เครื่องมือทางการคลังทั้ง 3 ประเภท

การคลังภาครัฐ (Public Finance) หมายถึง การคลังในส่วนของรัฐบาล หรือการคลังในกิจกรรมที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ การคลังภาครัฐ หรือการคลังของรัฐบาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมทางการคลัง การเงินต่างๆ ของรัฐบาลที่ถือเป็นหน่วยที่สำคัญหน่วยหนึ่งของระบบสังคม เนื่องจากมีผลผูกพันและกระทบไม่เฉพาะชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังมักจะส่งผลกระทบและผูกพันถึงคนในอนาคตหรือในยุคต่อไปด้วย

มีนักวิชาการหลายคนได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการคลังภาครัฐ ไว้ดังนี้

การคลังภาครัฐ ครอบคลุมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศแทบทุกประการ โดยอาจแบ่ง

ปัญหาได้เป็น 4 ประการใหญ่ๆ คือ

1) ปัญหาการจัดสรรทรัพยากร (Resource Allocation)

2) ปัญหาการกระจายรายได้ประชาชาติ (Income Distribution)

3) ปัญหาการทำให้คนมีงานทำ (Full Employment)

4) ปัญหาเสถียรภาพของระดับราคาและการพัฒนาเศรษฐกิจ (Price-Level Stability and Economic Growth)

การคลัง เป็นเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าไปมีบทบาทในทางเศรษฐกิจของรัฐบาลในด้าน

ต่างๆ รวม 4 ด้าน คือ

1)การจัดสรรทรัพยากร (The Allocation Function)

2) การกระจายรายได้ประชาชาติ (The Distribution Function)

3) การรักษาเสถียรภาพและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (The Stabilization Function)

4) การประสานงบประมาณ (Coordination of Budget Functions)

การคลัง เป็นการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการเงินของรัฐบาล ซึ่งในทางปฏิบัติจะเกี่ยวข้องกับรายได้ของรัฐบาล (Government Revenue) ที่ได้มาจากภาษีอากรและแหล่งรายได้อื่นๆ รายจ่ายรัฐบาล (Government Expenditure) หนี้ของรัฐบาล (Government Debt) หรือหนี้สาธารณะ (Public Debt) และนโยบายการคลัง (Fiscal Policy)

การคลังภาครัฐ (Public Finance) ที่ เรียกกันอยู่ทั่วไปนั้นเป็นคำที่ไม่ตรงกับความหมายตามตัวอักษรที่คำนี้ควร เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงินและโดยเหตุผลดังกล่าวผู้แต่งตำราบางคนจึงนิยมที่ จะเรียกคำนี้ว่า “เศรษฐศาสตร์ในภาครัฐ (Public Sector Economics)” หรือ “เศรษฐศาสตร์ของรัฐ Public Economics)” แทน โดยหมายถึงหน้าที่ทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคของรัฐบาลในการจัดสรรทรัพยากรและการกระจายรายได้ รวมทั้งหน้าที่ทางเศรษฐศาสตร์มหภาคของรัฐบาลในการจัดเก็บภาษี การใช้จ่าย และการใช้นโยบายการเงินที่มีผลต่อภาพรวมการว่างงานในทุกระดับ และต่อระดับราคา

การคลังภาครัฐ (Public Finance) เป็นการศึกษากิจกรรมการหารายได้และการใช้จ่ายของรัฐบาล การอธิบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ภาษีอากร รายจ่ายสาธารณะ และหนี้สาธารณะ การคลังภาครัฐเป็นการศึกษาผลกระทบต่างๆ ของงบประมาณต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายสำคัญทางเศรษฐกิจในด้านความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ ตลอดจนประสิทธิภาพการบริหาร นอกจาหนี้ การคลังภาครัฐยังเป็นการศึกษาถึง “สิ่งที่ควรจะเป็น (What to be)” การทำความเข้าใจการคลังภาครัฐจะทำให้สามารถอธิบายประเด็นสาธารณะต่างๆ ดังต่อไปนี้ได้ดีขึ้น

1) กิจการของรัฐควรมีขอบข่ายครอบคลุมถึงอะไรบ้าง

2) บริการสาธารณะประเภทใดควรจะอยู่ในความดูแลรับผิดชอบจัดให้ บริการของส่วนกลางหรือส่วนท้องถิ่นจึงจะถูกต้อง

3) ระบบภาษีอากรที่กำลังใช้อยู่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจหรือไม่

4) เหตุใดท้องถิ่นจึงประสบปัญหาในการบริหารงานมากมาย และท้องถิ่นควรจะหาทางออกของท้องถิ่นเองอย่างไร เพื่อให้ส่วนกลางเข้ามาแทรกแซงได้น้อยที่สุด

5) รัฐบาลจะมีวิธการอย่างไรในการรับมือกับวงจรธุรกิจ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนอันสืบเนื่องจากความพลาดพลั้งของมนุษย์ หรือเมื่อมีการประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจผิดพลาด

6) เหตุใดจึงต้องกังวลกับการเป็นหนี้ของประเทศชาติ

การคลังภาครัฐ หรือ การคลังรัฐบาล ประกอบด้วยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี พฤติกรรม กิจกรรมการดำเนินงาน ตลอดจนแนวปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับ การหารายได้ การใช้จ่ายสาธารณะ การภาษีอากร การก่อหนี้สาธารณะ การใช้จ่ายของรัฐบาล บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง ระดับประเทศ และ/หรือระดับท้องถิ่น รวมทั้งการศึกษาผลกระทบจากกิจกรรมการดำเนินการต่างๆ ทางการคลังของรัฐบาลที่มีต่อสังคมและประเทศโดยส่วนรวมงบประมาณแผ่นดิน หมายถึง แผนการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์ แหล่งที่มาของรายรับรายจ่ายของรัฐบาลในระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติถือเอาระยะเวลา 1 ปี คือ เริ่มจาก 1 ตุลาคม ไปสิ้นสุดที่ 30 กันยายนของปีถัดไป
สำนักงบประมาณเป็นหน่วยราชการที่รับผิดชอบจัดทำงบประมาณประจำปี โดยจะรวบรวมโครงการและรายจ่ายด้านต่าง ๆ ของหน่วยราชการทุกหน่วยงานรวมทั้งภาครัฐวิสาหกิจทั้งหมด เพื่อนำเสนอขออนุมัติจากรัฐสภา และประกาศใช้ต่อไป
ลักษณะของงบประมาณ
งบประมาณของรัฐบาลมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งด้านรายรับและรายจ่าย ผลกระทบจะมากน้อยและอยู่ในลักษณะใดขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งบประมาณของรัฐบาล ซึ่งมี3 ลักษณะ คือ
1) งบประมาณสมดุล หมายถึง การที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายเท่ากับรายได้พอดี งบประมาณสมดุลจะมีข้อขำกัด ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดภาวะเงินฝืด อัตราการว่างงานสูง การดำเนินนโยบายงบประมาณสมดุลจะไม่ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ เพราะการใช้จ่ายของรัฐบาลถูกกำหนดโดยรายได้ ดังนั้นนโยบายงบประมาณสมดุล จึงเป็นนโยบายที่ไม่ยืดหยุ่นไม่สามารถปรับได้คล่องตัวเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้
2) งบประมาณขาดดุล หมายถึง การที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายมากกว่ารายได้ และจำเป็นต้องนำรายรับจากเงินกู้หรือเงินคงคลังมาชดเชยการขาดดุล ปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์มีแนวคิดว่า การที่รายจ่ายสูงกกว่ารายได้ และรัฐบาลก่อหนี้สาธารณะมาใช้จ่ายนั้นไม่ใช้สิ่งที่เสียหาย ถ้าเงินที่กู้มาถูกใช้ในทิศทางเพื่อการเพิ่มผลผลิต การเพิ่มการลงทุน และการจ้างงาน
3) งบประมาณเกินดุล หมายถึง การที่รัฐบาลใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ที่จัดเก็บได้ ทำให้มีเงินเหลือเข้าเป็นเงินคงคลังเพิ่มขึ้น
หนี้สาธารณะ
ในประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มที่งบประมาณของรัฐบาลจะขาดดุบ เนื่องจากระดับรายได้ของประชาชนต่ำ มีการหลีกเลี่ยงภาษีอากร จึงมีผลให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรได้น้อย ในขณะเดียวกันรัฐบาลพยายามเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการปรับโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้รายจ่ายด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงจำเป็นต้องก่อหนี้สาธารณะ หนี้สาธารณะอาจจำแนกตามแหล่งเงินกู้ได้ดังนี้
1. หนี้ภายในประเทศ
หนี้ภายในประเทศ หมายถึง หนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารพาณิชย์ สถาบันทางการเงินประเภทต่าง ๆ และประชาชนทั่วไป วิธีการก่อหนี้สาธารณะภายในประเทศนั้น รัฐบาลจะจำหน่ายพันธบัตรซึ่งเป็นเงินกู้ระยะยาว หรือจำหน่ายตั๋วคลังซึ่งเป็นการกู้ระยะสั้น
2. หนี้ต่างประเทศ
หนี้ต่างประเทศ หมายถึง หนี้สาธารณะที่เกิดจากรัฐบาลกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ภายนอกประเทศ เพื่อนำมาสนับสนุนการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล หรือค้ำประกันเงินก็ของรัฐวิสาหกิจ แหล่งเงินกู้ต่างประเทศที่สำคัญ คือ ธนาคารโลก กองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งประเทศญี่ปุ่น ธนาคารพัฒนาเอเชีย และตลาดการเงิน เป็นต้น
การก่อหนี้สาธารณะอาจเกิดผลดีในด้าน การนำเงินไปใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต จะทำให้อัตราการพัฒนาเศรษฐกิจรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันจะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ กล่าวคือ ในกรณีหนี้ภายในประเทศ ถ้ารัฐบาลกู้ยืมเงินลงทุนของภาคเอกชน จะเกิดผลกระทบต่ออุปสงค์รวม ทำให้ระดับรายได้ประชาชาติและการว่าจ้างทำงานลดลง ส่วนหนี้ต่างประเทศจะส่งผลกระทบต่อเงินที่ไหลออกนอกประเทศ เนื่องจากการชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้แก่ต่างประเทศ
กล่าวโดยสรุป รัฐบาลต้องใช้จ่ายรายได้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการแจกจ่ายรายได้ ต้องมีการวางแผน และดำเนินการอย่างเป็นระบบ ดังนั้นจึงมีการทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณจากหน่วยงานที่มีความจำเป็นและต้องการรายได้เพื่อนำไปใช้จ่ายตามแผนของรัฐบาลที่วางไว้ลักษณะของงบประมาณ

1) เป็นศูนย์รวมของเงินงบประมาณทั้งหมด ปกติการใช้จ่ายเงินงบประมาณควรจะใช้จ่ายและพิจารณาจากศูนย์ หรือแหล่งรวมเดียวกันทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อจะได้มีการพิจารณาเปรียบเทียบการใช้จ่ายในแต่ละรายการ หรือทุกโครงการว่ารายการใดมีความสำคัญจำเป็นมากน้อยกว่ากัน หากรายการใดมีความสำคัญและจำเป็นมาก ก็ควรได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายมาก ทั้งนี้เพื่อความยุติธรรมในการจัดสรรเงินงบประมาณทุกโครงการ ควรมีสิทธิเท่า ๆ กันในการเสนอเข้ารับการพิจารณาในการจัดสรรงบประมาณพร้อมกัน เพื่อจะได้มีการประสานงานและโครงการเข้าด้วยกัน ป้องกันมิให้มีการทำงานหรือโครงการซ้ำซ้อน อันจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ ดังนั้นจึงไม่ควรแยกการพิจารณางบประมาณไว้ในหลาย ๆ จุด หรือหลายครั้ง ซึ่งจะก่อให้เกิดการพิจารณาที่ต่างกันและไม่ยุติธรรม

แต่อย่างไรก็ตามในบางโอกาสก็ยังมีความจําเป็นที่จะต้องแยกตั้งเงินไว้ต่างหากเป็นงบพิเศษ นอกเหนือจากงบประมาณ เช่น งบกลาง งบราชการลับ ซึ่งถ้ามีจํานวนไม่มากเกินไปก็มักจะไม่เป็นภัยทั้งยังช่วยให้เกิดความสะดวกบางอย่างด้วยแต่ถ้าการตั้งงบพิเศษมีมากเกินไปจะเกิดผลเสียต่อการบริหารงบประมาณเพราะจะทำให้เกิดการ คือ โอกาสแยกเงินมาใช้จ่ายได้ง่ายขึ้นและยังทำให้การบริหารงบประมาณเป็นไปแบบไม่มีแผนและเป้าหมายที่ชัดเจน

2) มีลักษณะของการพัฒนาเป็นหลัก งบประมาณที่ดีควรจะดําเนินการจัดสรรโดยยึดหลักการพัฒนาเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าเป็นหลัก ทั้งนี้เนื่องจากมีงบประมาณจำกัด จึงควรมีการพิจารณาจัดสรรงบประมาณตามหลักการพัฒนาที่ดีว่าด้านไหนควรมาก่อนหลัง ตามสถานการณ์และความจำเป็น

3) การกำหนดเงินต้องสอดคล้องกับปัจจัยในการทำงาน การจัดงบประมาณในแผนงานต้องมีความเหมาะสมให้งานนั้นๆ สามารถจัดทำกิจกรรมได้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรืออีกนัยหนึ่ง คือ การกำหนดเป้าหมายหรือผลที่จะได้รับต้องสอดคล้องกับงบประมาณและความเป็นไปได้

4) มีลักษณะที่สามารถตรวจสอบได้ หรือเป็นเครื่องมือที่จะใช้ตรวจสอบการบริหารงานของหน่วยงานได้ การจัดงบประมาณในแผนงานต่างควรมีรายละเอียดของกิจกรรมต่าง ๆ อย่างพอเพียงและเกิดผลเป็นรูปธรรม

5) มีระยะการดำเนินงานที่เหมาะสม ตามปกติงบประมาณที่ดีควรมีระยะเวลาเหมาะสมตามสถานการณ์ ไม่สั้นไม่ยาวเกินไป โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลา ประมาณ 1 ปี การเริ่มต้นใช้งบประมาณจะเริ่มในเดือนใด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน เช่น งบประมาณแผ่นดิน เริ่มเดือนตุลาคม ถึงเดือนกันยายน ของปีต่อไป งบประมาณเงินรายได้ของสถานศึกษาใช้ตามปีการศึกษาเป็นต้น

6) มีลักษณะช่วยให้เกิดการประหยัด ในการทำงบประมาณ ควรพยายามให้การใช้จ่ายเงินตามโครงการต่าง ๆ ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยพยายามไม่ให้มีการใช้จ่ายเกินความจำเป็นฟุ่มเฟือย หรือเป็นการใช้จ่ายที่สูญเปล่า ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่า

7) มีลักษณะชัดเจน งบประมาณที่ดีควรมีความชัดเจน เข้าใจง่ายเน้นถึงความสำคัญแต่ละโครงการได้ดี ไม่คลุมเครือ ง่ายต่อการพิจารณาวิเคราะห์ และเป็นประโยชน์ต่อผู้นำไปปฏิบัติด้วย

8) มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ งบประมาณที่ดีจะต้องเป็นงบประมาณที่มีความถูกต้องทั้งในรายละเอียดทั้งในด้านตัวเลขและรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ หากงบประมาณมีข้อบกพร่องในด้านความถูกต้อง ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดหรือความไม่รอบคอบก็ตามอาจเกิดผลเสียหายขึ้นได้ และต่อไปงบประมาณอาจไม่รับความเชื่อถือ

9) จะต้องเปิดเผยได้ งบประมาณที่ดีจะต้องมีลักษณะที่สามารถจะเปิดเผยแก่สาธารณะ หรือผู้เกี่ยวข้องทราบได้ ไม่ถือเป็นความลับ เพราะการเปิดเผยเป็นการแสดงถึงความบริสุทธิ์และโปร่งใสในการบริหารหน่วยงาน

10) มีความยืดหยุ่นงบประมาณที่ดีควรจะยืดหยุ่นได้ตามความจำ เป็น หากจัดวางงบประมาณไว้อย่างเคร่งครัดจนขยับไม่ได้ อาจจะก่อให้เกิดความไม่คล่องตัวในการทำงาน เพราะลักษณะของการทำงบประมาณเป็นการวางแผนการทำงานในอนาคต ซึ่งอาจมีปัจจุบันอื่นมากระทบทำให้การบริหารงบประมาณผิดพลาด และอย่างไรก็ตาม ถ้ามีความยืดหยุ่นมากก็อาจเกิดปัญหาการใช้งบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ

11) มีความเชื่อถือได้ในแง่ความบริสุทธิ์ งบประมาณที่ดีต้องสามารถตรวจสอบได้ เพื่อป้องกันการทุจริต ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเชื่อถือได้ ประหยัด และตรงตามวัตถุประสงค์ ข้อจำกัดของงบประมาณ

หนี้สาธารณะ (Pubic Debt) การกู้ยืมเงินของรัฐบาลเมื่อรัฐบาลมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จึงจำเป็นต้องกู้เงินมาใชจ่าย แต่เดิมมักมีความรู้สึกเกี่ยวกับการก่อนหนี้ไปในทางที่ไม่ดี ใครมีหนี้มากแสดงว่าฐานะทางการเงินไม่ดี ประเทศใดมีหนี้สินมากแสดงว่าฐานะทางเศรษฐกิจไม่มั่นคงและอาจล้มละลายได้ ปัจจุบันแนวคิดเหล่านี้เริ่มเปลี่ยนไป ผู้ที่ดำเนินธุรกิจเพียงเท่าที่มีทุนอยู่ ธุรกิจอาจไม่เจริญก้าวหน้า แต่ถ้ากู้เงินมาลงทุนขยายกิจการอย่างรอบคอบแล้วกิจการอาจเจริญก้าวหน้าจนสามารถชำระหนี้คืนและขยายกิจการให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ประเทศชาติก็เช่นกัน รัฐบาลของประเทศนั้นๆอาจมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินเพื่อพัฒนาประเทศลงทุนโครงสร้างถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปก และ พลังงานต่างๆ เพื่อนกระตุ้นให้ประชาชนขยายการลงทุนในกิจการต่างๆ ทำให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้สูงขึ้น เมื่อรายได้ประชาชาติเพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลก็จะสามารถเก็บภาษีเงินได้ จากประชาชนเพิ่มขึ้นเพื่อชำระหนี้คืน รัฐบาลของประเทศต่างๆ ทั้งที่กำลังพัฒนาหรือพัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯก็ตาม ก็มีหนี้สาธารณะอยู่เป็นจำนวนมาก หนี้สาธารณะนี้เราจะมองได้ทั้ง 2 ด้าน คือ เมื่อรัฐบาลายืมเงินเข้ามาก็จัดเป็นรายรับของรัฐบาลทางเหนึ่ง และเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ รัฐบาลก็ต้องตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายเพื่อชำระคืนหนี้ การก่อหนี้สาธารณะของรัฐบาลจึงมีผลต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ

เครื่องมือทางการคลังทั้ง 3 ประเภท


นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) คือ นโยบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายและรายได้ของรัฐ เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแนวทาง เป้าหมาย และการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ นโยบายการคลังประกอบด้วย นโยบายภาษีอากร นโยบายด้านรายจ่าย นโยบายการก่อหนี้และบริหารหนี้สาธารณะ และนโยบายในการบริหารเงินคงคลัง
วัตถุประสงค์ของนโยบายการคลัง
ประการที่ 1 ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลให้มีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดี จัดสรรทรัพยากรในสัดส่วนที่ทำให้สังคมได้รับสวัสดิการและมีประสิทธิภาพสูงสุด รัฐสามารถจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะ (Public goods and service) ในปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการของประชาชน
ประการที่ 2 ส่งเสริมการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม แต่ละกลุ่มจะได้รับประโยชน์และภาระที่เป็นธรรม นโยบายการคลังจะนำไปสู่การปรับปรุงการกระจายรายได้เบื้องต้นของประชาชนให้ทัดเทียมกัน
ประการที่ 3 เสริมสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังเพิ่มการใช้จ่ายและขยายการลงทุนในภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การลงทุนและการผลิตของภาคเอกชน
ประการที่ 4 รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นโยบายการคลังสามารถใช้ในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพในตลาดเงิน และความสมดุลในบัญชีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
นโยบายทางเศรษฐกิจ
นโยบายทางเศรษฐกิจ หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคลหรือคณะบุคคล โดยมีจุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจที่ได้ตั้งไว้
นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. นโยบายการเงิน หมายถึง นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้มาตรการต่าง ๆ ในการกำหนดและ ควบคุมปริมาณเงินและสินเชื่อ ให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ การรักษาเสถียรภาพของราคา การส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม การรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการชำระเงินระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เป็นการแก้ไขปัญหาเงินฝืดของรัฐบาล โดยใช้
เครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนั้น ซึ่งเป็น การเพิ่มอำนาจการซื้อให้ประชาชน เป็นการกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ทำให้ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น จูงใจให้ ลงทุนเพิ่มขึ้น การจ้างงานก็จะเพิ่มขึ้น ผลผลิตเพิ่มจนรายได้ประชาชาติสูงขึ้น เป็นการแก้ไขปัญหาเงินฝืด
2) นโยบายการเงินแบบเข้มงวดหรือแบบรัดตัว เป็นการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของรัฐบาลโดยใช้เครื่องมือการเงินต่าง ๆ เพื่อลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น คือ ลดอำนาจการซื้อของประชาชนลง เป็นการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ

2. นโยบายการคลัง หมายถึง นโยบายการหารายได้และการวางแผนการใช้จ่ายของรัฐบาล นโยบายการคลัง เป็นเครื่องมือในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของรายได้ในประเทศ เพราะผลจากการดำเนิน นโยบายการคลังของรัฐบาลจะส่งผลกระทบต่อสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ของรัฐบาลที่วางไว้ มี 3 ประเภท ดังนี้
1) นโยบายการคลังกับการเปลี่ยนแปลงรายได้ประชาชาติ การเก็บภาษีอากรและการ
ใช้จ่าย ของรัฐบาลมีผลกระทบกับรายได้และค่าใช้จ่ายของประเทศ เพราะถ้ารัฐบาลเก็บภาษี
ในอัตราที่สูงทำให้ประชาชน มีรายได้ที่จะนำไปใช้จ่ายได้จริงมีจำนวนลดลง ทำให้การบริโภคของประชาชนลดลง ถ้ารัฐบาลเก็บภาษี ในอัตราที่ต่ำจะทำให้ประชาชนมีรายได้เหลืออยู่ในมือจำนวนมาก ประชาชนจะบริโภคเพิ่มมากขึ้น มีผลทำให้ รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นด้วย
2) นโยบายการคลังกับการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลใช้นโยบายการคลังแบบหดตัว
เพื่อแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ โดยการเพิ่มอัตราภาษีและลดรายจ่ายของรัฐบาล เพื่อลดปริมาณเงินหมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจ ลดความต้องการบริโภคของประชาชนลงและลดรายจ่าย ของรัฐบาลทำให้ประชาชนมี รายได้ลดลง นโยบายนี้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณแบบเกินดุล คือต้องทำให้รายรับสูงกว่ารายจ่าย
3) นโยบายการคลังกับการแก้ปัญหาภาวะเงินฝืด รัฐบาลใช้นโยบายการคลังแบบ
ขยายตัว เพื่อแก้ปัญหาภาวะเงินฝืด โดยการเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาลและลดอัตราภาษี เพื่อเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนใน ระบบเศรษฐกิจ เพิ่มความต้องการบริโภคของประชาชน เพิ่มการลงทุนเพิ่มการจ้างงานและผลผลิต ทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น นโยบายนี้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณ แบบขาดดุล คือต้องทำให้รายจ่าย สูงกว่ารายรับ
รายรับของรัฐบาล หมายถึง เงินที่รัฐบาลได้รับในรอบปี ได้แก่ รายได้รัฐบาลและเงินกู้
ของรัฐบาล

รายได้ของรัฐบาล หมายถึง เงินภาษีอากร กำไรจากรัฐวิสาหกิจ ค่าธรรมเนียมและรายได้เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ในรอบปี
รายได้ของรัฐบาลที่สำคัญ คือ รายได้จากภาษีอากรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ1. รายได้จากภาษีอากร 2. รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร รายได้จากภาษีอากร หมายถึง รายได้ที่รัฐบาลบังคับเก็บจากประชาชนผู้มีรายได้เพื่อ
ใช้จ่ายในกิจกรรมของรัฐบาลเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม และไม่มีผลตอบแทนโดยตรงจากผู้เสียภาษีอากร

รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร หมายถึง รายได้ที่รัฐบาลไปบังคับเก็บจากประชาชน เช่น รายได้เก็บ จากภาคหลวงป่าไม้ ภาคหลวงแร่ รายได้จากการรถไฟ การไฟฟ้า อุตสาหกรรมของรัฐ รายได้จากค่าธรรมเนียม จดทะเบียน การออกใบอนุญาตต่าง ๆ รายได้จากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศและรายได้ค่าปรับดอกเบี้ย เงินกู้ รายได้จากสลากกินแบ่งรัฐบาล ฯลฯ

เครื่องมือของนโยบายการคลัง มีอะไรบ้าง

นโยบายการคลังใช้เครื่องมือ 3 ชนิด 1. นโยบายภาษีอากร (Tax Policy) 2. นโยบายงบประมาณ (Budget Policy) 3. นโยบายบริหารหนี้สาธารณะ (Public Debt Management Policy)

งบประมาณแผ่นดิน มี 3 ประเภท อะไรบ้าง

เป็นหนึ่งในเครื่องมือส าคัญของนโยบายการคลัง คือ แผนการเงินของรัฐบาล ประกอบด้วย งบประมาณด้าน รายได้และรายจ่าย และ การจัดหาเงินเพื่อให้ใช้จ่ายได้ใน 1 ปี ตามที่ได้ประมาณการรายจ่ายไว้ การจัดท างบประมาณ มี3 ลักษณะ 1. งบประมาณสมดุล → รายได้ = รายจ่าย 2. งบประมาณเกินดุล → รายได้ > รายจ่าย 3. งบประมาณขาดดุล → รายได้ < รายจ่าย

การคลังมีกี่ประเภท

ลักษณะของนโยบายการคลังแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะคือ หนึ่งนโยบายการคลังแบบ อัตโนมัติ(Autonomic Change) และนโยบายการคลังแบบตั้งใจ (Discretionary Change) การก าหนด ลักษณะนโยบายการคลังของแต่ละประเทศต้องค านึงถึงบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลที่แบ่งได้ เป็นสามประการ คือ หนึ่งช่วยให้การจัดสรรทรัพยากรมีความเป็นธรรม สองรักษาเสถียรภาพทาง ...

การคลังมีองค์ประกอบที่สําคัญ อะไรบ้าง

ต่างๆ รวม 4 ด้าน คือ 1)การจัดสรรทรัพยากร (The Allocation Function) 2) การกระจายรายได้ประชาชาติ (The Distribution Function) 3) การรักษาเสถียรภาพและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (The Stabilization Function)