เหตุผลที่ เลือกเรียนคณะ

โลกไม่หยุดนิ่ง โลกของสื่อก็เช่นกัน หลักสูตรนิเทศศาสตร์จึงมีความทันสมัย ทันโลกปัจจุบันที่มีปรับเปลี่ยนตลอดเวลา โดยพัฒนาหลักสูตรร่วมกับบริษัทและหน่วยงานด้านนิเทศศาสตร์ มีการอัปเดตข้อมูลที่นักนิเทศศาสตร์จำเป็นต้องใช้ รวมทุกด้านของงานนิเทศศาสตร์ที่ครบวงจรที่สุด

มีศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างประสบการณ์และเพิ่มโอกาสการได้งานทำ

มีกระบวนการส่งเสริมความรู้ความสามารถของนักศึกษาให้ได้รับโจทย์การทำงานและมีรายได้จริงผ่านศูนย์บ่มเพาะต่างๆ ของคณะนิเทศศาสตร์ โดยมีการให้คำปรึกษาและควบคุมคุณภาพงานจริงจากอาจารย์มืออาชีพ ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้และพร้อมพัฒนาตัวเองให้มีทักษะและความสามารถมากยิ่งขึ้น

หลักสูตรผสานความคิดแบบสร้างสรรค์และการเป็นผู้ประกอบการ

เน้นให้นักศึกษาได้บูรณาการความคิดสร้างสรรค์และการเป็นผู้ประกอบการ สร้างผลงานที่แตกต่าง เสริมทักษะในการประกอบธุรกิจ เพื่อให้นักศึกษากล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์และมีทางเลือกในการประกอบอาชีพ ตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยคือ คิดแบบสร้างสรรค์ + คิดแบบเจ้าของ

อาจารย์เป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงานจริง

อาจารย์มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ พร้อมด้วยอาจารย์พิเศษและวิทยากรที่เป็นสุดยอดของวงการ มาร่วมพัฒนาทักษะของนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะการทำงานที่ตอบโจทย์ในสายงานที่เลือก

นักศึกษาได้ปฏิบัติจากการทำงานจริงระหว่างเรียน

ไม่ใช่เรียนรู้ทฤษฎีเพียงอย่างเดียว แต่ได้ฝึกปฏิบัติ แก้ไขปัญหา และลงมือทำงานจริง พร้อมจัดกิจกรรมที่พัฒนาทักษะผ่านการทำ Workshop กิจกรรมโครงการบ่มเพาะทักษะ เพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญอย่างมืออาชีพ 

หลากหลายและทันสมัยในด้านเครื่องมืออุปกรณ์ห้องปฏิบัติการที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับอุตสาหกรรม

คณะนิเทศศาสตร์จัดเตรียมอุปกรณ์ที่มีความทันสมัยในระดับสากล คุณภาพเดียวกันกับใช้กับอุตสาหกรรมและบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ ให้นักศึกษาได้ใช้ฝึกปฏิบัติจริงอย่างทั่วถึงทุกคน ได้ฝึกปฏิบัติจริงในเครื่องมือหลากหลายแพลตฟอร์มครบวงจรทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง

มีโอกาสฝึกงานกับองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากมืออาชีพ

หลักสูตรที่ทันสมัย ไม่จำเจอยู่แต่ในห้องเรียน ตอบโจทย์อนาคตการเป็นนักนิเทศศาสตร์ยุคใหม่ ด้วยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศ หน่วยงานและบริษัทชั้นนำ ส่งเสริมให้ฝึกประสบการณ์การทำงานจริงในองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

มีเครือข่ายรุ่นพี่และศิษย์เก่า

เครือข่ายจากรุ่นพี่และศิษย์เก่าอยู่ในทุกวงการด้านนิเทศศาสตร์ ที่พร้อมจะให้คำแนะนำและสนับสนุนในการทำงาน

เรียนจบมีโอกาสได้งานทำสูง เพราะเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

เน้นการเรียนกับอุปกรณ์จริงในระดับอุตสาหกรรม พร้อมทำงานจริงก่อนเรียนจบ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดงานทั้งในและต่างประเทศ

1. แนะนำตัวเอง หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องเบสิคที่ไม่ต้องคิดอะไรมาก แต่บอกเลยว่าคุณคิดผิด การที่คณะกรรมการถามคำถามนี้ ไม่ใช่ว่าอยากรู้ข้อมูลส่วนตัวของคุณ อย่าลืมว่าพวกเขาย่อมมีประวัติของคุณโดยละเอียดอยู่แล้ว ดังนั้นคำถามนี้จึงเหมือนเป็นการเปิดโอกาสให้คุณทำคะแนนสร้างความประทับใจแรกและยังเหมือนเป็นการละลายพฤฒิกรรมให้คุณผ่อนคลายกับคำถามต่อ ๆ ไปได้อีกด้วย แนวคำตอบ สำหรับข้อนี้ เราไม่มีอะไรแนะนำคุณมากนัก นอกจากให้คุณมี ‘สติ' เพราะถ้าคำถามแรกคุณตอบอย่างมีสติแล้วละก็ รับรองว่าคำถามต่อ ๆ ไปผ่านฉลุยแน่นอน 

2. ทำไมถึงเลือกเรียนคณะ/สาขานี้ เป็นคำถามที่ร้อยทั้งร้อยต้องเจอ และยังเป็นคำถามที่ชี้วัดชะตากรรมของคำถามต่อไปเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าคุณตอบดีเข้าตากรรมการ คำถามต่อไปก็ง่ายขึ้นเรื่อย ๆ เพราะกว่า 50% คณะกรรมการจะตัดสินในใจแล้วว่าคุณเหมาะหรือไม่กับการเรียนคณะนี้ แนวคำตอบ เชื่อว่าหากหลายคนเจอคำถามนี้ คำตอบก็จะธรรมดา ๆ คือ ‘อยากเรียนมานานแล้ว' หรือ ‘อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่' ตามแต่ที่คุณจะจินตนาการอนาคตไว้ ซึ่งคำตอบแบบนี้ถือว่าเฉย ๆ มาก พวกเขาจะไม่รู้สึกตื่นเต้นอะไรกับคำตอบของคุณเลยจนกว่าคุณจะกล่าวข้อมูลเสริมเข้าไป เช่น ‘ฝันอยากแอร์โฮสเตสมาตั้งแต่เด็ก จึงตั้งใจเรียนด้านภาษามาโดยตลอด และทุกครั้งที่ขึ้นเครื่องบินได้มีโอกาศเห็นพี่ ๆ เขาพูดภาษาคล่อง ๆ ให้บริการอย่างชำนาญแล้วก็ยิ่งรู้สึกมีแรงบันดาล ดังนั้นจึงเลือกเรียนคณะ/สาขานี้' เป็นต้น 

3. รู้หรือไม่ว่าคณะ/สาขานี้เรียนอะไรบ้าง คำถามนี้เป็นการทดสอบว่าคุณหาความรู้เกี่ยวกับคณะที่จะเข้ามาศึกษามากน้อยเพียงใด ดังนั้นจึงไม่ควรตอบผิวเผิน เช่น ‘ไม่ทราบ' หรือ ‘คณะมนุษย์ศาตร์ก็มีไว้สอนภาษา' เพราะถ้าเป็นแบบนั้นก็เตรียมรอสอบที่ใหม่ได้เลย แนวคำตอบ สำหรับข้อนี้คุณควรจะตอบเป็นเชิงลึกลงไป เช่น ‘คณะมนุษย์ศาตร์ เป็นคณะที่มีการเรียนการสอนหลากหลาย ซึ่งนอกจากภาษาแล้ว ยังสอนการบริการ, การตลาด, การบริหาร รวมไปถึงความรู้ต่าง ๆ ที่เราสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้จริงอีกด้วย' เรียกได้ว่ารู้อะไรเกี่ยวกับคณะนี้ให้ตอบออกไปให้หมดเลยก็ว่าได้

 4. เรียนหนักนะ จะไหวหรือ เป็นคำถามสั้น ๆ แต่ได้ใจความ เพราะเป็นเหมือนการคอนเฟริมความมั่นใจของคุณไปในตัว คณะกรรมการบางคนอาจจะถามเหมือนเป็นเชิงดูถูกให้คุณของขึ้นเล่น แต่อย่าไปคิดมาก ให้ตอบยืนยันเข้าไว้ แนวคำตอบ ‘ไหวแน่นอนค่ะ/ครับ เพราะถ้าได้เข้าคณะที่ฝันมานาน คิดว่าคงไม่มีไรยากไปกว่านี้แล้วค่ะ/ครับ' ย้ำว่าเสียงที่ตอบต้องมีความั่นใจ ห้ามยิ้มแหย่ ๆ หรือเกาหัวแก๊ก ๆ เป็นอันขาด 

5. แล้วถ้าไม่ได้ที่นี่จะทำยังไง เมื่อได้ยินคำถามนี้ ขอย้ำคำว่า ‘สติ' อีกครั้ง เพราะคณะกรรมการเพียงแค่ดูไหวพริบและความคิดหลังจากได้รับแรงกดดันเท่านั้น ห้ามตอบว่า ‘ไม่ทราบ' เป็นอันขาด แนวคำตอบ ให้ย้ำความตั้งใจที่จะเข้าคณะนี้ โดยอาจจะตอบว่า จะรอรอบสัมภาษณ์ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เป็นการย้ำว่าคุณต้องการเข้าศึกษาที่นี่จริง ๆ

 6. ถามเกี่ยวกับกิจกรรมที่เคยเข้าร่วม คำถามนี้ไม่ใช่การชวนคุย แต่เป็นคำถามที่จะดูว่าคุณเป็นคนมีสาระหรือไม่ ใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์หรือเปล่า และกิจกรรมที่คุณเคยทำสอดคล้องกับคณะที่จะเรียนมากน้อยพียงใด แนวคำตอบ ข้อนี้คุณอาจจะตอบสร้างภาพเกี่ยวกับกิจกรรมที่สอดคล้องกับคณะที่จะเข้าก็ได้ หรือถ้าคุณจะตอบแบบตรงไปตรงมา ก็ขอให้คุณอธิบายเพิ่มเติมไปว่า เพราะอะไรถึงเข้าร่วม และกิจกรรมที่ทำมีประโยชน์อะไรบ้าง แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนหรอกที่จะทำกิจกรรมที่ตรงกับอาชีพหรือคณะที่เรียน ขนาดหมอยังไปเตะบอล ทั้งที่ไม่ได้จบคณะพละศึกษาสักหน่อย

 7. ข้อดีคืออะไร แน่นอนว่าหลายคนย่อมมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย แต่ข้อดีของคุณมันดีต่อคนอื่นหรือเปล่านั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง แนวคำตอบ ให้คุณตอบไปเลยอย่างมั่นใจว่าคุณมีข้อดีอะไรบ้าง แต่อย่าลืมที่จะเติมท้ายไปว่า ข้อดีของคุณดีต่อคนอื่นอย่างไร

 8. ข้อเสียคืออะไร บางคนอาจตอบอย่างมั่นใจว่า ‘ไม่มี' เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับตนเอง แต่คุณอย่าลืมคิดไปว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรเพอร์เฟ็ก และคนที่รู้ข้อเสียของตนเองก็ดูเป็นคนน่าคบหามากกว่าคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีข้อเสียอะไร แนวคำตอบ ข้อนี้คุณควรตอบข้อเสียของคุณออกไปเลยอย่างมั่นอกมั่นใจ แต่อย่าลืมที่จะบอกวิธีแก้ไขข้อเสียของคุณเข้าไปด้วย เช่น ‘เป็นคนไม่รอบคอบ แต่ก็พยายามทวนสิ่งที่ต้องทำหรือสิ่งที่สำคัญทุกครั้งก่อนไปทำอย่างอื่นค่ะ/ครับ' คำตอบแนวนี้จะช่วยให้เขาคิดว่า คุณเป็นคนยอมรับในข้อผิดพลาดของตัวเองและพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอ 

9. ถามการเดินทาง หลายคนอาจมองว่าเป็นคำถามไร้สาระ แต่เชื่อหรือไม่ว่าระยะการเดินทางมาเรียน ถือเป็นสาเหตุหลักให้รุ่นพี่ของคุณโดนรีไทล์มาแล้ว ดังนั้นก่อนตอบต้องคิดให้ดี และตอบอย่างมั่นใจ แนวคำตอบ ให้คุณตอบไปตามความจริง เพราะอย่าลืมว่า เขามีที่อยู่ของคุณอยู่ในมือ ซึ่งถ้าหากคุณพักอยู่ไกลก็ให้ตอบไปเลยว่าไกล แต่จะพยายามออกเดินทางให้เร็วขึ้น คุณอาจจะเล่าแผนการเดินทางมาเรียนให้เขาฟังก็ได้ หรือเสริมท้ายไปว่า หากได้เข้าเรียนที่นี่แล้วระยะทางเป็นอุปสรรคต่อการเรียนจริง ๆ จะหาที่พักที่เดินทางสะดวกครับ/ค่ะ 

10. มีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมหรือไม่ คำถามนี้ไม่ใช่คำถามเล่น ๆ อย่างแน่นอน เพราะหลายคนที่กำลังนั่งสัมภาษณ์อยู่คงมีคำถามมากมายอยู่ในหัว อาจจะเกี่ยวกับกำหนดประกาศผล หรือขอคำแนะนำในการเตรียมตัวเมื่อรู้ผลก็ได้ แนวคำตอบ ข้อนี้ไม่มีคำตอบตายตัว แต่ขอแนะนำว่า ให้คุณถามข้อสงสัยที่มีอยู่ออกไปทั้งหมด แต่ต้องเป็นคำถามที่ Make Sense หน่อย เช่น ถ้าไม่ผ่านจริง ๆ ทางคณะมีแนวทางการช่วยเหลืออะไรบ้าง เป็นต้น แต่อย่าเงียบหรือตอบว่า ‘ไม่มี' เพราะคุณจะดูเป็นคนไม่มีความใส่ใจไปเลยทันที อย่างไรก็ตาม 

บทความนี้เป็นเพียงแนวทางในการเตรียมตัวเข้าสอบสัมภาษณ์เท่านั้น ซึ่งคำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่โดยส่วนมากจะโดนถามไม่น้อยกว่า 90% หลายคนอาจมองว่าเป็นคำถามเบสิคและอาจมองข้ามไป แต่คำถามเบสิคเหล่านี้นี่แหละที่หลายคนสมองไม่ทำงานระหว่างโดนถามมาแล้วทั้งนั้น และขอแนะนำว่า คำถามที่คิดว่าง่าย บางทีอาจเป็นตัวชี้ชะตาชีวิตคุณเลยก็ได้ สำหรับข้อแนะนำในการเตรียมตัวเข้าสอบสัมภาษณ์ก็ไม่มีอะไรมาก เพียงเตรียมเอกสารไปให้ครบ พักผ่อนให้เพียงพอ แต่งตัวให้เรียบร้อย ยิ้มแย้มอยู่เสมอ และที่ขาดไม่ได้เลยคือ มีสติทุกครั้งก่อนตอบ ให้คิดอยู่เสมอว่าไม่มีใครมาแย่งคุณตอบหรอก ดังนั้นใช้เวลาของคุณให้มีค่าที่สุดก็พอ