สรุป การค้าและการ ลงทุน ระหว่างประเทศ

.. สำนักพิมพ์ มก. มุ่งมั่นผลิตตำราที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศทางวิชาการ ..

การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ: การวิเคราะห์ภายใต้บริบทการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

หนังสือ

สรุป การค้าและการ ลงทุน ระหว่างประเทศ

ชื่อหนังสือ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ: การวิเคราะห์ภายใต้บริบทการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
ผู้แต่ง ผศ.ดร.วุฒิยา สาหร่ายทอง
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์
คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พิมพ์ครั้งที่ 1
ปีที่พิมพ์ 2562
ขนาด 18.50 x 26 ซม.
จำนวน 201 หน้า
ราคา 250 บาท
ISBN 978-616-556-235-5

เนื้อหาโดยย่อ

การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ: การวิเคราะห์ภายใต้บริบทการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเล่มนี้ อธิบายให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ โดยให้ข้อมูลในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจทั้งในเชิงทฤษฎีและในทางปฏิบัติ ตลอดจนกรณีศึกษาต่างๆ ของประเทศไทยและประเทศคู่ค้าที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอทฤษฎีเบื้องต้นด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ที่มีต่อการดำเนินการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของผู้ประกอบการ หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับนิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป


ช่องทางจัดจำหน่าย

Ookbee.com

Meb

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิยา สาหร่ายทอง
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทรศัพท์ 0-2561-3474 ต่อ 308
e-mail: This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it


  • หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • การลงทุนระหว่างประเทศ (International Economic)


       
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินระหว่างประเทศ คือ ผู้ลงทุนต้องการแสวงหาผลตอบแทนที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตามการลงทุนในการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินหรือเข้ามาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะมีความเสี่ยงในการลงทุน นักลงทุนจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงด้วยเพราะการทำธุรกิจอาจมีกำไรหรือขาดทุน มิใช่คำนึงแต่ด้านผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว บางครั้งอาจเกิดการขัดแย้งระหว่างประเทศจนกลายเป็นกรณีพิพาททางการเมืองก็ได้ ในทางตรงข้ามการลงทุนระหว่างประเทศก็ก่อให้เกิดผลดี เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโต ได้รับการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี มีการจ้างงาน ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศสูงขึ้น รายได้ประชาชาติสูงขึ้น อาจส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศดีขึ้น
          
การลงทุนระหว่างประเทศ หมายถึง การที่รัฐบาลหรือเอกชนของประเทศหนึ่งนำเงินไปลงทุนดำเนินธุรกิจเพื่อแสวงผลกำไรในอีกประเทศหนึ่ง
ซึ่งแบ่งออกเป็น ประเภท คือ    

                1.การลงทุนโดยตรง  Direct Investment  
                2.การลงทุนโดยอ้อม Indirect Investment

  
การลงทุนโดยตรง
     การลงทุนโดยตรง หมายถึง การเคลื่อนย้ายทุนจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งโดยเจ้าของทุนยังมีอำนาจในการดูแลกิจการที่ตนเองเป็นเจ้าของ เป็นการนำเงินไปลงทุนโดยผู้ลงทุนเข้าไปดำเนินกิจการ มีการนำทรัพยากรการผลิต แรงงานและเทคโนโลยีเข้าไปยังประเทศที่ลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในระยะยาว การลงทุนในลักษณะนี้คือ การลงทุนในรูปบริษัทข้ามชาติ(multinational corporations)ที่มีบริษัทแม่อยู่ในประเทศที่เป็นเจ้าของทุนและมีบริษัทที่เป็นเครือข่ายสาขาอยู่ในหลายประเทศ 
ในปัจจุบันการลงทุนโดยตรงส่วนใหญ่ จะอยู่ในรูปของการดำเนินงานโดยวิสาหกิจ และมีสถาบันการเงินของเอกชนเป็นผู้จัดหาเงินทุนสำหรับการลงทุนในโครงการต่างๆ

สรุป การค้าและการ ลงทุน ระหว่างประเทศ

 การลงทุนจากต่างประเทศในธุรกิจที่มีขนาดใหญ่                                                                                                                                                                                         ส่งผลให้เม็ดเงินต่างประเทศไหลเข้าสู่ประเทศไทย  มีผลสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย

การลงทุนโดยอ้อม 

          การลงทุนโดยอ้อม หรือ การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน หมายถึง การลงทุนในรูปการซื้อขายตราสารหุ้น ตราสารหนี้ ทั้งในรูปพันธบัตร ตั๋วเงิน ในต่างประเทศ  รวมทั้งการกู้เงินจากต่างประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยผู้ลงทุนจะไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการหรือควบคุมดูแลกิจการนั้นๆ เป็นการลงทุนที่ผู้ลงทุนต่างชาติไม่ได้เข้ามามีส่วนดำเนินกิจการ ผู้ลงทุนในลักษณะนี้มักจะเป็นปัจเจกบุคคลหรืออยู่ในรูปของกองทุนต่างๆ อาทิ กองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือนักลงทุนสถาบัน เช่น บริษัทประกันภัยและกองทุนรวม 

สรุป การค้าและการ ลงทุน ระหว่างประเทศ

การให้กู้ยืมเงินและการลงทุนในหลักทรัพย์เป็นการลงทุนทางอ้อม