ภูมิภาคเอเชียใต้มีพัฒนาการด้านประวัติศาสตร์เป็นอย่างไร

          เอเชียใต้มีสังคมที่กว้างใหญ่สลับซับซ้อน  มีความแตกต่างทางเชื้อชาติเผ่าพันธุ์  มีความหลากหลายทางความเชื่อ  ศาสนา  ภาษา  ชนชั้นวรรณะ  และขนบธรรมเนียมประเพณี  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้กลายมาเป็นปัญหาการปกครองประเทศในแถบเอเชียใต้ในที่สุด.

    แม้ว่าอินเดียปกครองอาณาจักรที่กว้างใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่ความเสื่อมเกิดขึ้นจากการที่พระราชวงศ์มักสู้รบกันเอง เช่น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปราบปรามพระเชษฐาเพื่อขึ้นครองบัลลังก์นอกจากนี้ดินแดนทางตอนเหนือของอินเดียยังถูรุกรานจากคนต่างชาติิต่างศาสนาดังเช่นอาหรับ เปอร์เซีย แอฟริก ปาทาน ตุรกีและมองโกล ซึ่งมีความเข้มแข็งในด้านการรบทำให้ตอนปลายของแต่ละราชวงศ์ในยุคราชวงศ์อาณาจักรแตกแยกเป็นแว่นแคว้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 1735 มุสลิมเชื้อสายตุรกียึดกรุงเดลลีได้มีผลให้ชาวอารยันที่เป็นชนชั้นผู้ปกครองอินเดียหมดอำนาจลง

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียใต้ยุคโบราณให้ครอบคลุม 3 ประเด็นต่อไปนี้       1. ยุครุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ 2.กำเนิดพระพุทธศาสนาและศาสนาเชนการเข้ามาของวัฒนธรรม     3.อิสลามและการถือกำเนิดศาสนาซิกข์ศาสนาแต่ละศาสนาก่อให้เกิดการสร้างสรรค์อารยธรรมต่างๆ เช่น แนวคิดความเชื่อของคนในสังคม การสร้างสรรค์ทางศิลปกรรม อันส่งผลต่อพัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคเอเชียใต้ ทำให้ภูมิภาคนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอินเดีย กลายเป็นหนึ่งในแหล่งอารยธรรมสำคัญแห่งหนึ่งของเอเชีย    

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

วัตถุประสงค์

1. . นักเรียนสามารถระบุประเด็นสำคัญทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียใต้ยุคโบราณได้ครบถ้วนและถูกต้อง

2. นักเรียนสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียใต้ยุคโบราณในรูปแบบเส้นเวลา (Timeline)

3. นักเรียนเห็นความสำคัญของศาสนาที่ถือกำเนิดหรือเข้ามาในภูมิภาคเอเชียใต้อันส่งผลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์

หน่วย รายวิชา ประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 22104 ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พัฒนาการของภูมิภาคเอเชียใต้

ชั่วโมง ประเด็นสำคัญในประวัติศาสตร์เอเชียใต้ที่ส่งผลต่อพัฒนาการด้านการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ

เรื่อง ประเด็นสำคัญในประวัติศาสตร์เอเชียใต้ที่ส่งผลต่อพัฒนาการด้านการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ 29 ม.ค. 64 (มีใบงานประกอบการสอน)