ที่ตั้งเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้

ที่ตั้งเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

ที่ตั้งเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หรือ ตะวันออกกลาง หรือ เอเชียตะวันตก มีพื้นที่ประมาณ 6,835,434 ตารางกิโลเมตร เป็นดินแดนที่ปกคลุมไปด้วยทะเลทรายแห้งแล้งกว้างใหญ่ ในภูมิภาคนี้ยังมีแม่น้ำสายสำคัญที่เป็นแหล่งอารยธรรมโลก คือ แม่น้ำไทกริส–ยูเฟรทีสในประเทศอิรัก เป็นบริเวณที่มีการทำการเกษตรได้ดีที่สุด ด้วยลักษณะทางกายภาพส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย ดินแดนแถบนี้จึงอุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน ทำให้น้ำมันกลายเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศในแถบนี้ อย่างไรก็ตาม เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ยังให้กำเนิดศาสนาที่สำคัญ เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนายูดาย และศาสนาอิสลาม ถึงแม้ว่าดินแดนแถบนี้จะแห้งแล้ง แต่เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง เพราะมีอาณาเขตติดต่อกับทวีปแอฟริกาทางด้านตะวันตก และทวีปยุโรปทางตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือ ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีลักษณะส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง (เช่น ที่ราบสูงอิหร่านและที่ราบสูงอานาโตเลีย) นอกจากนี้ ยังมีบริเวณที่เป็นคาบสมุทรที่สำคัญ คือ คาบสมุทรอาหรับ

ลักษณะทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ คือ อุตสาหกรรมน้ำมัน (โดยเฉพาะประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นประเทศที่มีน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก) ประเทศที่มีความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมมากที่สุดในภูมิภาคนี้ คือ ตุรกี

บางประเทศอาจถูกจัดให้อยู่ในทวีปยุโรปแทน เนื่องจากมีลักษณะทางวัฒนธรรมจากทวีปยุโรปมากกว่า ได้แก่ ตุรกี ไซปรัส อาร์เมเนีย จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Southwest Asia) หรืออาจเรียกว่า เอเชียตะวันตก หรือ ตะวันออกใกล้ และตะวันออกกลาง ล้อมรอบด้วยทะเล 5 แห่งคือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลดำ ทะเลแคสเปียน ทะเลอาหรับ ทะเลแดง และดินแดนในภูมิภาคนี้มีความเจริญทางอารยธรรมอย่างมากเช่น อารายธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติสภูมิภาคนี้มีพื้นที่ประมาณ 6,835,434 ตารางกิโลเมตร มีศาสนาที่สำคัญคือศาสนาอิสลาม ศาสนายูดายของอิสราเอล และมีนับถือศาสนาคริสต์ในไซปรัส ปัจจุบันภูมิภาคนี้ยังคงมีความแตกแยกกันในเรื่องเชื้อชาติและศาสนา

บางประเทศอาจถูกจัดให้อยู่ในทวีปยุโรปแทน เนื่องจากมีลักษณะทางวัฒนธรรมจากทวีปยุโรปมากกว่า ได้แก่ ตุรกี ไซปรัส อาร์เมเนีย จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน

ประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้[แก้]

  1. สาธารณรัฐอาร์เมเนีย
  2. สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน
  3. รัฐบาห์เรน
  4. สาธารณรัฐไซปรัส
  5. จอร์เจีย
  6. สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
  7. สาธารณรัฐอิรัก
  8. รัฐอิสราเอล
  9. ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน
  10. รัฐคูเวต
  11. สาธารณรัฐเลบานอน
  12. รัฐสุลต่านโอมาน
  13. สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย
  14. รัฐกาตาร์
  15. ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
  16. สาธารณรัฐตุรกี
  17. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  18. สาธารณรัฐเยเมน

อารยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันตก

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย 

     “เมโสโปเตเมีย” แปลว่าดินแดนระหว่างแม่น้ำสองสาย ได้แก่ แม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรติส ลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ทอดโค้งจากฝั่งทะเลด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจรดอ่าวเปอร์เซีย จึงมีสมญานามว่า “ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทำให้ชนเผ่าต่างๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานมากมาย เช่น

        1. สุเมเรียน

–    ตั้งอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบเมโสโปเตเมียที่เรียกว่า “ซูเมอร์”

–   ปกครองแบบนครรัฐ (City States) แต่ละนครรัฐเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน มีกษัตริย์เป็นผู้นำ นครรัฐที่สำคัญเช่น เมืองอูร์ เมืองเออรุคและเมืองอิริดู เป็นต้น

–    นับถือเทพเจ้าหลายองค์ มีเทพเจ้าประจำนครรัฐ เน้นโลกนี้เป็นสำคัญ ไม่เชื่อเรื่องโลกหน้า

–   ประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม(รูปลิ่ม) เขียนลงบนแผ่นดินเหนียวด้วยปากกาที่ทำจากต้นอ้อแล้วนำไปตากแห้ง

–   สร้างซิกกูแรต (วิหารบูชาเทพเจ้า)

–   วรรณกรรมกิลกาเมช กล่าวถึงการพจญภัยของสีรบุรุษชาวสุเมเรียน

–   วรรณกรรมเอนลิล กล่าวถึงการสร้างโลกและน้ำท่วมโลก

–   รู้จักใช้ระบบชลประทาน เช่น อ่างเก็บน้ำ เขื่อนกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ

–   ดำรงชีพด้วยการเพาะปลูก พืชที่สำคัญคือ ข้าวสาลี

–   รู้จักใช้ยานพาหนะเช่น รถม้า

–   รู้จักใช้โลหะผสม(สำริด) ทำเครื่องมือ เครื่องประดับ

–   รู้จักทอผ้า

–   รู้จักการบวก ลบ คูณ ทำปฏิทินจันทรคติ(ข้างขึ้น ข้างแรม) การนับวันเวลา

        2. อัคคัด หรือ อัคคาเดียน

–   เป็นพวกเร่ร่อนเผ่าเซมิติกตั้งถิ่นฐานบริเวณทะเลทรายซีเรียและทะเลทรายอาหรับ ได้เข้ายึดครองดินแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของดินแดนเมโสโปเตเมีย

–    ซากอนผู้นำชาวอัคคัด ได้ยึดครองนครรัฐของพวกสุเมเรียนและรวบรวมดินแดนบริเวณฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงอ่าวเปอร์เซียขึ้นป็นจักรวรรดิ

–    ปกครองไม่นานก็ถูกสุเมเรียนโค่นล้มแล้วปกครองใหม่เป็นครั้งที่สอง

          3.  อมอไรต์ หรือ บาบิโลน

–    เป็นเผ่าเซมิติก อพยพมาจากทะเลทรายอาระเบียน มายึดครองนครรัฐของสุเมเรียน

–    ขยายอาณาจักรไปกว้างขวางและสถาปณาจักรวรรดิบาบิโลเนีย

–    กษัตริย์ที่สำคัญคือพระเจ้าฮัมมูราบี

–    มีการประมวลกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือกฎหมายฮัมมูราบี มีบทลงโทษแบบ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน”

          4.  ฮิตไทต์

–    เป็นเผ่าอินโดยุโรเปียน

–    เดิมอยู่ทางตอนใต้ของรัสเซีย ขยายตัวมาตามลุ่มแม่น้ำยูเฟรติส โจมตีทางเหนือของซีเรีย ปล้นกรุงบาบิโลนและปกครองดินแดนเมโสโปเตเมียต่อมา

–    มีความสามารถในการรบมาก

–    เป็นชนเผ่าแรกที่รู้จักใช้เหล็กทำเป็นอาวุธ รู้จักใช้รถเทียมม้าทำศึก

–    ตรงกับสมัยที่อียิปต์เรืองอำนาจ

–    กษัตริย์ฮัตตูซิลิที่ 3แห่งฮิตไทต์ และฟาโรห์รามเสสที่ 2แห่งอียิปต์ได้ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกัน และหากบุคคลที่ 3มาโจมตี ต้องช่วยเหลือกัน

         5. แอสซีเรียน

–    เป็นเผ่าเซมิติกมาจากทะเลทรายอาหรับ

–    ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนิเนเวห์

–    สามารถในการรบและการค้า

–    ขยายอำนาจถึงฟินิเชีย ปาเลสไตน์ อียิปต์และเปอร์เซีย

–    กองทัพแข็งแกร่ง มีระเบียบวินัยสูง

–    ใช้เหล็กทำอาวุธ

–    มีการก่อสร้างที่ใหญ่โตมหึมา มำทำเป็นโดม เช่นพระราชวังซาร์กอน

–    มีการปั้นแบบนูนตัวและลอยตัว ให้อารมณ์สมจริง

–    มีการแกะสลักภาพ เคลื่อนไหวแบบธรรมชาติ

–    กษัตริย์องค์สุดท้ายคือ “พระเจ้าอัชชูบานิปาล” เป็นสมัยที่เจริญสูงสุด มีการสร้างหอสมุดรวบรวมข้อมูลมหาศาลและยังรวบรวมแผ่นดินเหนียวที่มีอักษรคูนิฟอร์ม22,000แผ่น

         6. แคลเดียน

–   เป็นเผ่าเซเมติก โค่นล้มแอสซีเรียนได้

–   สถาปณาจักรวรรดิแคลเดียนหรือบาบิโลเนียใหม่

–   สร้างสวนลอยแห่งบาบิโลน ในสมัยพระเจ้าเนบูชัดเนสซาร์

–   ทำแผนที่ดวงดาว

–   คำนวณการเกิดสุริยุปราคา จันทรุปราคา

–   แบ่งสัปดาห์เป็น 7 วัน

           7. เปอร์เซีย

–   ชนเผ่าอินโดยุโรเปียน ปกครองบริเวณที่ราบสูงอิหร่านมีราชวงศ์ต่างๆปกครอง ดังนี้

1)  ราชวงศ์อะคีเมนิด

 – ก่อตั้งโดยพระเจ้าไซรัสมหาราช ขยายอำนาจไปจนถึงแม่น้ำสินธุ อียิปต์ 

 – พระเจ้าดาริอุส ขยายจักรวรรดิกว้างขวางไปอีก สร้างเมืองหลวงที่สวยงามชื่อ “เปอร์ชีโปลิช” สร้างถนนเชื่อมดินแดนในจักรวรรดิ ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของเปอร์เซีย

 – มีศาสนาโซโรแอสเตอร์ เป็นศาสนาประจำชาติ มีเทพเข้าอาหุรามาสดาเป็นเทพฝ่ายดีและอาหริมันป็นเทพฝ่ายชั่ว

– ถูกกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีกยึดครอง ทำให้เสื่อมลง

2) ราชวงศ์เซลิวชิด

–  ก่อตั้งโดยทหารของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีก แต่ไม่มีอำนาจ

3) จักรวรรดิของชาวปาร์เถียน

– ย้ายเมืองหลวงไปที่แบกแดด

4) ราชวงศ์ซัลซานิด

– ปกครองเป็นเวลา 400ปีเศษ  มีศาสนาอิสลามมาแทนที่ศาสนาซีโรแอสเตอร์

5) ราชวงศ์อับบาสิด หรือ อาหรับมุสลิม

– มุสลิมรุ่งเรืองทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

– กษัตริย์ที่สำคัญคือ ฮารูณ อัล ราชิด ส่งเสริมด้านการค้าจนรุ่งเรือง

6) สมัยมองโกลปกครอง

– ฮุลากุข่านหลานเจงกิสข่านมายึดกรุงแบกแดด ปกครองเป็นเวลา 200ปีครึ่ง

7) ราชวงศ์ซาฟาวี

– ขับไล่มองโกลไปได้ ย้ายเมืองหลวงไปที่อิสฟาฮาน

– กษัตริย์ที่สำคัญคือ ชาห์ อับบาสมหาราช ปฏิรูปการปกครอง

– นับถืออิสลามนิกายชีอะห์

8) ราชวงศ์คะจาร์

– เชื้อสายเติร์ก ไม่ค่อยมีอำนาจ ปกครองแบบเผด็จการ

– รัสเซียและอังกฤษขยายอำนาจ

9) ราชวงศ์ปาเลวี

– กษัตริย์คนแรกคือ เรซา ชาห์ ปาเลวี เปลี่ยนชื่อจากเปอร์ซียเป็นอิหร่าน

– สมัยพระเจ้ามุฮำมัด เรซาห์ ชาห์ นำกฎหมายฝรั่งเศสมาใช้ มีการปฏิรูปที่ดิน แต่เศรษฐกิจก็ถดถ้อย

10) สมัยสาธารณรัฐอิสลาม

– อยาโตลลา  โคไมนี โค่นราชวงศ์ปาเลวี เปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ

– ต่อต้านสหรัฐอเมริกา

– เมื่ออยาโตลลา โคไมนีถึงแก่กรรม ผู้นำได้ดำเนินนโยบายสายกลาง ปฏิรูปเศรษฐกิจ ให้เสรีภาพ ให้สิทธิสตรี

            8. ฮิบรู

–  เป็นบรรพบุรุษของชาวยิว

–  เรื่องราวของชาวฮิบนูปรากฏอยู่มนภาคแรกของคัมภีร์ไบเบิล

–  กษัตริย์เดวิด เป็นปฐมกษัตริย์

–  กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ กษัตริย์โซโลมอน

–  นับถือลัทธิยูดาย

หลังจากกรีก-โรมัน เรืองอำนาจในเอเชียตะวันตก แต่อารญธรรมเมโสโปเตเมียก็ไม่สูญสลายก็มีวัฒนธรรมกรีก-โรมัน เป็นรากฐานวัฒนธรรมโลกต่อมา

แหล่งอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมายถึง ดินแดนที่อยู่ระหว่างจีนและอินเดีย  ปัจจุบันได้แก่ ประเทศพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และติมอร์ตะวันออก  ดินแดนเหล่านี้ในอดีตเรียกกันหลายอย่าง เช่น เอเชีย-ดินแดนมรสุม ที่เรียกเช่นนี้เนื่องมาจากมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุม ซึ่งมีความสำคัญต่อดินแดนบริเวณนี้   หรือ เรียกว่า อินโดจีน เพราะอยู่ระหว่างอินเดียกับจีย ส่วนคำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เพิ่งเริ่มใช้ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรคือ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ  ได้ตั้งศูนย์บัญชาการการรบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South – East Asia Command) ขึ้นในค.ศ.1943  เมื่อทำการสงครามกับญี่ปุ่น  การเรียกชื่อเช่นนี้เพื่อความเด่นชัดทางด้านภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดเขตการปฏิบัติการของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร โดยหมายความถึง ภูมิภาคที่ประกอบด้วยประเทศพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย  โดยไม่รวมถึงฟิลิปปินส์ จนในทศวรรษ 1960 จึงรวมฟิลิปปินส์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาค และในค.ศ.1984 เมื่อบรูไนได้รับเอกราชก็เข้าร่วม รวมทั้งติมอร์ตะวันออกในค.ศ.2002

                ดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้มีหลักฐานของมนุษย์อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ พบมนุษย์ชวา ในถ้ำแห่งหนึ่งบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นมนุษย์วานรในสมัยหินเก่า ที่ยังมีการเร่ร่อนอาศัยอยู่ตามถ้ำ ต่อจากนั้นมาอีกหลายพันปี เมื่อเข้าสู่ยุคหินกลาง เป็นช่วงระยะที่มีการอพยพของมนุษย์เผ่าพันธุ์ต่างๆจากแผ่นดินใหญ่ลงสู่ภาคใต้ และข้ามไปยังหมู่เกาะต่างๆ ได้แก่พวก ออสเตรลอยด์ (Australoid) เนกริโก (Negreto) พวกเมลาเนซอยด์ (Malanesoid) ปัจจุบันกลายเป็นคนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลีย และหมู่เกาะในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุคหินใหม่มีการอพยพของชนกลุ่มใหญ่เป็นพวกชาติพันธุ์มองโกลอยด์มากที่สุด อพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชียโดยเฉพาะบริเวณประเทศจีนและทิเบต เข้าสู่บริเวณที่ราบลุ่มของภูมิภาคคือ ลุ่มแม่น้ำแดง แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำอิระวดี แม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งกลุ่มที่อาศัยอยู่ในภูเขาและที่ราบสูง เช่น ชาวเขาเผ่าต่างๆ บางพวกอพยพลงมาทางใต้เข้าสู่บริเวณคอคอดกระจนถึงแหลมมลายูและบริเวณหมู่เกาะ บ้างตั้งแหล่งอาศัยอยู่ถาวร บ้างอพยพย้อนกลับขึ้นบนพื้นแผ่นดินใหญ่อีก

                ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ทำให้ชุมชนในภูมิภาคได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำ และที่ราบชายทะเล ผู้นำพื้นเมืองได้รวบตัวตั้งเป็นชุมชนต่าง ๆ และมีการพัฒนาการมาเป็นลำดับ สามารถปลูกข้าวเลี้ยงดูประชากร สร้างคติและความเชื่อของตน จากที่ตั้งของภูมิภาคที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง 2  อาณาจักรใหญ่ คือ จีนและอินเดีย จึงได้รับอิทธิพลเข้ามาพร้อมกับการค้าขายแลกเปลี่ยน จึงนำวัฒนธรรม ความเจริญของทั้งสองแห่งมาผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิม  เช่น แบบแผนการปกครองแบบอินเดีย  แนวคิดของพุทธศาสนา และ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

                ดินแดนทางตอนล่างของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สัมพันธ์กับพ่อค้าชาวอินเดียโดยการค้า เนื่องจากพบหลักฐานทางวัตถุจากอินเดียและโรมในภูมิภาคนี้ เช่น หินหยก ลูกปัดลวดลายแบบอินเดีย ภาชนะสำริด เหรียญทองแดงของจักรพรรดิโรมัน ตะเกียงโรมันที่พงตึกและตราโรมันที่ออกแก้ว หลักฐานเหล่านี้เป็นสื่อของการแลกเปลี่ยนระหว่างการค้าทางแถบชายฝั่งจากการแล่นเรือของพ่อค้าชาวอินเดียมาทางหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ผ่านลงทางภายใต้ของประเทศไทย และอีกส่วนหนึ่งเลียบฝั่งทะเลอันดามันเข้าทางทิศตะวันตกของประเทศไทยสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

                พร้อมกันนั้น ก็พบหลักฐาน ของการอาณาจักรต่างๆ ในเอกสารของจีน แสดงถึงการติดต่อค้าขายกันเป็นอย่างดี

                อาณาจักรต่างๆที่พัฒนาขึ้นมา มีดินแดนกว้างขวาง( ครอบคลุมหลายประเทศในปัจจุบัน ) เช่น

 อาณาจักรฟูนัน ครอบครอง ประเทศกัมพูชา เวียดนามตอนใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย บางตอนของที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และภาคใต้ของไทย ลงมาถึงแหลมมลายู สถานที่ตั้งทางด้านยุทธศาสตร์ของฟูนัน ทำให้สามารถควบคุมเส้นทางช่องแคบเชื่อมฝั่งทะเลของอ่าวไทยเข้ากับทะเลอันดามันและเมืองท่าต่างๆของจีนตอนใต้ ทำให้มีความมั่งคั่งและอิทธิพลทางด้านการเมือง  ฟูนันมีอำนาจการปกครองเหนือลังกาสุกะ(Langkasuka มีเมืองหลวงอยู่ในบริเวณปัตตานีปัจจุบัน) และเมืองตามพรลิงค์(Tambralings มีเมืองหลวงอยู่ที่นครศรีธรรมราชหรือเมืองไชยา จ.สุราษฎร์ธานี) เมืองทั้งสองตั้งอยู่สองฝั่งเส้นทางเดินเรือค้าขายที่สำคัญ อาณาจักรฟูนันเป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมอินเดียในอินโดจีน และเป็นรัฐที่เป็นรากฐานของประเทศกัมพูชา  เมื่อสิ้นสุดอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรที่เจริญขึ้นแทนที่ คือ อาณาจักรขอมซึ่งเจริญอยู่หลายพันปี จนสิ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรอ่อนแอลง  ทำให้ชนชาติไทยซึ่งตั้งหลักอยู่บริเวณตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  รวมกำลังตั้งเป็นรัฐอิสระจากเขมร  คือ อาณาจักรสุโขทัย และ อาณาจักรล้านนา  ต่อมาอิทธิพลขอมอ่อนลง มีการตั้งอาณาจักรอยุธยาและในค.ศ.1431 ได้ยกกองทัพไปตีนครธมโดยเจ้าสามพระยา อำนาจของเขมรที่มียาวนานกว่า 600 ปีได้สิ้นสุดลง แต่อาณาจักรเขมรยังคงอยู่โดยย้ายราชธานีไปอยู่ที่พนมเปญ เพื่อให้ห่างไกลจากราชอาณาจักรไทย  เมืองนครวัดและนครธมถูกปล่อยเป็นเมืองร้าง

อาณาจักรทวารวดี วัฒนธรรมทวารวดีได้แพร่กระจายจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางภาคกลางของประเทศไทยไปทั่วทุกภูมิภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากชุมชนโบราณที่โคกสำโรง และบ้านหมี่จังหวัดลพบุรี และเมืองศรีเทพ เพชรบูรณ์ซึ่งเป็นเมืองสำคัญจากลุ่มแม่น้ำป่าสักไปสู่ลุ่มแม่น้ำมูล  และลุ่มแม่น้ำชีทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  รวมไปถึงตอนใต้ของพม่า

อาณาจักรศรีวิชัย ความสำคัญของศรีวิชัยที่ปรากฏจากจดหมายเหตุของจีนสมัยราชวงศ์ถังคือเป็นศูนย์กลางการค้าขายสินค้าข้ามสมุทรทางฝั่งทะเลตะวันตกและตะวันออก ผ่านช่องแคบมะละกา ดังนั้นจึงได้พบ ลูกปัดจากดินแดนทางตะวันตกและเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งพบเรื่อยลงมาทั้งที่เกาะสุมาตราและทางภาคใต้ของประเทศไทย (แคว้นไชยา)จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบโดยกว้างจากปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย มาจนถึงคาบสมุทรมาเย์และทางภาคใต้ของประเทศไทย ได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับศรีวิชัยคือ “ศรีวิชัย” ไม่ใช่ชื่ออาณาจักรที่มีศูนย์กลางของอำนาจในทางการเมืองและควบคุมเศรษฐกิจอยู่เมืองใดเมืองหนึ่งเพียงแห่งเดียว แต่ศรีวิชัยเป็นชือกว้าง ๆ ทางศิลปะ และวัฒนธรรมของบ้านเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าทางทะเลแถบคาบสมุทร กลุ่มบ้านเมืองหรือแว่นแคว้นต่าง ๆ เหล่านี้มีวัฒนธรรมร่วมกันคือ การนับถือพุทธศาสนามหายานและมีรูปแบบศิลปกรรมแบบศรีวิชัยเช่นเดียวกัน

จากตัวอย่างของอาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นว่าบรรพบุรุษของประชาชนในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ต่างมากจากรากเง้าเดียวกัน มีพื้นฐานด้านวัฒนธรรมประเพณีเดียวกันมาก่อน บางดินแดนก็คาบเกี่ยวกัน ยากที่จะบอกว่าเป็นของชนชาติใดอย่างแน่นอนตายตัว  เมื่อกาลเวลาที่เปลี่ยนไปนับพันปี ย่อมทำให้บางอาณาจักรต้องเสื่อมสลายไป และมีอาณาจักรใหม่เจริญขึ้นมาแทนที่

สมัยล่าอาณานิคม

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16-19 ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกชาติตะวันตกเข้ายึดครอง  ในตอนแรก ชาติตะวันต้องการผูกขาดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเครื่องเทศ ซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากในการถนอมอาหาร (บางประเทศต้องการเผยแผ่ศาสนา ได้แก่ฝรั่งเศส) แต่เมื่อประเทศในยุโรป ต่างแย่งชิงผลประโยชน์กันเอง ทำให้ต้องใช้กำลังทหารปกครองผลประโยชน์ของชาติตน และนำไปสู่การใช้กำลังเข้ายึดครอง หลังจากนั้นจึงใช้กำลังทหารบังคับให้ดินแดนต่างๆ ดำเนินนโยบายแบบที่ตนต้องการ

ประเทศต่างๆที่ต้องตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ได้แก่ พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ลาว กัมพูชา เวียดนาม เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมของสเปน และต่อมาเป็นสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ยกเว้นเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่รอดพ้นจากการยึดครอง

จนเมื่อสงครามโลก ครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 จึงทยอยกันได้รับเอกราชแต่รูปแบบการเมือง การปกครองของแต่ละประเทศได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และในช่วงของการเรียกร้องเอกราชนั้น ทำให้บางประเทศต้องเผชิญกับภาวะสงครามอย่างยาวนาน  โดยเฉพาะเวียดนาม เพราะชาติมหาอำนาจ(คือสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส)ต้องการคงอิทธิพลของตนไว้ ไม่ต้องการให้จีน หรือ รัสเซียเข้ามามีอิทธิพลแทนที่  

แหล่งอารยธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

                จากการที่ประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เคยอยู่ภายใต้อาณาจักรเดียวกัน หรือคาบเกี่ยวกับมาก่อน ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากจีน-อินเดีย และได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ หรือ ศาสนาพราหมณ์  เหมือนกัน จึงทำให้ให้มีแหล่งโบราณสถานจำนวนมาก ที่มีส่วนคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง ดังจะยกตัวอย่าง ดังนี้

มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ (ภาษาอินโดนีเซีย: Chandi Borobudur) ตั้งอยู่ในภาคกลางของเกาะชวา ห่างจากยอกยาการ์ตาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 40 กิโลเมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 1293 – 1393 โดยบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ บุโรพุทโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ในปีพ.ศ. 2534 องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้บุโรพุทโธเป็นมรดกโลก

เมืองหลวงพระบาง เป็นเมืองเอกของแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน ซึ่งไหลมาบรรจบกัน เป็นเมืองที่องค์การยูเนสโกได้ยกย่องให้เป็นมรดกโลกด้วย

เว้  เป็นเมืองเอกของจังหวัดถัวเทียน-เว้ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และเคยเป็นเมืองหลวงเก่าในสมัยราชวงศ์เหงียนช่วงปี พ.ศ. 2345-2488 มีชื่อเสียงจากโบราณสถานที่มีอยู่ทั่วเมือง จำนวนประชากรอยู่ที่ประมาณ 340,000 คน หมู่โบราณสถานในเมืองเว้ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2536

เจดีย์ชเวดากอง  ตามตำนานนั้นสร้างเมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว แต่นักโบราณคดีเชื่อกันว่าสร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6–10 สร้างโดยชาวมอญ  พระเจดีย์ได้ถูกทิ้งร้างจนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 เมื่อพระเจ้า             พินยาอู ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระเจดีย์ใหม่สูง 18 เมตร พระเจดีย์ได้ถูกซ่อมแซมมาเรื่อยมา จนมามีความสูง 98 เมตรในคริสต์ศตวรรษที่ 15 แผ่นดินไหวเล็กๆน้อยๆ เรื่อยมาทำให้พระเจดีย์นั้นได้รับความเสียหาย และเมื่อปี พ.ศ.2311 (ในสมัยกรุงธนบุรี) ได้เกิดแผ่นดินไหวอย่างหนัก ทำให้ยอดของพระเจดีย์หักถล่มลงมา

นครวัด  ตั้งอยู่ที่เมืองเสียมราฐ (เสียมเรียบ) ในประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อเป็นศาสนสถานประจำนครของพระองค์ เมื่อสมัยแรกนั้น นครวัดได้ถูกสร้างเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย แต่ต่อมาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้เปลี่ยนให้เป็นวัดในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ในปัจจุบันปราสาทนครวัดนับเป็นสิ่งก่อสร้างสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา และได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร ในปี ค.ศ. 1586 พ.ศ. 2129ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมา

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย  ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัยจังหวัดสุโขทัย  ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรด้วยความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี ซึ่งสามารถเดินเท้าหรือขี่จักรยานเที่ยวชมได้ ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534 องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ที่กำแพงเพชรและศรีสัชนาลัยภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร“

ลักษณะทางสังคมของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ Social characteristics of south west asia

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก เรียกว่าอารยธรรมเมโสโปเตเมีย อยู่ในเขตรูปพระจันทร์เสี้ยว โดยเฉพาะที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ที่สำคัญ ได้แก่
1. อารยธรรมสุเมเรียน เป็นของชาวสุเมเรียน อยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่ไทกรีส-ยูเฟรตีส ได้ที่สำคัญคือ การประดิษฐ์อักษรเรียกว่า อักษรคูนิฟอร์ม หรืออักษรลิ่ม เป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และมีการสร้างสถานที่เรียกว่า ซิกกูเรต
2. อารยธรรมบาลิโลน เป็นของชาวบาลิโลเนีย อยู่ทางตอนใต้ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส คือ การประกาศใช้กฏหมายครั้งแรกในโลก สมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ใช้ระบบตัดสินแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน
3. อารยธรรมฟินิเซียน เป็นของชาวฟินิเซีย อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนีย (อิสราเอลและเลบานอนปัจจุบัน) ที่สำคัญคือ การใช้ระบบเงินตราและแสตปป์ การประดิษฐ์อักษรฟินิเซียน อันเป็นต้นแบบอักษรของชาติตะวันตกในปัจจุบัน
4. อารยธรรมเปอร์เซีย อยู่ในประเทศอิหร่าน ที่สำคัญคือ การใช้ระบบชลประทานใต้ดิน เรียกว่า “คานัต” การไปรษณีย์
ศาสนาที่สำคัญในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
1. ศาสนายูดาย เป็นศาสนาเป็นศาสนาของชาวฮีบรู(ยิว) อยู่ในดินแดนที่เรียกว่า ปาเลสไตน์ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเยรูซาเล็ม ผู้ได้นำบัญญัติ 10 ประการที่พระเจ้ามอบแก่ชาวยิวคือ โมเสส ประเทศที่นับถือ คือ อิสราเอล
2. ศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาที่ปฏิวัติมาคำสอนมาจากศาสนายูดาย โดยพระเยซูคริสต์ แต่คำสอนไม่เป็นที่ยอมรับจากคนหัวเก่า จึงถูกใส่ความและถูกตรึงกางเขนในเมืองเยรูซาเล็ม ทำให้เมืองเยรูซาเล็มเป็น นครอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาคริสต์มาจนถึงปัจจุบัน ประเทศที่นับถือคือ ไซปรัส
3. ศาสนาอิสลาม หมายถึง การถวายตัวต่อพระอัลเลาะห์ มีศาสดาชื่อ นบีมูฮัมหมัด (นบี แปลว่า ตัวแทนพระเจ้า) ผู้นับถือเรียกว่า “มุสลิม” คำสอนรวบรวมคัมภีร์อัลกุรอาน เกิดในประเทศซาอุดิอาระเบีย  มีเมืองสำคัญ 3 เมือง คือ เมกกะ เป็นที่ประสูติพระศาสดา เมดินาเป็นเมืองเผยแผ่ศาสนา และเยรูซาเล็มเป็นเมืองสิ้นพระชนม์ของพระศาสดา ทุกประเทศนับถือยกเว้น อิสราเอลและไซปรัส
4. ศาสนาโซโรเอสเตอร์ เกิดในเปอร์เซีย (อิหร่านในปัจจุบัน) เป็นศาสนาเก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และมีศาสดาและคำสั่งสอน ปัจจุบันมีน้อยมากที่ประชาชนนับถือ

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุและอินเดีย

อินเดียเป็นอารยธรรมของคนในแถบเอเชียใต้และมีอิทธิพลต่ออารยธรรมอื่นๆ โดยเฉพาะอารยธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก อารยธรรมอินเดียโบราณหรืออารยธรรมลุ่มแม้น้ำสินธุ จัดเป็นอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ดินแดนบริเวณนี้ประมาณ ๓,๐๐๐-๒,๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาล  จัดเป็นแหล่งอารยธรรมเมืองแห่งหนึ่งของโลกยุคโบราณ จากการขุดค้นพบ “เมืองโมเฮนโจดาโร (Mohenjo-daro) และเมืองฮารัปปา (Harappa) ซึ่งเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมแห่งนี้ พบว่ามีความเจริญอย่างยิ่งในด้านการวางผังเมือง เพราะมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบระเบียบ มีระบบท่อระบายน้ำ มีสระขนาดใหญ่ภายใต้ตึก ๓ ชั้น ยุ้งฉางสำหรับเก็บผลผลิตทางการเกษตร และมีหลักฐานการติดต่อค้าขายกับดินแดนเมโสโปเตเมียอีกด้วย

เมืองโมเฮนโจดาโรและฮารัปปา

ผู้คนที่มีบทบาทในการพัฒนาและสร้างสรรค์อารยธรรมในแถบนี้มีด้วยกัน ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในลุ่มแม่น้ำสินธุตั้งแต่ปลายยุคหินใหม่ เรียกว่า “ดราวิเดียน” มีรูปร่างเล็ก ผิวดำ จมูกแบน ส่วนอีกลุ่มหนึ่ง คือ “อินโด-อารยัน” มีรูปร่างสูงใหญ่ จมูกโด่ง ผิวขาว มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณภาคกลางของทวีปเอเซียรอบๆ ทะเลสาบแคสเปียน ต่อมาได้อพยพจากถิ่นเดิมไปยังดินแดนอื่นๆ กลุ่มหนึ่งอพยพไปตั้งถิ่นฐานบริเวณคาบสมุทรกรีซและในแหลมอิตาลี กลุ่มนี้เรียกว่า “อินโดยูโรเปียน” กลุ่มที่สองไปตั้งถิ่นฐานทางทิศตะวันออกเฉียงใต้บริเวณอัฟกานิสถานและขยายสู่ทิศตะวันตกเข้าไปยังเปอร์เซีย กลุ่มนี้เรียกว่า “เปอร์เซีย” และกลุ่มที่สามขยายมาทางตะวันออกเข้ามาด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย กลุ่มนี้เรียกว่า “อินโดอารยัน”  และได้พัฒนาอารยธรรม ต่อมาดินแดนแห่งนี้ได้กลายเป็นบ่อเกิดของลัทธิความเชื่อ  ศาสนา และระบบปรัชญามากมาย

พัฒนาการทางความคิดที่สำคัญในอารยธรรมอินเดียเริ่มจากการนับถือเทพเจ้าหลายองค์โดยการสวดสรรเสริญและอ้อนวอนเทพเจ้า ในช่วงแรกเป็นการสืบต่อกับด้วยการท่องจำแบบปากเปล่าในกลุ่มของผู้ทำพิธีกรรมเท่านั้น ต่อมาได้พัฒนาเป็นคัมภีร์ประกอบด้วยสามส่วนคือ ฤคเวท ยชุรเวท และสามเวท รวมเรียกว่า “ไตรเวท” ภายหลังได้แต่งคัมภีร์ชื่ออถรรพเวทเพิ่มขึ้นรวมเป็นสี่ส่วน แต่ก็ยังเรียกว่าคัมภีร์พระเวทเหมือนเดิม เรียกยุคนี้ว่า “ยุคพระเวท” พัฒนาการความคิดของอินเดียในยุคถัดมามีความหลากหลายทางความคิด ในส่วนที่พัฒนาต่อจากพระเวท คือ มหากาพย์ที่สำคัญสอง เรื่อง คือ มหาภารตะและรามายณะ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนากระแสความคิดอื่นที่แตกต่างไปจากความคิดแบบพระเวท นั่นคือ กระแสความคิดจากพุทธศาสนาและจากศาสนาเชน 

พัฒนาการความคิดจากคัมภีร์พระเวทนั้นมีหลายระดับ คือ เริ่มแรกเป็นความคิดความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าแบบ “พหุเทวนิยม” (Polytheism) นั่นคือการนับถือเทพเจ้าหลายองค์ ต่อมาได้พัฒนามาเป็นการยกย่องและให้การนับถือเทพเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว เรียกว่า “เอกเทวนิยม” (Monotheism) แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีการนับถือเทพองค์อื่นๆ ไปด้วยแต่ไม่ได้ยกย่องเป็นเทพสูงสุด ในช่วงหลังได้พัฒนาแนวความคิดให้เป็นปรัชญามากยิ่งขึ้น จึงเกิดคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการขั้นสุดท้ายของคัมภีร์พระเวทในนามของศาสนาฮินดู

แนวความคิดในปรัชญาอุปนิษัทได้พัฒนามาสู่  “เอกนิยม” อย่างสัมบูรณ์ นั่นคือมีความเชื่อในความจริงสูงสุดเพียงหนึ่งเดียว มีลักษณะเป็นอมตะ เที่ยงแท้แน่นอน และเป็นจุดหมายของมนุษย์ทุกคน เรียกว่า “พรหมัน” หรือ “ปรมาตมัน” แต่ความจริงที่ถูกเสนอโดยปรัชญาอุปนิษัทก็ถูกแย้งโดยพุทธศาสนา และศาสนาเชน ซึ่งทั้งสองแนวความคิดนี้ไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดในปรัชญาอุปนิษัท  โดยศาสนาเชนได้เสนอความคิดเรื่องความจริงสูงสุดนั้นคือ การเข้าถึง “ไกรวัลย์” หรือโมกษะ ด้วยการชำระวิญญาณให้บริสุทธิ์ด้วยการทรมานตนเองเท่านั้น

ศาสดามหาวีระ ผู้ก่อตั้งศาสนาเชน และสาวกที่ยึดหลักการทรมานตนเอง

ส่วนพุทธศาสนานั้นมีความคิดแย้งกับทั้งสองกระแสความคิด คือ พระเวทและศาสนาเชน โดยเสนอว่า การที่มนุษย์จะเข้าถึงความจริงสูงสุดได้นั้นจะต้องขจัดกิเลสด้วยการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ไม่ใช่ด้วยการอ้อนวอนเทพเจ้าหรือการทรมานร่างกายแต่อย่างใด พุทธศาสนาจึงเสนอความคิดเรื่อง “ไตรลักษณ์” คือ หลักอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา และหลักการปฏิบัติแบบทางสายกลาง เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ การทำความเพียรชอบ การตั้งสติชอบ และการตั้งใจชอบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มรรค ๘” ประการ

ความคิดจากอารยธรรมอินเดียได้แพร่กระจายได้ตามอาณาจักรต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะความคิดจากศาสนาฮินดูได้แพร่เข้าสู่อาณาจักรทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนก่อให้เกิดวิหารเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา ก่อให้เกิดสถาปัตยกรรม จิตรกรรม และวรรณคดีทางศาสนามากมาย ต่อมาเมื่อพุทธศาสนาได้รับการยอมรับมากขึ้นและได้แพร่ขยายเข้ามาสู่ทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะการแพร่ขยายไปตามเส้นทางสายไหมจากอินเดียสู่จีนและเปอร์เซีย แนวความคิดทางพุทธศาสนาก็เข้ามาเจริญแทนที่กระแสความคิดเดิม

ประเทศใดในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

4. เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบด้วยประเทศต่างๆ 17 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย เยเมนเหนือ เยเมนใต้ โอมาน อาหรับ กาตาร์ คูเวต บาห์เรน อิรัก จอร์แดน ซีเรีย เลบานอน อิสราเอล อิหร่าน ตุรกี ไซปรัส

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้เป็นทางผ่านของภูมิภาคใดบ้าง

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 7 องศาเหนือ ถึงละติจูดที่ 42 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 26 องศาตะวันออก ถึงลองจิจูดที่ 75 องศาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับทะเลดำ ทะเลแคสเปียน และภูมิภาคเอเชียกลาง ทิศตะวันออก ติดต่อกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกและภูมิภาคเอเชียใต้

ที่ตั้งของชุมชนโบราณในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้คือที่ใด

อารยธรรมเมโสโปเตเมียอันเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุด บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีสและศาสนาอิสลามเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมมุสลิม ซึ่งอารยธรรมทั้งสองเป็นอารยธรรมสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

ประเทศใดบ้างที่จัดอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตก

ประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้.
บาห์เรน.
ไซปรัส.
อิหร่าน.
อิสราเอล.
จอร์แดน.
เลบานอน.