เป้าหมายของการจัดการเชิงกลยุทธ์

เป้าหมายของการจัดการเชิงกลยุทธ์

ในกระบวนการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ จะเริ่มต้นจากการกำหนดจุดมุ่งหมายขององค์กรให้ชัดเจน

Purpose หรือจุดมุ่งหมายขององค์กร คือ เหตุผลที่องค์กรนี้เกิดขึ้นมาและดำรงอยู่ นี่คือตัวตนที่แท้จริงขององค์กร คือจุดยืนที่ชัดเจนขององค์กร ซึ่งไม่ได้สั่นไหวสั่นคลอนไปง่ายๆ ไม่ว่าโลกนี้จะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม นอกจากว่ามาถึงวันที่ purpose ขององค์กรไม่ได้เป็นที่ต้องการของโลกนี้หรือของกลุ่มเป้าหมายอีกต่อไป เมื่อถึงวันนั้นองค์กรจึงตัดสินใจว่า จะเปลี่ยน purpose ขององค์กรใหม่หรือว่าจะจบชีวิตขององค์กรลง

ตามด้วยกำหนดเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์ หรือ Strategic Intent ขององค์กร ตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) หรือก็คือ ภาพที่เราต้องการจะเป็นในอนาคต แล้วมากำหนดพันธกิจ (Mission) หรือสิ่งที่เราต้องทำเพื่อให้ภาพในอนาคตนั้นเกิดขึ้นได้จริง ต่อด้วยการกำหนดเป้าหมาย (Goals) หรือก็คือ สิ่งที่เราจะต้องทำให้สำเร็จในแต่ละช่วงเวลาเพื่อให้มั่นใจว่าเรากำลังเดินอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้อง ด้วยจังหวะก้าวเดินที่เหมาะสม

เมื่อเรามองเห็นภาพในอนาคตที่เราต้องการจะไปให้ถึงได้อย่างชัดเจนแล้ว เราก็จำเป็นที่จะต้องรู้ก่อนว่า แล้ว ณ ปัจจุบันนี้ เรากำลังยืนอยู่ ณ จุดไหน ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่าความเป็นจริงกับความฝันห่างไกลกันมากน้อยขนาดไหน ด้วยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กร ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน จนรู้ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) ขององค์กร อย่างชัดเจน นี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเหมือนอย่างที่ ซุนวู ได้กล่าวไว้ว่า “รู้เขา รู้เรา ร้อยรบ มิพ่าย”

เมื่อรู้แล้วว่าช่องว่างระหว่างความจริง ณ ปัจจุบัน กับภาพฝันในอนาคต ห่างไกลกันขนาดไหน ก็ถึงเวลามากำหนดเส้นทางที่จะนำพาเราไปให้ถึงจุดหมายปลายทางนั้น แน่นอนว่าเส้นทางไม่ได้มีเส้นทางเดียว การเดินทางก็ไม่มีเพียงวิธีเดียว ในโลกของกลยุทธ์มีความเป็นไปได้อยู่มากมาย อยู่ที่เราจะเลือกมองหามันหรือไม่

ขั้นตอนต่อไปจึงเป็นการสร้างทางเลือกกลยุทธ์ขึ้นมาอย่างสร้างสรรค์และหลากหลาย พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความสอดคล้องของแต่ละแผนกลยุทธ์ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกทางเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่สุด เพื่อกำหนดเป็นแผนกลยุทธ์ระดับองค์กร หรือ Corporate Level Strategy หรือบางครั้งก็จะเรียกเป็น Grand Strategy

จากกลยุทธ์ภาพรวมขององค์กร แต่ละสายงานแต่ละฝ่าย ก็จะต้องนำไปแตกเป็นแผนกลยุทธ์ระดับหน่วยงานขึ้นมา แผนกลยุทธ์ระดับนี้เรียกว่า Functional Level Strategy หรือในบางครั้งก็จะเรียกเป็นแผนแม่บทหรือ Master Plan เช่น Marketing Strategy, IT Master Plan เป็นต้น

จากแผนกลยุทธ์ระดับหน่วยงาน ก็จะต้องนำมาแยกย่อยลงไปให้กลายเป็นแผนปฏิบัติการหรือ action plan ที่ชัดเจน ลงลึกถึงรายละเอียดในมิติต่างๆ เพื่อให้พนักงานแต่ละคนสามารถนำไปปฏิบัติตามได้ ส่วนใหญ่แล้วพนักงานแทบทุกระดับจะคุ้นเคยดีกับแผนประเภทนี้ ซึ่งเป็นแผนระยะสั้น ส่วนใหญ่ไม่เกิน 1 ปี

เมื่อได้แผนทุกระดับอย่างครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการนำแผนไปปฏิบัติและติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง อย่าลืมว่าไม่ว่าเราจะทุ่มเทให้กับการวางแผนมากเพียงใดก็ตาม ก็ไม่มีวันที่เราจะได้แผนที่สมบูรณ์แบบไม่มีข้อผิดพลาด ดังนั้นเราจึงต้องคอยติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนอยู่เสมอ หากพบว่าแผนกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้น ไม่สามารถนำเราไปสู่เป้าหมายที่ต้องการในเวลาที่กำหนด เราก็จำเป็นต้องนำแผนนั้นกลับมาทบทวนปรับแก้ใหม่อีกครั้ง

การปรับแก้แผนก็มีหลายระดับ ตั้งแต่การปรับแก้ที่ระดับ Action Plan ซึ่งก็ควรจะทำทันทีที่เราพบว่า แผนนั้นไม่ได้นำเราไปสู่เป้าหมายที่ระบุไว้ในกลยุทธ์ หรือปรับแก้ระดับ Master Plan ซึ่งแม้ว่าจะวางไว้หลายปี แต่ก็จะต้องกลับมาทบทวนกันทุกปี เพื่อดูว่าผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร แล้วสภาพแวดล้อมทั้งภายในภายนอกมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่ ถ้ามีก็อาจจะจำเป็นต้องปรับถึงระดับ Master Plan ได้

หรือในบางครั้งการปรับแก้แผนอาจจะต้องทำถึงระดับ Grand Strategy เลยก็ได้ ตัวอย่างที่ชัดเจนเลยก็คือในปีนี้ ที่ Covid-19 ระบาดอย่างรุนแรง แน่นอนว่าต้องกระทบถึงระดับ Grand Strategy เลยทีเดียวครับ

นอกจากนี้โดยทั่วไปเราก็จะมีการกลับมาปรับแก้ถึงระดับเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์เลยก็เป็นได้ อันนี้ส่วนใหญ่ก็จะรีวิวกันทุก 3-5 ปีนะครับ

ส่วนในระดับ Purpose หรือจุดมุ่งหมายนั้น ถ้าหากโลกมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจริงๆ ซึ่งกระทบต่อเหตุผลในการดำรงอยู่ขององค์กร พูดง่ายๆ ก็คือ องค์กรไม่เป็นที่ต้องการของโลกนี้อีกแล้ว ก็จำเป็นต้องกลับมาทบทวนกันอีกครั้งหนึ่งครับ

และทั้งหมดนี้คือ ภาพรวมของการจัดการเชิงกลยุทธ์ แบบสรุปจบในหน้าเดียวครับ

เป้าหมายของการจัดการเชิงกลยุทธ์

ผู้เขียนได้ศึกษาเรื่องการจัดการเชิงกลยุทธ์จากผลงานของท่าน ผอ.พงศ์พันธุ์ ไชยวัณณ์ อดีตผอ.สพป. ชม. 4 ที่ได้จัดทำเอกสารเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงกลยุทธ์ เห็นว่ามีประโยชน์จึงได้นำมาขยายผลให้ผู้อ่านที่ชื่นชอบการจัดการเรียนรู้เชิงกลยุทธ์ได้ศึกษาเพิ่มเติม โดยการจัดการเชิงกลยุทธ์ มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้

เป้าหมายของการจัดการเชิงกลยุทธ์
ผอ.พงศ์พันธุ์ ไชยวัณณ์
  • Wheelen  และ Hunger (2006)  ให้ความหมายของการจัดการเชิงกลยุทธ์ว่า  หมายถึง  การตัดสินใจในการปฏิบัติการเพื่อให้องค์การประสบผลสำเร็จในการดำเนินการในระยะยาว
  • Pearce  และ Robinson (2009)  ให้ความหมายการจัดการเชิงกลยุทธ์ว่า คือชุดการตัดสินใจของการกระทำที่ส่งผลให้เกิดการทำแผนและการปฏิบัติตามแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
  • วรางคณา   ผลประเสริฐ (2556:6) ได้ให้ความหมายไว้ว่าการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการบริหารอย่างมีระบบที่ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ผู้ของผู้นำและอาศัยการวางแผนอย่างมีขั้นตอน โดยผ่านการตัดสินใจและการประเมินแล้วว่าเหมาะสมกับองค์การและสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง อันจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์การ

สรุป การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการจัดการอย่างเป็นระบบจากวิสัยทัศน์ที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์และประเมินอย่างเป็นระบบเพื่อการวางแผนดำเนินการให้เหมาะสมกับสถานการณ์สู่ความสำเร็จ


ความสำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์

การจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้นักบริหารกำหนดทิศทางขององศ์กร โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์กร เพื่อที่จะนำกลยุทธ์เหล่านั้นไปประยุกต์ปฏิบัติและควบคุมประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรได้ กลยุทธ์การบริหารที่ทรงคุณภาพนี้ จะต้องดีพร้อมสมบูรณ์ตามความหมายทั้ง 2 อย่างคือ การมีประสิทธิผล(Effectiveness) ที่สามารถบรรลุผลสำเร็จในเป้าหมายนั้นๆได้ และมีประสิทธิภาพ (Efficiency) ที่สำเร็จในเป้าหมายเหล่านั้นโดยมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย

วรางคณา ผลประเสริฐ (2556:9) ได้จำแนกความสำคัญของการจดการเชิงกลยุทธ์ไว้ 6 ประการ ดังนี้

  1. ช่วยให้องค์การมีกรอบและทิศทางที่ชัดเจน
  2. ช่วยให้ผู้บริหารคิดอย่างเป็นระบบ
  3. ช่วยสร้างความพร้อมให้แก่องค์กร
  4. ช่วยสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขั้น
  5. ช่วยให้การทำงานเกิดความสอดคล้องในการปฏิบัติหน้าที่
  6. ช่วยให้องค์การที่มีมุมมองที่ครอบคลุม

ลักษณะสำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์

วรางคณา ผลประเสริฐ (2556:11-13) ได้จำแนกลักษณะสำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์ไว้ดังนี้

  1. เป็นการบริหารที่มุ่งถึงอนาคต (Future-Oriented)โดยการสร้าง วิสัยทัศน์ พันธะกิจ และเป้าประสงค์ขององค์การ
  2. เป็นการมุ่งเน้นการจัดการต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กร (Change-Oriented) ทั้งระบบ   ซึ่ง ครอบคลุมโครงสร้าง เทคโนโลยี บุคลากรและทรัพยากรต่างๆ
  3. เป็นการบริหารองค์การแบบองค์รวม (Holistic  Approach)  มุ่งเน้นภาพรวมทั้งหมดขององค์การมากกว่าการแยกส่วนการจัดการของทุกภาคส่วน  มุ่งสู่ทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน
  4. การบริหารองค์การที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ ในการดำเนินการ (Result based  Focus)  ที่มีการระบุตัวชี้วัดที่ชัดเจน ตลอดจนเป้าหมายและวัตถุประสงค์
  5. การบริหารที่ให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียกับองค์การทุกภาคส่วน (Stakeholder-Oriented)
  6. การเป็นองค์การที่มุ่งเน้นการวางแผนระยะยาว(Long-Range Planning)

กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์

ประกอบด้วยขั้นตอนพื้นฐานดังต่อไปนี้

  1. การวิเคราะห์กลยุทธ์ (Strategic Analysis)
  2. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategic Formulation)
  3. การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation)
  4. การประควบคุมกลยุทธ์ (Strategic Evaluation and Control)

การจัดการเชิงกลยุทธ์คืออะไร มีความสําคัญอย่างไร

การจัดการเชิงกลยุทธ์ หมายถึง กระบวนการต่อเนื่องในการกำหนดภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กรภายใต้บริบทของสิ่งแวดล้อมภายนอกขององค์กร การกำหนดกลวิธีที่เหมาะสม การปฏิบัติงานตามกลวิธีที่กำหนดไว้ การใช้อำนาจหน้าที่ในการควบคุมกลยุทธ์ เพื่อทำให้มั่นใจว่ากลวิธีขององค์กรที่นำมาใช้สามารถนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้

วัตถุประสงค์ของการศึกษาการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่ออะไร

ประโยชน์ของการจัดการเชิงกลยุทธ์ 1. ช่วยให้ผู้บริหารมีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่มีผลต่อองค์กรในอนาคตทำให้สามารถกำหนดทิศทางขององค์กรได้อย่างเป็นรูปธรรม 2. เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กร เพื่อให้เกิดความเข้าใจในภาพรวมและวัตถุประสงค์ขององค์กร ทำให้องค์กรมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

ประโยชน์ของการจัดการเชิงกลยุทธ์มี อะไรบ้าง

ความสาคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์ 1. กาหนดทิศทางที่ชัดเจน 2. ลดความเสี่ยงขององค์การในอนาคตลง 3. ใช้ทรัพยากรที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง 5. มีความสอดคล้องในการปฏิบัติงาน

การจัดการเชิงกลยุทธ์มีความสําคัญต่อองค์กรอย่างไร

ความสำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์.
ช่วยให้องค์การมีกรอบและทิศทางที่ชัดเจน.
ช่วยให้ผู้บริหารคิดอย่างเป็นระบบ.
ช่วยสร้างความพร้อมให้แก่องค์กร.
ช่วยสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขั้น.
ช่วยให้การทำงานเกิดความสอดคล้องในการปฏิบัติหน้าที่.
ช่วยให้องค์การที่มีมุมมองที่ครอบคลุม.