มรดกทางวัฒนธรรมมีด้านใดบ้าง

เครื่องมือที่ใช้สื่อสารในวิถีชีวิตของแต่ละกลุ่มชน ซึ่งสะท้อนโลกทัศน์ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ทั้งเสียงพูด ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ ภาษา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

(1) ภาษาไทย หมายความว่า ภาษาประจำชาติ หรือภาษาราชการที่ใช้ในประเทศไทย

(2) ภาษาไทยถิ่น หมายความว่า ภาษาไทยที่ใช้สื่อสารในแต่ละภูมิภาค ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นกลาง ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยถิ่นใต้

(3) ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ หมายความว่า ภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารในชุมชนท้องถิ่นของประเทศไทย เช่น ภาษาเขมรถิ่นไทย ภาษาม้ง ภาษาชอง ภาษามอแกน ภาษาลื้อ ภาษาพวน หรือภาษาอื่นที่มีลักษณะเป็นภาษาชาติพันธุ์

(4) ภาษาสัญลักษณ์ หมายความว่า ภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารด้วยภาษามือ ภาษาท่าทาง อักษร หรือสัญลักษณ์อื่นที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

มรดกทางวัฒนธรรมมีด้านใดบ้าง
วรรณกรรมพื้นบ้าน หมายความว่า เรื่องราวที่ถ่ายทอดอยู่ในวิถีชีวิตชาวบ้าน ด้วยวิธีการบอกเล่าเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร หรือเป็นภาพ วรรณกรรมพื้นบ้าน แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ดังต่อไปนี้

(1) นิทานพื้นบ้าน หมายความว่า เรื่องเล่าพื้นบ้านที่สืบทอดกันมา เช่น นิทานจักร ๆ วงศ์ ๆ นิทานประจำถิ่น นิทานคติ นิทานอธิบายเหตุ นิทานเรื่องสัตว์ นิทานเรื่องผี นิทานมุขตลก นิทานเรื่องโม้ นิทานลูกโซ่ หรือเรื่องเล่าอื่นที่มีลักษณะเป็นนิทานพื้นบ้าน

(2) ตำนานพื้นบ้าน หมายความว่า เรื่องเล่าที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พิธีกรรม ศาสนาและประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น

(3) บทร้องพื้นบ้าน หมายความว่า คำร้องที่สืบทอดกันมาในแต่ละโอกาส เช่น บทกล่อมเด็ก บทร้องเล่น บทเกี้ยวพาราสี บทจ๊อย คำเซิ้ง หรือคำร้องอื่นที่มีลักษณะเป็นบทร้องพื้นบ้าน

(4) บทสวดหรือบทกล่าวในพิธีกรรม หมายความว่า คำสวดที่ใช้ประกอบในพิธีกรรม เช่น คำบูชา คำสมา คำเวนทาน คำให้พร คำอธิษฐาน คาถา บททำขวัญ บทอานิสงส์ บทประกอบการรักษาโรคพื้นบ้าน หรือคำสวดอื่นที่มีลักษณะเป็นบทสวดหรือบทกล่าวในพิธีกรรม

(5) สำนวน ภาษิต หมายความว่า คำพูดหรือคำกล่าวที่มีสัมผัสคล้องจองกัน เพื่อความสนุกสนานหรือใช้ในการสั่งสอน เช่น โวหาร คำคม คำพังเพย คำอุปมาอุปไมย คำผวน หรือคำพูดหรือคำกล่าวอื่นที่มีลักษณะเป็นสำนวน ภาษิต

(6) ปริศนาคำทาย หมายความว่า ข้อความที่ตั้งเป็นคำถาม เพื่อให้ผู้ตอบได้ทายหรือตอบปัญหา เช่น คำทาย ปัญหาเชาวน์ ผะหมี หรือข้อความอื่นที่มีลักษณะเป็นปริศนาคำทาย

(7) ตำรา หมายความว่า องค์ความรู้ที่มีการเขียนบันทึกในเอกสารโบราณ เช่น ตำราโหราศาสตร์ ตำราดูลักษณะคนและสัตว์ ตำรายา หรือองค์ความรู้อื่นที่มีลักษณะเป็นตำรา

มรดกทางวัฒนธรรมมีด้านใดบ้าง
2. สาขาศิลปะการแสดง 

ศิลปะการแสดง หมายความว่า การแสดงดนตรี การขับร้อง การรำ การเต้น และละครที่แสดงเป็นเรื่องราว ทั้งที่เป็นการแสดงตามขนบแบบแผน หรือมีการประยุกต์เปลี่ยนแปลง การแสดงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการแสดงสดต่อหน้าผู้ชม และมีจุดมุ่งหมายเพื่อความงาม ความบันเทิง หรือเป็นงานแสดงที่ก่อให้เกิดการคิด วิพากษ์ นำสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสังคม ศิลปะการแสดง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท   ดังต่อไปนี้

(1) ดนตรีและเพลงร้อง หมายความว่า เสียงที่เกิดจากเครื่องดนตรีและการขับร้องที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง ทำให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก และจินตนาการ เพื่อบรรเลง   ขับกล่อม ประกอบพิธีกรรมและประกอบการแสดง ดนตรีและเพลงร้อง แบ่งออกเป็น ดนตรีและเพลงร้องในพิธีกรรม ดนตรีและเพลงร้อง
ในการแสดง ดนตรีและเพลงร้องเพื่อการประกวดประชัน ดนตรีและเพลงร้องเพื่อความรื่นเริง

(2) นาฏศิลป์และการละคร หมายความว่า การแสดงที่ใช้ร่างกายท่วงท่าการเคลื่อนไหว ท่าเต้น ท่ารำการเชิด อาจสอดคล้องหรือสัมพันธ์กับการพากย์ เจรจา การใช้เสียงดนตรี บทร้อง บทละคร และอุปกรณ์ประกอบการแสดง ซึ่งสื่อถึงอารมณ์ ความรู้สึก และเรื่องราวอาจแสดงร่วมกับดนตรีและการขับร้องหรือไม่ก็ได้ นาฏศิลป์และการละคร แบ่งออกเป็น นาฏศิลป์และการละครในพิธีกรรม นาฏศิลป์และการละครที่เป็นเรื่องราวและแสดงเป็นชุดแต่ไม่เป็นเรื่องราว

มรดกทางวัฒนธรรมมีด้านใดบ้าง
3. แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และงานเทศกาล 

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล หมายความว่า การประพฤติปฏิบัติและการกระทำกิจกรรมในแนวทางเดียวกันของคนในชุมชนที่สืบทอดกันมาบนหนทางของมงคลวิถี นำไปสู่สังคมแห่งสันติสุข แสดงให้เห็นอัตลักษณ์ของชุมชนหรือกลุ่มชาติพันธุ์ แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้

 

(1) มารยาท หมายความว่า การประพฤติปฏิบัติที่ดีงามต่อผู้อื่น เช่น การแสดงความเคารพ การส่งและการรับสิ่งของ การกิน การพูด การยืน การเดิน การนั่ง การนอน         การแต่งกาย

(2) ประเพณี หมายความว่า สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาจนเป็นแบบแผนขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี ซึ่งเกี่ยวกับศาสนา เทศกาล วงจรชีวิต และการทำมาหากิน

(ก) ประเพณีเกี่ยวกับศาสนา เช่น การสวดมนต์ การเทศน์ การทอดกฐิน การทอดผ้าป่า ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีลากพระ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

(ข) ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล เช่น งานสงกรานต์ งานลอยกระทง งานบุญเดือนสิบ งานตานก๋วยสลาก งานผีตาโขน งานแข่งเรือ งานบุญบั้งไฟ

(ค) ประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต เช่น การเกิด การตั้งชื่อ การบวช การแต่งงาน พิธีบายศรีสู่ขวัญ พิธีกรรมเหยา ประเพณีผูกเสี่ยว การขึ้นบ้านใหม่ การตาย

(ง) ประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน เช่น พิธีบูชาแม่โพสพ พิธีทำขวัญข้าว พิธีไหว้ครู พิธีกรรมขอฝน พิธีวางศิลาฤกษ์ ประเพณีลงเล


มรดกทางวัฒนธรรมมีด้านใดบ้าง
4. ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล

ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล หมายความว่า องค์ความรู้ วิธีการ ทักษะ ความเชื่อ แนวปฏิบัติและการแสดงออกที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติเพื่อการดำรงชีวิตความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังต่อไปนี้

(1) อาหารและโภชนาการ หมายความว่า สิ่งที่มนุษย์บริโภค รวมถึงวิธีการปรุงและประกอบอาหาร รูปแบบการบริโภค และคุณค่าทางโภชนาการ

(2) การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย

(ก) การแพทย์แผนไทย หมายความว่า กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด รักษา หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย และรวมถึงการเตรียมการผลิตยาแผนไทย และการประดิษฐ์อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ทั้งนี้ โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา

(ข) การแพทย์พื้นบ้านไทย หมายความว่า การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ซึ่งสืบทอดกันมาในชุมชนท้องถิ่นหรือกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์พื้นบ้านไทย

 3. โหราศาสตร์และดาราศาสตร์

(ก) โหราศาสตร์ หมายความว่า ความรู้ ความเชื่อ ในการทำนายโชคชะตา ทำนายอนาคตของบุคคลและบ้านเมืองโดยอาศัยตำแหน่งของดวงดาวในเวลาที่เกิดเหตุการณ์นั้น

(ข) ดาราศาสตร์ หมายความว่า ความรู้จากการสังเกตและอธิบายธรรมชาติของดวงดาวและเทหวัตถุในท้องฟ้าที่นำมาใช้ในการดำรงชีวิต

(4) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายความว่า ความรู้ในการจัดการระบบนิเวศ เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

(5) ชัยภูมิและการตั้งถิ่นฐาน หมายความว่า ความรู้และความเชื่อในการเลือกที่ตั้ง เพื่อการอยู่อาศัยหรือวัตถุประสงค์อื่นตามสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของชุมชน


มรดกทางวัฒนธรรมมีด้านใดบ้าง
5. งานช่างฝีมือดั้งเดิม

งานช่างฝีมือดั้งเดิม หมายความว่า งานที่สร้างสรรค์ขึ้นจากภูมิปัญญา ทักษะฝีมือช่าง การเลือกใช้วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ และกลวิธีการสร้างสรรค์ที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะ สะท้อนพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา งานช่างฝีมือดั้งเดิม แบ่งออกเป็น     9 ประเภท ดังต่อไปนี้

(1) ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า หมายความว่า งานที่สร้างสรรค์ขึ้นจากเส้นใย ด้วยกรรมวิธีในการผลิต เช่น ทอ ถัก ปัก ตีเกลียว มัดหมี่ ขิด ยก จก เกาะล้วง พิมพ์ลาย ย้อม หรือกรรมวิธีอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า

(2) เครื่องจักสาน หมายความว่า งานที่สร้างสรรค์จากวัตถุดิบ ด้วยกรรมวิธีในการผลิต เช่น จักตอก สาน ถัก ผูกรัด มัด ร้อย หรือกรรมวิธีอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องจักสาน

(3) เครื่องรัก หมายความว่า งานที่ใช้ยางรักเป็นวัสดุสำคัญ ด้วยกรรมวิธีในการผลิต เช่น ถม ทับ ปิดทองรดนํ้า กำมะลอ ประดับมุก ประดับกระจกสี ประดับกระดูก ปั้นกระแหนะ หรือกรรมวิธีอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องรัก

(4) เครื่องปั้นดินเผา หมายความว่า งานที่สร้างจากดินเป็นวัสดุหลัก ด้วยวิธีการปั้น ผึ่งแห้ง เผาเคลือบ หรือวิธีการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องปั้นดินเผา

(5) เครื่องโลหะ หมายความว่า งานที่สร้างสรรค์จากโลหะเป็นวัสดุหลัก ด้วยกรรมวิธีในการผลิต เช่น หลอม เผา ตี หล่อ ตัด ติด ขัด เจียร เชื่อม หรือกรรมวิธีอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องโลหะ

(6) เครื่องไม้ หมายความว่า งานที่สร้างสรรค์จากไม้เป็นวัสดุหลัก ด้วยกรรมวิธีในการผลิต เช่น แปรรูป ตัด เลื่อย แกะ สลัก สับ ขุด เจาะ ถาก กลึง ขูด ขัด ตกแต่งผิว หรือกรรมวิธีอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องไม้

(7) เครื่องหนัง หมายความว่า งานที่สร้างสรรค์จากหนังสัตว์เป็นวัสดุหลัก ด้วยกรรมวิธีในการผลิต เช่น หมัก ฟอก ตากแห้ง ตัด เจาะ ฉลุ ลงสี