โครงการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ของโลก มี อะไร บาง

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น ส่วนคุณภาพสิ่งแวดล้อม หมายถึง ดุลยภาพของธรรมชาติ ซึ่งได้แก่สัตว์ พืช และทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ และสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น โดยประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับในการร่วมมือกันส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชาติมีดังนี้

Show

1) ได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารของทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ยกเว้นข้อมูลทางราชการที่ถือว่าเป็นความลับ

2) ได้รับชดเชยค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากรัฐ ในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากอันตรายที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษ จากกิจการหรือโครงงานมที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจริเริ่มจากสนับสนุนหรือดำเนินการ

3) มีสิทธิร้องเรียนกล่าวโทษผู้กระทำผิดที่ละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

4) ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

5) ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยเคร่งครัด

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นของทุกคน ในสังคมการจะช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ จะต้องเป็นการร่วมมือกันหลายๆ ฝ่ายไม่ว่าจะเป็นส่วนบุคคล แต่ละคนที่จะต้องมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อมรอบตัว องค์กรภาครัฐที่ต้องเข้ามาขับเคลื่อนเป็นตัวหลักและสนับสนุนฝ่ายต่างๆ อีกทั้งองค์กรที่เป็นเอกชนซึ่งเป็นพลังส่วนหนึ่งในการผลักดันและจัดให้มีกิจกรรมและโครงการต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ที่จะได้นำมาแนะนำให้รู้จักกันมีทั้งหมด 5 แห่งซึ่งน่าสนใจและน่าติดตามทั้งข่าวคราวและกิจกรรมที่เปืดรับให้คนทั่วไปได้ไปร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติด้วยกัน

1.มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย (The Wild Animal Rescue Foundation of Thailand)

เป็นมูลนิธิที่ช่วยชีวิตสัตว์ป่ามีกิจกรรม รณรงค์ ต่อต้าน และการป้องกันการล่าสัตว์ป่ารวมถึงการทารุนสัตว์ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือสัตว์ป่าทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ป่าที่มีสภาพพิการหรือต้องถูกทารุณ ทางมูลนิธิจะช่วยเหลือและนำให้มามีชีวิตใกล้เคียงกับธรรมชาตากที่สุด ในพื้นที่ศูนย์ของมูลนิธิฯ และทางมูลนิธิยังจัดหาความช่วยเหลือ มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญทั้งในประเทศไทยเอง และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เน้นการฝึกสัตว์ป่าและลูกสัตว์ป่าให้ช่วยเหลือตัวเองได้ จากนั้นก็จะนำกลับคืนสู่ป่า มีกิจกรรมอบรมและให้ความรู้แก่ประชาชนรวมถึงผู้สนใจ ก่อตั้งขึ้นในปี 2535 จากเดิมเป็นศูนย์พิทักษ์สัตว์ป่า สนับสนุนและแนะนำช่วยเหลือจากสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านเกี่ยวกับสัตว์ป่า อีกทั้งยังมีอาสาสมัครมาจากทั่วโลก มูลนิธิได้รับอนุญาตให้ดำเนินการในฐานะ มูลนิธิ ตั้งแต่วันที่(Phone number hidden)กุมภาพันธ์ 2535 ในนาม มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย

2. มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมป์

มูลนิธินี้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2526 ผู้บุกเบิกงานมูลนิธิคือ นายแพทย์ บุญส่ง เลขะกุล จุดประสงค์ของมูลนิธิคือช่วยเหลือสัตว์ป่าโดยไม่ขัดกับกฎหมาย รับให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์ป่า รณรงค์ เผยแพร่ข้อมูลและประสานงานกับองค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ฟื้นฟูสภาพป่าและนำสัตว์คืนสู่ป่า และยังสร้างเครือข่ายที่เป็นตัวแทน กระบอกเสียงเพื่อทำงานของมูลนิธิทั่วประเทศไทย

3. มูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

จัดตั้งวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2529 ประธานในขณะนั้นคือ พลเอกชุมพล โลหะชาละ เริ่มจากการจัดมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือเยาวชนที่อาศัยอยู่ในเขตอุทยานเขาใหญ่และโดยรอบที่ด้อยโอกาส ต่อมาจึงขยายขอบข่ายงานของมูลนิธิมาช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของเขาใหญ่ มีกิจกรรมต่างๆ ในช่วงต่างๆ ตลอดปี โดยเฉพาะการจัดหหาส่งเสริมสวัสดิการให้เจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวกับการคุ้มครองดูแลป่าเขาใหญ่ เจ้าหน้าที่ที่คอยปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับป่าเขสาใหญ๋ ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง

4. มูลนิธิเพื่อนช้าง

ที่มูลนิธินี้มีโรงพยาบาลช้างแห่งแรกของโลกตั้งอยู่ เพื่อรักษาช้างโดยสัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านช้างโดยเฉพาะ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยมีภารกิจเพื่อช่วยเหลือช้างที่บาดเจ็บ ถูกทำร้าย ช้างพิการชราต่างๆ กิจกรรมหลักที่คนทั่วไปมีส่วนร่วมได้คือการบริจาคเงินเพื่อการใช้จ่ายของมูลนิธิ

5. สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย

เป็นองค์กรเอกชนที่มีการดำเนินงานมานานกว่า 20 ปีเริ่มจากก่อตั้งเป็นชมรมดูนกจากกลุ่มผู้รักนกและธรรมชาติ ซึ่งมีกิจกรรมปลูกฝังให้คนรักนกและได้เห็น เรียนรู้ถึงนกที่สวยงามเมื่ออยู่ในธรรมชาติ จัดกิจกรรมดูนกและอนุรักษ์ธรรมชาติต่างๆ ตลอดทั้งปี

ธรรมชาติคือแหล่งกำเนิดและเป็นที่พึ่งพิงของทุกชีวิตบนโลก และทรัพยากรธรรมชาติก็เปรียบเป็นสมบัติล้ำค่าของมนุษย์ แต่ยิ่งเกิดการพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้นเท่าไร ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น เรานำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์จนหลงลืมไปว่ามันมีวันหมด ลดน้อย หรือเสื่อมโทรมได้

มนุษย์ทุกคนล้วนมีส่วนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนเช่นกันที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเราควรจะเริ่มต้นจากปลูกฝังความคิดที่ถูกต้องก่อน

ปลูกฝังแนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

โครงการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ของโลก มี อะไร บาง

ตระหนัก

ปัญหาทรัพยากรจะไม่สามารถแก้ไขได้เลยหากไม่มีใคร ‘มองเห็น’ มันก่อน การตระหนักถึงปัญหาจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง เราควรช่วยกันกระจายให้ผู้คนรับรู้เกี่ยวกับปัญหาในวงกว้าง ด้วยการใช้สื่อต่างๆ ทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

ส่งเสริม

สร้างรากฐานจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมที่มั่นคงด้วยการให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้คน ทั้งเยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งในสถานศึกษาอย่างโรงเรียน มหาวิทยาลัย รวมถึงระบบเรียนรู้อื่นๆ นอกห้องเรียน ส่งเสริมให้คนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ตัวเองอาศัยอยู่  

สนับสนุน

สนับสนุนโครงการ งานวิจัย หรือการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อม แล้วผลักดันให้เกิดการต่อยอดนำไปใช้จริง

9 วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน  

โครงการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ของโลก มี อะไร บาง

“การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คือ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ประโยชน์สูงสุด” ในขณะเดียวกันเกิดมลพิษน้อยที่สุดด้วย เพื่อให้มีทรัพยากรธรรมชาติใช้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต ในบทความนี้เราแนะนำ 9 วิธีอนุรักษ์ทรัพยากร ดังนี้  

1. ประหยัดการใช้สิ่งต่างๆ ในบ้าน

วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับทุกคนทั้งในครัวเรือน หรือในระดับองค์กร เราสามารถลดการใช้ (Reduce) หรือประหยัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยการใช้เท่าที่จำเป็น ใช้อย่างคุ้มค่า และกำจัดการใช้ที่ไม่จำเป็นหรือมีแนวโน้มที่จะสูญเปล่า แม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่เมื่อร่วมมือกันคนละนิดคนละหน่อยก็สามารถลดการใช้ทรัพยากรได้จำนวนมหาศาล

ตัวอย่าง ลดการใช้น้ำ เปิดใช้เท่าที่จำเป็น ปิดก๊อกน้ำเมื่อไม่ใช้, ลดการใช้ไฟฟ้าด้วยการปรับอุณหภูมิแอร์ให้เหมาะสม, เลือกใช้หลอดไฟประหยัด, ลดใช้จานพลาสติกใช้ครั้งเดียว แก้วกระดาษ หรือกล่องโฟม เป็นต้น

2. ใช้ซ้ำ สำหรับสิ่งของที่สามารถใช้ได้

การใช้ซ้ำ (Reuse) คือ การนำสิ่งของที่ยังใช้ได้กลับมาใช้ซ้ำ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดปริมาณขยะได้จำนวนมาก เพราะสิ่งของบางอย่างสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากกว่าหนึ่งครั้ง นอกจากนี้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าใหม่ เราควรพิจารณาก่อนว่าของเก่าที่มีอยู่นั้นสามารถนำกลับมาใช้อีกครั้งได้หรือไม่ และหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

ตัวอย่าง ใช้ถุงพลาสติกซ้ำ, เขียนซ้ำกระดาษหน้าเดียว, นำกล่องบรรจุภัณฑ์มาใส่ของหรือดัดแปลงใหม่ เป็นต้น

3. รีไซเคิลวัสดุต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การรีไซเคิล (Recycle) หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ คือการนำสิ่งของที่ไม่สามารถใช้ได้แล้วมาผ่านกระบวนการแปรรูปจนเกิดเป็นของสิ่งใหม่ อย่างไรก็ตามวิธีนี้จำเป็นต้องใช้พลังงานในการแปรรูป ดังนั้นจึงต้องเอามาใช้เป็นขั้นตอนสุดท้าย พวกเราช่วยในการรีไซเคิลได้โดยการแยกขยะให้ถูกวิธี

ตัวอย่าง นำกระดาษที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลเพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง, ขวดแก้ว, พลาสติก

4. ซ่อมแซมสิ่งที่ชำรุด ถ้าไม่เสียอย่าเพิ่งทิ้ง

สิ่งของบางอย่างเมื่อเกิดการชำรุด หากได้รับการซ่อมแซมเพียงเล็กน้อยก็สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก แถมอายุการใช้งานเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งสามารถลดได้ทั้งค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วย

ตัวอย่าง การซ่อมแซม รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ใช้ในบ้านอย่างโต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น

5. ทดแทนวัสดุที่เป็นมลพิษด้วยของจากธรรมชาติ

สิ่งของบางอย่างสร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม หรือทำให้เกิดการสิ้นเปลือง ซึ่งเราสามารถใช้สิ่งของชนิดอื่นทดแทนได้ นอกจากนี้การปลูกต้นไม้ก็เป็นการทดแทนทรัพยากรที่ถูกใช้ไปอีกวิธีหนึ่ง

ตัวอย่าง ใช้ถุงผ้าแทนถุงกระดาษ, เตรียมแก้วน้ำของตัวเองแทนที่จะใช้ขวดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

6. ป้องกันไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย

ขั้นตอนนี้คือการดูแลไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย รวมไปถึงควบคุมและป้องกันของเสียให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ออกกฎหมายมาบังคับใช้เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากร

ตัวอย่าง การเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า เป็นต้น

7. ฟื้นฟูทรัพยากรที่สูญเสียไปในเหตุการณ์ต่างๆ

ทรัพยากรธรรมชาติสามารถเสื่อมลงได้จากการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม เก็บเกี่ยวผลผลิตมากเกินไปหรือบ่อยเกินไป จนเกิดมลภาวะตามมา เราจะต้องฟื้นฟูทรัพยากรที่ถูกทำลายให้กลับเป็นปกติ ก่อนจะนำไปใช้ต่อไป ซึ่งขั้นตอนการฟื้นฟูอาจจะกินระยะเวลายาวนานหลายปีเลยทีเดียว

ตัวอย่าง การเข้าร่วมโครงการช่วยปลูกป่า โครงการฟื้นฟูธรรมชาติ

8. เลือกใช้พลังงานและเทคโนโลยีที่ดีต่อโลก

การพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นอีกทางเลือกที่ดี หลายๆ เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถประหยัดการใช้พลังงานได้ เช่น หลอดไฟ LED ประหยัดพลังงาน, โซลาร์ เซลล์ (Solar cell), บ้านประหยัดพลังงาน ควบคุมการเปิด-ปิดไฟผ่านสมาร์ทโฟน เป็นต้น

ตัวอย่าง การใช้หลอดไฟ LED ประหยัดพลังงาน, โซลาร์ เซลล์ (Solar cell), บ้านประหยัดพลังงาน ควบคุมการเปิด-ปิดไฟผ่านสมาร์ทโฟน เป็นต้น

9. ศึกษาต่อยอดเรื่องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

ปัจจุบันโลกมีเทคโนโลยีและงานวิจัยเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติอยู่มากมาย ข้อมูลบางอย่างอาจเก่าเกินไปหรือไม่ได้การอัปเดต วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสุดท้าย และสำคัญที่สุดคือการ “ศึกษา” โดยเฉพาะทรัพยากรรอบตัวเรา เมื่อเข้าใจการดำเนินงาน ความเป็นไป และวิธีการจัดการแล้ว ก็จะยิ่งทำให้เราตระหนัก และสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อเข้าสู่หนทางแห่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้ดีขึ้น

สรุป

เพราะว่าธรรมชาติเชื่อมโยงกับทุกชีวิต การที่เราละเลยกับการอนุรักษ์ทรัพยากรจึงเหมือนเป็นการทำร้ายอีกหลายชีวิตในอนาคต ดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรจึงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกคนที่ต้องช่วยกัน

โครงการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ของโลก มี อะไร บาง

วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรสามารถทำได้ทั้งทางอ้อม ได้แก่ การปลูกฝังความรู้ ความคิดที่ถูกต้องด้านสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลา แต่ก็เป็นวิธีที่ยั่งยืน และการอนุรักษ์ทางตรง เช่น การประหยัด ใช้ซ้ำ ทดแทน เป็นต้น ซึ่งวิธีเหล่านี้สามารถนำไปปฏิบัติได้ในระดับบุคคล องค์กร และระดับประเทศ