ข้อเสียของsocial media มีอะไรบ้าง ภาษาอังกฤษ

โซเชียลมีเดีย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันไปแล้ว การใช้โซเชียลมีเดียผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟนมากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะเสพติดได้ (Social Addiction) ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ และยังเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า เครียด สมาธิสั้น และไบโพลาร์ได้

เสพติดโซเชียลมีเดียมากเกินไป ส่งผลกระทบอะไรบ้าง?

  • มีปฏิสัมพันธ์ลดลง บางเวลาควรวางโทรศัพท์ เพื่อสื่อสารกับคนตรงหน้ามากกว่า
  • เรียกร้องความสนใจ เช่น ต้องการจำนวน Like มากขึ้น จากการโพสต์
  • ไขว้เขวจากเป้าหมาย เพราะใช้เวลาทั้งหมดไปกับการเล่นโซเชียลทั้งวัน
  • ความสัมพันธ์ล้มเหลว เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความหึงหวง ไม่ไว้ใจกัน และสิ้นสุดความสัมพันธ์
  • เจอนักเลงคีย์บอร์ด คำหยาบคาย คำด่า คำตำหนิต่างๆ
  • เกิดทุกข์กับการเปรียบเทียบ เกิดการเปรียบเทียบชีวิตหรือเรื่องราวของตนเองกับเพื่อนที่เจอบนโลกออนไลน์
  • นอนหลับยากขึ้น ส่งผลกระทบกับการนอนหลับ แนะนำไม่ควรเล่นโทรศัพท์ แท็บเล็ตก่อนนอน
  • ไม่มีความเป็นส่วนตัว ข้อมูลที่โพสต์อาจถูกค้นหาและจะคงอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตตลอดไป

ติดจอ ติดโซเชียล ติดแชท อาจป่วยโดยไม่รู้ตัว! เช็กตัวเอง รู้ก่อน เพื่อเตรียมรับมือ

  • ภาวะซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression)

เป็นโรคที่เกิดจากการใช้งานเฟซบุ๊ก สังคมหรือโลกในเฟซบุ๊ก เป็นพื้นที่ในการสร้างความเป็นจริงเทียม (Artificial Reality) ขึ้นมา จากการโพสต์หรือแชร์เรื่องดีๆ แต่เก็บเรื่องแย่ๆ เรื่องร้ายๆ ที่อยากปกปิดเอาไว้ในชีวิต เราจึงเห็นแต่คนที่มีชีวิตสมบูรณ์แบบเต็มไปหมด เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับตัวเอง จึงเกิดความรู้สึกไร้ค่า และเป็นต้นเหตุของโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก หรือ Facebook Depression Syndrome

คนที่ถูกเพื่อน ๆ ปฏิเสธหรือเป็นที่รังเกียจในโลกเฟซบุ๊กจะเป็นอันตรายมากกว่าถูกปฏิเสธในโลก แห่งความจริง และหลายรายอาจมีปัญหาซึมเศร้าตามมา การใช้เฟซบุ๊กมากเกินไป อาจกลายเป็นการบั่นทอนความสุขของตนเอง ดังนั้นวิธีการลดความเสี่ยงต่อการเป็นภาวะนี้คือ การงดหรือหลีกเลี่ยงการใช้เฟซบุ๊ก และปรับเวลาในการใช้งานให้น้อยลง

  • ละเมอแชท (Sleep Texting)

มีสาเหตุมาจากการติดมือถือมากเกินไป ผู้ที่มีอาการเข้าข่ายเป็นโรคนี้จะไม่ปล่อยโทรศัพท์ไว้ห่างจากตัว จะมีอาการอยู่ในสภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น และถูกกระตุ้นการตอบสนองของสมองด้วยการลุกขึ้นมาตอบกลับข้อความทันทีหลังจากได้ยินเสียงแจ้งเตือน หรือเมื่อมีการสั่นเตือน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้นอนหลับไม่สนิท สะดุ้งตื่น พักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงระบบการทำงานต่างๆ ของร่ายกาย รู้สึกเหนื่อยง่าย ไม่มีแรงในการทำกิจกรรมต่างๆ เกิดความเครียดสะสม และเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนอีกด้วย

  • วุ้นในตาเสื่อม (Eye Floaters)

ปัจจุบัน ภาวะวุ้นในตาเสื่อมไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ยังพบว่าเกิดขึ้นกับวัยทำงาน และคนที่อายุน้อยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้หน้าจอที่มากเกินไป โรควุ้นในตาเสื่อมเป็นภาวะที่มองเห็นจุดเล็กๆ ลอยผ่านไปมา โดยจะมีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันไป  เช่น จุดดำเล็ก ๆ หรือวงใหญ่ ๆ คล้ายเมฆ ซึ่งผู้ป่วยอาจพบว่าเกิดเป็นจุดขนาดเล็กหลาย ๆ จุดพร้อมกัน หรือมีเพียงจุดขนาดใหญ่เกิดขึ้นเพียง 1 หรือ 2 จุด และจะสามารถสังเกตได้ชัดเจนเมื่อมองไปที่ที่มีพื้นหลังสีสว่าง

  • โนโมโฟเบีย (Nomophobia)

โรคกลัวไม่มีมือถือใช้ มาจากคำว่า no mobile phone phobia เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งส่วนใหญ่มักพบผู้ป่วยโรคนี้ในกลุ่มวัยรุ่น สังเกตอาการว่าเราอาจเสี่ยงเป็นโรคนี้ คือ จะมีอาการหงุดหงิด กระวนกระวายใจ เมื่อหามือถือไม่เจอ หรือไม่มีสัญญาณ internet หมกมุ่นอยู่กับการใช้มือถือเป็นประจำ ทั้งก่อนนอนและตื่นนอน ตื่นตัวทุกครั้งเมื่อได้ยินเสียงเตือน และต้องมีมือถือติดตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำกิจกรรมหรือกิจวัตรประจำวันอะไรอยู่ก็ตาม ในบางรายจะมีความสนใจและให้ความสำคัญกับโลกออนไลน์มากกว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ซึ่งทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง เกิดความเครียด และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ

  • สมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone Face)

โรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face) หรือโรคหน้าแก่ก่อนวัย เกิดจากการที่เราก้มลงมองหน้าจอเป็นเวลานานเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อคอเกิดอาการเกร็งและไปเพิ่มแรงกดบริเวณแก้ม ผิวบริเวรลำคอหย่อนคล้อย เหี่ยวย่น หรือที่เรียกว่า “เหนียง” นั่นเอง

ขณะเล่นมือถือ ควรให้อยู่ในระดับสายตา ไม่ควรก้มหน้ามากเกินไป และจำกัดเวลาในการเล่นมือถือให้น้อยลง อีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้างอีกด้วย

ติดโซเชียลมากไป มาทำ Social Media Detox กันเถอะ!


ขอบคุณข้อมูลจาก: สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.), สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์, กรมสุขภาพจิต, ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.)

 

ข้อดีของ social media

ข้อเสียของsocial media มีอะไรบ้าง ภาษาอังกฤษ

ข้อเสียของsocial media มีอะไรบ้าง ภาษาอังกฤษ

  1. สามารถแลกเปลี่ยนและศึกษาข้อมูลที่ต้องการได้รวดเร็ว – ด้วยความที่ยุคนี้อินเตอร์เน็ตคือสิ่งที่สามารถทำได้เราทำอะไรได้อย่างรวดเร็ว social media เองจึงกลายเป็นตัวกลางที่จะเอาไว้แลกเปลี่ยนข้อมูลหรือศึกษาข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็ว ทันใจ
  2. สะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย – ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาความรู้ การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นสามารถทำได้ง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องเสียเงินอะไรมาก
  3. สามารถแสดงสิ่งต่างๆ ของตัวเองให้คนอื่นได้เห็นได้ – ความสามารถทุกอย่างสามารถแสดงผ่าน social media ได้ และหากเป็นที่ถูกใจคนอื่นก็จะได้รับความนิยมจนกลายเป็นคนดังไปอย่างง่ายๆ
  4. สร้างรายได้ให้กับผู้ใช้งาน – ตรงจุดนี้เราเห็นได้ชัดเจนมากในปัจจุบัน ทั้งการขายของออนไลน์ การรับงานต่างๆ ผ่าน social media เหล่านี้ล้วนสร้างรายได้ให้กับผู้ที่ใช้งานกันมานักต่อนักแล้ว
  5. ทำให้ติดต่อคนที่ห่างไกลหรือไม่ได้ติดต่อกันนานได้ง่าย – นอกจากนี้ยังรวมไปถึงยังสามารถเห็นความเคลื่อนไหวของคนเหล่านี้ได้แม้ไม่ได้อยู่ด้วยกันก็ตามที
  6. เป็นช่องทางการตลาดรูปแบบใหม่ – องค์กรหลายๆ แห่งหันมาให้ความสำคัญกับ social media เป็นอย่างมากในการสร้างเป็นช่องทางการตลาดใหม่ๆ เพื่อขายสินค้าหรือบริการ

ข้อเสียของ social media

ข้อเสียของsocial media มีอะไรบ้าง ภาษาอังกฤษ

ข้อเสียของsocial media มีอะไรบ้าง ภาษาอังกฤษ

  1. ล้วงลึกข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป – เราจะเห็นว่าการสมัครบัญชีผู้ใช้งานแต่ละครั้งจำเป็นต้องรู้ข้อมูลส่วนตัวซึ่งมันสามารถหลุดหรือแพร่กระจายไปได้
  2. โดนหลอกจากการใช้ social media – เห็นกันอยู่บ่อยๆ อาทิ หลอกลวงไปทำมิดีมิร้าย หลอกขายสินค้า สิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้บน social media เพราะมันไม่ได้เห็นหน้าตา ไม่รู้นิสัยใจคอที่แท้จริงต่อกัน
  3. โดนละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานต่างๆ ได้ง่าย – การที่คุณแม้แต่ลงรูปหรือผลงานต่างๆ หากไม่ใส่ลายเซ็นหรือจุดเด่นของตัวเองลงไปก็อาจโดนเอาสิ่งเหล่านั้นไปทำอย่างอื่นโดยที่เราไม่รู้ตัว เช่น เอาไปตัดต่อเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เป็นต้น
  4. ทำให้หมกมุ่นจนเกินเหตุ – บางคนติด social media มากจนเสียงาน เสียการเรียน ก็มีให้เห็นเยอะแยะไป จึงควรเล่นแต่พอดี

อ้างอิง:http://www.unmeeonline.org/ข้อดีและข้อเสียของ-social-media

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

Related