ถอด บทเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง ภาษาอังกฤษ

แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างลักษณะอยู่อย่างพอเพียง วิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างลักษณะอยู่อย่างพอเพียง วิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตรงตามมาตรฐานที่ ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ

โดยการพูดและการเขียน สาระสำคัญคือ สาระสำคัญ ปัจจุบันปัญหาโลกร้อนนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นจนเป็นปัญหาระดับโลกเพื่อ สร้างความตระหนักให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการลดปัญหาภาวะโลกร้อนการเรียน เรื่องภาวะโลกร้อนเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รอบตัวเองโดยการใช้ทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็น ตามสถานการณ์ต่างๆทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลด ปัญหาภาวะโลกร้อน


เศรษฐกิจพอเพียง

ถอด บทเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง ภาษาอังกฤษ

ศัพท์ควรรู้ในโครงการพระราชดำริ

ฉบับนี้ กองบรรณาธิการวารสารมูลนิธิชัยพัฒนาขอต้อนรับศักราชใหม่ โดยการเปิดคอลัมน์ใหม่ ศัพท์ควรรู้ในโครงการพระราชดำริ คอลัมน์นี้เป็นการนำเสนอศัพท์ภาษาอังกฤษที่น่ารู้ ควรจะรู้ และที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและการดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน สำหรับฉบับนี้ ขอเริ่มจากศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่ปวงชนชาวไทยมาตลอด กว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ เพื่อให้พสกนิกรได้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน มั่นคง และปลอดภัย ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในกระแสโลกาภิวัฒน์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานความหมาย ของ เศรษฐกิจพอเพียง ไว้ว่า Sufficiency Economy ดังพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2542

. ในที่นี้เราฟังเขาถามว่าเศรษฐกิจพอเพียง จะแปลเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไร ก็อยากจะตอบว่ามีแล้วในหนังสือ ไม่ใช่หนังสือตำราเศรษฐกิจ แต่เป็นหนังสือพระราชดำรัสที่อุตส่าห์มาปรับปรุงให้ฟังได้ และแปลเป็นภาษาอังกฤษ เพราะคนที่ฟังภาษาไทยบางทีไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ จึงได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และเน้นว่าเศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy โดยเขียนเป็นตัวหนาในหนังสือ

แต่เนื่องจากคำว่า Sufficiency Economy เป็นคำที่เกิดมาจากความคิดใหม่ และเป็นทฤษฎีใหม่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงไม่มีปรากฏอยู่ในตำราเศรษฐศาสตร์

บางคนอาจยังสงสัยอยู่ว่า คำว่า Self-Sufficient Economy สามารถใช้แทนคำว่า Sufficiency Economy ได้หรือไม่ หากไม่ได้มีความหมายอย่างเดียวกัน หรือใช้ได้เหมือนกันแล้วนั้น จะมีความคล้ายคลึง หรือแตกต่างกันอย่างไร

คำว่า Self-Sufficiency ตามพจนานุกรมมีความหมายว่า ความไม่ต้องพึ่งใคร และความไม่ต้องพึ่งใครในนิยามของพระองค์ท่านนั้นคือ

Self-Sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง

(พระราชดำรัส วันที่ 4 ธันวาคม 2541)

ดังนั้นเมื่อเติมคำว่า Economy เป็น Self-Sufficient Economy แล้วนั้น จะหมายความว่าเศรษฐกิจแบบพอเพียงกับตัวเอง คืออยู่ด้วยตัวเองได้อย่างไม่เดือดร้อน โดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น แต่ทุกวันนี้ประเทศไทยเรายังเดือดร้อน ยังต้องพึ่งพาคนอื่นอยู่ แม้จะช่วยเหลือตัวเองได้ก็ตาม เพราะฉะนั้น Self-Sufficient Economy ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจแบบพอเพียงกับตัวเอง จึงแตกต่างจาก Sufficiency Economy ซึ่งหมายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ที่ยังคงมีการพึ่งพากันและกันอยู่ ดังพระราชดำรัส วันที่ 23 ธันวาคม 2542

คือพอมีพอกินของตัวเองนั้นไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจสมัยหิน สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน แต่ว่าค่อยๆ พัฒนาขึ้นมา ต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน มีการช่วยระหว่างหมู่บ้าน หรือระหว่าง จะเรียกว่าอำเภอ จังหวัด ประเทศ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน มีการไม่พอเพียง จึงบอกว่าถ้ามีเศรษฐกิจพอเพียง เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็จะพอแล้ว จะใช้ได้

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นแนวทางการดำรงชีวิตและปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ โดยยึดแนวทางการพัฒนา โดยมี คน หรือ ประชาชน เป็นศูนย์กลาง สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development

ทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืน และ Sustainable Development นั้นได้มีการให้คำจำกัดความและอธิบายแนวคิดไว้หลายประการ UN Commission on Environment and Development ประกาศใช้คำว่า Sustainable Development และได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน คือการพัฒนาที่สนองความต้องการปัจจุบัน โดยไม่ทำให้ประชาชนรุ่นต่อไปในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลดความสามารถ ในการที่จะสนองความต้องการของตนเอง

สำหรับองค์กรในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ให้คำนิยามการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้ดังนี้ การพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในปัจจุบัน ซึ่งสามารถสืบทอดต่อเนื่องไปในอนาคต โดยไม่กระทบต่อโอกาสในการพัฒนาของคนรุ่นหลัง สาระของการพัฒนาแบบยั่งยืนจึงต้องคำนึงถึงมิติของการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างสมดุล

ได้มีนักวิชาการและนักคิดหลายท่าน ที่ได้อธิบายแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้ ดังเช่น เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้อธิบายถึงแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้อย่างเข้าใจง่ายว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนคือการทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่รอบๆ ตัวเรานั้น มีใช้อย่างไม่รู้จักหมด มีการทดแทนกันอย่างสมดุลระหว่างสิ่งของกับตัวตน