ผลของการสูบบุหรี่ต่อญาติพี่น้อง

ปัจจุบันมีผู้สูบบุหรี่เป็นจำนวนไม่น้อย รวมถึงยังเกิดนักสูบหน้าใหม่ขึ้นมาเรื่อย ๆ  สาเหตุอาจจะเกิดการอยากรู้อยากลอง โดนเพื่อนชักชวน เป็นต้น ในขณะที่โทษของบุหรี่อาจจะมีการรับรู้ที่ไม่กว้างขวางในกลุ่มผู้สูบที่ก่อให้เกิดลดหรือเลิกบุหรี่ได้

ในควันบุหรี่ เต็มไปด้วยสารอันตรายต่าง ๆ  ได้แก่ นิโคติน ซึ่งจัดเป็นสารเสพติด และยังมีสารเคมีอีกมากถึง 7,000 ชนิด สารพิษอีกมากกว่า 250 ชนิด และสารก่อมะเร็งอีกมากกว่า 70 ชนิด ซึ่งถ้าหากได้ข้อสรุปอย่างง่าย คือ การสูบบุหรี่ 1 มวน จะทำให้อายุสั้นลงถึง 7 นาที

เมื่อสูบบุหรี่เข้าไปในร่างกายแล้ว บุหรี่ก็เข้าไปทำลายร่างกายแทบจะทุกส่วน เริ่มตั้งแต่หลอดเลือดสมอง แอด ทางเดินอาหาร หัวใจ กระดูกและกล้ามเนื้อ จนทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางเดนิปัสสาวะ รวมถึงเกืดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มีความเสี่ยงแท้งของหญิงตั้งครรภ์ และมีโอกาสตาบอดถาวร

โทษของบุหรี่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ อาจจะทำให้เกิดการเผยแพร่ต่อเพื่อให้เกิดแรงจูงใจให้มีการเลิกบุหรี่ได้ ซึ่งการเลิกบุหรี่ให้สำเร็จสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพียงแค่ยึดหลักการ ตั้งใจ มีเป้าหมาย ไม่รอช้า ไม่หวั่นไหว ไม่ยอมแพ้

เป็นข่าวบนหน้าโซเชียล กรณีเด็กน้อยวัยขวบเศษที่ป่วยด้วยอาการปอดติดเชื้อเพราะสูดดมควันบุหรี่มือสองจากคนในบ้าน ควันบุหรี่เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ที่ไม่มีระดับ "ความปลอดภัย" 

องค์การอนามัยโลกประเมินว่า ปัจจุบันมีเด็กเกือบ 700 ล้านคน หรือครึ่งหนึ่งของประชากรเด็กทั้งโลก หายใจเอาอากาศปนเปื้อนควันบุหรี่ที่ลอยอยู่ในอาคารเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในบ้าน และควันบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นหลอดลมอักเสบ การเป็นหวัดบ่อยขึ้น และยังทำให้เด็กที่เป็นโรคหืดอยู่แล้วมีอาการรุนแรงมากยิ่งขึ้นถึงร้อยละ 80 ซึ่งพบว่า เด็กเหล่านี้มีพ่อแม่ที่สูบบุหรี่ 

ผลของการสูบบุหรี่ต่อญาติพี่น้อง

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตระหนักถึงอันตรายจากบุหรี่และควันบุหรี่ จึงได้จัด "โครงการบ้านปลอดบุหรี่ และขยายเครือข่ายการรณรงค์โครงการบ้่านปลอดบุหรี่ต่อเนื่อง เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้สู่ประชาชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ให้ตระหนักถึงอันตรายและผลกระทบของการได้รับควันบุหรี่ที่จะเกิดขึ้นกับเด็กทั้งในด้านความเสี่ยงปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้น และเน้นแบบอย่างการไม่สูบบุหรี่ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ด้วยการรณรงค์ ให้ "บ้านปลอดบุหรี่" และขยายไปยังโรงพยาบาลอื่นๆ ทั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดีของเด็กไทย" 

ผลของการสูบบุหรี่ต่อญาติพี่น้อง

นอกจากประเด็นผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว การสูบบุหรี่ในบ้านยังส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของสมาชิกในบ้าน คือ เด็กที่เติบโตในครอบครัวที่มีพ่อแม่หรือพี่น้องสูบบุหรี่ มากกว่าร้อยละ 90 จะกลายเป็นคนสูบบุหรี่ด้วย ถ้ามีพี่หรือน้องสูบบุหรี่ (โดยเฉพาะพี่) ความเสี่ยงของการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นมากถึง 2.3 เท่า ถ้ามีพ่อหรือแม่สูบบุหรี่จะเป็นความเสี่ยงให้วัยรุ่นสูบบุหรี่เพ่ิมขึ้น 62% (1.6 เท่าของคนที่ไม่ได้มีพ่อหรือแม่สูบบุหรี่) โดยเฉพาะอย่างย่ิงเด็กวัยรุ่นที่มีแม่สูบบุหรี่จะมีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่เพ่ิมขึ้น 2.2 เท่า 

พญ.นัยนา ณีศะนันท์ จากสถาบบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดเผยถึงวิธีป้องกันภัยลูกจากควันบุหรี่มือสอง คือ 

1.บ้านควรเป็นที่ปลอดภัยของสมาชิกในครอบครัว เพื่อสุขภาพที่ดี ไม่สูบบุหรี่ในบ้าน ไม่สูบบุหรี่ในที่ใกล้เด็กหรือคนท้อง 

2.การเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี สัมพันธ์กับการที่มีสมาชิกในบ้านสูบบุหรี่ 

3.การรณรงค์เรื่อง "บ้านปลอดบุหรี่" คือการปกป้องต้นทุนสุขภาพเด็กไทย 

ผลของการสูบบุหรี่ต่อญาติพี่น้อง

มาร่วมกันทำบ้านให้ปลอดควันบุหรี่  31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก ดูแลหัวใจของคุณ และลูกน้อยที่เป็นดั่งหัวใจของคุณให้ปลอดภัยจากควันบุหรี่และการสูบบุหรี่ในอนาคต....

แน่นอนว่าการสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์นั้นย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพของแม่และลูกน้อยในครรภ์ ว่าที่คุณแม่จึงควรเลิกบุหรี่ให้ได้ก่อนตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายและความเสี่ยงด้านสุขภาพอื่นๆ ตามมา

แต่หากคุณเพิ่งรู้ตัวว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์แล้วคิดจะเลิกสูบบุหรี่ตอนนี้ก็ยังไม่สาย เพราะการเลิกสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ให้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็สามารถลดความเสี่ยงในการทำลายสุขภาพของคุณและลูกน้อยได้เช่นกัน ขอเพียงแค่คุณเลิกสูบบุหรี่ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพียงเท่านี้ คุณและลูกน้อยก็จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเป็นปกติ

 

อย่างไรก็ตาม การสูบบุหรี่ในช่วงเวลาก่อนการตั้งครรภ์อาจส่งผลเสียต่อการเจริญพันธ์ุได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย:

  • ผู้หญิงที่สูบบุหรี่จะเผชิญปัญหาการมีลูกยากมากกว่าคนทั่วไป

  • ผู้ชายที่สูบบุหรี่จะเผชิญปัญหาอสุจิไม่แข็งแรงหรือมีอสุจิน้อยเกินไป ซึ่งส่งผลให้เกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

 

การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์เป็นอันตรายต่อลูกน้อยอย่างไร?

การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์จะเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนี้

  • ลูกน้อยของคุณอาจตัวเล็กผิดปกติ เพราะสารเคมีในบุหรี่จะส่งผลให้การเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์เป็นไปอย่างช้าลง ซึ่งคุณสามารถสังเกตเห็นความผิดปกตินี้ได้ทันทีหลังคลอด

  • ทารกมีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

  • พัฒนาการของสมองและปอดอาจผิดปกติในระยะยาว ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยรุ่น

  • เจ้าตัวน้อยมีความเสี่ยงเป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่ตั้งแต่กำเนิดสูงกว่าเด็กทั่วไป ซึ่งความพิการนี้จะทำให้เด็กกินข้าวลำบาก แต่ก็สามารถแก้ไขให้หายเป็นปกติได้ด้วยการผ่าตัดศัลยกรรม

  • ลูกของคุณมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคไหลตายก่อนอายุ 1 ขวบมากกว่าเด็กทั่วไป

นอกจากการสูบบุหรี่จะทำให้ลูกน้อยของคุณตกอยู่ในอันตรายแล้ว ยังพบอีกว่าคุณแม่ที่ไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะตกเลือดมากผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์และคลอดลูกอีกด้วย แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน หากคุณแม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ทันเวลา

 

จะเกิดอะไรขึ้นกับเด็กที่คลอดก่อนกำหนด?

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะไม่ได้รับประโยชน์ของพัฒนาการของการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ในช่วงสุดท้ายของอายุครรภ์ เด็กๆ เหล่านี้จึงควรได้รับการดูแลเอาใจใส่มากกว่าเด็กที่คลอดตามกำหนด ด้วยเหตุนี้ เราจึงรวบรวมปัญหาสุขภาพทั้ง 6 อย่าง ที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าตัวเล็ก ได้แก่

  • ภาวะน้ำหนักน้อยผิดปกติหลังคลอด

  • ปัญหาการกินที่ลำบากกว่าปกติ

  • ปัญหาด้านระบบหายใจ

  • ภาวะสมองพิการ (พัฒนาการสมองผิดปกติ)

  • พัฒนาการด้านการเจริญเติบโตช้ากว่าเด็กทั่วไป (ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านภาษา การคิดวิเคราะห์ และการเคลื่อนไหว)

  • ปัญหาด้านการได้ยินและสายตา

 

หากสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทนบุหรี่ทั่วไประหว่างตั้งครรภ์ จะเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยกว่าไหม?

การสูบบุหรี่ไฟฟ้ายังไม่ใช่ทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ นั่นเพราะบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่มีนิโคตินเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อพัฒนาการของสมองและอวัยวะอื่นๆ ของทารกในระยะยาวไม่ต่างจากบุหรี่ทั่วไป ดังนั้น คุณแม่จึงควรเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้าด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อลูกน้อยของคุณ

 

จะเกิดผลดีต่อลูกในครรภ์หรือไม่ หากเลิกบุหรี่ได้ระหว่างตั้งครรภ์?

การเลิกบุหรี่ระหว่างที่คุณกำลังตั้งครรภ์นั้นมีส่วนช่วยได้บ้าง แต่การเลิกบุหรี่ให้ได้ก่อนอายุครรภ์ 15 สัปดาห์ จะช่วยให้ลูกน้อยของคุณมีสุขภาพสมบูรณ์มากที่สุด และการเลิกบุหรี่ได้ก่อนสัปดาห์ที่ 29 ของอายุครรภ์ ยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะทารกน้ำหนักน้อยผิดปกติหลังคลอดได้ดีอีกด้วย

การเลิกบุหรี่จะส่งผลดีต่อลูกของคุณอย่างไรบ้าง?:

  • ทารกได้รับออกซิเจนเพิ่มขึ้น (เห็นผลได้ตั้งแต่วันแรกที่เลิกบุหรี่)

  • มีพัฒนาการร่างกายดีขึ้น

  • ลดความเสี่ยงทารกคลอดก่อนกำหนดได้

 

การตัดใจเลิกบุหรี่ที่คุณเคยสูบอยู่บ่อยๆ คงไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ในท้ายที่สุด การตัดสินใจทิ้งบุหรี่ออกจากมือไปจะทำให้คุณภูมิใจที่ได้ทำประโยชน์เพื่อตัวเองและลูกรัก เพราะการเลิกบุหรี่นั้นนอกจากจะช่วยให้คุณหายใจได้สะดวกขึ้น มีแรงมากขึ้น แล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ได้อีกมาก เช่น โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมองแตก มะเร็งปอด รวมถึงโรคทางปอดอื่นๆ ที่มีสาเหตุจากการสูบบุหรี่สะสมในตลอดหลายปีที่ผ่านมาได้อีกด้วย! 

บุหรี่มีผลกระทบต่อครอบครัวอย่างไร

มารดาที่สูบบุหรี่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ จากผลของควันบุหรี่ที่มีต่อรก เช่น คลอดก่อนกำหนด แท้งง่าย และมีบุตรยาก รวมทั้งยังทำให้ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย อัตราตายทารกแรกเกิดสูง และภาวะเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันของทารกเกิดได้มาก นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ยังทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ง่ายอีกด้วย เนื่องจากสารเคมี ...

บุหรี่มีผลต่อผู้เสพอย่างไร

บุหรี่มีสารเคมีและสารพิษรวมกันมากกว่า 4,000 ชนิด รวมถึงมีสารก่อมะเร็งอีกมากกว่า 60 ชนิด ยิ่งสูบบุหรี่ในปริมาณมากและสูบติดต่อกันเป็นเวลานาน ย่อมเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายมากมาย ทั้งมะเร็ง ถุงลมโป่งพอง ปอดบวม โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคเบาหวาน

บุหรี่ไฟฟ้า มีผลต่อการมีลูกไหม

การสูบบุหรี่ไฟฟ้ายังไม่ใช่ทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ นั่นเพราะบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่มีนิโคตินเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อพัฒนาการของสมองและอวัยวะอื่นๆ ของทารกในระยะยาวไม่ต่างจากบุหรี่ทั่วไป ดังนั้น คุณแม่จึงควรเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้าด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อลูก ...

สูบยาเส้น อันตรายไหม

ควันยาสูบจะส่งผลต่อระบบประสาท ระบบเลือด ระบบทางเดินหายใจและทรวงอก ดังนั้น ควันยาเส้นจึงมีอันตรายเหมือนกับควันบุหรี่ นำพาโรคทั้งหลายมาให้ด้วยเช่นกัน ทั้งมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง โรคปอด โรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่คนไทยป่วยตายในอันดับต้นๆเลยทีเดียว