ภาษามีการเปลี่ยนแปลงเกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษา


ภาษามีการเปลี่ยนแปลงเกิดจากสาเหตุใด

 

ภาษาทุกภาษาที่ยังใช้สื่อสารกันเป็นปกติในชีวิตประจำวันต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจเกิดจากเสียงบางเสียง ความหมายของคำบางคำ รูปประโยคบางประโยค บางคำอาจเลิกใช้ มีคำใหม่และรูปประโยคแบบใหม่เกิดขึ้น

 

สาเหตุที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงนั้น เราสันนิษฐานได้หลายประการ เป็นต้นว่า
 

1. การพูดจากันในชีวิตประจำวัน ถ้าผู้พูดมิได้พยายามพูดให้ชัดเจน เสียงก็อาจกลายไปได้ เช่น อย่างนี้ กลมกลืนเป็นเสียง อย่างงี้ อันหนึ่ง กร่อนเสียงเป็น อนึ่ง นานๆเข้าคำที่เปลี่ยนไปก็ติดอยู่ในภาษา คำเดิมก็อาจค่อยๆสูญไป หรืออาจใช้ในความหมายที่ต่างจากเดิม
 

2. อิทธิพลของภาษาอื่น เมื่อมีการยืมคำหรือประโยคของภาษาอื่นมา เราอาจพยามเปลี่ยนแปลงให้มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาของเรา หรือบางทีมิได้ดัดแปลง ยังคงใช้ตามภาษาเดิม ก็อาจมีอิทธิพลทำให้ภาษาของเราเปลี่ยนแปลงไป คือมีเสียงเพิ่มขึ้น มีแบบประโยคเพิ่มขึ้น
 

3. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เมื่อมีสิ่งใหม่ๆ ความคิดใหม่ๆ กระบวนการใหม่ๆเกิดขึ้น ก็จะมีศัพท์ใช้เรียกสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้ สิ่งที่เคยมีอยู่เดิม เมื่อเลิกใช้กันก็อาจทำให้คำที่ใช้เรียกสิ่งนั้นสูญไปจากภาษาด้วย หรือ ถึงแม้คำนั้นจะยังคงอยู่ คนรุ่นใหม่ก็อาจไม่รู้ความหมาย หรือเข้าใจความหมายผิดไปได้ เช่น ถ้าต่อไปมีผู้ใช้แต่หม้อหุงข้าวไฟฟ้าแทนหม้อหุงข้าวแบบเดิม คนรุ่นใหม่ก็จะไม่เข้าใจว่า ดงข้าว หมายความว่าอย่างไร
 

4. การเรียนภาษาของเด็ก เด็กเรียนภาษาจากบุคคลทั้งหลายที่ได้อยู่ใกล้ชิด เมื่อเด็กได้ฟังคำพูด ได้ฟังภาษาของบุคคลเหล่านั้น ก็ปรุงขึ้นเป็นภาษาของตนเอง เราจะสังเกตเห็นว่าภาษาของเด็กไม่เหมือนภาษาของผู้ใหญ่ เด็กอาจเข้าใจความหมายของคำ การออกเสียงคำ และใช้คำไม่ตรงกับผู้ใหญ่ แต่ก็อาจเป็นได้ว่า ภาษาของเด็กไม่ตรงกับผู้ใหญ่ทีเดียว เมื่อเด็กคนนั้นใช้ภาษาที่เคยใช้นั้นต่อไป ภาษาก็อาจเปลี่ยนไปได้ เช่น คำ หนู เคยเป็นภาษาของเด็กๆ ใช้เป็นสรรพนามแทนตัวเอง เมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ก็ยังคงใช้คำนี้อยู่
 

การเปลี่ยนแปลงของภาษาดังที่กล่าวมานี้ ถือเป็นปรากฏการณ์ที่จะต้องเกิดแก่ภาษาทุกภาษา แต่ผู้ใช้ภาษาก็ไม่ควรปล่อยให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปจนก่อให้เกิดผลเสียแก่การสื่อสาร เช่น ปล่อยให้เสียง ร หรือเสียงควบกล้ำหายไป คำที่มีเสียง ร ก็ออกเสียงเป็น ล เช่น คำ รัก ออกเสียง

FW


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเปลี่ยนแปลงภาษา (อังกฤษ: language change) ถือเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของภาษา ภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จะมีแนวโน้มการใช้ที่ยืนยาวมากกว่าภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อย หรือไม่เปลี่ยนแปลงเลย

การเปลี่ยนแปลงในภาษาไทย[แก้]

ภาษาเปลี่ยนแปลงในลักษณะของการออกเสียง คำศัพท์ รูปแบบ และลักษณะอื่นอื่นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป ภาษาที่เปลี่ยนไปเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาไทย

สื่อและการกระจายตัวของประชากรเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงของภาษา จะเห็นได้ว่ามีคำศัพท์จากทางภาคต่างๆ ในประเทศไทยเริ่มใช้กันข้ามภาคในประเทศไทย เช่นคำศัพท์จากทางภาคกลางมีการเริ่มใช้กันมากทางภาคเหนือ และภาคใต้เนื่องจากทุกคนได้ดูรายการโทรทัศน์ ที่เสนอภาษาจากทางภาคกลาง ในขณะเดียวกันกลุ่มคนภาคกลางได้เริ่มใช้ภาษาจากทางภาคอีสานมากขึ้น เมื่อมีรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับคนที่อาศัยในภาคอีสาน ภาษาต่างประเทศเช่นภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในทางศัพท์วิชาการและศัพท์ทางคอมพิวเตอร์ มากขึ้นเช่นกัน

กลุ่มเฉพาะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาของภาษา คำศัพท์ใหม่ใหม่เกิดขึ้นมากโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น มีภาษาเฉพาะของกลุ่ม เมื่อภาษาเกิดมีการใช้กันใหม่ ทำให้มีคำศัพท์ใหม่นิยามขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามเมื่อหมดการใช้ของคำศัพท์นั้นนั้น ภาษานั้นก็จะตกรุ่นและหมดความนิยมไป ยกตัวอย่างเช่นคำว่า จ๊าบ ที่เคยมีการใช้กันในหมู่วัยรุ่น และเริ่มนิยมกันมากเมื่อสื่อนำไปใช้ในรายการโทรทัศน์ มีการถกเถียงเรื่องของภาษาวัยรุ่นที่ไม่นับว่าเป็นภาษาไทยกันมาก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อทุกคนใช้ภาษาเดียวกันและมีการสื่อสารไปในทิศทางเดียวกัน ย่อมถือได้ว่า ภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ไม่ว่าจากวัยรุ่นหรือนักวิชาการ ยังคงเป็นภาษาไทย [[หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ]

การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทย

ภาษาไทยยุคใหม่กับโลกสมัยที่เปลี่ยนแปลง


ประเทศไทยนอกจากมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในนามเมืองแห่งความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องของทรัพยากรข้าวปลาอาหารแล้ว ด้านความงดงามทางวัฒนธรรม ที่มีสีสันโดดเด่นแตกต่างกันในแต่ละภาค ก็ดูเหมือนจะได้รับการกล่าวขานระบือไกลไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัฒนธรรมการแต่งกาย วัฒนธรรมการแสดง หรือวัฒนธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านภาษาที่กำลังมีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในขณะนี้
สังคมและวัฒนธรรมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุดแต่การเปลี่ยนแปลงจะเร็วหรือช้านั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นระดับการศึกษาของคนในสังคม การสื่อสารคมนาคม และการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ภาษาและสังคมเป็นของคู่กัน ต้องไปด้วยกันเสมอ ถ้าสังคมเปลี่ยนภาษาก็เปลี่ยน  มีผลเกี่ยวเนื่องกันเนื่องจาก ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นการค้นพบ การขัดแย้ง การแข่งขัน การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม   มีผลทำให้ รูปแบบทางสังคมวิธีการดำเนินชีวิตของมนุษย์และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษาตามยุคสมัย

การเปลี่ยนแปลงในภาษาไทย

ภาษาเปลี่ยนแปลงในลักษณะของการออกเสียง คำศัพท์ รูปแบบ และลักษณะอื่นอื่นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป ภาษาที่เปลี่ยนไปเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาไทย
สื่อและการกระจายตัวของประชากรเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงของภาษา จะเห็นได้ว่ามีคำศัพท์จากทางภาคต่างๆ ในประเทศไทยเริ่มใช้กันข้ามภาคในประเทศไทย เช่นคำศัพท์จากทางภาคกลางมีการเริ่มใช้กันมากทางภาคเหนือ และภาคใต้เนื่องจากทุกคนได้ดูรายการโทรทัศน์ ที่เสนอภาษาจากทางภาคกลาง ในขณะเดียวกันกลุ่มคนภาคกลางได้เริ่มใช้ภาษาจากทางภาคอีสานมากขึ้น เมื่อมีรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับคนที่อาศัยในภาคอีสาน ภาษาต่างประเทศเช่นภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในทางศัพท์วิชาการและศัพท์ทางคอมพิวเตอร์ มากขึ้นเช่นกัน   กลุ่มเฉพาะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาของภาษา คำศัพท์ใหม่ใหม่เกิดขึ้นมากโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น มีภาษาเฉพาะของกลุ่ม เมื่อภาษาเกิดมีการใช้กันใหม่ ทำให้มีคำศัพท์ใหม่นิยามขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามเมื่อหมดการใช้ของคำศัพท์นั้นนั้น ภาษานั้นก็จะตกรุ่นและหมดความนิยมไป

สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงภาษามีสาเหตุมาจากการตอบสนองความต้องการของมนุษย์เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ผลที่ตามมาจะทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไป พอสรุปได้ดังนี้

1การหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกหรือวัฒนธรรมสมัยใหม่ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เรียบ

    ง่าย ไม่สลับซับซ้อน ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา
2. การเปรียบเทียบวัฒนธรรมตะวันตกที่ไม่ซับซ้อน กับวัฒนธรรมภาษาดังเดิมของไทยซึ่ง
สลับซับซ้อน ลึกซึ้ง เข้าใจได้ยาก ส่งผลให้ละเลยและหลงลืมเด็กยุคใหม่หลงลืมวัฒนธรรมไทยซึ่งเป็นสิ่งดีงามไปแต่กลับไปเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตก
3.ความเจริญทางเทคโนโลยีที่เข้ามา เช่น การพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ นับเป็นสื่ออันสำคัญที่ทำให้
 วัยรุ่น ได้รับข่าวสารเรื่องราวต่าง ๆ เกิดการเรียนรู้ ยอมรับและปรับเปลี่ยนภาษาไทยมากขึ้น โดยมุ่งความทันสมัย ไม่คำนึงถึงรากฐานวัฒนธรรมภาษาเดิม
4.ความเจริญทางด้านสังคมและชุมชนต่าง ๆ

ตัวอย่างภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
                       
      ภาษาวิบัติ หรือ ภาษาอุบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่มีการเปลี่ยนแปลง และไม่ตรงกับกับภาษามาตรฐานตามหลักภาษาไทยในด้านการสะกดคำ คำว่า 'ภาษาวิบัติใช้เรียกรวมถึงการเขียนที่สะกดผิดบ่อยรวมถึงการใช้คำศัพท์ใหม่หรือคำศัพท์ที่สะกดให้แปลกไปจากคำเดิม  ในประเทศไทยมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาเด็กไทยขาดการศึกษารวมถึงปัญหาภาษาวิบัติทำให้เด็กไทย ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรในขณะเดียวกันได้มีการใช้คำว่าภาษาอุบัติแทนที่ภาษาวิบัติที่มีความหมายในเชิงลบ โดยภาษาอุบัติหมายถึงภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตอบสนองวัฒนธรรมย่อย เช่นเดียวกับภาษาเฉพาะวงการที่เป็นศัพท์สแลง  คำว่า "วิบัติ" มาจากภาษาบาลี มีความหมายถึง พินาศฉิบหาย หรือความเคลื่อนทำให้เสียหาย

นิยามศัพท์เฉพาะ
สะกดผิดได้ง่าย  เป็นรูปแบบของคำที่มีการสะกดผิด ซึ่งเกิดจากคำที่มีการผันอักษรและเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์

สนุ๊กเกอร์ (สนุกเกอร์)
โน้ต (โน้ต)
คำที่สะกดผิดเพื่อให้แปลกตา
นู๋ (หนู)
ชะมะ,ชิมิ (ใช่ไหม)
เทอ (เธอ)
การลดรูปคำ
เป็นรูปแบบของคำที่ลดรูปให้สั้นลง มีใช้ในภาษาพูด
มหาลัย หรือ มหา'ลัย (มหาวิทยาลัย)
วิดวะ (วิศวกรรม)
คำที่สะกดผิดเพื่อให้ตรงกับเสียงอ่าน
ใช่ไหม  ใช่มั้ย
คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์
ไม่  ม่าย
ใช่  ช่าย
ใคร  คราย
คำที่สะกดผิดเพื่อลดความหยาบของคำ
หรืออาจใช้หลีกเลี่ยงการกรองคำหยาบของซอฟต์แวร์
กู  กรู
มึง  มรึง เมิง
ไอ้สัตว์  ไอ้สาด

ผลกระทบจากการใช้ภาษาวิบัติ

                วัฒนธรรมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด เนื่องจากปัญหาที่มนุษย์ประสบอยู่ในสังคมเป็นประจำ ประกอบมีความต้องการจะปรับปรุงวิถีชีวิตของตนเองและครอบครัวให้มีสภาพดีขึ้นกว่าเดิม จะเห็นว่าวัฒนธรรมกับสังคมต้องไปด้วยกันเสมอ มีผลเกี่ยวเนื่องกัน โดยเฉพาะในระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างของสังคมด้วยรวมถึงการเปลี่ยนภาษา สิ่งนี้ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม  มีผลสะท้อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบความสัมพันธ์ของบุคคลและภาษาที่นำมาใช้สื่อสารแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมภาษาของแต่ละท้องถิ่น

ข้อคิดจากการใช้ภาษาวิบัติ

ความวิบัติมันไม่ได้อยู่กับเด็กแล้ว มันอยู่ที่ผู้ใหญ่ ต่างหาก ก็ลองคิดกันดูสิว่าจะให้มันอยู่กับ คนกลุ่มเล็ก หรือว่าจะให้มันกระจาย ไปสู่ระดับชาติ มันคงจะไม่ใช่เรื่อง น่าภูมิใจนัก ถ้าภาษาไทย ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ต้องมาสลายไป เพราะพวกเรา ทุกคนไม่ช่วยกันดูแล  ดั้งนั้นจึงอยากบอกให้ทุกๆคนช่วยกันอนุรักษ์ภาษาไทยไว้ให้คงอยู่สืบไป


ที่มาของข้อมูลhttp://baitongbaitong.blogspot.com/

รณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง

ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร

การเปลี่ยนแปลงของภาษาที่มักจะเห็นได้ง่ายได้แก่ 1. การเปลี่ยนแปลงทางเสียงของค า 2. การเปลี่ยนแปลงทางความหมายของค า 3. การเลิกใช้ค าเดิมแล้วเปลี่ยนเป็นค าใหม่

ปัจจัยใดที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงมากที่สุด

ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดภาษาก็คือหน่วยเสียงและหน่วยความหมาย แต่ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า เมื่อเสียงและความหมายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในบุคคล ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดการแปรเปลี่ยนของเสียงและความหมายนั้นย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของเสียงนี้ อาจจะเรียกว่า การเปลี่ยนแปลงจากภายใน เพราะ ...

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงภาษาไทยปัจจุบันเกิดจากปัจจัยใด

เอ็ดเวอร์ดซาเฟียร์(1921, 147-170) เรียกว่า drift หรือการเลื่อนไหลของภาษา ตัวอย่าง ภาษาไทยในอดีตกับปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัย ภายนอก ▶เกิดจากปัจจัยทางสังคม เช่น ▶การอพยพย้ายถิ่น ▶การค้าขาย ▶การไปมาหาสู่ ▶การแต่งงานข้ามชาติ ▶การตกเป็นอาณานิคมของโลกตะวันตก ▶การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง

ภาษาไทย เป็นภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพราะเหตุใด

ภาษาไทยเป็นภาษาประจ าชาติของสังคมไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่สมัยสุโขทัยสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ การเปลี่ยนแปลงทางภาษาค่อยๆเกิดขึ้นและด าเนินไป จากปัจจัยภายในและปัจจัย ภายนอก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยดังกล่าวของภาษาไทยนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งการออกเสียง ระบบเสียง ความหมายของคา และหน้าที่ของคาในบริบทต่าง ๆ ได้