ตัวอ่อนเกาะผนังมดลูก อาการ

ภาวะท้องลม (Blighted Ovum) คือ การตั้งครรภ์ที่ไม่มีตัวอ่อน หรือตัวอ่อนสลายไปตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ เมื่อตรวจอัลตราซาวด์จะพบว่ามีเพียงถุงการตั้งครรภ์แต่ไม่พบตัวอ่อน อาการดังกล่าวจะไม่เป็นอันตราย หากได้รับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างถูกต้อง

ตัวอ่อนเกาะผนังมดลูก อาการ

ภาวะดังกล่าว สามารถเกิดได้กับผู้หญิงได้ในทุกช่วงอายุ และไม่สามารถป้องกันได้ เนื่องจากเป็นความผิดปกติทางธรรมชาติ และยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น

ดังนั้นคุณผู้หญิงที่วางแผนตั้งครรภ์ควรศึกษาและทำความเข้าใจถึงอาการ และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อการวางแผนตั้งครรภ์และติดตามสุขภาพครรภ์ได้อย่างเหมาะสม

สารบัญ

  • ท้องลม เกิดจากอะไร?
  • ทำไมท้องลมแล้วถึงได้ตรวจผลการตั้งครรภ์เป็นบวก?
  • หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยผู้ที่มีภาวะท้องลม
  • เราสามารถป้องกันการเกิดภาวะท้องลมได้หรือไม่?
  • ท้องลม ไม่ใช่ ท้องหลอก
  • การรักษาภาวะท้องลม
  • สรุป

ท้องลม เกิดจากอะไร?

สาเหตุของการเกิดภาวะท้องลมนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด พบว่าส่วนใหญ่ประมาณ 45 – 50% เกิดจากตัวอ่อนมีความผิดปกติของโครโมโซม ทำให้ไม่สามารถเจริญต่อเป็นทารกได้ตามปกติ และสลายตัวไป คงเหลือแต่ถุงการตั้งครรภ์ 

ตัวอ่อนเกาะผนังมดลูก อาการ

กระบวนการแท้งลูก อาจใช้เวลาระหว่าง 7 – 12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เมื่อร่างกายของเรารับรู้ถึงการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ และไม่มีการพัฒนาอย่างเหมาะสม ก็จะเริ่มขับเลือดและเนื้อเยื่อออกจากมดลูก เรียกว่า การตกเลือด ซึ่งผู้ตั้งครรภ์ต้องพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยสาเหตุของการตกเลือดต่อไป

กลับไปสารบัญ

ทำไมท้องลมแล้วถึงได้ผลตรวจการตั้งครรภ์เป็นบวก?

การตรวจการตั้งครรภ์ แบ่งได้เป็น 3 วิธี คือ การตรวจโดยใช้ปัสสาวะ การตรวจโดยใช้เลือด และการตรวจด้วยวิธีอัลตราซาวด์ สำหรับ 2 วิธีแรก จะใช้ในการตรวจหาฮอร์โมนที่ชื่อว่า HCG (human chorionic gonadotropin) เนื่องจากเป็นฮอร์โมนที่บ่งบอกถึงการตั้งครรภ์

ฮอร์โมนดังกล่าว ถูกสร้างจากรก หลังจากเกิดการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิ และตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูกแล้วอย่างน้อย 6 วัน โดยในช่วงแรก HCG จะมีค่าต่ำมาก แต่จะมีค่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

ตัวอ่อนเกาะผนังมดลูก อาการ

ในกรณีของผู้ที่มีภาวะท้องลม แม้ว่าตัวอ่อนอาจฝ่อไปแล้ว แต่รกที่เติบโตขึ้นมานั้น ยังคงสร้างฮอร์โมน HCG ต่อไปได้อยู่ เพียงแต่ระดับจะต่ำกว่าปกติ เมื่อทดสอบการตั้งครรภ์ จึงพบผลการทดสอบเป็นบวกได้

กลับไปสารบัญ

หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยผู้ที่มีภาวะท้องลม

แพทย์ผู้ตรวจ ใช้เกณฑ์หลักในการวินิจฉัย ได้แก่

  1. ตรวจอัลตราซาวด์พบถุงการตั้งครรภ์ขนาดใหญ่กว่า 2.5 ซม. จากการอัลตราซาวด์ทางหน้าท้อง หรือ ใหญ่กว่า 1.7 ซม. จากการอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด แต่ยังไม่พบตัวอ่อน
  2. ตรวจอัลตราซาวด์พบถุงการตั้งครรภ์ขนาดใหญ่กว่า 2 ซม. จากการอัลตราซาวด์ทางหน้าท้อง หรือ ใหญ่กว่า 1.3 ซม. จากการอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดแต่ยังไม่พบถุงอาหารของทารกในครรภ์ (Yolk sac)
  3. ถุงการตั้งครรภ์มีลักษณะบิดเบี้ยว มีรูปร่างผิดปกติอย่างชัดเจน (deformed gestational sac)
ตัวอ่อนเกาะผนังมดลูก อาการ

กลับไปสารบัญ

เราสามารถป้องกันการเกิดภาวะท้องลมได้หรือไม่?

หากเป็นการตั้งครรภ์ด้วยวิธีธรรมชาติ จะไม่สามารถป้องกันภาวะท้องลมได้ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมของทั้งสองฝ่าย

ตัวอ่อนเกาะผนังมดลูก อาการ

จากการศึกษาพบว่า มีโอกาสที่คู่สมรสคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้ถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรมให้กับตัวอ่อนได้ แต่กรณีของผู้หญิง โอกาสเกิดภาวะนี้จะสัมพันธ์กับอายุ ยิ่งอายุมาก ก็ยิ่งเสี่ยงมาก เนื่องจากโอกาสที่ไข่จะยังมีความสมบูรณ์ทางพันธุกรรมอยู่จะลดน้อยลงตามอายุ

นอกจากนี้ หากคุณผู้หญิงเคยมีประวัติท้องลมมาก่อน ความเสี่ยงในการเป็นภาวะนี้ในการตั้งครรภ์อีกครั้งจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น

มีประวัติภาวะตั้งครรภ์ลมมาก่อน ควรทำอย่างไร?

หากใครมีประวัติเคยเป็นภาวะนี้มาก่อน แล้วมีการตั้งครรภ์อีก ควรรีบมาพบสูติแพทย์ เพื่อตรวจติดตามการตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด และวางแผนการป้องกันอย่างเหมาะสม

บางคนอาจดูปกติดี เพราะมีชิ้นส่วนของโครโมโซมอยู่ครบ แต่เมื่อมีบุตร กลับพบภาวะที่ผิดปกติ เพราะโครโมโซมของตัวอ่อน มีการขาด เกิน หรือจับคู่ผิดพลาด ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเติบโตต่อได้ และฝ่อไปในที่สุด

ดังนั้น หากเกิดภาวะนี้ซ้ำขึ้นอีก คู่สมรสทั้งสองคน ควรจะเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ เนื่องจากอาจเกิดขึ้นจากการที่คู่สมรสคนใดคนหนึ่ง (หรือทั้งสองคน) ที่มีความผิดปกติของโครโมโซมได้ จะได้หาแนวทางป้องกันที่เหมาะสมได้ก่อนตัดสินใจมีบุตรคราวถัดไป

กลับไปสารบัญ

ท้องลม ไม่ใช่ ท้องหลอก

หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า 2 คำนี้มีความหมายเหมือนกัน แต่ที่จริงแล้ว ท้องหลอก เป็นคนละอาการกัน เนื่องจากท้องหลอกเป็นความผิดปกติทางใจ โดยสามารถอธิบายเพิ่มเติมในส่วนของคำว่าท้องหลอกได้ ดังนี้

ในทางการแพทย์ อาการท้องหลอก (pseudocyesis) เป็นอาการผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่ง ที่ทำให้คุณผู้หญิงคิดว่า ตัวเองกำลังตั้งครรภ์อยู่ โดยมักจะรู้สึกว่าตัวเองมีอาการเหมือนคนท้อง ไม่ว่าจะเป็นอาการคลื่นไส้ อาเจียน คัดตึงเต้านม ประจำเดือนขาด รู้สึกว่าท้องโตขึ้น บางคนคิดว่าลูกกำลังดิ้น

แต่เมื่อแพทย์ได้ทำการตรวจร่างกายดูแล้ว กลับไม่พบสิ่งที่แสดงว่าตั้งครรภ์ เช่น ตรวจอัลตราซาวด์แล้วไม่พบการตั้งครรภ์ เป็นต้น ไม่เหมือนกับกรณีของภาวะท้องลม ที่แพทย์จะตรวจพบการตั้งครรภ์จริง และมีอาการที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์

ตัวอ่อนเกาะผนังมดลูก อาการ

ดังนั้น อาการท้องหลอก จึงมักเป็นเรื่องทางใจเป็นหลัก ซึ่งอาจเกิดจากความคาดหวังที่จะมีลูก หรือความเครียด อย่างไรก็ตาม เพื่อความแน่ใจ แพทย์จะมีการตรวจวินิจฉัยโดยละเอียดเพิ่มเติมด้วย เพราะผู้ป่วยอาจมีโรคหรือความผิดปกติทางกายที่แสดงออกมาคล้ายว่าจะตั้งครรภ์ได้ เช่น น้ำนมไหลจากการมีกลุ่มฮอร์โมนบางกลุ่มมากเกินไป เป็นต้น

แนวทางการรักษาสำหรับผู้ที่มีอาการท้องหลอก จะมุ่งเน้นการเยียวยาทางใจมากกว่าการใช้ยา เช่น การให้คำแนะนำ การให้กำลังใจ การช่วยให้ผ่อนคลายและลดความวิตกกังวล

กลับไปสารบัญ

การรักษาภาวะท้องลม

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ด้วยปัญหาเลือดออกในระยะแรกของการตั้งครรภ์ หรือที่เรียกว่าแท้งคุกคาม แต่ในบางครั้งก็แยกได้ยากในช่วงที่ตั้งครรภ์ปกติในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งการตรวจอัลตราซาวด์อาจพบแค่เพียงถุงการตั้งครรภ์ แต่อาจไม่พบตัวอ่อนก็ได้

ตัวอ่อนเกาะผนังมดลูก อาการ

ในบางครั้ง การวินิจฉัยที่ชัดเจนจึงต้องอาศัยการตรวจติดตามในระยะเวลา 1 – 2 สัปดาห์ หลังจากตรวจอัลตราซาวด์ครั้งแรก ว่าเห็นตัวอ่อนพัฒนาขึ้นจากเดิมหรือไม่

การรักษา จำเป็นต้องขูดมดลูกหรือไม่?

ตัวอ่อนเกาะผนังมดลูก อาการ

เมื่อตรวจวินิจฉัยพบว่าเป็นภาวะท้องลม การรักษาแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

  1. กรณีที่ถุงการตั้งครรภ์ สามารถหลุดลอกออกมาได้เองทั้งหมด และไม่มีอาการแทรกซ้อนที่อันตราย ก็ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาโดยการขูดมดลูก
  2. แต่หากในกรณีที่ผู้ป่วยบางรายที่ร่างกายไม่สามารถขับถุงการตั้งครรภ์ออกมาได้เองจนหมดและตรวจพบว่ามีเยื่อบุใด ๆ เหลือตกค้างอยู่ ก็จะทำการรักษาโดยการขูดมดลูกเพื่อเอาเยื่อบุหรือชิ้นเนื้อภายในโพรงมดลูกออกมา เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเข้าไปภายในโพรงมดลูก

กลับไปสารบัญ

สรุป

ภาวะท้องลม เป็นการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ โดยมีการเจริญของรกและถุงการตั้งครรภ์ แต่ตัวอ่อนฝ่อไปก่อน เมื่อตรวจด้วยการอัลตราซาวด์จะพบว่ามีแต่ถุงการตั้งครรภ์เปล่า แต่ไม่พบตัวอ่อน

ผู้หญิงทุกวัย มีโอกาสที่จะพบภาวะนี้ได้ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ทางพันธุกรรมของตัวคุณผู้หญิงเอง โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุและประวัติการตั้งครรภ์ในอดีต นอกจากนี้อาจมาจากโครโมโซมที่ผิดปกติของคุณผู้ชายได้ด้วย

การฝากครรภ์และรับการตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เรารู้ว่ากำลังมีภาวะเสี่ยงต่ออาการผิดปกติของครรภ์หรือไม่ ช่วยให้วางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที

แน่นอนว่าไม่มีใครอยากพบเจอกับความสูญเสียเช่นนี้ แต่เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว ขอให้ทุกคนทำจิตใจให้เข้มแข็งไว้ และคอยดูแลเอาใจใส่ให้กำลังใจกันให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปให้ได้

ตัวอ่อนเกาะผนังมดลูก อาการ