พระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1

Category: พระราชประวัติรัชกาลที่ ๑ -๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ Published on Monday, 04 April 2016 02:56 Hits: 31469

พระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

รัชกาลที่ 1

(พ.ศ. 2325-2352)

พระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1

พระนามเดิม ทองด้วง เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระอักษรสุนทรทองดี) ทรงพระราชสมภพ เมื่อ วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2279 ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ ได้สมรสกับธิดาคหบดีบ้านอัมพวา ตำบลบางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ได้กู้อิสรภาพและสร้างกรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้เข้ารับราชการกับสมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงพระปรีชาสามารถในการรบจนเป็นที่โปรดปราน นับเป็นขุนพลคู่พระทัยฝ่ายขวา ได้รับแต่งตั้งให้เป็น แม่ทัพในสงครามครั้งสำคัญหลายครั้ง ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ใน พ.ศ. 2319 และใน พ.ศ. 2325 เกิดจลาจลขึ้นในบ้านเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงปราบปรามจนราบคาบ ข้าราชการทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันอัญเชิญขึ้นปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์

พระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1

ทรงรับอัญเชิญจากบรรดาเสนาพฤฒามาตย์ราษฎร

 ทั้งหลายทั้งปวงให้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ

 เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325

ต่อมาโปรดให้สร้างราชธานีใหม่ขึ้น ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานครทรงย้ายมาประทับในพระนครใหม่ใน พ.ศ. 2327 พระราชกรณียกิจส่วนใหญ่ในรัชกาลได้แก่ การสงครามเพื่อรักษาอธิปไตยของชาติหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดคือ สงครามเก้าทัพในปีพ.ศ.2327

พระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1

ตำราพิชัยสงคราม

พระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1
การปกครองประเทศทรงจัดแบ่งตามแบบกรุงศรีอยุธยา และโปรดให้ชำระกฎหมายบทต่างๆให้ถูกต้องและจาึรลงสมุดไว้เป็นหลักฐาน 3 ฉบับ ทางด้านศาสนาโปรดให้สังคายนาพระไตรปิฎก พ.ศ. 2331 และจารฉบับทองประดิษฐานไว้ในหอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนี้ยังทรงสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามและพระพุทธรูปต่างๆ เป็นอันมาก 

พระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1

ทางด้านวรรณคดีและศิลปกรรมทรงฟื้นฟูวรรณคดีไทย ซึ่งเสื่อมโทรมตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาแตกให้กลับคืนดีอีกวาระหนึ่ง ทรงส่งเสริมและอุปถัมภ์กวีในราชสำนัก บทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญ เช่น บทละคร เรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น งานทางด้านศิลปกรรมนั้นเป็นผลเนื่องมาจากการที่ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างพระอารามเป็นจำนวนมาก

เป็นการเปิดโอกาสให้ช่างฝีมือด้านต่างๆ มีงานทำและได้ผลิตงานฝีมือชิ้นเอกไว้ ปัจจุบันมีวันที่ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช คือ วันที่ระลึกมหาจักรี ได้แก่วันที่ 6 เมษายนของทุกปี จะมีพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ณ  เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า

พระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1

พระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปกครองพระราชอาณาจักรด้วยพระวิริยะอุตสาหะแม้ทรงเจริญพระชนมพรรษามากแล้ว ทรงออกว่าราชการมิได้ขาด ตราบเสด็จสวรรคต เมื่อ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352  พระชนมพรรษา 73 พรรษา

                                                          จากหนังสือเหนือเกล้าชาวไทย

          

ทรงเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้าย ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 พระนามเดิม “สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์” พระนามทั่วไปเรียกว่า “ทูล กระหม่อมเอียดน้อย”

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
           เมื่อเยาว์วัยทรงศึกษาวิชาภาษาไทย และราชประเพณีโบราณ ครั้นเจริญวัยทรงศึกษาวิชาการทหารม้าปืนใหญ่ แห่งกองทัพอังกฤษ สำเร็จการศึกษาเข้ารับราชการในกองทัพบกไทย ต่อมาได้ไปศึกษาวิชา ฝ่ายเสนาธิการ ประเทศฝรั่งเศส ทรงอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2460 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี เมื่อ พ.ศ. 2461 ทรงดำรงตำแหน่งในกองทัพบก ในรัชกาลพระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 และผู้บังคับการพิเศษทหารปืน ใหญ่ที่ 2 ระยะนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเตรียมผู้ สืบราชสมบัติต่อ ซึ่งตกแก่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นในปี พ.ศ. 2467 ทรงได้ศึกษาวิชา การปกครองบ้านเมืองและราชการแผ่นดิน ทรงศึกษาขนบธรรมเนียมและหน้าที่ราชการของพระเจ้าแผ่น ดินจากหนังสือราชการที่สำคัญในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ได้ตระหนักว่า ประชาธิปไตยในประเทศไทย เกิดขึ้นอย่างแจ่มชัดมาแล้วตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เพียงแต่ยังมิได้เป็นทางการ เท่านั้น
           ครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พ.ศ. 2468 พระองค์ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ทรงมีพระราชกรณียกิจสรุปได้ดังนี้ เศรษฐกิจ สืบเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนมาสู่ประเทศไทย พระองค์ได้ทรงพยายามแก้ไขการงบประมาณของประเทศให้งบดุลย์อย่างดีที่สุด โดยทรงเสียสละตัดทอนรายจ่ายส่วนพระองค์ โดยมิได้ขึ้นภาษีให้ราษฎร เดือดร้อน

             การศึกษา ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรม ในด้านวรรณกรรม โปรด ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมใน พ.ศ. 2475 พระราชทานเงินส่วนพระองค์ เป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยม และให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ การศาสนา ทรงปลูกฝังเยาวชนให้มีคุณธรรมดีงาม โดยยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โปรดให้ราชบัณฑิตยสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ซึ่งนับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงสร้างหนังสือสำหรับเด็ก ส่วนการศึกษาในเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนานั้น ทรงโปรดให้สร้างหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ เรียกว่าฉบับสยามรัฐ ชุดหนึ่ง จำนวน 42 เล่ม ซึ่งใช้สืบมาจนทุกวันนี้

             การสุขาภิบาลและสาธารณูปโภค โปรดให้ปรับปรุงงานสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรให้ทัดเทียมอารยประเทศ ขยายการสื่อสารและการคมนาคม โปรดให้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกใน ประเทศไทย ในส่วนกิจการรถไฟ ขยายเส้นทางรถทางทิศตะวันออกจากทางจังหวัดปราจีนบุรี จน กระทั่งถึงต่อเขตแดนเขมร
             ในปี พ.ศ. 2475 เป็นระยะเวลาที่กรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ทรงจัดงานเฉลิมฉลองโดยทำนุบำรุง บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญอันเป็นหลักของกรุงเทพฯ หลายประการ คือ บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯและธนบุรี เป็นการขยายเขต เมืองให้กว้างขวาง และสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ด้านการปกครอง ทรงมีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญในโอกาสกรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ในปี พ.ศ. 2475 แต่ก็มีเหตุที่ยังไม่อาจทำได้ในระยะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่มีคณะบุคคลคณะหนึ่งถือ โอกาสยึดอำนาจการปกครอง ขอเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน การกระทำดังกล่าวเป็น พระราชประสงค์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แต่แรกแล้ว จึงทรงพระราช ทานอำนาจและยินยอมให้ปกครองแบบประชาธิไตย นับเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองชาติเดียวใน โลกที่เลือดไม่นองแผ่นดิน ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจ เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย ทรงให้ตรวจตราตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญที่จะเป็นหลักในการปกครองอย่างถี่ถ้วน การที่พระองค์ทรง เป็นนักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนี่เอง เมื่อคณะรัฐบาลบริหารงานไม่ถูกต้องตามหลักการที่วางไว้ พระองค์จึงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 รวมเวลาครองราชย์ 9 ปี พระองค์ทรงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ และเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยพิการ ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รวม พระชนมายุ 48 พรรษา

สิ่งใดที่แสดงว่ารัชกาลที่ 1 ทรงมีพระปรีชาสามารถในการสร้างความมั่นคงให้กับพระราชอาณาจักร

2. สิ่งใดที่แสดงว่า รัชกาลที่ 1 ทรงมีพระปรีชาสามารถในการสร้างความมั่นคงให้กับพระราชอาณาจักร การทำสงครามเก้าทัพกับพม่า ใน พ.ศ. 2328 ซึ่งพม่ายกทัพมาที่ไทยถึง 9 ทัพ แต่ไทยสามารถขับไล่พม่าออกไปได้ 3. รัชกาลที่ 2 มีพระปรีชาสามารถด้านวรรณกรรม จนได้ชื่อว่า เป็นยุคทองของวรรณกรรมนั้น เป็นวรรณกรรมเรื่องใด

พระราชกรณียกิจสำคัญของรัชกาลที่ 1 คือข้อใด

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1. ทางด้านศาสนา โปรดให้สังคายนาพระไตรปิฎก พ.ศ. 2331 และจารฉบับทองประดิษฐานไว้ในหอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนี้ยังทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามและพระพุทธรูปต่างๆ เป็นอันมาก

บิดาของรัชกาลที่ 1 คือใคร

บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว " ทรงประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 พระราชบิดาทรงพระนามว่า ออกอักษรสุนทร ศาสตร์ พระราชมารดาทรงพระนามว่า ดาวเรือง มีบุตรและธิดารวมทั้งหมด 5 คน คือ คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ "สา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี )

รัชกาลที่1ขึ้นครองราชย์ได้ยังไง

พ.ศ. 2324 ยกทัพไปปราบจลาจลในเขมรแต่ไม่สำเร็จเพราะเกิดกบฏในกรุงธนบุรีต้องยกทัพกลับ พ.ศ. 2325 อาณาประชาราษฏร์ กราบทูลเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อ 6 เมษายน 2325 อยู่ในราชสมบัติ 27 ปี เสด็จสวรรคต 7 กันยายน 2352 รวมพระชนมายุ 73 พรรษา ครองราชย์ นาน 28 ปี มีโอรสธิดารวม 42 พระองค์