การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่ ราบรื่น เพราะ เหตุ ใด

การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศจัดตั้ง "เสนาบดีสภา"และจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่12 กระทรวง ได้แก่ กลาโหม, นครบาล, วัง, เกษตรพานิชการ, พระคลัง, การต่างประเทศ, ยุทธนาธิการ, โยธาธิการ, ธรรมการ, ยุติธรรม ,มุรธาธิการ และมหาดไทย แทนจตุสดมภ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 หลังจากนั้นในวันที่ 1 เมษายน 2435 ทรงยุบกระทรวงที่ซ้ำซ้อนกันอยู่ทำให้เหลือกระทรวงเพียง 10 กระทรวง คือ มหาดไทย กลาโหม นครบาล วัง ต่างประเทศ พระคลังมหาสมบัติ โยธาธิการ ยุติธรรม ธรรมการ เกษตราธิการ

การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดการรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนต่างๆ ขึ้นเป็นเขตการปกครอง เรียกว่า "มณฑล"โดยมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองและขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกได้ดังนี้

การปกครองแบบเทศาภิบาล หลักการปกครองแบบนี้คือ รัฐบาลจะทำการปกครองหัวเมืองตั้งแต่ชั้นต่ำสุดถึงสูงสุด โดยเริ่มต้นจากพลเมืองเลือกผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้าน 10 หมู่บ้านมีสิทธิเลือกกำนันของตำบล ตำบลหลายๆ ตำบลมีพลเมืองประมาณ 10,000 คนรวมกันเป็นอำเภอ หลายอำเภอรวมกันเป็นเมือง และหลายเมืองรวมเป็นมณฑลโดยมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ดูแล

การปกครองท้องที่ ในพ.ศ.2440 รัชกาลที่ 5 ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ สำหรับการจัดการปกครองระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น ทรงริเริ่มจัดการ "สุขาภิบาล"ในเขตกรุงเทพ และตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อทดลองให้ประชาชนรู้จักการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น

ผลของการปฏิรูปการเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

  • ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในราชอาณาจักร เป็นผลจากการปกครองส่วนภูมิภาคในรูปมณฑลเทศาภิบาล โดยมีศูนย์รวมอยู่ที่กรุงเทพ
  • รัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ สามารถขยายอำนาจเข้าควบคุมพื้นที่ภายในพระราชอาณาจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ทำให้กลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์จากการปฏิรูปการปกครองพากันก่อปฏิกิริยาต่อต้านรัฐบาล ดังจะเห็นได้จากกบฏผู้มีบุญทางภาคอีสาน ร.ศ.121 กบฏเงื้ยวเมืองแพร่ ร.ศ.121 และกบฏแขกเจ็ดหัวเมือง แต่รัฐบาลก็สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้

การปฏิรูปการยุติธรรมและการศาล

 ในพ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามริเริ่มปฏิรูปการศาลให้ดีขึ้น โดยการจัดตั้งศาลรับสั่งขึ้นตรงต่อพระองค์ เพื่อพิจารณาคดีความที่อยู่ในกรมพระนครบาล มหาดไทย กรมท่า เมื่อ รัชกาลที่ 5 ทรงรวมอำนาจศาลไปขึ้นกับส่วนกลาง ทำให้ค่าธรรมเนียมและรายได้ที่ขุนนางเคยได้ลดลง และไม่เปิดโอกาสให้ใช้อำนาจทางศาลในทางที่ผิดได้อีกต่อไป นอกจากนี้ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมในพ.ศ.2435 ด้วยเพื่อพิจารณาคดีอาญาและคดีแพ่งตามแบบตะวันตก โดยมอบหมายให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งสำเร็จวิชากฏหมายจากประเทศอังกฤษเป็นผู้ดำเนินการ

การจัดตั้งสภาที่ปรึกษา  เพื่อให้ขุนนาง  ข้าราชการ  ได้คุ้นเคยกับการปกครองในรูปแบบใหม่  ทำให้ขุนนาง  ข้าราชการได้รู้จักการแสดงความคิดเห็น  รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งให้มี 2 สภา คือ

      1)สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน  ทำหน้าที่ประชุมปรึกษาในเรื่องราชการแผ่นดิน  การออกกฎหมายต่างๆ

      2)สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์  ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาส่วนพระองค์เกี่ยวกับราชการต่างๆ

การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง 

 ใน พ.ศ.2430  พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการเสด็จกลับจากดูงานการปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา  ยุโรป  และญี่ปุ่น  ได้ทรงทำบันทึกเสนอต่อรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงพิจารณาที่จะให้มีการปฏิรูปการปกครอง  จึงได้ทรงจัดตั้งกรมขึ้นใหม่  6  กรม  เมื่อรวมกับที่มีอยู่แล้ว  6  กรม  เป็น 12 กรม  คือ

      1)กรมมหาดไทย   2)กรมพระกลาโหม   3)กรทท่า   4)กรมวัง   5)กรมเมือง   6)กรมนา   7)กรมพระคลัง   8)กรมยุติธรรม      

      9)กรมยุทธนาธิการ   10)กรมธรรมการ   11)กรมโยธาธิการ   12)กรมมุรธาธิการ

             ใน พ.ศ.2435  กรมเหล่านี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง  และโปรดฯ ให้ยกเลิกการปกครองระบบจตุสดมภ์  และใน      พ.ศ.2437  ได้มีพระราชบัญญัติแยกอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมและมหาดไทยออกจากกัน

การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค  มีการปกครองตามระบบเทศาภิบาล  ซึ่งได้ระบุไว้ใน  ประกาศจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ร.ศ.113  โดยรวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็น 1 มณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้บังคับบัญชาการมณฑลละ 1 คน  ซึ่งต้องขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย   การเปลี่ยนระบบการปกครองหัวเมืองเป็นระบบเทศาภิบาลไม่ได้ดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น  เพราะว่ารัฐบาลประสบปัญหาหลายอย่าง  เช่น  การขาดบุคลากรในการปฏิบัติงาน  รัฐบาลกลางขาดงบประมาณทำให้รัฐบาลต้องเร่งรัดภาษี

การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น 

 ซึ่งต้องการให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ  ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล   สุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกคือสุขาภิบาลตำบลท่าฉลอม  จังหวัดสมุครสาคร  ตั้งขึ้นใน พ.ศ.2448