การตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกมีผลกระทบอย่างไรบ้าง

การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก: มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมทางดนตรีที่หลากหลาย ในทวีปอเมริกา

ผู้แต่ง

  • กานต์ กุลานุพงศ์

คำสำคัญ:

ดนตรีแจ๊ส, ดนตรีแซมบา, ดนตรีบอสซาโนวา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้จัดทำเพื่อนำเสนอลักษณะมุมมองสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลของดนตรีและวัฒนธรรมต่างๆ ที่ได้มาจากการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกมาในทวีปอเมริกา ดังนั้นบทความนี้จะมุ่งเน้นในการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาสำคัญ ในมุมมองที่เป็นลักษณะเฉพาะของดนตรีแจ๊ส ดนตรีแซมบา รวมไปถึงดนตรีบอสซาโนวา โดยเฉพาะในเรื่องของจังหวะ อีกทั้งที่มาที่ไปของแนวคิดในทางดนตรีเหล่านั้น นอกจากนี้บทความวิชาการนี้ยังมีการแสดงตัวอย่างของชื่อนักดนตรีที่มีชื่อเสียง และมีรูปภาพประกอบ ซึ่งจะสอดคล้องกับประเด็นเนื้อหาสาระของดนตรีอีกด้วย
แนวคิดของดนตรีแจ๊ส ดนตรีแซมบา และดนตรีบอสซาโนวานั้น อาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นมาจากผลพลอยของการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก เพื่อที่จะแผ่ขยายอำนาจและดินแดนในสมัยก่อน ที่นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานของดนตรีเหล่านั้น

Downloads

Download data is not yet available.

การตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกมีผลกระทบอย่างไรบ้าง

Downloads

  • PDF

เผยแพร่แล้ว

30-06-2020

ฉบับ

ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (2020): วารสารดนตรีและการแสดง (ปีที่ 6 ฉบับที่ 1) : มกราคม – มิถุนายน

บท

Academic Article

5.ตอบ   -     ด้านการเมืองการปกครอง เกือบทุกประเทศตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ยกเว้นประเทศไทย          -     ด้านเศรษฐกิจ เกิดการผลิตเพื่อการค้า มีการค้าอย่างเสรี การใช้เงินตราในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า          -     ด้านสังคมและวัฒนธรรม มีการเลิกทาส ทำให้ราษฎรมีเสรีภาพ มีการจัดการศึกษาแบบตะวันตก ประชาชนมี  ส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น

ฝรั่งเองพูดกันมาว่า การแสวงหาอาณานิคมมีเป้าหมายใหญ่ ๓ ประการ ดังที่พูดเป็นคำชุดว่า เพื่อ “…gold, God and glory”

พูดเป็นไทยเรียงลำดับใหม่ว่า เพื่อ แผ่ศาสนา - หาความมั่งคั่ง – ครองความยิ่งใหญ่

ยุคอาณานิคมของประเทศคริสต์เริ่มขึ้นในช่วงที่จักรวรรดิออตโตมาน ของเตอร์กส์มุสลิมกำลังเริ่มจะเสื่อมอำนาจ แต่กระนั้นก็ยังมีกำลังความยิ่งใหญ่เพียงพอที่จะกีดกั้นไม่ให้ประเทศตะวันตกฝ่าเข้าไป จึงเป็นเหตุให้ประเทศตะวันตกเหล่านั้นต้องออกล่าเมืองขึ้นโดยทางทะเล ดังกล่าวแล้ว

ตอนแรกสเปนกับโปรตุเกสเป็นเจ้าใหญ่ในการล่าอาณานิคมก่อน แต่ก็ขัดแย้งกัน จึงปรากฏว่าใน ค.ศ.1493 สันตะปาปา อเลกซานเดอร์ ที่ ๖ (Pope Alexander VI) ได้ประกาศโองการกำหนดเส้นขีดจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ แบ่งโลกนอกอาณาจักรคริสต์ออกเป็น ๒ ซีก

ทั้งนี้ให้ถือว่า ดินแดนใดก็ตามที่ไม่มีกษัตริย์คริสต์อื่นปกครอง ถ้าอยู่ในซีกตะวันตก ให้สเปนมีสิทธิครอบครองได้ทั้งหมด ถ้าอยู่ในซีกตะวันออก ให้โปรตุเกสเข้าครอบครองได้ทั้งหมด แต่กษัตริย์ โปรตุเกสไม่พอพระทัย

ต่อมา ทั้งสองฝ่ายได้มาประชุมกันที่เมืองตอร์เดซิลยาส ใน ค.ศ.1494 ขอขยับเส้นแบ่งออกไปจนตกลงกันได้ทั้งสองฝ่าย และเซ็นสัญญาตอร์เดซิลยาส (Treaty of Tordesillas) ซึ่งสันตะปาปาจูเลียสที่ ๒ (Pope Julius II) ประกาศโองการรับรองใน ค.ศ.1506

ต่อมาใน ค.ศ.1514 สันตะปาปาลีโอที่ ๑๐ (Pope Leo X) ก็ได้ประกาศโองการห้ามมิให้ประเทศอื่นใดเข้ายุ่งเกี่ยวกับดินแดนในครอบครองของโปรตุเกส

แต่เวลานั้น อำนาจของสันตะปาปาเริ่มเสื่อมลงแล้ว ดังที่ยุคปฏิรูปจะเริ่มขึ้นใน ค.ศ.1517 ประเทศมหาอำนาจอื่นในยุโรป โดยเฉพาะที่เป็นโปรเตสแตนต์ก็มิได้ยอมเชื่อฟัง

ต่อมา อังกฤษและฮอลันดาก็ออกล่าอาณานิคมบ้าง พอถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็คุกคามอำนาจของโปรตุเกสมากขึ้น จนในที่สุดโปรตุเกสก็หมดอำนาจไป ประเทศอื่นๆ เช่นฝรั่งเศสก็ออกล่าอาณานิคมกันมากขึ้นด้วย

เมื่อเวลาผ่านไป แม้สเปนจะมีดินแดนอยู่มากในอเมริกาใต้ แต่ประเทศผู้ล่าอาณานิคมที่เด่นและแข่งอำนาจกันมาก ก็คือ อังกฤษ กับฝรั่งเศส และเมื่อถึงช่วงท้ายสุด แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะก้าวเข้ามาสู่วงการล่าอาณานิคมด้วยแล้ว แต่ประเทศที่ทรงอำนาจในลัทธิอาณานิคมมากที่สุด ก็คืออังกฤษ จนหมดยุคอาณานิคมไปไม่ช้าหลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒

ในการล่าอาณานิคม นอกจากวัตถุประสงค์ในด้านการค้าและการเมืองแล้ว ก็พ่วงงานเผยแผ่ศาสนาคริสต์ไปด้วย บาทหลวง หรือมิชชันนารี หรือนักสอนศาสนาคริสต์ (missionary) จึงพัวพันกับงานล่าอาณานิคมมาโดยตลอด

บางทีนักสอนศาสนาคริสต์ก็เข้าไปก่อน และช่วยปูทางให้แก่การตั้งอาณานิคม บางแห่งงานทั้งสองอย่างก็ควบคู่กันไป แต่ก็มีบ้างในบางแห่งที่นักสอนศาสนาช่วยคุ้มครอง ไม่ให้นักล่าอาณานิคมหรือฝรั่งที่ปกครอง ไปข่มเหงรังแกชาวพื้นเมือง

สำหรับในถิ่นที่ต้องเกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะในอาฟริกา การล่าอาณานิคมของฝรั่ง ก็หมายถึงการต้องเผชิญกับญิฮาด คือสงครามศักดิ์สิทธิ์ (Jihad หรือ holy war) ของฝ่ายมุสลิมด้วย

ประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ บางแห่งก็ว่า ลัทธิอาณานิคมของฝรั่ง ได้ช่วยคุ้มครองประชาชนไว้มิให้ต้องถูกฝ่ายมุสลิมบังคับด้วยญิฮาดให้ต้องไปถือศาสนาอิสลาม แต่บางแห่งก็ว่า ญิฮาดได้ช่วยให้ชาวมุสลิมต่อสู้ป้องกันลัทธิอาณานิคมของฝรั่ง

ถ้าพูดรวมๆ ก็คงเป็นอย่างที่ฝรั่งเขียนไว้ (“Roman Catholicism,” Britannica, 1997) ว่า

เป็นการยากที่คณะนักสอนศาสนาโรมันคาทอลิก จะแยกตนเองออกจากลัทธิอาณานิคม และนักสอนศาสนาจำนวนมากก็ไม่ต้องการจะแยกด้วย