Callno ในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุด หมายถึงอะไร

11 คำศัพท์ที่ผู้ใช้บริการควรรู้ เกี่ยวกับห้องสมุด

สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีบริการหลากหลายรูปแบบ และมีหลากหลายฐานข้อมูลออนไลน์สำหรับให้บริการ หนึ่งในนั้น คือ

Callno ในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุด หมายถึงอะไร
ภาพหน้าจอฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด (WebPAC) (เข้าใช้งานได้ที่ https://library.lib.ru.ac.th)

ภายในฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด (WebPAC) ผู้ใช้บริการทั่วไป สามารถค้นหาข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีให้บริการภายในอาคารสำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยรามคำแหง เช่น หนังสือ ชื่อวารสาร วิทยานิพนธ์ สื่อต่างๆ รวมถึงค้นหาดรรชนีบทความวารสารและเอกสาร โดยมีความพิเศษในหน้าจอแสดงผลการค้นหา คือ

  • ชมภาพปกและสารบัญของหนังสือได้ โดยคลิกที่ “Web Resource” หรือ “ปกและสารบัญ”
  • ดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ และงานวิจัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฉบับเต็ม (Full Text) ได้ โดยคลิกที่ “RU eResearch” หรือ “ดุษฎีนิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text)” หรือ “วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text)”

ในหน้าจอสำหรับค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด (WebPAC) มี 11 คำศัพท์ที่ผู้ใช้บริการควรรู้ เกี่ยวกับห้องสมุด ดังนี้

Callno ในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุด หมายถึงอะไร
ภาพคำศัพท์ที่ผู้ใช้บริการควรรู้ เกี่ยวกับห้องสมุด ที่พบในหน้าจอฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด (WebPAC)

1. Keyword (คำสำคัญ)
เป็นการสืบค้นโดยการกำหนดคำสำคัญที่ใช้แทนเนื้อหาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ

2. Subject (หัวเรื่อง)
เป็นการสืบค้นโดยใช้คำที่กำหนดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อใช้แทนเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศ

3. Title (ชื่อเรื่อง)
เป็นการสืบค้นด้วยชื่อเรื่อง เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อนวนิยาย ชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่องานวิจัย เป็นต้น

4. LC Call No.
เลขหมู่หนังสือระบบรัฐสภาอเมริกัน ที่สำนักหอสมุดกลางใช้ในการจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือทั่วไป เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและการค้นหา

5. ISBN
คือ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number) เป็นเลขที่กำหนดขึ้นสำหรับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือทั่วไปเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของหนังสือแต่ละชื่อเรื่อง

6. ISSN
คือ เลขมาตรฐานสากลประจําวารสาร (International Standard Serial Number) เป็นเลขที่กำหนดขึ้นสำหรับสิ่งพิมพ์ประเภทวารสารแต่ละชื่อเรื่อง เพื่อใช้สำหรับการค้นข้อมูลวารสารการแลกเปลี่ยน และการติดต่อต่าง ๆ เกี่ยวกับวารสารให้ถูกต้อง สะดวก และรวดเร็ว

7. Author (ชื่อผู้แต่ง)
เป็นการสืบค้นโดยใช้ชื่อบุคคลนามปากการ่วมถึงชื่อหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ

8. Advance Search (การค้นหาขั้นสูง)
เป็นการกำหนดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง เพื่อให้ได้ผลการสืบค้นที่ตรงตามความต้องการมากขึ้น

9. Location
ตำแหน่งของทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อแสดงให้เห็นว่าทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ ถูกจัดเก็บอยู่ที่ใด

10. Other Call No.
เลขหมู่หนังสือระบบพิเศษที่สำนักหอสมุดกลาง ใช้สำหรับการจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศลักษณะพิเศษ ได้แก่ ตำราเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง นวนิยาย เรื่องสั้น สิ่งพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง สิ่งพิมพ์รัฐบาล และสิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษอื่น ๆ

11. Status
สถานะของทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อแสดงรายละเอียดสถานะร่วมถึงความพร้อมที่จะใช้บริการของทรัพยากรสารสนเทศ

Callno ในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุด หมายถึงอะไร
ภาพคำศัพท์ที่ผู้ใช้บริการควรรู้ เกี่ยวกับห้องสมุด ที่พบในหน้าจอฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด (WebPAC)

คำศัพท์น่าสนใจทั้ง 11 คำเหล่าที่แนะนำไว้ข้างต้น หากผู้ใช้บริการทราบความหมายแล้ว จะช่วยให้ค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด (WebPAC) ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการดีมากยิ่งขึ้นแน่นอน

Callno ในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุด หมายถึงอะไร
คลิกดาวน์โหลด ภาพ Infographic เรื่อง 11 คำศัพท์ที่ผู้ใช้บริการควรรู้ เกี่ยวกับห้องสมุด

ที่มา
Ramkhamhaeng University Library. (11 พฤศจิกายน 2564). CAT. STORY เรื่องนี้ที่อยากเล่า (11.11คำศัพท์ที่ผู้ใช้บริการควรรู้เกี่ยวกับห้องสมุด). ค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.facebook.com/ramlibrary/posts/4993235314022767.

ข้อมูลโดย ทีม CAT. Story จากหน่วยวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ

Callno ในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด หมายถึงอะไร

เลขเรียกหนังสือ (Call number) คือ สัญลักษณ์เพื่อบอกตำแหน่งที่อยู่ของหนังสือเล่มนั้นในห้องสมุด โดยห้องสมุดกำหนดขึ้นสำหรับหนังสือแต่ละเล่มโดยเฉพาะ ซึ่งจะไม่ซ้ำกัน ทำให้สะดวกในการจัดเก็บหนังสือขึ้นชั้น และสะดวกในการค้นหา ส่วนประกอบของเลขเรียกหนังสือ ประกอบด้วย เลขหมู่หนังสือ อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง

ฐานข้อมูล OPAC ของห้องสมุดเป็นฐานข้อมูลประเภทใด

โอแพ็ก (อังกฤษ: OPAC: Online Public Access Catalog) เป็นระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อค้นคืนตามเลขเรียกหนังสือ สถานที่จัดเก็บ และสถานภาพของทรัพยากรสารสนเทศ ก่อนที่จะไปหาตัวเล่มบนชั้น เริ่มมีใช้ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1990 แทนที่ระบบแบบเก่าที่เป็นบัตรกระดาษ ผู้ใช้บริการห้องสมุดหรือ ...

คำว่า webopac หมายถึงอะไร

Web OPAC เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์สําหรับการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ในสํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งผลการค้นหาผ่านทาง Web OPAC นั้น จะประกอบไปด้วย สถานะใช้งาน การจัดหมวดหมู่และสถานที่จัดเก็บ และถ้าหากมีการยืมรายการ ต่างๆจากสํานักหอสมุด เครื่องมือดังกล่าวก็จะแสดงวันครบกําหนดคืนให้ทราบในทันที

สถานะของสื่อสารสนเทศ Check Shelf หมายถึงข้อใด

CHK SHELVES. ตรวจสอบที่ชั้นหนังสือ