรวจระบบแตรว่าใช้การได้ดีหรือไม่

    - ตรวจระบบแอร์ ถ้าน้ำยาแอร์ไม่พอ แอร์จะไม่เย็น และให้ตรวจดูสายพานแอร์ว่า

    - ตรวจการรั่วไหลของน้ำ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นต่าง ๆ

    - นำรถไปอัดฉีดจาระบีล้อ เติมน้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองท้าย

ข. เตรียมอุปกรณ์และอะไหล่ที่จำเป็นระหว่างทาง คือ ฟิวส์ต่าง ๆ ของรถ หลอดไฟหน้า-หลัง แกลลอนหรือถังน้ำสำหรับเติมน้ำในหม้อน้ำ แกลลอนน้ำมันเครื่อง น้ำมันเชื้อเพลิง ไฟฉาย เครื่องดับเพลิงสำหรับรถ น้ำยาปะอุดยางพร้อมเติมลมได้ด้วย เชือกไนล่อนขนาดนิ้วก้อยยาวประมาณ 10 เมตร สำหรับลากรถเมื่อรถเสีย ชุดปฐมพยาบาล และไม้รองล้อทั้ง 4 ล้อ

ค. ก่อนขับรถทางไกล ผู้ขับขี่ควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ

ง. การขับรถทางไกลในระยะเกินว่า 150 กม. ควรมีอีกคนคอยเปลี่ยนขับ

จ. งดเว้นการดื่มสุรา หรือของมึนเมาทุกชนิด

ฉ. ถ้ามีฝนตกขณะเดินทาง น้ำโคลนกระเด็นเปื้อนไฟรถ ควรหยุดรถแล้วเช็ดให้สะอาด

ช. ถ้าน้ำในหม้อน้ำหมดระหว่างขับรถ เวลาเติมน้ำในหม้อน้ำควรใช้ความระมัดระวัง อย่าเอาหน้าเข้าใกล้มาก เพราะน้ำจะดันฝาไอน้ำร้อนจะเข้าตาหรือถูกมือ และอย่าเติมน้ำทันทีต้องปล่อยให้เย็นเสียก่อนมิฉะนั้นฝาสูบหรือเสื้อสูบจะแตก

ซ. ควรศึกษาแผนที่ คู่มือการท่องเที่ยว ถามผู้รู้เมื่อเกิดปัญหา

ฌ. ขับรถปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ดังนี้

          อย่าแซงรถในที่คับขัน ขณะขึ้นลงเขาสูง บนสะพาน ทางโค้ง ทางแยกทางร่วม หรือจุดที่มีเส้นขาวทึบหรือเหลือทึบ

          อย่าขับรถตามหลังรถคันอื่นในระยะทางกระชั้นชิด

          อย่าขับรถแข่งกันด้วยความคึกคะนอง

          อย่าขับรถเร็วเกินอัตรากำหนด

          ควรให้สัญญาณก่อนหยุดรถ เลี้ยวรถ ขอทางแซง

          รถที่ขับช้ากว่ารถคันอื่น ๆ ควรใช้ทางเดินรถด้านซ้าย

          ทางเดินรถที่มีมากกว่า 1 ช่อง ให้ขับชิดช่องทางที่ 1 ชิดซ้ายมือ ยกเว้นจะแซงขึ้นหน้าหรือเลี้ยวขวา เมื่อแซงแล้วก็ให้กลับเข้าช่องทางที่ 1

          ขับรถส่วนกันควรใช้ไฟต่ำ

          เวลาขับรถผ่านทางแคบระหว่างภูเขา หรือระหว่างเนินควรชิดขอบทางซ้าย และเมื่อถึงทางโค้งควรส่งสัญญาณให้รถอื่นที่สวนมารู้

ความรู้ในการใช้รถหลังจากเกิดอุบัติเหตุ

เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วหากผู้ขับรถมีความรู้เพียงพอที่จะบรรเทาเหตุนั้นไม่ให้นำไปสู่ความรุนแรงได้ ก็จะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยป้องกันได้ ซึ่งอุบัติเหตุที่ควรรู้และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีมีดังต่อไปนี้

    * เบรกแตก คือ เมื่อเหยียบเบรกแล้ว คันเหยียบเบรกจมหายไปและรถไม่หยุด ก็อย่าตกใจ แก้ไขได้โดยใช้เกียร์ต่ำในทันที หากจวนตัวมากก็ควรเปลี่ยนจากเกียร์ 4 มาเกียร์ 2 เลย แล้วดึงเบรกมือช่วย พร้อมกับประคองพวงมาลัยรถให้อยู่ในบังคับเพื่อหลบหลีกรถอื่น ๆ ในกรณีคับขันได้

    * ยางแตกหรือระเบิด อาการของยางแตกเพราะรั่วโดยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง ยางจะค่อย ๆ แบนลง พวงมาลัยรถจะหนักหรือกินไปทางด้านนั้น วิธีแก้ต้องรีบเบารถทันทีโดยเปลี่ยนเกียร์ลงเรื่อย ๆ เพื่อใช้เครื่องชะลอรถให้ช้าลง ในขณะที่รถแล่นด้วยความเร็วสูง "อย่าเหยียบเบรก" จะเหยียบได้ก็ต่อเมื่อรถช้าลงแล้วและแอบเข้าข้างทางเพื่อเปลี่ยนยางต่อไป

ในกรณีที่ยางระเบิดมีเสียงดับและรถมีอาการทรุดฮวบ แฉลบหรือปัดเฉออกนอกแนวทาง ก็อย่าตกใจ ต้องคุมสติให้อยู่ อย่าเหยียบเบรกเพราะรถอาจคว่ำได้ พยายามบังคับพวงมาลัยให้รถอยู่ในเส้นทาง รีบปล่อยคันเร่งพร้อมกับเปลี่ยนใช้เกียร์ต่ำลดลงเรื่อย ๆ เพื่อชะลอให้รถช้าลง จึงค่อยเหยียบเบรกและแอบรถเข้าข้างทางเพื่อเปลี่ยนยางต่อไป

    * รถเสีย ให้นำรถจอดแอบเข้าข้างทางและจะต้องเปิดไฟสัญญาณฉุกเฉิน เพื่อเตือนให้รถอื่น ๆ เห็น

    * เมื่อรถชนกันกลางถนนไม่สามารถแอบเข้าข้างทางได้ ผู้ประสบเหตุหรือประชาชนไม่ควรเข้าไปมุงดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลากลางคืนเพราะอาจเกิดอันตรายจากรถที่วิ่งสวนทางมาได้ บางครั้งรถอื่นอาจพุ่งเข้าไปในฝูงชนจะทำให้ตายและบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้น และควรรีบแจ้งตำรวจหรือตำรวจจราจรให้เข้ามาดูแลสถานการณ์โดยเร็ว

ความรู้สำหรับคนเดินเท้า

1. การเดินถนน

    - ถนนที่มีทางเท้าจัดไว้ควรเดินบนทางเท้า อย่าเดินใกล้ทางรถ โดยหันหลังให้รถที่กำลังแล่นมา ก่อนที่จะก้าวลงทางรถต้องมองซ้าย-ขวาก่อนเสมอ

    - ถนนที่ไม่มีทางเท้า ควรเดินชิดขอบริมทางขวาของถนน และถ้ามากันเป็นหมู่คณะก็ไม่ควรเดินคู่กัน ควรเดินเรียงเดี่ยว

    - เวลาจูงเด็กควรให้เด็กเดินด้านในของถนนและจับมือเด็กไว้ให้มั่นเพื่อป้องกันเด็กวิ่งออกไปในทางรถ

    - การเดินถนนในที่มืด ควรสวมเสื้อขาวและถ้าเป็นไปได้ควรพกไฟฉายติดตัวไว้สำหรับส่องทาง

    - แถวหรือขบวนทหาร ตำรวจ ลูกเสือ หรือนักเรียนที่เดินกันอย่างเป็นระเบียบจะเดินบนทางรถก็ได้โดยเดินชิดทางรถด้านขวา หรือด้านซ้ายตามความจำเป็น

2. การข้ามถนน

    - ควรข้ามถนบนทางม้าลายทุกครั้ง หรือใช้สะพานลอย ซึ่งถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด และหากจำเป็นต้องข้ามถนนในเวลากลางคืนก็ควรหาที่ข้ามที่มีแสงสว่าง

    - ก่อนข้ามถนนทุกครั้งควรมองซ้าย-ขวา ให้แน่ใจว่าไม่มีรถกำลังแล่นมา จึงจะข้ามได้ และควรเดินอย่างรวดเร็ว อย่าวิ่งข้ามถนน

    - อย่าข้ามถนนโดยออกจากที่กำบังตัว เช่น ออกจากซอย รถที่จอดอยู่ เพราะหากรถที่สวนมามองไม่เห็นล่วงหน้าอาจทำให้เกิดอันตรายได้

    - การข้ามถนนที่รถเดินทางเดียว ต้องแน่ใจเสียก่อนว่ารถแล่นมาทางไหนและมีความปลอดภัยพอจึงจะข้ามได้

    - ถนนที่มีเกาะกลางถนนต้องข้ามทีละครึ่งถนน โดยข้ามครั้งแรกแล้วพักที่เกาะกลาง จากนั้นจึงข้างครึ่งหลังต่อไป

    - การข้ามถนนในช่องทางข้ามที่บริเวณทางแยกควรระวังรถที่จะเลี้ยวเข้ามาหาตัวท่านด้วย

    - อย่าข้ามถนนเมื่อตำรวจกำลังปล่อยรถเดินอยู่ หรือเมื่อตำรวจให้สัญญาณห้ามคนเดินเท้าอยู่ และถ้าไม่มีตำรวจแต่มีสัญญาณไฟคอยบอก ถ้าเห็นรูปคนสีเขียวกะพริบขึ้นที่สัญญาณไฟก็ให้รีบข้ามถนนโดยเร็ว

3. การขึ้นลงรถประจำทาง

     - อย่าขึ้นหรือลงรถประจำทางจนกว่ารถจะหยุดสนิทที่ป้ายหยุดรถ และถ้าจะข้ามถนนต้องรอให้รถประจำทางออกไปให้พ้นเสียก่อน จะได้มองเห็นรถคันอื่นที่แล่นมาได้ชัดเจน

การสวมหมวกนิรภัย หรือหมวกกันน็อค

เป็นกฎบังคับอย่างเคร่งครัดที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารจะต้องสวมหมวกนิรภัยไม่ว่าในกรณีใดก็ตามเพื่อความปลอดภัยต่อตัวผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ซึ่งหากมีการละเมิดฝ่าฝืนไม่ทำตาม ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารจะมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท เตือนตัวเองไว้เสมอว่า "ลืมหมวก