ตัวอย่างรายงานภาษีขาย

📌 ใช้โปรแกรมครั้งแรก บริการหลังการขาย ลง Windows ใหม่ & เปลี่ยนฮาร์ดดิส ใช้สิทธิ์เปลี่ยนคอม ทดสอบเครื่องพิมพ์ การสำรองข้อมูล การเรียกคืนข้อมูล ทำข้อมูลตั้งต้น เงื่อนไขข้อตกลง ลืมรหัส admin


ตัวอย่างรายงานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตัวอย่างรายงานภาษีขาย


สำหรับการพิมพ์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ สำหรับร้านยาที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) เท่านั้น ร้านยาทั่วไปที่ยังไม่ได้จดทะเบียนไม่มีสิทธิ์ทำเอกสารหรือออกใบกำกับภาษีได้

ร้านที่จดทะเบียนดังกล่าวแล้ว สามารถศึกษาการให้โปรแกรมช่วยบันทึกภาษีซื้อ ภาษีขาย ได้ที่ link ด้านล่างนี้
การเปิดระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม | VAT

ตัวอย่างรายงาน และ บิลต่าง ๆ

เอกสารหลักที่พิมพ์ได้จากโปรแกรมไฮเจีย บิลใบกำกับภาษี และ รายงานภาษีซื้อ (จากการทำรับสินค้าที่ระบุ vat) และ รายงานภาษีขาย (จากการทำขายหน้าร้าน) ตามตัวอย่างต่อไปนี้


ตัวอย่างรายงานภาษีขาย | เมนูรายงาน -> บัญชี และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตัวอย่างรายงานภาษีขาย




ตัวอย่างรายงานภาษีซื้อ | เมนูรายงาน -> บัญชี และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตัวอย่างรายงานภาษีขาย




ตัวอย่างใบกำกับภาษี เต็มรูปแบบ | สั่งพิมพ์ได้ในเมนูขาย (ตั้งค่าได้ทั้งแบบ A4 และ กระดาษต่อเนื่อง 9x11")

ตัวอย่างรายงานภาษีขาย




ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อ ในรูปแบบสลิป ทั้งขนาด 80mm และ 58mm

ตัวอย่างรายงานภาษีขาย


หมายเหตุ : การพิมพ์ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ในรูปแบบสลิป ทั้งขนาด 80mm และ 58mm จะต้องจดทะเบียนอุปกรณ์ในร้านของท่านด้านกับกรมสรรพากร เพื่อขออนุญาตพิมพ์ และจะได้เลขประจำเครื่อง (แสดงด้านบลนสุดของสลิปใบกำกับภาษีตามตัวอย่างในภาพ) หากไม่ได้จดทะเบียนดังกล่าวจะไม่มีสิทธิ์พิมพ์ใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ แต่จะพิมพ์ได้เฉพาะใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ (A4)

 


เนื้อหาหน้านี้ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ : 10/10/2562 | หน้าแรก | การสั่งซื้อ










 

MOST RECENT


ตัวอย่างรายงานภาษีขาย

รายงาน ข.ย.9, ข.ย.10, ข.ย.11, ข.ย.12, ข.ย.13 | GPP

ตัวอย่างรายงานภาษีขาย

การแจ้งเตือนวันหมดอายุ/รายงาน | GPP


ตัวอย่างรายงานภาษีขาย

สร้าง / พิมพ์ สติกเกอร์ฉลากยา | GPP

ตัวอย่างรายงานภาษีขาย

การใช้งานใบสั่งยาออนไลน์ โครงการรับยาที่ร้านยา (สปสช.)


ตัวอย่างรายงานภาษีขาย

การติดตั้งไดรเวอร์เครื่องพิมพ์สลิป EPSON TM Receipt

ตัวอย่างรายงานภาษีขาย

ลองทำข้อความบนฉลาก | GPP


ตัวอย่างรายงานภาษีขาย

ตั้งค่าเครื่องพิมพ์ฉลาก 2 เครื่อง พิมพ์ได้ 2 ขนาด

ตัวอย่างรายงานภาษีขาย

บันทึกคืนยา กลับไปยังผู้จำหน่าย | GPP


ตัวอย่างรายงานภาษีขาย

ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน A4, A5, Slip

ตัวอย่างรายงานภาษีขาย

กรณีต่อสายลิ้นชักเก็บเงิน เข้าเครื่องพิมพ์สลิปโดยตรง


➡ คำแนะนำการใช้งานทั้งหมด


เมื่อใดที่กิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จำเป็นต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) พร้อมกับแนบเอกสารที่ขาดไม่ได้คือ รายงานภาษีซื้อภาษีขาย และถ้าหากมีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ จะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

ทั้งนี้ วิธีการทำรายงานภาษีซื้อภาษีขาย สามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการรวบรวมเก็บเอกสาร ใบกำกับภาษีซื้อตัวจริง และสำเนาใบกำกับภาษีขายในแต่ละเดือน นำมาทำรายงานภาษีซื้อภาษีขาย ส่งพร้อมกับเอกสาร ภ.พ.30 แก่สรรพากรภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน

 

รายงานภาษีซื้อภาษีขาย คืออะไร

รายงานภาษีซื้อภาษีขาย คือรายละเอียดภาษีซื้อและภาษีขายที่เกิดขึ้นในรอบเดือนนั้น ทำรายงานเพื่อส่งคู่กับเอกสาร ภ.พ.30 ซึ่งผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากจะมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีแล้ว ยังต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อภาษีขายด้วย ซึ่งสามารถอธิบายแยกย่อยได้ดังนี้

1.รายงานภาษีซื้อ เป็นรายงานที่กิจการจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกรายละเอียดรายการภาษีซื้อ แสดงมูลค่าสินค้าหรือบริการและภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่น โดยรายงานภาษีซื้อต้องมีรายการและข้อความตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในเดือนใดให้บันทึกเป็นรายการภาษีซื้อในเดือนนั้น โดยพิจารณาจากวันที่ที่ปรากฏในใบกำกับภาษีที่ได้รับจากผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนอื่น แต่ถ้าหากภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในเดือนนั้นๆ ไม่ได้นำไปลงในรายงานภาษีของเดือนนั้น เนื่องจากมีเหตุจำเป็นตามที่อธิบดีกำหนด ให้มีสิทธิ์นำไปลงรายงานภาษีซื้อของเดือนหลังจากนั้นได้ แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือน นับแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษี

2.รายงานภาษีขาย เป็นรายงานที่กิจการจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกรายละเอียดรายการภาษีขาย แสดงมูลค่าสินค้าหรือบริการและภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนได้ออกใบกำกับภาษีจากการขายสินค้าหรือให้บริการ โดยรายงานภาษีขายต้องมีรายการและข้อความตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

ภาษีขายที่เกิดขึ้นในเดือนใดกิจการต้องบันทึกรายการตามหลักฐานสำเนาใบกำกับภาษีขายที่ออกให้ลูกค้าในเดือนนั้น โดยพิจารณาจากวันที่ที่ปรากฏในสำเนาใบกำกับภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนออกให้แก่ลูกค้า

ทั้งนี้ แบบของรายงานภาษีขายมีลักษณะคล้ายบัญชีแยกประเภทร้านจากการประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี และมีช่อง “จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม” เพิ่มขึ้นมา

 

รายการที่ลงใน รายงานภาษีซื้อภาษีขาย มาจากไหนได้บ้าง

การลงบันทึกรายงานภาษีซื้อภาษีขาย ที่ใช้ประโยชน์ทางภาษีได้ จะต้องมาจากใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยการลงรายละเอียดในรายงานภาษีซื้อภาษีขายต้องเป็นภาษีซื้อและภาษีขายที่เกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้

 1.รายงานภาษีซื้อ จะสามารถลงรายงานภาษีซื้อได้เฉพาะรายการซื้อที่มีหลักฐานใบกำกับภาษี หรือใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ หรือใบเสร็จรับเงินอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งลงรายการเพิ่มและลดยอดภาษีซื้อที่เกิดขึ้นเนื่องจาก  

ลงรายการเพิ่มภาษีซื้อที่เกิดขึ้นเนื่องจาก  

– การซื้อหรือการนำเข้าซึ่งสินค้าหรือวัตถุดิบ

– การซื้อ หรือเช่าซื้อ หรือนำเข้าซึ่งทรัพย์สิน

– การรับฝากขายสินค้า

– การรับบริการหรือการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ

– การเพิ่มราคาสินค้าหรือบริการ

– ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำส่งตามแบบแสดงรายการ ภ.พ.36 เนื่องจากจ่ายบริการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในประเทศไทย หรือรับโอนสินค้าหรือการที่เคยได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0

ลงรายการเพื่อลดภาษีซื้อให้ลดลงที่เกิดขึ้นเนื่องจาก  

– การส่งคืนสินค้าหรือยกเลิกสัญญาการให้บริการ

– การลดราคาสินค้าหรือค่าบริการที่ผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน

 2.รายการภาษีขาย จะต้องนำไปลงรายงานภาษีขายในเดือนที่มีรายการเกิดขึ้น เพิ่มสูงหรือลดลงที่เกิดขึ้นเนื่องจาก…

ลงรายการเพิ่มภาษีขายเกิดขึ้นเนื่องจาก

– การขายสินค้าหรือให้บริการในประเทศไทย (กรณีการส่งออกภาษีขาย = 0)

– การให้เช่าซื้อ

– การส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนเพื่อขาย (ฝากขาย)

– การนำสินค้าหรือบริการไปใช้เพื่อการอื่นใด ที่ไม่ใช่เพื่อการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

– หนี้สูญที่ได้รับคืน

– มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

– มีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกกิจการ แต่ไม่รวมถึงสินค้าคงเหลือ และทรัพย์สินของผู้ประกอบการที่ได้ควบรวมเข้าด้วยกัน หรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน

การลงรายการลดภาษีขายเกิดขึ้นเนื่องจาก

– การรับคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง ไม่ตรงตามตัวอย่างหรือที่เสนอขาย

– การลดราคาสินค้าหรือค่าบริการซึ่งผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน

– หนี้สูญที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย

รายละเอียดในรายงานภาษีซื้อภาษีขายต้องมีอะไรบ้าง

ตัวอย่างรายงานภาษีขาย

รูปแบบของรายงานภาษีซื้อภาษีขายที่สรรพากรกำหนด ต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1.รายงานภาษีซื้อ จำเป็นต้องมีรายละเอียดในรายงานดังนี้

– ชื่อที่แสดงว่าเป็นรายงานภาษีซื้อ

– เดือนภาษีและปีภาษี

– ชื่อสถานประกอบการ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี

– ที่อยู่ของสถานประกอบการตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

– สำนักงานใหญ่หรือสาขาที่ยื่นรายงานภาษีซื้อ

– รายละเอียดของใบกำกับภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในเดือนภาษีนั้น ได้แก่ วัน-เดือน-ปี เลขที่ใบกำกับภาษี ชื่อผู้ขายสินค้า/ผู้ให้บริการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขายสินค้า/ผู้ให้บริการ สำนักงานใหญ่/สาขาของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ มูลค่าสินค้า/บริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม

2.รายงานภาษีขาย จำเป็นต้องมีรายละเอียดในรายงานดังนี้

– ชื่อที่แสดงว่าเป็นรายงานภาษีขาย

– เดือนภาษีและปีภาษี

– ชื่อสถานประกอบการ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี

– ที่อยู่ของสถานประกอบการตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

– สำนักงานใหญ่หรือสาขาที่ยื่นรายงานภาษีขาย

– รายละเอียดของใบกำกับภาษีขายที่เกิดขึ้นในเดือนภาษีนั้น ได้แก่ วัน-เดือน-ปี เลขที่ใบกำกับภาษี ชื่อผู้ซื้อสินค้า/ผู้รับบริการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อสินค้า/ผู้รับบริการ สำนักงานใหญ่/สาขาของผู้ขายสินค้าหรือผู้รับบริการ มูลค่าสินค้า/บริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม

และเมื่อครบกำหนดที่ต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กิจการรวบรวมรายงานภาษีซื้อภาษีขาย พร้อมใบกำกับภาษีทั้งในส่วนของภาษีซื้อและภาษีขายแยกไว้เป็น 2 ส่วน จากนั้นสามารถคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบ ภ.พ.30 พร้อมแนบรายงานภาษีซื้อภาษีขายเองได้

แต่ถ้าหากไม่มั่นใจว่าภาษีซื้อภาษีขายแบบไหนใช้ได้บ้าง อาจจะส่งให้สำนักงานบัญชีจัดการบัญชีให้ได้เช่นกัน  เพื่อให้รายงานภาษีซื้อภาษีขายเป็นไปอย่างถูกต้องที่สุด

PrevPreviousรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ไม่ต้องส่ง(สรรพากร) แต่ต้องทำ?

Next“บริษัทจำกัด – ห้างหุ้นส่วนจำกัด – ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” ต่างกัน! จดทะเบียนนิติบุคคล แบบไหนดีNext

ตัวอย่างรายงานภาษีขาย

OUR STORY

เรามีชื่อในการช่วยเหลือเจ้าของธุรกิจในเรื่องบัญชีและภาษีเพื่อให้เจ้าของธุรกิจมั่นใจว่าบัญชีและภาษีที่ทำออกมานั้นถูกต้องอีกทั้งเรายังให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่กำลังเติบโต ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจต่างๆ

ไม่ว่าจะเรื่องจำนวนคนหรือเวลาที่มีน้อยกว่าบริษัทระดับ Corporate หรือความรู้ในการบริหารจัดการภาษีซึ่งเราก็มีผู้ตรวจสอบบัญชี CPA คอยให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจทุกท่าน