การนำวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ของใช้แล้วจากภาคอุตสาหกรรม นำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ กระดาษ แก้ว กระจก อะลูมิเนียม และพลาสติก "การรีไซเคิล" เป็นหนึ่งในวิธีการลดขยะ ลดมลพิษให้กับสภาพแวดล้อม ลดการใช้พลังงานและลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกไม่ให้ถูกนำมาใช้สิ้นเปลืองมากเกินไป

การนำวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์

การแปรรูปของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่มีกระบวนการอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่
1. การเก็บรวบรวม
2. การแยกประเภทวัสดุแต่ละชนิดออกจากกัน 3. การผลิตหรือปรับปรุง 4. การนำมาใช้ประโยชน์ในขั้นตอนการผลิตหรือปรับปรุงนั้น วัสดุที่แตกต่างชนิดกัน จะมีกรรมวิธีในการผลิต แตกต่างกัน เช่น ขวด แก้วที่ต่างสี พลาสติกที่ต่างชนิด หรือกระดาษที่เนื้อกระดาษ และสีที่แตกต่างกัน ต้องแยกประเภทออกจากกัน

เมื่อผ่านขั้นตอนการผลิตแล้วของเสียที่ใช้แล้วเหล่านี้จะกลายมาอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ใหม่จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนในการนำมาใช้ประโยชน์ ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลจึงสามารถสังเกตได้จากเครื่องหมายทีประทับไว้ บนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตทุกครั้ง การรีไซเคิล ทำให้โลกมีจำนวนขยะลดน้อยลง และช่วยลดปริมาณการนำทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมให้น้อยลง ลดการถลุงแร่บริสุทธิ์ และลดปริมาณการโค่นทำลายป่าไม้ลงด้วย การหมุนเวียนนำมาผลิตใหม่ยังเป็นการลดการใช้พลังงานจากใต้ภิภพ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่อากาศและลดภาวะการเกิดฝนกรด สำหรับประเทศไทยนั้น จากการศึกษาของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พบว่า ศักยภาพของวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้จากมูลฝอยที่เก็บขนได้ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศมีประมาณร้อยละ 16-34 ของปริมาณมูลฝอยที่เก็บได้ แต่มีเพียงร้อยละ 7 หรือประมาณ 2,360 ตันต่อวันเท่านั้น ที่มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ การนำกลับมาใช้ใหม่ จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับชีวิตเพิ่มคุณค่าให้กับสิ่งแวดล้อมและช่วยถนอมรักษาทรัพยากรธรรมชาติของโลกไว้ได้ดีที่สุด ในหนทางหนึ่ง

วันนี้ ….ท่านได้นำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่กับเขาหรือยัง
คุณทำได้
เพื่อ รักษาโลกของเรา ไว้ให้ลูกหลาน


ที่มา : รวบรวมจาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

ท่านทราบหรือไม่ว่า ในปี 2550 มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นในประเทศไทยสูงถึงประมาณ 14.72 ล้านตันหรือประมาณ 40,332 ตันต่อวัน* แต่มีการคัดแยกและนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ โดยการนำไปใช้ซ้ำ ขายให้ซาเล้ง ร้านรับซื้อของเก่า เพื่อส่งไปแปรรูปยังโรงงานต่างๆ ประมาณ 3.25 ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ 22 เท่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น

การนำวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ภาพประกอบจาก : http://www.blisby.com/blog/reduce-reuse-recycle-repair-upcycle/

จากปัญหาดังกล่าวแนวคิดและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ก่อให้เกิดปริมาณขยะให้น้อยลง จึงมีการนำแนวทางการลด คัดแยก และนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle: 3Rs) มาประยุกต์ใช้ โดยใช้วิธีการลดการใช้วัสดุ/ผลิตภัณฑ์เพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น (Reduce) มีการนำวัสดุ/ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้กลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และนำเศษวัสดุ/ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (Recycle) โดยมีตัวอย่างและวิธีง่ายๆ ดังนี้

  1. ลดการใช้ (Reduce)ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหาขยะ (Refuse) และ เลือกใช้สินค้าที่สามารถส่งคืนบรรจุภัณฑ์สู่ผู้ผลิตได้ (Return)
  2. ใช้ซ้ำ (Reuse)ใช้ซ้ำ เป็นหนึ่งในแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่า การใช้ซ้ำเป็นการที่เรานำสิ่งต่างๆ ที่ใช้งานไปแล้ว และยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้อีก เป็นการลดการใช้ทรัพยากรใหม่ รวมทั้งเป็นการลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย
  3. รีไซเคิล (Recycle)รีไซเคิล เป็นการนำวัสดุต่างๆ อย่างเช่น กระดาษ แก้ว พลาสติก เหล็ก อะลูมิเนียม ฯลฯ มาแปรรูปโดยกรรมวิธีต่างๆ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดปริมาณขยะมูลฝอยแล้ว ยังเป็นการลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม

การนำวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์

หนึ่งในหัวข้อการลดการใช้พลังงานที่พูดกันมาเนิ่นนานแต่ปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมได้น้อยมาก นั่นก็คือการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิลข้าวของ เครื่องใช้ และอุปกรณ์จำเป็นต่างๆในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะวัสดุที่มีส่วนทำลายธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและใช้พลังงานในการผลิตอย่าง พลาสติก กระป๋อง แก้ว อลูมิเนียม และกระดาษ เพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและสามารถช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลง

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติที่ดำเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์การบริหารจัดการสู่ความยั่งยืน ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ขอพาสำรวจความเป็นไปได้เรื่องการ “นำกลับมาใช้ใหม่” ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ก่อนที่จะลงรายละเอียดต่างๆ มีคำ 3 คำ ที่อยากให้ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เนื่องจากมีความใกล้เคียงกันมาก จนบ่อยครั้งเราเองก็สับสนใช้ปนกันจนมั่ว ได้แก่ Reduce หรือ การใช้ให้น้อยลง ลดการใช้วัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น Reuse หรือการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้ซ้ำ และ Recycle หรือการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีประโยชน์

การนำวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์

แม้ทั้งสามคำนี้ จะมีนัยยะไปในทิศทางเดียวกัน คือ การนำกลับมาใช้ใหม่ แต่สองคำแรกนั้นเป็นการใช้ของเดิมที่มีอยู่ ส่วนคำว่า รีไซเคิล ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ นั้น ต้องผ่านกระบวนการแปรรูปวัสดุต่างๆเสียก่อนจึงจะกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยกระบวนการแปรรูปใหม่นี้ ใช้ทั้งต้นทุนและพลังงานที่น้อยกว่าการทำใหม่ทั้งสิ้น ซึ่งมีขั้นตอนวุ่นวายและสิ้นเปลืองพลังงานอีกซะมากกว่า

นอกจากนี้ Reduce, Reuse และ Recycle ยังมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ ลดจำนวนขยะบนโลกให้น้อยลง อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรม และลดปริมาณการโค่นไม้ทำลายป่าได้อีกด้วย

ทั้งนี้การหมุนเวียนนำมาผลิตใหม่ยังเป็นการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่อากาศและลดภาวะการเกิดฝนกรดเป็นจำนวนมาก ฉะนั้น คำว่า “นำกลับมาใช้ใหม่” ในบทความนี้ จะกินพื้นที่ของคำทั้งสามคำ

เพื่อให้การนำกลับมาใช้ใหม่ได้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด หรือภาษาคนร่วมสมัยที่เรียกกันว่า เวิร์กสุดๆ นั้น เป็นจริงและเป็นรูปธรรม ลองเริ่มต้นจากคำสามคำนี้กันเลยดีกว่า

คิดก่อนใช้ ต้นตอของปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งหมดทั้งมวลล้วนมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์ เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรของตนเองหลายสิ่งอย่างที่เรากินใช้อยู่ทุกวันนี้จะสามารถทำให้มีคุณค่ามากกว่าพฤติกรรมเดิมๆ ได้ เช่น การซื้อของชิ้นใหม่จะซื้ออย่างไรให้ใช้งานได้ยาวแบบไม่ต้องมานั่นเปลี่ยนกันบ่อยๆ ไปร้านกาแฟก็นำแก้วของตัวเองติดตัวไปด้วยจะดีกว่าการใช้แก้วพลาสติกของทางร้าน

การนำวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ใช้แล้วใช้อีก ยุคนี้เราจำเป็นต้องลิสต์รายการข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวันบ้างแล้ว ว่ามีอะไรบ้างที่ใช้แล้วใช้ได้อีกใช้วนไปได้ยาวไม่จบไม่สิ้น แถมยังเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้เหลือพอการใช้ของประชากรโลกในอนาคตได้อีกด้วย เช่น ถ่านไฟฉายแบบชาร์จไฟ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ที่อาจจะดูเก่าแต่เพิ่มเติมความคิดสร้างสรรค์ลงไปสักหน่อยก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกไม่ยาก

การนำวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์

แปรรูปเพื่อนำมาใช้ใหม่ เมื่อมีของใช้อื่นๆ สามารถนำวนกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ แล้ว ยังมีของอีกประเภทหนึ่งที่จำเป็นต้องนำไปแปรรูปก่อนเพื่อจะได้ของที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ พลาสติก แก้ว กระดาษ อลูมิเนียม ของเหล่านี้จำเป็นต้องช่วยกันแยกในสองขั้นตอนแรก คือคิดก่อนใช้ แล้วคัดเฉพาะที่นำวนกลับมาใช้ได้อีกนำกลับมาใช้ซ้ำ ส่วนที่เหลือจากการบริโภครายวัน ก็นำมาแยกประเภท เพื่อให้เกิดการนำไปแปรรูปแล้วนำกลับมาใช้ใหม่อีกรอบ

ทั้งหมดนี้อาจจะฟังดูง่าย แต่เชื่อหรือไม่ว่าหลายๆ คน มักจะบอกว่าวุ่นวายมากๆ โดยยังไม่ได้ลองเริ่มต้นลงมือทำ