เครื่องสูบและเครื่องอัดอากาศ มีอะไรบ้าง

เครื่องอัดอากาศสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นที่ปั๊มน้ำมัน แผนกผลิตของบริษัท และเวิร์กชอปที่บ้าน หรือสถานีบริการอัตโนมัติ และยังมีรูปแบบงานที่หลากหลายในการใช้เครื่องมืออย่าง ปืนตอกตะปู เครื่องเย็บกระดาษ คีม และสเปรย์พ่นสีเพื่อเติมลมยาง และของเล่นแบบยางเครื่องอัดอากาศถูกใช้ในการส่งต่อพลังงานจากเครื่องมอเตอร์ไฟฟ้า หรือเครื่องยนต์แก๊สเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานของเครื่องมือที่ทำงานด้วยระบบอัดอากาศ (pneumatic tools) โดยเครื่องมือที่ทำงานด้วยระบบอัดอากาศไม่ได้สร้างความร้อนที่มาจากเครื่องมอเตอร์ไฟฟ้า นั่นแสดงว่าเครื่องมือที่ทำงานด้วยระบบอัดอากาศสามารถทำงานภายใต้สภาวะที่ไม่เหมาะสมได้ แต่เครื่องอาจจะทำงานหนักมากเกินไปได้คุณอาจจะคุ้นเคยกับหลักการพื้นฐานของเครื่องอัดอากาศที่อากาศจะถูกอัดโดยปั๊มแบบลูกสูบ หรือใบพัดหมุน แล้วความดันจะเพิ่มมากขึ้นหากมีการใช้งาน แต่นี่ไม่ใช่เพียงแค่คำถามง่ายๆ  

“เครื่องอัดอากาศทำงานอย่างไร?” ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องอัดอากาศคือไดรฟ์ ปั๊ม และแทงค์เก็บอากาศ ไดรฟ์แหล่งกำเนิดพลังงานอาจจะเป็นเครื่องยนต์แก๊ส หรือเครื่องมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนปั๊มของเครื่องอัด ปั๊มใช้พลังงานจากไดรฟ์ในการรับ และอัดอากาศเพื่อเพิ่มความดัน จากนั้นอากาศที่ถูกอัดแล้วจะถูกส่งไปยังท่อส่งออกเข้าไปยังแท้งค์เก็บอากาศสำหรับการใช้ในอนาคตต่อไป จากนั้นแท้งค์เก็บอากาศจะถูกติดตั้งวาล์วที่ตรวจสอบ และป้องกันไม่ให้อากาศที่ถูกอัดดันย้อนกลับไปเข้าในปั๊ม แท้งค์เก็บอากาศจะช่วยลดความจำเป็นที่ต้องเปิดการใช้งานเครื่องอัดตลอดเวลาเพื่อช่วยลดการเสื่อมสภาพของปั๊ม และการทำลายมอเตอร์จากความร้อนที่มากเกินไป

มีเพียงหนึ่งถัง หรือสองถังที่เป็นส่วนหนึ่งในคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบซึ่งปริมาตรของลมลดลง และความดันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้เกิดขึ้นโดยปั๊มแบบลูกสูบ ลูกสูบพวกนี้จะถูกยึดติดอยู่กับเพลาข้อเหวี่ยง (crankshafts) และแท่งเชื่อมต่อ (connecting rods) ในถังใบนี้ อากาศจะเข้ามายังพื้นที่สุญญากาศผ่านทางวาล์วทางเข้า และอากาศจะถูกอัดโดยลูกสูบเพื่อทำให้เกิดความดันที่สูงขึ้น จากนั้นวาล์วทางเข้าจะปิดลง แล้ววาล์วทางออกจะถูกเปิดขึ้นแทนซึ่งทำให้อากาศที่ถูกอัดนั้นเข้าไปยังแท้งค์ที่เก็บอากาศซึ่งเป็นการเพิ่มความดันอากาศภายในเครื่องจักรเมื่ออากาศถูกดึงเข้าไปในแทงค์ที่เต็มไปด้วยโมเลกุลของน้ำแล้ว จะถูกควบแน่นอยู่ภายในแทงค์ที่เก็บอากาศนี้เกิดความชื้นขึ้นดังนั้นเพื่อจัดการกับความชื้นนี้

แทงค์ที่เก็บอากาศจะถูกติดตั้งด้วยวาล์วระบายที่อยู่บริเวณด้านล่างของแทงค์เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานได้ระบายความชื้นออกเพื่อช่วยทำให้ปริมาตรของแทงค์คงที่ และป้องกันการเสื่อมสภาพของแทงค์ การถอดวาล์วจะช่วยปล่อยท่อส่งออกไปเพื่อให้เครื่องอัดทำงานโดยที่ไม่จำเป็นต้องเอาชนะแรงต้านจากอากาศที่อยู่ข้างในความแตกต่างระหว่างเครื่องอัดแบบสองถังกับแบบหนึ่งถังคือมี 2 ครั้งต่อรอบ นอกจากนี้เครื่องอัดยังมีสวิตช์ตรวจจับความดันเพื่อให้เครื่องมอเตอร์หยุดทำงานเมื่อความดันของแทงค์ถึงขีดจำกัด ประมาณ 120 PSI ต่อหนึ่งหน่วยย่อยโดยสรุปแล้ว เครื่องอัดอากาศมีอยู่หลายชนิด และหลายขนาดโดยมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันตามความต้องการ และความชอบของผู้ใช้งานที่หลากหลาย ดังนั้นส่วนประกอบทุกส่วนของเครื่องอัดอากาศจะไม่เหมือนกัน เนื่องจากมีทั้งขนาด และจุดประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกัน

01-aircompdelta_com-AMM

เครื่องสูบและเครื่องอัดอากาศ มีอะไรบ้าง

มารู้จักประเภทปั๊มลม หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องอัดลม หรือ เครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) ในโรงงานอุตสาหกรรมกันดีกว่า ว่าต้องมีเครื่องจักร เครื่องมือ หรืออุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จำเป็นต้องใช้ลมอัด (Compressed Air) เมื่อเราทราบว่าต้องมีหรือต้องใช้ลมอัด เราต้องทราบต่อไปว่า เครื่องจักรที่ผลิตลมอัดนั้น เราเรียกว่าปั๊มลม (Air Compressor ) ฉะนั้นก่อนที่เราจะเลือกใช้ เลือกซื้อปั๊มลม ให้ถูกต้อง ทั้งชนิด ขนาด ประเภทปั๊มลมต่างๆ เราต้องทราบประเภทของปั๊มลมก่อนว่ามีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีข้อดี ข้อเสีย หรือเหมาะสมกับงานหรือเครี่องจักรที่ต้องการใช้ลมอัดอย่างไร บางครั้งเราเลือกอย่างถูกต้องแล้ว แต่โรงงานหรือสถานประกอบการของเราอยู่ติดกับบ้าน หมู่บ้าน ที่อยู่อาศัยหรือชุมชนต่างๆ บางครั้งเสียงดังที่เกิดจากปั๊มลมขณะทำงาน ไปรบกวนชาวบ้าน หรือสถานที่ต่างๆตามที่กล่าวมา เราก็ต้องดูความเหมาะสม ความถูกต้อง ที่จะอยู่ร่วมกับชุมชนในกรณีนี้ด้วย

เครื่องอัดอากาศ หรือ ปั๊มลมแบบลูกสูบ (Piston Air Compressor)
เครื่องอัดอากาศ หรือ ปั๊มลมแบบสกรู (Screw Air Compressor)
เครื่องอัดอากาศ หรือ ปั๊มลมแบบไดอะแฟรม (Diaphragm Air Compressor)
เครื่องอัดอากาศ หรือ ปั๊มลมแบบใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)
เครื่องอัดอากาศ หรือ ปั๊มลมแบบใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)
เครื่องอัดอากาศ หรือ ปั๊มลมแบบกังหัน (Certifugual Air Compressor)

อธิบายรายละเอียดของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (Air Compressor) แต่ละประเภทดังนี้

1. เครื่องอัดอากาศ หรือ ปั๊มลมแบบลูกสูบ (Piston Air Compressor)

เป็นเครื่องอัดลมหรือปั๊มลมที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจากความสามารถในการอัดลม คือสามารถสร้างความดันหรือแรงดันของลมอัด ได้ตั้งแต่ 1 บาร์ (Bar) จนถึงเป็น 1000 บาร์ (Bar) ทำให้ปั๊มลมแบบลูกสูบทำได้ตั้งแต่ความดันต่ำ ความดันปานกลาง ไปถึงความดันสูง มีแบบใช้สายพาน จะทำให้เสียงเงียบ หรือแบบมอเตอร์ในตัว ที่เรียกว่าลูกสูบโรตารี่ แบบนี้จะผลิตลมได้เร็วกว่าแบบใช้สายพาน

การทำงานของปั๊มลม หรือ เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบ

ลูกสูบจะมีการเคลื่อนตัวในแนวดิ่ง ทำให้เกิดการดูดและการอัดภายในกระบอกสูบ โดยที่ช่วงการดูดอากาศ ลิ้นช่องดูดเข้า จะทำการเปิดออกเพื่อดึงอากาศเข้าภายในกระบอกสูบ แต่ลิ้นทางด้านอัดอากาศออก จะปิดสนิท จากนั้นเมื่อถึงช่วงการอัดอากาศ ตัวลูกสูบจะดันอากาศให้ออกทางลมออก ทำให้ลิ้นทางด้านทางออกเปิด ส่วนทางลิ้นดูดอากาศจะปิดลง เมื่อลูกสูบของปั๊มลมขยับขึ้น-ลง จึงเกิดการดูดและอัดอากาศขึ้น

ข้อแนะนำในการเลือกซื้อเครื่องอัดอากาศ หรือ ปั๊มลมแบบลูกสูบ

– ในส่วนของมอเตอร์ขับปั๊มลม ให้ดูขนาดของมอเตอร์บริเวณชุดขดลวดอยู่กับที่ (Stator Coil) ให้มีขนาดใหญ่ ไม่เล็กเกินไป
– ท่อส่งลมเข้าสู่ถังเก็บ หากมีครีบระบายความร้อน ก็จะช่วยระบายความร้อนของลมก่อนเข้าถังเก็บได้

2. เครื่องอัดอากาศ หรือ ปั๊มลมแบบสกรู (Screw Air Compressor)

เป็นปั๊มลมที่นิยมใช้ในโรงงาน โรงพิมพ์มาก ปั๊มลมแบบนี้จะมีตัวสกรูโรเตอร์ในการผลิตลม ไม่มีลิ้นในการเปิดปิด ปั๊มลมชนิดนี้ต้องการระบบระบายความร้อนที่ดี มีทั้งระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ และระบบระบายความร้อนด้วยน้ำถ้าเป็นเครื่องขนาดใหญ่ ปั๊มลมสามารถจ่ายลมได้ถึง 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min) และสร้างแรงดันได้มากกว่า 10 บาร์ (Bar)

การทำงานของเครื่องอัดอากาศ หรือ ปั๊มลมแบบสกรู

ภายในปั๊มลมอัดอากาศ จะมีโรเตอร์เกลียวสกรูคู่กัน โดยที่สกรูทั้งสองเพลาที่ขบกัน จะเรียกว่า เพลาตัวผู้และเพลาตัวเมีย ทั้งสองตัวเป็นสกรูที่มีทิศทางการหมุนเข้าหากัน ทำให้อากาศจากภายนอกถูกดูดและอัดส่งไปรอบๆ เสื้อปั๊ม และส่งผ่านไปทางออกเข้าสู่ชุดแยกน้ำมันออกจากอากาศ จากนั้นจะไปสู่ถังเก็บลม โดยความเร็วรอบของเพลาตัวผู้และเพลาตัวเมียเกือบเท่ากัน โดยเพลาตัวผู้จะหมุนเร็วกว่าเพลาตัวเมียเล็กน้อย ปั๊มลมประเภทนี้ การไหลของแรงลมจะราบเรียบกว่าแบบลูกสูบ

3. เครื่องอัดอากาศ หรือปั๊มลมแบบไดอะแฟรม (Diaphragm Air Compressor)

เป็นปั๊มลมที่ใช้ตัวไดอะแฟรม ทำงานเหมือนลูกสูบและส่งผลให้ลิ้นด้านดูดอากาศเข้าเละลิ้นด้านส่งอากาศออกทำงานโดยไม่ได้สัมผัสกับชิ้นส่วนที่เป็นโลหะ และลมอัดที่ได้จะไม่มีการผสมของน้ำมันหล่อลื่น จึงเป็นลมที่สะอาด แต่ไม่สามารถสร้างแรงดันได้สูง ข้อดีก็คือ ลมที่ได้จากปั๊มลมประเภทนี้มีความปลอดภัยสูงและมักใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมเคมี และนิยมใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำ เนื่องจากเสียงที่เงียบและลมสะอาดนั่นเอง

การทำงานของเครื่องอัดอากาศ หรือ ปั๊มลมแบบไดอะแฟรม

ระบบอัดลมลักษณะนี้ จะใช้แผ่นไดอะแฟรมเป็นตัวดูดอากาศ ในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลง แผ่นไดอะแฟรมจะดูดอากาศจากภายนอกผ่านลิ้นวาล์วด้านดูด มาเก็บไว้ในห้องเก็บลม และเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นสุด แผ่นไดอะแฟรมจะอัดอากาศภายในห้องสูบทั้งหมดผ่านวาล์วด้านออกเพื่อไปเก็บไว้ในถังพักหรือไปใช้งานโดยตรง

4. เครื่องอัดอากาศ หรือ ปั๊มลมแบบใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)

ปั๊มลมชนิดนี้ข้อดีคือเสียงเงียบ การหมุนจะราบเรียบมีความสม่ำเสมอ การอัดอากาศคงที่ ไม่มีลิ้นหรือวาล์วในการปิดเปิด มีพื้นที่ทำงานจำกัด จึงเกิดความร้อนได้ง่าย หากต้องการประสิทธิภาพที่ดีจะต้องผลิตปั๊มลมชนิดนี้ด้วยความประณีตสูง สามารถผลิตลมได้ตั้งแต่ 4-100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min) และความดันทำได้ 1-10 บาร์ (Bar)

การทำงานของเครื่องอัดอากาศ หรือ ปั๊มลมแบบใบพัดเลื่อน

ตัวเครื่องจะมีใบพัดติดอยู่กับชุดขับเคลื่อนการหมุน หรือเรียกว่าโรเตอร์ และวางให้เยื้องศูนย์ภายในของเรือนสูบ เมื่อมีการหมุนของโรเตอร์ใบพัด อากาศจะถูกดูดทางช่องลมเข้าและอัดอากาศจากพื้นที่กว้างไปสู่ที่แคบกว่า และส่งอากาศที่ถูกอัดออกไปทางช่องลมออกเพื่อไปใช้งานหรือเข้าถังเก็บต่อไป

5. เครื่องอัดอากาศ หรือ ปั๊มลมแบบใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)

ปั๊มลมแบบนี้จะมีใบพัดหมุน 2 ตัว เมื่อโรเตอร์สองตัวทำการหมุน อากาศจะถูกดูดจากฟากหนึ่งไปยังอีกฟากหนึ่ง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร ทำให้อากาศไม่ถูกบีบหรืออัดตัว อากาศจะถูกอัดตัวก็ต่อเมื่ออากาศได้ถูกส่งเข้าไปยังถังเก็บลม ปั๊มลมแบบนี้ต้นทุนการผลิตจะแพง ไม่มีลิ้น ไม่ต้องการหล่อลื่นมากขณะทำงาน แต่ต้องมีการระบายความร้อนที่ดี

การทำงานของเครื่องอัดอากาศ หรือ ปั๊มลมแบบใบพัดหมุน

ใบพัดหมุน 2 ตัว จะหมุนในทิศทางตรงข้ามกัน เมื่อโรเตอร์หมุน ทำให้อากาศถูกดูดจากทางลมเข้า และไปออกช่องทางลมออก โดยไม่ทำให้อากาศถูกบีบหรืออัดตัว

6. เครื่องอัดอากาศ หรือ ปั๊มลมแบบกังหัน (Radial and Axial Flow Air Compressor)

ปั๊มลมแบบนี้ จะได้อัตราการจ่ายลมที่มาก ลักษณะเป็นใบพัดกังหันดูดอากาศมาจากอีกด้านหนึ่ง ด้วยความเร็วสูง และส่งออกไปอีกด้านหนึ่ง ลักษณะการออกแบบใบพัดจึงสำคัญมาก ในเรื่องของอัตราของการผลิตและจ่ายลม

การทำงานของเครื่องอัดอากาศ ปั๊มลมแบบกังหัน

เครื่องอัดอากาศแบบกังหันนี้ ใช้หลักการของกังหันใบพัด โรเตอร์หมุนด้วยความเร็วสูง อากาศจะถูกดูดผ่านเข้าในช่องทางลมเข้า และอากาศจะถูกอัดและถูกส่งต่อไปยังอีกด้านหนึ่ง ในช่องทางลมออก โดยไหลไปตามใบพัดและแกนเพลา ปั๊มลมแบบนี้สามารถผลิตลมได้ถึง 170-2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min)

 📌 สอบถามเพิ่มเติมที่::

📲 Line OA : @premiumpr หรือ https://lin.ee/3rDO9VSSV

📞 Tel : (02) 919-8900

🌏 WEBSITE :https://www.premium.co.th

⏰ เวลาทำงาน :  จันทร์-เสาร์ เวลา 08:30-17:30