เมืองหน้าด่านในสมัยอยุธยามีความสำคัญอย่างไร


��èѴ����º��û���ͧ������ظ��

��èѴ����º��û���ͧ���͡�� 3 ����
1. ������ظ�ҵ͹�� (�.�.1893-1991)
2. ������ظ�ҵ͹��ҧ (�.�.1991-2231)
3. ������ظ�ҵ͹���� (�.�. 2231-2310)
������ظ�ҵ͹���������¡���ҧ�ҡ�ҹ��û���ͧ �觡�û���ͧ�͡�� 2 ��ǹ
1. ��û���ͧ��ǹ��ҧ�����Ҫ�ҹջ���ͧẺ���ʴ��� ���ʹҺ�� 4 ���˹�
1.1 ���§ �բع���§�����˹�Ҵ��ŷء���آ�ͧ��ɮ�
1.2 �ѧ �բع�ѧ�����˹�� ���šԨ�����������Ǣ�ͧ�麾���Ҫ�ӹѡ��оԨ�ó�Ծҡ�Ҥ��
1.3 ��ѧ �բع��ѧ�����˹�� ���š�÷��÷ӹҢͧ��ɮ� ��ʹ����������ʺ�§����âͧ��й��
1.4 �� �բع�������˹�� ���š�÷��÷ӹҢͧ��ɮ� ��ʹ����������ʺ�§����âͧ��й��
2. ��û���ͧ��ǹ�����Ҥ������ǹ������ͧ
2.1 ���ͧ�١��ǧ�������ͧ˹�Ҵ�ҹ�����ͺ�Ҫ�ҹ� 4 ��� ��ҧ�ҡ�Ҫ�ҹ��������Թ�ҧ 2 �ѹ �����ҡ�ѵ�����觵�駾���Ҫ����������ҹ�ª���٧任���ͧ
2.2 ������ͧ���� ������ͧ�����������ͺ��й�� ���� ��Ҩչ���� �Ҫ���� ྪú��� ��� �բع�ҧ�ҡ���ͧ��ǧ任���ͧ
2.3 ������ͧ��鹹͡�������ͧ�������ҹ�� ���ͧ��Ҵ�˭�������ҧ�Ũҡ�Ҫ�ҹ�
2.4 ���ͧ������Ҫ �����ҵ�ҧ�ҵԵ�ҧ���һ���ͧ�ѹ�ͧ ���ͧ������ͧ�Ҫ��óҡ���Ҷ��µ����˹� 3 �յ�ͤ���

������ظ�ҵ͹��ҧ �������¡�û�Ѻ��ا��û���ͧ ���������¾�к�����š�Ҷ ��û�Ѻ��ا��û���ͧ �ִ��ѡ�������ӹҨ�������ٹ���ҧ ����ǹ�Ҫ����͡��
1. ��û���ͧ���ǹ��ҧ������ǹ�Ҫ�ҹ� �觡�û���ͧ�͡�� 2 ����
1.1 ���·��� �����ˡ����������˹�� ���ŷ��÷����Ҫ�ҳҨѡ�
1.2 ���¾����͹ �����˹�¡�����˹�� ����Ѻ�Դ�ͺ���ʴ��� 4 �������¹�������¡���� ��� ���§ �� ��ú��
�ѹ �� ����Ҹԡó�
�� �� �ɵ�Ҹ��Ҫ
��ѧ �� ��ҸԺ��

2. ��û���ͧ��ǹ�����Ҥ �ô���¡��ԡ���ͧ�١��ǧ �Ѵ��û���ͧ�͡��
2.1 ������ͧ���� ����¹��������ͧ�ѵ�� �ռ�黡��ͧ��ͼ�����
2.2 ������ͧ��鹹͡ ����¹������ͧ��� �͡ � ��� ����ӴѺ�����Ӥѭ ��Т�Ҵ�ͧ���ͧ
2.3 ���ͧ������Ҫ �����ҵ�ҧ�ҵԵ�ҧ���һ���ͧ�ѹ�ͧ ���ͧ������ͧ�Ҫ��óҡ���ҵ����˹�

������ظ�ҵ͹���� �������¶�ǧ����ӹҨ ���������¾��ྷ�Ҫ� ���¹���ִẺ���ҧ��û���ͧẺ������稾�к�����š�Ҷ�ç��Ѻ��ا �������¡�ӹҨ���ˡ�����������˹�¡�������� ���
���ˡ����� - ����������ͧ�������������駷���繽��·�����о����͹
���˹�¡ - ����������ͧ�����˹�ͷ���������繽��·�����о����͹
�ٻẺ��û���ͧ�ͧ��ظ�� ������ͧ�Ҩ��֧�Ѫ��ŷ�� 5 �֧���ա�û���ٻ��û���ͧ��������


(����Ȣͧ��� � 204 ������԰ �Է���Ѱ ��Ф��)

4) หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลนอกพระราชอาณาเขต มีการปกครองอิสระแก่ตนเอง ชาวเมืองเป็นชาวต่างประเทศ เมืองเหล่านี้มีรูปแบบการปกครองตามวัฒนธรรมเดิมของตน เจ้านายพื้นเมืองมีสิทธิ์ขาดในการปกครองดินแดนของตน แต่ต้องแสดงตนว่ายอมอ่อนน้อมหรือเป็นเมืองประเทศราช โดยการส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด เป็นการแสดงความจงรักภักดีเมื่อเกิดศึกสงครามก็ส่งกำลังและเสบียงอาหารมาสมทบกับฝ่ายไทย เมืองประเทศราชในสมัยนี้ ได้แก่ เขมร มอญ มะละกา

          3. ��û�Ѻ��ا��û���ͧ��ǹ��ͧ��� ��кҷ���稾�Ш�Ũ���������������Ƿç�Ѵ����ա�ú����çҹ�Ҫ�����ǹ��ͧ�����ٻ�آ��Ժ�� �����˹�ҷ�������Ⱥ��㹻Ѩ�غѹ �����á����� �.�. 2440 ���ô����� ����� �.�.�.�آ��Ժ�š�ا෾� �.�. 116 (�.�. 2440) ��鹺ѧ�Ѻ��㹡�ا෾� �����������价���ҩ��� ��кҷ���稾�����خ���������������ô��������� �.�.�.�آ��Ժ�� �.�. 2448

                    โดยปกติพระมหากษัตริย์ของไทยมักให้การต้อนรับชนต่างชาติเป็นอย่างดี บางครั้งก็มีกองกำลังต่างชาติประจำการเป็นอาสาประจำอาณาจักร  โดยเฉพาะในสมัยพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 - 2231) มีชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการในตำแหน่งสำคัญๆ หลายคน  มีการแลกเปลี่ยนทูตกับฝรั่งเศสหลายครั้ง หลังจากสมัยพระนารายณ์ลงมา อิทธิพลของชาวตะวันตกในราชสำนักจึงลดลง เพราะพระมหากษัตริย์ของอยุธยาตอนปลายไม่นิยมชาวตะวันตก  และระแวงว่าจะเข้ามาหาทางครอบครองเอาชาติไทยเป็นเมืองขึ้น

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา(พ.ศ. 1893 - 2310)

การสถาปนากรุงศรีอยุธยา

ในราวปี  พ.ศ.  1893  เมื่อกรุงสุโขทัย เริ่มเสื่อมอำนาจลง หัวเมืองต่าง ๆ  จึงแข็งข้อ  เมืองอู่ทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัยเป็นเมืองใหญ่  พระเจ้าอู่ทอง จึงเริ่มสะสมกองกำลัง และเป็นผู้นำคนไทย ที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง  และตอนล่าง  ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นอิสระจากสุโขทัย  โดยตั้งราชธานีบริเวณหนองโสน  หรือบึงพระราม  ซึ่งก็คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน  เหตุที่ย้ายเมืองมาสร้างราชธานีที่กรุงศรีอยุธยา  ก็เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ และเป็นที่รวมของแม่น้ำหลายสาย  จึงเป็นปากประตูสู่เมืองทางด้านเหนือทั้งสุโขทัยและเชียงใหม่  พระเจ้าอู่ทองทรงเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์อู่ทอง  ทรงพระนาว่า  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1  ครองราชย์ปกครองกรุงศรีอยุธยาอยู่นานเป็นเวลาถึง  20  ปี

การปกครองสมัยอยุธยา 

            รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยานั้นแบ่งได้ 3 ระยะตามลักษณะการปกครอง คือ การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น  อยุธยาตอนกลาง  อยุธยาตอนปลาย

การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้นมีลักษณะดังนี้

การปกครองระยะนี้เริ่มเมื่อ (พ.ศ.1893-1991 )สมัยพระเจ้าอู่ทองถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2  

แบ่งการปกครองได้ 2 ส่วน

ส่วนที่ 1)   การปกครองส่วนกลาง  การปกครองในเขตราชธานี   และบริเวณโดยรอบราชธานี

โดยได้จัดรูปแบบการปกครองแบบเขมร จัดหน่วยการปกครองเป็น 4 หน่วย แต่ละหน่วยมีเสนาบดี

บริหารงาน ได้แก่  กรมเวียง (ดูแลในเขตเมืองหลวง) กรมวัง(ดูแลพระราชสำนักและพิจารณาคดี)  

กรมคลัง(ดูแลพระราชทรัพย์) กรมนา  (จัดเก็บภาษีและจัดหาเสบียงสำหรับกองทัพ)

 ส่วนที่ 2)   การปกครองส่วนหัวเมือง   แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ

        1. เมืองลูกหลวง   หรือเมืองหน้าด่าน       ตั้งอยู่รอบราชธานี 4  ทิศ เช่น ลพบุรี  นครนายก พระ

ประแดง  สุพรรณบุรี ให้โอรสหรือพระราชวงศ์ชั้นสูงไปปกครอง
        2. หัวเมืองชั้นใน  อยู่ถัดจากเมืองลูกหลวงออกไป ได้แก่ พรหมบุรี  สิงห์บุรี ปราจีนบุรี  ฉะเชิงเทรา ชลบุรี  ตะนาวศรี  ไชยา นครศรีธรรมราช ให้ขุนนางที่กษัตริย์แต่งตั้งไปปกครอง
         3.หัวเมืองชั้นนอก   หรือหัวเมืองพระยามหานครคือหัวเมืองขนาดใหญ่ห่างจากราชธานีผู้ปกครอง

สืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองเดิมหรือตัวแทนที่ราชธานีส่งมาปกครอง
         4. เมืองประเทศราช   เป็นเมืองที่ยังได้ปกครองตนเองเพราะอยู่ไกลที่สุดมีความเป็นอิสระเหมือนเดิมแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการตามกำหนดส่งกองทัพมาช่วยเวลาสงครามเช่นสุโขทัย เขมร เป็นต้น 

การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง  ( 1991-2231) มีลักษณะดังนี้
ช่วงเวลาทางการเมืองสมัยอยุธยาตอนกลางได้มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ ทางการเมือง โดยมีสถาบันกษัตริย์เป็นหลักในการปกครองแบ่งได้ 2 ช่วง

        ช่วงที่ 1  เป็นช่วงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ   ทรงปรับปรุงการปกครองใหม่เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น เศรษฐกิจ ควบคุมหัวเมืองได้ไม่ทั่วถึง    และเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านมีอำนาจมากขึ้น และมักแย่งชิงบัลลังก์อยู่เนืองๆ ประกอบกับอาณาเขตที่กว้างขวางกว่าเดิมพระองค์ได้จัดการแยก ทหารและ   พลเรือนออกจากกัน และจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีมีอำนาจมากขึ้น มีการควบคุมเข้มงวดมากขึ้น  มีการปฏิรูปการปกครองแยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนกลางและหัวเมือง

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแยกการปกครองส่วนกลางเป็น  2  ฝ่าย คือ ทหารและพลเรือน ทหาร มี สมุหกลาโหมดูแล  ส่วนพลเรือนมี  สมุหนายก  สมุหนายก มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง

สมุหนายก ดูแล ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งในราชสมุหกลาโหม มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่งสมุหพระกลาโหมเป็นผู้ดูแลฝ่ายทหาร ทั้งในราชานีและหัวเมือง    และยังได้ปรับปรุงจตุสดมภ์ภายใต้การดูแลของ  สมุหนายก  อัครมหาเสนาบดีผู้ดูแลปรับเปลี่ยนชื่อเป็น ออกญาโกษาธิบดี

การปฏิรูปส่วนหัวเมือง  แยกเป็น 3 ส่วน

        -หัวเมืองชั้นใน   ยกเลิกหัวเมืองลูกหลวง จัดตั้งเป็นเมืองชั้นใน ทรงขุนนางไปครองเรียก ผู้รั้ง
        -หัวเมืองชั้นนอก คือหัวเมืองประเทศราชเดิม ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาเรียกว่า เมือง

พระยามหานคร  จัดการปกครองใกล้ชิด เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราช เป็นเมืองชั้นเอก โท และตรี
        -เมืองประเทศราช  คือเมืองชาวต่างชาติที่ยอมอยู่ใต้อำนาจ เช่น ตะนาวศรี ทะวาย เขมร ให้เจ้านาย

พื้นเมืองเดิมปกครอง ส่งบรรณาการและกองทัพมาช่วยเวลาเกิดสงคราม
     ช่วงที่ 2  ตรงกับสมัยพระเพทราชา  ถ่วงดุลอำนาจทางทหารโดยให้สมุหกลาโหม  และสมุหนายก แลทั้งทหารและพลเรือน  โดยแบ่ง หัวเมืองใต้ ให้สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองทางใต้และพลเรือน  ส่วนพลเรือนและทหารฝ่ายเหนือให้  สมุหกลาโหมดูแล

การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย (ในช่วง 2231-2310)  มีลักษณะดังนี้
            พอถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองราชย์ ทรงปรับเปลี่ยนอำนาจทางทหาร เพื่อถ่วงดุลมากขึ้นโดย ให้พระโกษาธิบดีหรือพระคลัง ดูแลทหารและพลเรือนทางใต้ แทนสมุหกลาโหม ส่วนสมุหนายก  ยังคงเหมือนเดิม  การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยอยุธยาตั้งแต่ตอนต้นจนถึงตอนปลายนั้น กระทำเพื่อการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด เพื่อถ่วงอำนาจ ระหว่างเจ้านาย และ ขุนนาง ไม่ให้เป็นภัยต่อพระมหากษัตริย์นั้นเอง

สังคมในสมัยอยุธยา

สังคมไทยในสมัยอยุธยา ประกอบด้วยบุคคล  5  กลุ่ม  ได้แก่  พระมหากษัตริย์ และเจ้านายชั้นสูง   ขุนนาง  ไพร่  ทาส  และผู้ที่ได้รับการยกย่องเลื่อมใสจากคนทุกกลุ่ม คือ  พระสงฆ์ลักษณะการแบ่งชนชั้นในสังคมไทยมีลักษณะไม่ตายตัว  บุคคลอาจจะเสื่อมตำแหน่งฐานะทางสังคมของตนได้  ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถ และคุณประโยชน์ที่มีต่อประเทศชาติพระมหากษัตริย์  พระราชฐานะและอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในสมัยอยุธยาทรงมีฐานะเป็นสมมติเทพ  (ไทยได้รับแนวความคิดนี้มาจากคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์) ทรงเป็นประมุขของประเทศ  มีอำนาจสูงสุดในการปกครองทรงมีพระราชอำนาจในฐานะเป็นเจ้าชีวิต  และเจ้าแผ่นดินทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา

เจ้านาย  หมายถึง  พระราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์  มีสกุลยศลดหลั่น ตามลำดับ  คือ เจ้าฟ้า  พระองค์เจ้า  หม่อมเจ้า  ฯลฯขุนนาง  มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือพระเจ้าแผ่นดิน ในการปกครองประเทศ  โดยพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานศักดินา ให้เป็นเครื่องตอบแทนอำนาจ และฐานะของขุนนาง มีดังนี้

ขุนนางเป็นชนชั้น ที่มีอำนาจมาก ทั้งในด้านการปกครอง และการควบคุมพลเมือง

ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงออกกฎหมายศักดินา จัดทำเนียบขันนาง ข้าราชการ ซึ่งประกอบด้วย ตำแหน่ง  ยศ  ราชทินนามขุนนางที่มีไพร่พลมาก จะเป็นฐานแห่งกำลัง และอำนายที่สำคัญ  ปัญหา ความขัดแย้งในกลุ่มขุนนาง และเจ้านายจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

ไพร่  หมายถึงสามัญชนทั่วไป  นับว่าเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ แบ่งเป็น  3  ประเภท  คือ

ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่ขึ้นทะเบียนสังกัดต่อรัฐ  คือ องค์พระมหากษัตริย์  ต้องมาเข้าเวรเพื่อรับใช้ราชการปีละ 6 เดือน

ไพร่สม  หมายถึง  ไพร่ที่ขึ้นทะเบียนต่อเจ้านายและขุนนาง

ไพร่ส่วน  หมายถึง  ไพร่ที่ส่งผลิตผลมาแทนการเข้าเวร เพื่อใช้แรงงาน

ทาส  เป็นชนชั้นที่ต่ำที่สุดในสังคม 

แบ่งเป็น  2  ประเภท  คือทาสที่ไถ่ถอนตัวได้  เรียกว่า 

ทาสสินไถ่ทาสที่ไถ่ถอนตัวไม่ได้  เช่น  ทาสเชลย  ลูกทาสเชลย ฯลฯ

พระสงฆ์  พระสงฆ์ไม่จำกัดชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง  แต่เป็นที่เคารพของคนทุกชนชั้น  บทบาทและความสำคัญของพระสงฆ์ มีดังนี้

เป็นที่พึ่งทางใจของคนทุกชนชั้นเป็นบุคคลที่เปรียบเสมือนตัวเชื่อมของชนชั้นสูง กับชนชั้นต่ำเป็นผู้ให้การศึกษา  เพราะวัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา ในสมัยก่อนสถาบันที่มีอิทธิพลต่อสังคมในสมัยอยุธยาเป็นอันมาก ได้แก่  พระพุธะศาสนา เพราะเป็นศาสนาของทุกชนชั้น และเป็นเครื่องจรรโลงเอกภาพของสังคม  วัดในพระพุทธศาสนา จึงมีความสำคัญดังนี้เป็นศูนย์กลางของชุมชนเป็นสถานศึกษาเล่าเรียน โดยมีพระสงฆ์เป็นครูเป็นแหล่งรวมศิลปะวัฒนธรรมไทยเป็นสถานที่พบปะและจัดกิจกรรมของราษฎรกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยู่นานถึง  417  ปี  คือตั้งแต่  พ.ศ. 1893 - 2310  แต่กรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มเสื่อมลงน้อย  นับแต่ต้นราชวงศ์บ้านพลูหวง เป็นต้นมา 

โดยมีสาเหตุสำคัญดังนี้

1.  เกิดการแย่งชิงราชสมบัติ

2.  ขุนนางและเจ้านายผู้ใหญ่แตกสามัคคี

3.  ทหารแตกแยกกัน กองทัพขาดการเตรียมพร้อม

นอกจากสาเหตุที่เกิดขึ้นภายในกรุงศรีอยุธยาเองดังกล่าวแล้ว  ยังประกอบกับพม่ามีกำลังและ

อำนาจมากขึ้น  ภายใต้การนำของกษัตริย์ราชวงศ์อลองพญาพร่มจึงได้ปราบปรามกบฎและเคลื่อนทัพมายังดินแดนไทย  โดยเริ่มจากการตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ  เรื่อยมาจนล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้  โดยกรุงศรีอยุธยาไม่อาจต้านทานได้  เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้

-พระมหากษัตริย์อ่อนแอแม่ทัพนายกองที่มีความสามารถ ไม่ได้รับความสะดวกในการสู้รบ

-ทหารขาดความสามารถ เพราะว่างศึกษานาน

กรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าใน  พ.ศ.  2310  การเสียกรุงครั้งนี้  บ้านเมืองได้รับความเสียหายมาก  พม่าได้กวาดต้อนทรัพย์สมบัติ  และผู้คนไปเป็นเชลยเป็นจำนวนมากกรุงศรีอยุธยา ได้สิ้นสุดลงด้วยระยะเวลา  417  ปี  โดยทิ้งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง  รวมทั้งบทเรียนจากอดีต ที่มีผลให้เสียกรุง จนไม่อาจสถาปนาขึ้นใหม่ได้

เศรษฐศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา

อาณาจักรอยุธยา เศรษฐศาสตร์บนฐานศักดินานิยม

ระบบศักดินา เป็นระบบที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อจัดระเบียบให้กับสังคมใหม่ตั้งแต่สมัย พระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1997) โดยระบบดังกล่าวได้ใช้ที่ดินเป็นเครื่องจัดชั้นยศให้กับผู้คนในสังคม ระบบศักดินาของอยุธยามีความคล้ายคลึงกับระบบ Fuedalismของยุโรป ที่ดินนับเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในทางเศรษฐศาสตร์ ดังนั้นผู้ใดครอบครองที่ดินมาก ย่อมมีโอกาสที่จะสะสมทุนและความมั่งคั่งมากตามไปด้วย  

รูปแบบการผลิตของรัฐโบราณถูกขับเคลื่อนด้วยภาคเกษตรกรรม นอกจากพลเมืองผลิตเพื่อยังชีพแล้ว ยังต้องผลิตเพื่อส่งส่วยให้กับขุนนางอีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ระบบศักดินาได้กำหนดให้ขุนนางสามารถแบ่งเก็บผลผลิตได้ครึ่งหนึ่งก่อนที่จะส่งเข้าท้องพระคลัง     

ด้วยเหตุนี้เองราษฎรหรือไพร่จึงจำเป็นต้องมีมูลนายสังกัด เพราะการมีสังกัดนอกจากจะได้รับการคุ้มครองจากขุนนางแล้วราษฎรยังต้องส่งผลผลิตทั้งหลายให้กับมูลนายเหล่านั้นอีกทางหนึ่งด้วย จะเห็นได้ว่าสังคมเศรษฐกิจสมัยโบราณเป็นไปในลักษณะต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน (Reciprocal) ซึ่งระบบ Fuedalismของยุโรปก็มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้  

ผลของการแบ่งชั้นตามศักดินาทำให้การกำหนดหน้าที่ของประชากรในอาณาจักรมีความชัดเจน ผลดังกล่าวทำให้โอกาสในการเคลื่อนย้ายจัดสรรทรัพยากรไปสู่ภาคการผลิตอื่น ๆ เป็นไปได้ยาก ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้อัตราการจำเริญเติบโตของเศรษฐกิจสมัยโบราณจึงเป็นไปอย่างช้า ๆ ซึ่งมิได้เกิดขึ้นเฉพาะอาณาจักรอยุธยาเพียงแห่งเดียวเท่านั้น     

เพราะจากการศึกษาของ Angus Maddison พบว่า อัตราการจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสังคมโบราณกาลอย่าง จีน และอินเดียนั้นมีค่าเฉลี่ยของการเจริญเติบโตเพียงร้อยละ 1 (ผู้สนใจโปรดดูงานของ Angus Maddisonใน The World Economy: A Millennial Perspective)

นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจเชื่อว่าระบบเศรษฐกิจบนฐานของศักดินานิยมนั้นเป็นระบบซึ่งสถาบันทางการเมืองสามารถดึงส่วนเกินทางเศรษฐกิจ (Economic Surplus) จากคนส่วนใหญ่ของสังคม ผลดังกล่าว

ทำให้การจัดสรรทรัพยากรการผลิตในอดีตไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ โอกาสที่เศรษฐกิจจะขยายตัวจึงเป็นไปได้ยาก 

ไพร่กับวิถีการผลิตแบบยังชีพ (Subsistency)

เป็นเกาะที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำ 3 สายใหญ่ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ด้วยเหตุนี้เองทำให้ที่ดินดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์อย่างมากเหมาะสมต่อการเพาะปลูกโดยเฉพาะข้าว ทั้งนี้วิธีการปลูกข้าวของคนโบราณไม่มีความสลับซับซ้อนอะไรมากนัก มีเครื่องมืออย่างคันไถ เคียว มีสัตว์ที่ช่วยในการทำนาอย่างวัวควาย  

เพียงเท่านี้ก็เพียงพอต่อการปลูกข้าวแล้ว ดังนั้นแรงงานซึ่งเป็นราษฎรหรือไพร่ส่วนใหญ่จึงอยู่ในภาคเกษตรกรรม ทำให้ความชำนาญในการปลูกข้าวของคนไทยมีมาอย่างช้านาน ปัจจัยดังกล่าว ยังสร้างความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในการเพาะปลูกให้กับอาณาจักรจนทำให้อยุธยากลายเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

นอกจากภาคเกษตรกรรมแล้วภาคหัตถกรรมนับเป็นอีกภาคหนึ่งที่มีบทบาทต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของอาณาจักร ภาคหัตถกรรมที่สำคัญได้แก่ การทำทอง ปั้นหม้อ งานไม้ งานตีดาบ เป็นต้น ทั้งนี้ช่างฝีมือของอยุธยาในอดีตจะถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากรุ่นสู่รุ่น การรวมตัวของเหล่าช่างเป็นไปแบบหลวม ๆ ซึ่งต่างจากสังคมยุโรปโบราณที่มีการรวมตัวของเหล่าช่างฝีมือในลักษณะที่เป็นสมาคมกิลด์ (Guild Society)  

ทำให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนางานฝีมือ แม้ว่าเทคโนโลยีการผลิตสมัยโบราณ (ปัจจุบันเราเรียก

ภูมิปัญญาท้องถิ่น) จะไม่สามารถผลิตสินค้าได้คราวละมาก ๆ (Mass Production) แต่ภูมิปัญญาเหล่านี้นับเป็นรากฐานที่ก่อให้เกิดการพัฒนาวิธีการผลิตให้ดียิ่งขึ้น

เราอาจกล่าวได้ว่าวิถีการผลิตของประชากรส่วนใหญ่ในอาณาจักรอยุธยาเป็นไปในลักษณะพึ่งพาตัวเองเป็นสำคัญ พวกเขาได้รับการคุ้มครองจากรัฐและมูลนายแต่ไม่ได้สิทธิประโยชน์อะไรมากนักจากบริการของรัฐ การผลิตเพื่อยังชีพทำให้รูปแบบการค้าจึงเป็นไปในลักษณะของการแลกเปลี่ยนของต่อของเป็นหลัก (Barter System) ระบบตลาดที่มีเงินตรามาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนจึงมีบทบาทน้อย เพราะผู้คนส่วนมากในสังคมมิได้เน้นเรื่องการสะสมทุน

รูปแบบทางการค้าสมัยโบราณ อำนาจผูกขาดของพระคลังสินค้า

สถานะพ่อค้าในอดีตของแต่ละสังคมมักไม่ได้รับการยอมรับเท่าใดนัก ตัวอย่างเช่น วรรณะแพศย์ของศาสนาพราหมณ์ได้รับการยอมรับในลำดับที่ 3 เป็นรองจากพราหมณ์และกษัตริย์ เช่นเดียวกับสังคมยุโรปในอดีตที่มองว่าอาชีพพ่อค้าเป็นอาชีพที่มุ่งแต่แสวงหากำไรซึ่งขัดกับหลักความเชื่อทางศาสนา

สำหรับอาณาจักรอยุธยา, ลักษณะของการค้าสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 รูปแบบ โดยรูปแบบแรกเป็นการค้าภายในอาณาจักรของราษฎรทั่วไป กับรูปแบบการค้าระหว่างรัฐซึ่งนับว่ามีบทบาทอย่างมากในการสร้างความมั่งคั่งให้กับอาณาจักรอยุธยา

ตามที่กล่าวข้างต้นแล้วว่าวิถีการผลิตของราษฎรส่วนใหญ่ คือ ผลิตเพื่อส่งส่วยให้มูลนายในสังกัด ก่อนที่มูลนายจะหักไว้ครึ่งหนึ่งแล้วส่งต่อให้ท้องพระคลัง โดยส่วนที่เหลือราษฎรจะเก็บไว้เพื่อบริโภคเอง และหากเหลือมากกว่านั้นก็จะนำไปขาย

แต่รูปแบบของการขายเป็นไปในลักษณะการแลกเปลี่ยนมากกว่า แม้ว่ารัฐจะกำหนดให้มีการใช้เงินโดยกำหนดหน่วยของเงินตราเป็น ไพ เบี้ย  เฟื้อง อัฐ สลึง เป็นต้น แต่บทบาทของเงินในสมัยนั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ประกอบกับระบบตลาดที่ยังไม่เข้มแข็ง ไม่มีสถาบันการเงินเป็นตัวระดมทุน ทำให้การค้าจึงอยู่ในวงจำกัดและเน้นไปในทางการแลกเปลี่ยนเป็นสำคัญ

การค้าประเภทที่สองคือ การค้าโดยรัฐ การค้าลักษณะนี้พัฒนามาจากการค้าภายใต้ระบบบรรณาการซึ่งมีจีนเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรในเอเชีย การค้าแบบนี้เน้นเรื่องการเจริญพระราชไมตรีของอาณาจักร

ทั้งหลายควบคู่ไปด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อประเทศในแถบยุโรปอย่างโปรตุเกส สเปน ฮอลันดา ฝรั่งเศส และอังกฤษ เข้ามาค้าขายกับประเทศแถบเอเชีย รูปแบบทางการค้าจึงเปลี่ยนไป  

ถ้าท่านผู้อ่านจำได้ในตอนเศรษฐศาสตร์หลายสำนักที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงอิทธิพลของสำนัก Mercantilism ที่เชื่อว่าการสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศต้องมาจากการค้าและแสวงหาอาณานิคมให้

มากที่สุด ซึ่งอิทธิพลของความคิดดังกล่าวได้แผ่ขยายมาถึงแผ่นดินเอเชียในช่วงที่กรุงศรีอยุธยากำลังก่อร่างสร้างตัวพอดี 

พื้นฐานสำคัญของการทำการค้ากับต่างประเทศ คือ การที่พระเจ้าแผ่นดินอยุธยาจะพระราชทานสิทธิให้พ่อค้าประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นเข้ามาตั้งห้างหรือบริษัทภายในอาณาจักรอยุธยา ซึ่งก็กลายเป็นเหตุผลหนึ่งที่ชาติเหล่านี้ได้นำกองทหารของตัวเองมาด้วยโดยอ้างเรื่องการพิทักษ์ชีวิตและทรัพย์สินของคนในชาติตน เช่น ในสมัยพระเพทราชาอนุญาตให้พ่อค้าฮอลันดาตั้งสถานีการค้าได้ที่เมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น

http://www.thailandindustry.com/UserFiles/out18.gif

สำเภาจีน
ตัวแทนการค้าขายระหว่างประเทศในอดีต

หน่วยงานที่มีบทบาททางการค้ากับต่างประเทศในสมัยอยุธยา คือ พระคลังสินค้า หน่วยงานนี้นับเป็นตัวแทนของรัฐบาลอาณาจักรอยุธยาที่กำหนดสัมปทานการผูกขาดการซื้อขายสินค้ากับพ่อค้าชาวต่างชาติ ผู้เขียนสันนิษฐานว่าวิธีการผูกขาดการซื้อขายสินค้าโดยรัฐน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากจีนซึ่งเรียกระบบนี้ว่า ระบบกว่างโจว (Canton System) การผูกขาดสินค้าภายใต้ระบบพระคลังสินค้าเป็นมาตรการที่ช่วยควบคุมสินค้าเข้าออกบางชนิด เช่น อาวุธปืนจากตะวันตก ซึ่งกำหนดให้รัฐเป็นเพียงผู้เดียวที่สามารถซื้อได้

ขณะที่การส่งออก พระคลังสินค้าก็จะเป็นผู้กำหนดสินค้าและตั้งราคาขายให้กับต่างชาติได้ เช่น พระคลังสินค้าจะขายเกลือสินเธาว์ให้กับชาวต่างชาติราคาหาบละ 17 บาท ทั้งที่ราคาปกติขายกันอยู่ที่ 5 บาท หรือ ทองแดงที่พระคลังสินค้าซื้อมาจากญี่ปุ่นราคาหีบละ 15 เหรียญแต่เวลาขายต่อให้ฝรั่งจะขายในราคาหีบละ 20 เหรียญ เหล่านี้แสดงให้เห็นอำนาจผูกขาดอย่างแท้จริงของพระคลังสินค้า

การผูกขาดที่สามารถกำหนดประเภทสินค้าตลอดจนราคาซื้อขาย ได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องคำนึงถึงการแข่งขันแต่อย่างใด การค้าโดยระบบผูกขาดของพระคลังสินค้าทำให้อาณาจักรอยุธยามีความมั่งคั่งมากขึ้นโดยเฉพาะในสมัย พระนารายณ์มหาราช ผลพวงจากความมั่งคั่งทำให้อยุธยาสามารถทำสงครามขยายดินแดนไปยังเมืองต่าง ๆ และแสวงหาเมืองท่าทางการค้าอย่าง นครศรีธรรมราช มะละกา สงขลา ไชยา เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจสมัยกรุงศรีอยุธยามีความรุ่งเรืองก็เพราะเหตุปัจจัยทางสถาบันการเมืองการปกครองที่ใช้ระบบศักดินาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาส่วนเกินเศรษฐกิจในการสะสมทุนพร้อมกันนั้นอาณาจักรอยุธยามีความมั่งคั่งจากระบบการค้าแบบผูกขาดภายใต้การดำเนินงานของพระคลังสินค้า

ขณะที่ราษฎรส่วนใหญ่เป็นปัจจัยการผลิตที่มีส่วนสนับสนุนความมั่งคั่งให้กับอาณาจักรโดยมีวิถีการผลิตเพียงเพื่อยังชีพ ไม่มีการสะสมทุนหรือปัจจัยการผลิตอื่น ๆ แต่อย่างใดเนื่องจากถูกโครงสร้างทางการเมืองครอบคลุมไว้หมด อย่างไรก็ตามระบบและความมั่งคั่งดังกล่าวได้ถูกทำลายไปจนหมดสิ้นเมื่อสยามได้ก้าวเข้าสู่ประตูของทุนนิยมโลกอย่างเต็มตัวหลังจากทำสนธิสัญญาบาวริ่งเมื่อปี พ.ศ. 2398