ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร 1 คะแนน

ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร 1 คะแนน

Advertisement

การอ่านจับใจความสำคัญ หมายถึง การอ่านที่มุ่งค้นหาสาระของข้อความหรือเรื่องราวต่างๆว่าข้อความหรือเรื่องราวนั้นเกี่ยวกับสิ่งใด มีเหตุการณ์ที่สำคัญอะไรบ้าง ส่วนใดเป็นใจความสำคัญและส่วนใดเป็นส่วนขยายใจความสำคัญของเรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญถือเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้อ่านสามารถแยกส่วนประกอบอื่นๆ หรือที่เรียกว่า "พลความ" ของเรื่องได้

พลความหรือส่วนขยายใจความ หมายถึง ประโยคที่ช่วยขยายเนื้อความของใจความสำคัญเพื่อสนับสนุนหรือแสดงตัวอย่าง เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งในแต่ละย่อหน้าอาจมีพลความอยู่หลายๆ ประโยคก็ได้

๑. สามารถบอกรายละเอียดของเรื่องราวที่อ่านได้อย่างชัดเจน
๒. สามารถปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำได้
๓. เพื่อฝึกการอ่านเร็วและสามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง
๔. สามารถสรุปหรือย่อเรื่องที่อ่านได้
๕. อ่านแล้วสามารถคาดการณ์ และหาความจริง แสดงข้อคิดเห็นได้

การอ่านจับใจความสำคัญ เป็นการอ่านงานเขียนอย่างละเอียด เพื่อพิจารณาหาข้อเท็จจริงที่นำเสนอ รวมถึงทรรศนะ ข้อคิดเห็น อารมณ์ น้ำเสียงของผู้เขียนที่มีต่อเรื่องที่นำเสนอและในกรณีที่ข้อความที่อ่าน มีความยาวเป็นย่อหน้าหรือหลายๆ ย่อหน้า ผู้อ่านสามารถพิจารณาข้อความสำคัญโดยมีหลักการอ่านจับใจความสำคัญดังต่อไปนี้

๑. พิจารณาจากชื่อเรื่อง แล้วอ่านย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้าย ซึ่งจะทำให้ทราบว่าบทความนี้เสนอเรื่องอะไรอย่างกว้างๆ
๒. พิจารณาหาใจความสำคัญไปที่ละย่อหน้า ซึ่งส่วนใหญ่ใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้าอาจปรากฏอยู่ในตำแหน่งต้น ตำแหน่งกลาง หรือตำแหน่งท้ายของย่อหน้า
๓. พยายามพิจารณาตัดรายละเอียดปลีกย่อย เช่น คำอธิบาย ตัวอย่าง การให้เหตุผลเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเครื่องสนับสนุนความคิดหลักของเรื่อง
๔.เมื่ออ่านจบ ควรทบทวนหรือตั้งคำถาม ถามตนเองว่า เรื่องที่อ่านเป็นเรื่องอะไรและพยายามตอบให้ได้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ด้วยวิธีใด จากนั้นจึงบันทึกใจความสำคัญไว้เพื่อศึกษาเพิ่มเติมต่อไป 

งานเขียนในแต่ละย่อหน้าจะประกอบด้วยใจความ 2 ส่วนคือ

1. ใจความสำคัญ
2. พลความ

ใจความสำคัญคือ ข้อความที่เค่นสุดใยย่อหน้า เป็นแก่นของย่อหน้าที่สามารถครอบคลุมเนื้อความในประโยคอื่นๆ ในแต่ละย่อหน้าจะมีประโยคใจความสำคัญเพียงประโยคเดียวหรืออย่างมากไม่เกิน 2 ประโยค

1. เป็นข้อความที่ทำหน้าที่คลุมใจความของข้อความอื่นๆ ในตอนนั้นๆได้หมด
2. ย่อหน้าหนึ่งหนึ่งๆส่วนมากจะมีเพียงประการเดียว
3 ส่วนมากมีลักษณะเป็นประโยค อาจจะเป็นประโยคเดียวหรือประโยคซ้อนก็ได้
4. ส่วนมากจะปรากฎอยู่ต้นข้อความ


ประโยคใจความสำคัญปรากฎได้ 4 ตำแหน่ง คือ

1. ตำแหน่งต้นย่อหน้า
2. ตำแหน่งท้ายย่อหน้า
3. ตำแหน่งทั้งต้นและท้ายย่อหน้า
4. ตำแหน่งกลางย่อหน้า


ประโยคใจความสำคัญ + ข้อความขยาย ( สังเกตได้ว่าข้อความที่ตามมามีเนื้อความขยายคำสำคัญในประโยคใจความสำคัญ และมีคำเชื่อมหน้าข้อความขยาย คำว่า เพราะ เช่น ได้แก่ ประการที่หนึ่ง ฯลฯ

ตัวอย่างเช่น
คนไม่อ่านหนังสือ คือ คนถอยหลังอยู่ในสังคม เพราะทุกวันนี้โลกเจริญขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อนมีเหตุการณ์ใหม่ๆ ปรากฎสืบเนื่องกันอย่างไม่ขาดสาย ทุกคนที่หวังความก้าวหน้า จึงต้องตามเรื่องเหล่านี้ด้วยการอ่านอย่างมิหยุดยั้ง มิฉะนั้นเขาจะได้นามว่า เป็นผู้ถอยหลัง
( อ่านเพื่อความสมบูรณ์ ของ นายเจือ สตะเวทิน )

แล้วสรุปด้วยประโยคที่เก็บประเด็นสำคัญไว้ภายหลัง
ข้อความขยาย + ประโยคใจความสำคัญ ( สังเกตได้ว่าประโยคใจความสำคัญจะมีคำเชื่อม "จึง" เป็นประโยคตบท้ายข้อความ)

ตัวอย่างเช่น
"ยังมีนักเรียนธรรมของเราเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่เข้าใจความหมายของคำว่า ทานดี จึงทำให้คิดเขวไปว่า ทานกับบุญนั้นเป็นคนละอย่าง ความเข้าใจอันนี้ทำให้เราพูดติดปากกันไปว่า "ทำบุญแล้วให้ทาน"ดูประหนึ่งว่าทำบุญกับให้ทานไม่ได้เป็นของคู่กัน หรือดำยกต่างกัน บุญหรือทานก็เป็นอันเดียวกันทานเป็นวิธีการทำบุญอย่างหนึ่งนั่นเอง"
( ประเพณีทำบุญ ของ กรมศาสนา )


ประโยคใจความสำคัญ + ข้อความขยาย + ประโยคใจความสำคัญ ( สังเกตได้ว่า ประโยคใจความสำคัญต้นย่อหน้ากับประโยดใจความสำคัญท้ายย่อหน้ามีเนื้อความตรงกัน

ตัวอย่างเช่น
ลักษณะอาหารเจมีความเคร่งครัดในเรื่องการปรุงมากกว่าอาหารมังสวิรัติ เครื่องเทศเครื่องปรุงหลายชนิดถูกห้ามนำมาใช้ในการทำอาหารเจ เพราะมีความเชื่อว่าจะไปกระตุ้นอารมณ์ ในขณะที่อาหารมังสวิรัตินั้นเพียงห้ามรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เท่านั้น อาหารมังสวิรัติจึงมีความเข้มงวดน้อยกว่าอาหารเจ


ข้อความเกริ่นนำ ( มีเนื้อความอ้างถึงสิ่งที่มีผู้กล่าวไว้ในลักษณะที่เข้าใจผิด ) + ประโยคใจความสำคัญ ( มีเนื้อความแย้งข้อความเกริ่นนำ ) + ข้อความขยาย ( มีเนื้อความขยายประโยดใจความสำคัญ)

ตัวอย่างเช่น
โดยทั่วไปผักที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่เกษตรกรมักใช้สารกำจัดศัตรูพืช หากไม่มีความรอบคอบในการใช้ จะทำให้เกิดสารตกค้าง ทำให้มีปัญหาต่อสุขภาพ ฉะนั้นเมื่อซื้อผักไปรับประทานจึงควรล้างผักด้วยน้ำหลายๆครั้ง เพราะจะช่วยกำจัดสารตกค้างไปได้บ้าง บางคนอาจแช่ผักโดยใช้น้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนตก็ได้ แต่อาจทำให้วิตามินลดลง
( การใช้ภาษาไทย ของ จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และ บาหยัน อิ่มสำราญ)

ตัวอย่างเช่น
การเดิน การว่ายน้ำ การฝึกโยคะ การออกกำลังกายด้วยอุปกรณ์ต่างๆตลอดจนการหายใจลึกๆ ล้วนมีส่วนทำให้สุขภาพแข็งแรง
ใจความสำคัญคือ การทำให้สุขภาพแข็งแรงทำได้หลายวิธี
( การใช้ภาษาไทย ของ จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสำราญ)

ที่มา 

  • แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ เล่มที่1 หลักการอ่านจับใจความสำคัญ ผลงานครูพิริยา แสนเสนา
  • แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องหลักการอ่านจับใจความสำคัญ ผลงานครูเบญจมาศ เข็มพงษ์

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร 1 คะแนน


สุภาษิตพระร่วง
เปิดอ่าน 224,853 ครั้ง

ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร 1 คะแนน


หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ (ใหม่)
เปิดอ่าน 44,707 ครั้ง

ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร 1 คะแนน


คำพังเพย
เปิดอ่าน 38,404 ครั้ง

ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร 1 คะแนน


กริยา กับ กิริยา
เปิดอ่าน 72,827 ครั้ง

ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร 1 คะแนน


แนวการสอนซ่อมเสริมการอ่านและการเขียน ประถมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 1-7
เปิดอ่าน 3,585 ครั้ง

ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร 1 คะแนน


วรรณคดีมรดกของไทยสมัยสุโขทัย
เปิดอ่าน 25,935 ครั้ง

ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร 1 คะแนน


คำราชาศัพท์
เปิดอ่าน 490,001 ครั้ง

ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร 1 คะแนน


การอ่านจับใจความสำคัญ
เปิดอ่าน 29,544 ครั้ง

ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร 1 คะแนน


คำบุพบท
เปิดอ่าน 43,255 ครั้ง

ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร 1 คะแนน


เสียงในภาษาไทย
เปิดอ่าน 1,030,108 ครั้ง

ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร 1 คะแนน


พยางค์ และ คำ
เปิดอ่าน 14,726 ครั้ง

ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร 1 คะแนน


เกลือ
เปิดอ่าน 54,820 ครั้ง

ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร 1 คะแนน


โคลงโลกนิติ
เปิดอ่าน 77,400 ครั้ง

ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร 1 คะแนน


สาระน่ารู้เกี่ยวกับ"คำนำหน้านาม"
เปิดอ่าน 49,186 ครั้ง

ใจความสําคัญมีลักษณะอย่างไร 1 คะแนน


ภาษาเขียนและตัวอักษร
เปิดอ่าน 21,761 ครั้ง