วิธีการประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่โรงเรียนอย่างไรบ้าง

การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

พลังงานถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ  ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เหตุผลก็เพราะต้องมีการใช้พลังงานในทุกขั้นตอนของการดำเนินงานทั้งภาคอุตสาหกรรม  คมนาคม เกษตรกรรม  และอื่นๆ ปัจจัยที่มีผลให้ปริมาณการใช้พลังงานโลก

คือ จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นหากเป็นเช่นนี้ทรัพยากรและพลังงานที่กำลังลดลง เพราะอัตราการใช้พลังงานในโลกได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปีฉะนั้นโลกเราจะต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

ทุกๆปี หากไม่มีมาตรการอนุรักษ์และเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานหรือปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและระบบขนส่ง พลังงานจะต้องหมดไปในอนาคตอย่างแน่นอน  นอกจากนี้แล้วการใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นยังส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นด้วย ดังนั้นการอนุรักษ์พลังงานจึงเป็นมาตรการที่สำคัญที่จะทำให้มีการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

การอนุรักษ์พลังงาน  หมายถึง  การผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดการอนุรักษ์พลังงานนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในกิจการแล้วยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากแหล่งที่ใช้และผลิตพลังงานด้วย

รูปที่ 8.1 แนวโน้มความต้องการพลังงานใน 20 ปี ข้างหน้า

ที่มา: ทิศทางพลังงานไทยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

วิธีการอนุรักษ์พลังงาน

1.  ด้านที่อยู่อาศัย

อุณหภูมิเป็นปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์มนุษย์ต้องการอาศัยอยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ บ้านเรือนในประเทศแถบหนาวจึงมีการปรับอุณหภูมิในบ้านให้อบอุ่น  ส่วนในประเทศร้อนก็มีการใช้เครื่องปรับอากาศเพื่อให้เย็นสบายการปรับอุณหภูมิตามต้องการนี้จำเป็นต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิงเป็นอันมากนอกจากนั้นอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านเช่นตู้เย็นพัดลมวิทยุโทรทัศน์ฯลฯก็อาศัยพลังงานเชื้อเพลิงทั้งสิ้นดังนั้นจึงต้องมีมาตรการในการอนุรักษ์พลังงานที่ใช้ในที่อยู่อาศัยโดยสรุปได้ดังนี้

1.1  การออกแบบบ้าน  ให้มีลักษณะโปร่ง มีการถ่ายเทและระบายอากาศได้สะดวกสำหรับทิศของบ้านควรหันหน้าไปทางทิศเหนือ ใต้  เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้แสงแดดเข้าสู่ช่องเปิดของตัวบ้าน วัสดุที่ใช้สร้างบ้านควรเลือกใช้วัสดุที่สามารถช่วยลดการสูญเสียพลังงานเพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน  เช่นการใช้ฉนวนกันความร้อนตั้งแต่หลังคาจนถึงผนังการใช้วัสดุอื่นแทนกระจก เพื่อลดการสูญเสียความร้อนหรือความเย็นลง เท่ากับลดการสูญเสียพลังงาน

รูปที่ 8.2  การหันทิศทางของบ้าน

ที่มา: สาระน่ารู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงาน

1.2  การปลูกต้นไม้เพิ่มความร่มเงาในบริเวณบ้านจะช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านและช่วยไม่ให้แสงแดดส่องถึงตัวบ้านในช่วงฤดูร้อนทำให้ช่วยลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

1.3  การเลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้า  ควรเลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5  หรือเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเหมาะสมกับขนาดครอบครัว

1.4  การใช้น้ำในที่อยู่อาศัย  ต้องใช้น้ำอย่างประหยัด  ถือว่าเป็นการประหยัดพลังงานด้วย  เพราะการทำให้น้ำสะอาดต้องผ่านกระบวนการที่ต้องใช้พลังงาน  หลักการการประหยัดน้ำ  เช่น

1.4.1  ใช้หัวก๊อกที่มีตัวลดอัตราการไหลของน้ำให้น้อยลง

1.4.2  ปิดก๊อกน้ำในระหว่างแปรงฟันสระผม หรือโกนหนวด

1.4.3  ใช้ไม้กวาดในการกวาดพื้นแทนการใช้น้ำฉีดเพื่อทำความสะอาด

1.4.4  ล้างรถด้วยน้ำถังและฟองน้ำแทนการใช้สายยางฉีดน้ำ

1.4.5  ใช้น้ำจากการซักล้างหรือถูพื้นเพื่อรดน้ำต้นไม้แทนการใช้น้ำประปา

1.5  การใช้พลังงานในเตาก๊าซอย่างประหยัดทำได้ดังนี้

1.5.1  เลือกใช้ถังก๊าซที่มีเครื่องหมายสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)

1.5.2  ควรใช้สายยางหรือสายพลาสติกชนิดยาวและมีความยาว1-1.5 เมตร

1.5.3  ตั้งเตาก๊าซให้ห่างถังก๊าซประมาณ1-1.5 เมตร ปิดวาล์วที่หัวเตาและหัวปรับความดันเมื่อเลิกใช้

1.5.4  เลือกขนาดของหม้อหรือกระทะให้เหมาะสมกับปริมาณอาหารที่จะปรุง

1.5.5  ควรเตรียมอาหารสด เครื่องปรุง และอุปกรณ์การทำอาหารให้พร้อมก่อนติดไฟไม่ควรติดไฟรอนานเกินไปจะสิ้นเปลืองก๊าซ

1.6  การทาสีผนังบ้านหรือเลือกวัสดุพื้นห้องควรเป็นสีอ่อนๆ  เพื่อช่วยสะท้อนแสงสว่างภายในห้อง ควรใช้หลอดประหยัดพลังงานเช่น หลอดผอม  (หลอดฟลูออเรสเซนต์)

1.7  การรีดเสื้อผ้า ควรรีดจำนวนมากในครั้งเดียว

2.  ด้านสถานศึกษา

อาคารหรือสถานศึกษามีการใช้พลังงานหลายรูปแบบ เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง  อุปกรณ์สำนักงาน เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร คอมพิวเตอร์ เป็นต้น  หลักการอนุรักษ์พลังงานที่ใช้ในสถานศึกษาสรุปได้ดังนี้

2.1  การปลูกต้นไม้เพิ่มความร่มเงาแก่ตัวอาคารเรียนโดยไม่ให้อาคารถูกแสงแดดโดยตรงจะช่วยให้ตัวอาคารไม่ร้อนมีบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีปลูกหญ้าคลุมดินเพื่อลดการสะท้อนของแสงเข้าสู่ตัวอาคารเรียน

2.2  ผนังภายในห้องเรียนควรเป็นสีขาว เพราะจะสามารถช่วยให้ห้องเรียนมีความสว่าง

2.3  เลือกหลอดไฟที่มีวัตต์ต่ำพัดลมติดเพดานซึ่งจะช่วยทำให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศภายในห้องเรียน

2.4  มีการรณรงค์หรือจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานในสถานศึกษา

3.  ด้านสถานที่ทำงาน  มีวิธีการประหยัดพลังงานดังนี้

3.1  การป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคารโดยเลือกใช้วัสดุที่เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดีหรือใช้กระจกหน้าต่างชนิดป้องกันรังสีความร้อนการปลูกต้นไม้ให้ร่มเงากับผนัง และการทำ

กันสาด  เป็นต้น

3.2  ใช้สีอ่อนในการทาผนังอาคาร

3.3  เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ป้ายฉลากเขียวประหยัดไฟเบอร์ 5

3.4  ติดตั้งสวิตซ์ไฟให้สะดวกในการเปิดปิด

3.5  การลดชั่วโมงการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าการปิดเครื่องทำน้ำเย็นก่อนเวลาเลิกงาน 15-30 นาที

3.6  เครื่องปรับอากาศ ควรตั้งอุณหภูมิที่ 25oC บริเวณที่ทำงานทั่วไปและพื้นที่ส่วนกลาง ตั้งอุณหภูมิที่ 24oC ในบริเวณพื้นที่ทำงานใกล้หน้าต่างกระจกและตั้งอุณหภูมิที่ 22oC ในห้องคอมพิวเตอร์ซึ่งการปรับอุณหภูมิเพิ่มทุกๆ 1oC จะช่วยประหยัดพลังงานร้อยละ 10 ของเครื่องปรับอากาศ

3.7  ควรใช้บันไดกรณีขึ้นลงชั้นเดียว  การตั้งโปรแกรมให้ลิฟต์หยุดเฉพาะชั้นคี่ หรือ

ชั้นคู่  เนื่องจากลิฟต์ใช้พลังงานไฟฟ้ามากในขณะออกตัว

3.8  ควรบำรุงรักษาอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอโดยการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์การทำความสะอาดและตรวจสอบรอยรั่วตามขอบกระจกและผนังทุก 3-6 เดือน

4.  ด้านการขนส่ง  มาตรการบางประการในการอนุรักษ์พลังงานที่ใช้ในด้านการขนส่งได้แก่

4.1  การใช้รถร่วมกันในเส้นทางเดียวกัน สลับกันนำรถออกใช้งานแล้วโดยสารไปด้วยกัน

4.2  ร่วมกันรณรงค์ให้ขับรถยนต์ส่วนตัวน้อยลงหันมาปั่นจักรยาน การใช้รถโดยสารประจำทาง

4.3  ใช้พลังงานทดแทน เช่นไบโอดีเซล แก๊สโซฮอลล์ เป็นต้น  แทนการใช้น้ำมันปิโตรเลียม

4.4  จัดกิจกรรมรณรงค์เรื่องวิธีประหยัดพลังงานในการขนส่งให้กับบริษัท หรือโรงงานอุตสาหกรรม สนับสนุนการวิจัยในองค์กร ค้นคว้าผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีประสิทธิภาพในการลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

4.5  สนับสนุนการขนส่งสินค้าของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานหมุนเวียน

4.6  ปรับปรุงระบบการขนส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจัดระบบการขนส่งมวลชนภายในเมืองหรือระหว่างเมืองใหญ่กับเมืองบริวารอย่างมีประสิทธิภาพ

4.7  ตรวจสอบอุปกรณ์สภาพเครื่องยนต์เป็นประจำเพื่อเป็นการลดการสิ้นเปลืองน้ำมัน

การพิจารณาเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า

ประหยัดพลังงานไฟฟ้าเราต้องพิจารณา

1. อุปกรณ์ไฟฟ้าอะไรบ้างที่เราใช้งานประจำหรือใช้งานบ่อยและนานโดยพิจารณาจากพลังงานไฟฟ้า (Watt) เป็นสำคัญเพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้กำลังไฟฟ้ามากเสียค่าใช้จ่ายมากนอกจากเราจะพิจารณาเรื่องการใช้งานอย่างถูกต้องเหมาะสมแล้วเราต้องพิจารณาเรื่องการประหยัดพลังงาน

2. การดูแลบำรุงรักษาเพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดต้องการการบำรุงรักษาอย่างถูกวิธีจึงจะทำให้เกิดการประหยัดสูงสุด

สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราจะต้องพิจารณาในเรื่องการประหยัดพลังงานให้พิจารณาจากตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 8.1  อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องใช้พลังงาน

ลำดับที่

อุปกรณ์ไฟฟ้า

พลังงานไฟฟ้าที่ใช้โดยประมาณ (Watt/ชม.)

หมายเหตุ

1

เครื่องทำน้ำอุ่น

3,000-5,500 W

2

เตารีดไฟฟ้า

750-1,000 W

3

หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

650 W

4

กระติกน้ำร้อน

650 W

5

กระทะไฟฟ้า

1,000W

6

เตาไมโครเวฟ

650 W

7

เครื่องปรับอากาศ
   9000 BTU
   13000 BTU
    24000 BTU
    36000 BTU
    48000 BTU
    57000- 60000 BTU


650-800 W
1,200 – 1,400 W
 2,200-2,600 W
3,570-4,000 W
4,650 –5,000W
6,000-7,000 W

8

เครื่องถ่ายเอกสาร

1100 W

9

ตู้เย็น(ลบ.ฟุต)
      4.5
      5.5 
      7. 9


100 W
120 W
150 W

10

คอมพิวเตอร์

110 w

11

พัดลมตั้งพื้น 16”

50-60 W

หมายเหตุ  พลังงานไฟฟ้าที่ระบุในตารางเปลี่ยนแปลงได้ตามรุ่น/ขนาด/และยี่ห้อของอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้นๆ จะไม่เท่ากันทุกยี่ห้อและทุกรุ่นแต่โดยประมาณขนาดเดียวกันการใช้พลังงานใกล้เคียงกันจากตารางการใช้พลังงานไฟฟ้าแต่ละชนิดเราพอจะทราบแล้วว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดใดใช้พลังงานไฟฟ้ามากน้อยอย่างไรและชนิดไหนใช้มากใช้น้อย

นักเรียนมีวิธีการประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่โรงเรียนอย่างไรบ้าง

ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติ แทนเท่าที่ทำได้ เช่น การอ่านหนังสือในสถานที่ ที่มีแสงธรรมชาติเพียงพอ หรือเปิดม่านหรือหน้าต่างให้กว้างขึ้น เพื่อให้แสงสว่างจากธรรมชาติผ่านเข้ามาในห้องเรียน หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟ ไม่ให้ฝุ่นจับ จะช่วยให้หลอดไฟส่องสว่างได้เต็มที่ โดยปิดสวิตช์หลอดไฟก่อน เพื่อ ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด การทำความสะอาด ...

เราจะช่วยส่งเสริมการประหยัดพลังงานในโรงเรียนได้อย่างไร

1. ปิดไฟในเวลาพักเที่ยงหรือเมื่อเลิกราการใช้งานหรือหมดความจำเป็นต้องใช้งาน การปิดสวิตซ์ไฟบ่อยๆไม่ทำให้เปลืองไฟฟ้าแต่อย่างใด 2. เปิดม่านหรือหน้าต่างหรือติดตั้งกระเบื้องโปร่งแสงเพื่อรับแสงสว่างจาก ธรรมชาติ แทนการใช้แสงสว่างจากหลอดไฟ 3. กำหนดช่วงเวลาการเปิดปิดไฟให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่ใช้งาน

นักเรียนมีวิธีประหยัดพลังงานไฟฟ้าอย่างไร

วิธีใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด.
ควรปิดไฟทุกครั้งเมื่อไม่มีคนอยู่ในห้อง.
เลือกใช้หลอดไฟที่มีกำลังวัตต์เหมาะสมกับการใช้งาน.
สำหรับบริเวณที่ต้องการความสว่างมาก ภายในอาคารควรเลือกใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ ส่วนภายนอกอาคารควรเลือกใช้หลอดไอโซเดียม และหลอดไอปรอท.
ควรใช้ฝาครอบดวงโคมแบบใสหากไม่มีปัญหาเรื่องแสงจ้า และหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ.

นักศึกษามีวิธีการอนุรักษ์และประหยัดพลังงานที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร

10 วิธีประหยัดพลังงานในบ้านแบบเห็นผลจริง.
1. ปรับอุณหภูมิแอร์อย่างเหมาะสม ... .
2. ลดการใช้แอร์ ... .
3. ปิดก๊อกน้ำเมื่อไม่ใช้ ... .
4. ถอดปลั๊กไฟทุกครั้งหลังใช้งาน ... .
5. อาบน้ำเย็นเแทนน้ำอุ่น ... .
6. ติดม่านป้องกันความร้อน ... .
7. ซักผ้าด้วยระบบน้ำเย็น ... .
8. เลี่ยงการอบผ้า.