พัฒนาการด้านสังคมของเอเชียกลาง

Submitted by priceadmin on 18 January, 2016 - 13:15

แม้ประเทศในภูมิภาคเอเชียกลางจะอยู่ร่วมทวีปเอเชียกับประเทศไทย แต่ความรู้ ความเข้าใจ และ ความสัมพันธ์ทางด้านการค้า และ การลงทุนระหว่างกันยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ประเทศตะวันตก รัสเซีย จีน และ สิงคโปร์ กลับมองเห็นลู่ทางหาประโยชน์จากการค้าและการลงทุนในประเทศเหล่านั้นมากกว่า นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศกล่าวในงานสัมมนา "ไทยกับภูมิภาคเอเชียกลาง" ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศเมื่อเร็วๆนี้ ถึงประเทศในภูมิภาคเอเชียกลางที่มีความน่าสนใจทางธุรกิจทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่อุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน เตอร์กเมนิสถาน คาซัคสถาน และคีร์กิซสถาน ว่าในอดีตเป็นดินแดนที่รองรับเส้นทางสายไหม (Silk Road) และเป็นดินแดนที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติเช่นปิโตรเลียม ก็าซธรรมชาติ พลังน้ำ และแร่ธาตุ (เหล็กกล้า ทองแดง ทองคำ ยูเรเนียม อะลูมิเนียม) ทั้งยังเป็นแหล่งปลูกฝ้ายที่ใหญ่ของโลก ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ให้กับนักธุรกิจไทย จึงได้จัดงานนี้ขึ้นเพื่อแนะนำลู่ทางการเจาะตลาดดังกล่าว ในภาพรวม ภูมิภาคเอเชียกลางเป็นประเทศที่มีประวัตศาสตร์อันยาวนาน แต่ต้องสะดุดลงเมื่อต้องถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของในจักรวรรดิ์โซเวียต รัสเซีย แต่เมื่อปี 2534 ประเทศเหล่านั้นก็ได้กลับมามีเอกราชอีกครั้ง รัฐบาลของแต่ละประเทศจึงต้องเร่งพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยปัจจุบันอยู่ในลักษณะของเศรษฐกิจระยะผ่าน (Economy in Transition) เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในประเทศรัสเซียเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เว้นแต่ในประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เช่นคาซักสถาน อุซเบกิสถาน และ เติร์กเมนิสถาน ส่วน คีร์จิกิซสถาน และ ทาจิกิสถานจัดอยู่ในกลุ่มประเทศยากจน และ ยากจนที่สุดตามลำดับ ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของทั้ง 5 ประเทศรวมกันอยู่ที่ 61,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2.25 ล้านล้านบาท) คิดเป็น 0.13 ของจีดีพีโลก จำนวนประชากร 58.7 ล้านคน อาศัยอยู่ในพื้นที่ 3.9 ล้านตารางกิโลเมตร นายสรยุตม์ พรหมพจน์ เอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ในเขตเอเชียกลาง อธิบายว่าประเทศที่มีความสำคัญในเชิงผลประโยชน์กับประเทศไทยมากที่สุดตามลำดับได้แก่ คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน เพราะเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพด้านการส่งออกพลังงานเป็นรายได้หลักของประเทศและมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจติดกลุ่มที่มีพลวัตรมากที่สุดในโลก หรือ มีเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วนั่นเอง ซึ่งการเติบโตดังกล่าวมีปัจจัยผลักดันสำคัญได้แก่ การส่งออกวัตถุดิบ ประเภทปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ มิใช่การปรับโครงสร้างการผลิต และการยกระดับประสิทธิภาพ หรือการใช้นวัตรกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเช่นเดียวกับประเทศทางตะวันตก นอกจากนั้นทั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียกลาง ยังเป็นแหล่งผลิตฝ้ายรายใหญ่ในระดับนานาชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คาซักสถานที่เป็นประเทศผู้ผลิตฝ้ายอันดับ 2 ของโลกและส่งออกสินค้าจากฝ้ายไปยังประเทศต่างๆคิดเป็นสัดส่วน 25 % ของจีดีพีในประเทศ ลู่ทางการค้า-ลงทุน นายวัฒนะ คุ้นวงศ์ ที่ปรึกษา สถานเอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงมอสโกแนะนำว่านักธุรกิจไทยควรเลี่ยงการลงทุนในกลุ่มทรัพยากรปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติเนื่องจากว่ากลุ่มบริษัทจากประเทศตะวันตกได้เข้าไปเปิดธุรกิจในอุตสาหกรรมเหล่านั้นแล้ว ดังนั้นธุรกิจที่น่าสนใจจึงอยู่ที่ธุรกิจกลุ่ม Non-Oil Sector เพื่อให้บริการแก่กลุ่ม Oil Sector เช่นการป้อนสินค้าอุปโภค-บริโภค การสร้าง และ บริหารโรงแรม ที่พักอาศัยแทน ยิ่งไปกว่านั้นการท่องเที่ยวยังเป็นธุรกิจที่น่าสนใจเพราะประเทศในภูมิภาคนี้มีแหล่งท่องเที่ยวซึ่งน่าค้นหาอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการนำนักท่องเที่ยวจากประเทศเอเชียกลาง เข้ามายังเมืองไทย หรือ นำนักท่องเที่ยวไทยไปเที่ยว รวมทั้งการเข้าไปบริหารโรงแรมในประเทศเหล่านั้นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตามจากการที่ประเทศในภูมิภาคดังกล่าวมีสภาพสังคมที่แตกต่างกันระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบทอย่างชัดเจนโดยเฉพาะเรื่องของฐานะทางการเงิน จึงควรทำการศึกษาแหล่งที่จะไปลงทุนหรือทำการค้าให้ดี เพราะความต้องการของประชากรของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมาก จึงแนะนำให้ศึกษารูปแบบการวางลู่ทางการค้าของประเทศตุรกีที่เข้าไปทำธุรกิจในเพื่อนบ้านอดีตประเทศในสหภาพโซเวียต-รัสเซีย ที่มุ่งเน้นทำการค้าและบริการสำหรับกลุ่ม Oil Sector เช่น การบริหาร การก่อสร้าง และการจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งรูปแบบของการเป็นพันธมิตรระหว่างสิงคโปร์-ตุรกี ที่ร่วมเข้าบุกตลาดประเทศในเอเชียกลางอย่างเงียบๆอีกด้วย ขณะที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้เปรียบประเทศอื่นๆ เพราะสามารถตั้งชุมชนชาวเกาหลี เช่นเ

พัฒนาการด้านสังคมของเอเชียกลาง

ก่อน พ.ศ.2534 คาซัคสถานเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียตเช่นเดียวกับรัสเซีย อูเครน คีร์กีซ อุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน ฯลฯ เมื่อแยกประเทศมาได้ 20 ปี เราก็เห็นความแตกต่างของคนคาซัครุ่นใหม่กับคนรุ่นใหม่ที่มาจากสาธารณรัฐอื่นอย่างเห็นได้เด่นชัด ถ้าตามการกระดิกพลิกตัวของผู้คนจากอดีตสหภาพโซเวียต คนคาซัคเด่นและมีความเป็นสากลมากที่สุด

คนที่เคยพบคบค้ากับคนคาซัคมักถามผมถึงสาเหตุที่ทำให้คนคาซัคแตกต่าง ผมตอบว่ามาจากการที่คาซัคสถานมีนํ้ามันมาก แต่มีพลเมืองน้อย (17 ล้านคน) คาซัคสถานมีพื้นที่ 2.7 ล้านตารางกิโลเมตร (ใหญ่กว่าไทยเกือบ 5 เท่า) เมื่อได้เงินจากการขายนํ้ามัน รัฐบาลคาซัคแต่ละยุคทุกสมัยก็อัดเรื่องการศึกษาของเยาวชนเต็มกำลัง ตอนที่แยกประเทศออกมาใหม่ๆ นักศึกษาคาซัคได้ทุนจากรัฐบาลมาเรียนในไทยจำนวนไม่น้อย เรายังเจอนักเรียนทุนรัฐบาลคาซัคในสิงคโปร์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง สหรัฐฯ และประเทศในยุโรป พวกนี้ตั้งหน้าตั้งตาเรียนโดยไม่ต้องทำงาน เพราะเงินจากทรัพยากรธรรมชาตินํ้ามันมีเหลือเฟือ เรื่องนี้ทำให้องค์ความรู้จากทั่วโลกไหลไปรวมกันอยู่ที่คาซัค

บริษัท บาลานซ์ โนว์เล็จ ดีไซน์ จำกัด เคยรับงานเป็นที่ปรึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอของไทย เพื่อนำนักลงทุนไทยไปหาโอกาสด้านการค้าการลงทุนในประเทศตลาดใหม่ หนึ่งในประเทศตลาดใหม่ในสมัยนั้นคือ คาซัคสถาน บริษัทฯ เตรียมล่ามภาษารัสเซียและภาษาคาซัค เพื่อใช้ในการเจรจา แต่ปรากฏว่าไม่ได้ใช้สักแห่งเดียว เพราะไม่ว่าจะระดับรัฐมนตรี อธิบดี และหัวหน้าหน่วยงานที่เราเข้าไปเจรจา สนทนาด้วยภาษาอังกฤษดีมาก คนที่รับผิดชอบของรัฐบาลและเอกชนส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ

ผิดกับสาธารณรัฐคีร์กิซ ซึ่งมีพรมแดนประชิดติดกับคาซัคสถาน เป็นสาธารณรัฐที่ไม่มีทรัพยากรน้ำมัน รัฐบาลไม่ค่อยสนใจไยดีเรื่องการศึกษา การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างเชื่องช้า ผมเคยติดตามทีมของ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย ตระเวนตั้งแต่เหนือสุดยันใต้สุดของคีร์กีซ ทั้งที่ในตอนนั้นแยกจากโซเวียตมานาน 20 ปีแล้ว แต่คีร์กีซยังไม่มีความก้าวหน้าอย่างเห็นเด่นชัด ผู้คนยังทำกสิกรรมแบบดั้งเดิม โครงสร้างพื้นฐานทั้งหลาย ทั้งถนนหนทาง ยังไม่ได้มาตรฐาน

อุซเบกิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทรัพยากรน้ำมันเช่นกัน แต่รัฐบาลอุซเบ็กก็พยายามดิ้นรนด้วยการเชื้อเชิญประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศมาก่อนเข้าไปช่วยปรับปรุงระบบการศึกษา อย่างเช่น ตุรกี เกาหลีใต้ หรือแม้แต่สิงคโปร์ ซึ่งไปสร้างมหาวิทยาลัยของตัวเองกลางกรุงทัชเคนต์ เมืองหลวงของอุซเบกิสถาน

คุณภาพชีวิตของชาวอุซเบ็กที่ผมตระเวนร่วมทีมกับอาจารย์นิติภูมิธณัฐ มากกว่า 5 ครั้งในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีความก้าวหน้าพอสมควร แม้ว่าจะไม่ได้มีคนจบการศึกษาจากต่างประเทศมากเท่ากับคาซัคสถาน แต่การที่ดึงประเทศต่างๆ
เข้ามาสร้างสถานศึกษาและสถานฝึกอบรมในประเทศอย่างจริงจัง ทำให้อุซเบกิสถานเป็นอีกประเทศหนึ่งในเอเชียกลางที่มีอนาคต

การเลือกตั้งประธานาธิบดีอุซเบกิสถานครั้งล่าสุด คณะกรรมการการเลือกตั้ง และรัฐบาลอุซเบกิสถานเชิญอาจารย์นิติภูมิธณัฐให้เดินทางไปเป็นผู้สังเกตการณ์นานาชาติ ซึ่งต้องตระเวนไปตามเมืองต่างๆทั้งประเทศ การไปคราวนี้ มีการพบว่าผู้นำรุ่นใหม่ไม่ว่าในระดับเทศบาลจังหวัด หรือภูมิภาค เป็นคนรุ่นใหม่อายุน้อยแทบทั้งสิ้น

พัฒนาการของสาธารณรัฐทาจิกิสถานหลังจากแยกตัวจากสหภาพโซเวียตคล้ายกับสาธารณรัฐคีร์กีซ การที่รัฐบาลไม่ค่อยสนใจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทาจิกิสถานจึงยังเป็นประเทศที่ลำบาก ผู้คนมีปัญหาทางเศรษฐกิจโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆของประเทศยังล้าหลัง

วันนี้ขออนุญาตอัปเดตความเป็นไปในเอเชียกลางเพียงเท่านี้ครับ สรุปสั้นๆว่า การทุ่มเทกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำคัญกับความเจริญของประเทศชาติบ้านเมืองอย่างมากครับ.