ขั้นตอนการทำแฟ้มผลงาน

สวัสดีค่ะน้องๆทุกคน วันนี้พี่เอิธ SMP NEWS จะมาแชร์เทคนิคการทำ Portfolio ที่พี่ได้ไปรวบรวมมาให้อย่างละเอียดที่สุด สำหรับน้องๆทุกคนที่กำลังสนใจ อยากจะยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในรอบที่ 1 Portfolio หรือที่เรียกอีกชื่อนึงว่า รอบแฟ้มสะสมผลงาน ใน TCAS66 นี้

แต่เท่านี้ยังไม่พอนะคะ พี่เอิธได้นำ ตัวอย่าง Portfolio ของรุ่นพี่ที่น่าสนใจมากๆ มาให้น้องๆทุกคนได้ดูเป็นแนวทาง เผื่อจะได้ไอเดียดีๆไปปรับใช้กับตัวเองดูนะคะ จะเป็นยังไงบ้าง ไปดูกันเลย…..

Portfolio ที่ดี ควรมีอะไรบ้าง?

1.หน้าปก

2.คำนำ (เหตุผลที่อยากเข้าคณะ/สาขานี้)

3.ประวัติส่วนตัว

4.ประวัติการศึกษา

5.กิจกรรมที่โดดเด่น

6.เกียรติบัตรรางวัล

7.ใบรับรองจากอาจารย์ ***มีก็ดี ไม่มีก็ได้

8.หน้าปิดท้าย

ภาพรวมรูปเล่ม Portfolio

จำนวนหน้าไม่ควรเกิน 10 หน้า (ไม่รวมหน้าปก) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด

ใช้ขนาดตัวอักษรและฟอนต์ ที่อ่านง่าย และไม่หลากหลายรูปแบบจนเกินไป

– โทนสี หรือลวดลายที่เลือกใช้ควรเป็นธีมเดียวกันทั้งเล่ม 

แต่พี่เอิธมีทริคเล็กๆมาแนะนำนะคะ สำหรับน้องๆที่นึกโทนสีไม่ออก ลองไปศึกษาดูว่า มหาวิทยาลัย/คณะ/สาขา ที่น้องๆสนใจจะยื่นในรอบ Portfolio นี้ ใช้สีอะไรเป็นสีประจำ 

เราก็สามารถนำโทนสีนั้นมาใช้พร้อมกับใส่ความครีเอทของตัวเองเข้าไป แค่นี้เอง ง่ายมากๆเลยใช่มั้ยคะ>_<

***ยกเว้นในกรณีที่ยื่นเข้าคณะ/สาขาที่เน้นโชว์ความสร้างสรรค์ของ Portfolio สูงมากๆ เช่น ออกแบบแฟชั่น สถาปัตยกรรม น้องๆก็จะต้องใส่ความครีเอทีฟและนอกกรอบของตัวเองเข้าไปอีกนะคะ

Portfolio ควรมีอะไรบ้าง?

ส่วนที่ 1 : หน้าปก

ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญมาก ในการที่กรรมการจะตัดสินว่า เขาจะเปิดดูพอร์ตของเราหรือไม่

ไม่ว่าเนื้อหาภายในเล่มจะดีแค่ไหน แต่ถ้าหน้าปกไม่น่าสนใจ กรรมการเขาก็จะไม่ดึงดูดใจให้เปิดดูนะคะ ดังนั้นน้องๆ สามารถออกแบบโดยการใส่ความคิดสร้างสรรค์และความเป็นตัวของตัวเองลงไป ได้อย่างเต็มที่เลย  แต่เนื้อหาที่ควรจะมีก็ต้องใส่ให้ครบถ้วนด้วยนะคะ

ขั้นตอนการทำแฟ้มผลงาน

– ควรออกแบบให้มีความโดดเด่น น่าสนใจ ตรงกับธีมของคณะ/สาขาที่น้องๆได้เลือกมาเพื่อดึงดูดใจคณะกรรมการ

– รูปที่เลือกใช้ควรเป็นรูปที่สวมใส่ชุดนักเรียน และเห็นใบหน้าที่ชัดเจน 

– ใส่รายละเอียดให้ชัดเจนว่าจะสมัครมหาวิทยาลัยไหน คณะ และสาขาอะไร 

– ควรมีประวัติส่วนตัวของตัวเองเล็กน้อย เพื่อยืนยันตัวตน

  • ชื่อจริง – นามสกุล
  • ชื่อเล่น (มีหรือไม่มีก็ได้)
  • ชื่อโรงเรียน
  • ชื่อมหาวิทยาลัย/คณะ/สาขา ที่ยื่น

ส่วนที่ 2 : คำนำ

เป็นส่วนที่น้องๆจะต้องบอกถึงเหตุผลที่อยากเข้าศึกษาที่นี่ เพราะอะไร สิ่งไหนที่เป็นแรงบันดาลใจ
โดยมีจุดที่สำคัญคือ น้องๆจะต้องเขียนออกมาให้กรรมการอ่านแล้วรู้ว่า เราทำการบ้านมานะ
เช่น คณะ/สาขานี้เรียนเกี่ยวกับอะไร น่าสนใจตรงไหน และเหมาะกับเรายังไง ซึ่งก็จะต้องใช้คำพูดในเชิงบวกด้วยนะคะ

ขั้นตอนการทำแฟ้มผลงาน

– ไม่ควรมีจำนวนเกิน 1 หน้ากระดาษ A4

– บอกเล่าออกมาให้เห็นถึงความตั้งใจ ความมุ่งมั่น และความพยายาม รวมถึงทัศนคติที่ดีต่อคณะ/สาขาที่ยื่น

– เขียนออกมาเป็นรูปแบบเรียงความแบบย่อ ไม่ต้องยาวจนเกินไป ประโยคไหนอยากให้กรรมการสนใจเป็นพิเศษ สามารถเน้นย้ำได้

ส่วนที่ 3 : ประวัติส่วนตัว

ส่วนนี้เปรียบเสมือนการได้แนะนำตัวเองของน้องๆกับกรรมการ ดังนั้น ข้อมูลที่ใส่ลงไปควรตรวจเช็กให้ถูกต้องและครบถ้วนที่สุด โดยเฉพาะส่วนของข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อกลับไปนะคะ

ขั้นตอนการทำแฟ้มผลงาน

– รูปที่เลือกใช้ควรเป็นรูปนักเรียน หรือรูปภาพที่เห็นหน้าตาชัดเจน

– ใส่ข้อมูลส่วนตัวพื้นฐาน ให้ครบถ้วน และควรเป็นข้อมูลที่ตรงตามบัตรประชาชน

– เพิ่มเติมในส่วนของงานอดิเรกเข้าไป เพื่อบ่งบอกความเป็นตัวเองมากยิ่งขึ้น

– ควรใส่ข้อมูลความสามารถพิเศษ ซึ่งถ้าเกี่ยวข้องคณะ/สาขาที่ยื่น จะยิ่งส่งเสริมกันขึ้นไปอีก

– ข้อมูลครอบครัว ควรที่จะใส่เพื่อสำรองข้อมูล ในกรณีที่เกิดปัญหาแล้วติดต่อน้องๆไม่ได้

– ช่องทางการติดต่อ/ข้อมูลติดต่อ จะต้องเป็นข้อมูลที่อัพเดทล่าสุด หากเกิดอะไรขึ้นจะได้ติดต่อกลับได้อย่างถูกต้อง

ส่วนที่ 4 : ประวัติการศึกษา

ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่แสดงถึงผลการเรียนที่ผ่านมาของน้องๆว่า มีการพัฒนาขึ้นหรือลดลงอย่างไร และเกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) ด้วยว่า ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกหรือไม่ รวมถึงประวัติการเข้าศึกษาในโรงเรียนต่างๆอีกด้วย

ขั้นตอนการทำแฟ้มผลงาน

– ชื่อโรงเรียนที่จบมา ในแต่ละระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย

– เกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในแต่ละชั้นปี

ส่วนที่ 5 : กิจกรรมที่โดดเด่น

ส่วนนี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน ที่น้องๆจะได้บอกเล่าถึงความสามารถพิเศษของตนเอง
ผ่านกิจกรรมที่ได้เข้าร่วมแข่งขัน ดังนั้น น้องๆจะต้องเลือกกิจกรรมที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับ
คณะ/สาขาที่จะยื่นด้วยนะคะ

ขั้นตอนการทำแฟ้มผลงาน

– คัดเลือกกิจกรรมที่โดดเด่น เข้ารอบ หรือได้รับรางวัล (โดยเรียงจากรางวัลใหญ่ เล็ก)
และเกี่ยวข้องกับคณะ/สาขา ที่ยื่น ส่วนกิจกรรมที่ไม่มีความเกี่ยวข้องควรตัดทิ้ง ไม่ควรใส่กิจกรรมเยอะจนเกินไป

– เลือกใช้รูปภาพที่เห็นตัวเองขณะทำกิจกรรมนั้นได้อย่างชัดเจน ภาพไม่ควรมีขนาดที่เล็กจนเกินไป (ควรใส่เครื่องหมายในรูปด้วยว่า เราคือคนไหนในรูปภาพนี้)

– อธิบายรายละเอียดของกิจกรรมให้กระชับ เข้าใจง่ายและเห็นภาพ รวมถึงรางวัลที่ได้รับจากการแข่งขันนี้ด้วย

ส่วนที่ 6 : เกียรติบัตรรางวัล

เป็นส่วนที่จะแสดงผลงาน/รางวัล/เกียรติบัตรต่างๆ ของน้องๆที่รวบรวมตลอดการศึกษาที่ผ่านมา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถพิเศษของน้องๆ และบ่งบอกว่าเป็นเด็กกิจกรรมอีกด้วย ซึ่งผลงานที่เลือกมานั้นควรมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับคณะ/สาขาที่จะยื่น หรือสามารถส่งเสริมภาพลักษณ์ ทัศนคติที่ดีให้กับน้องๆได้นะคะ

ขั้นตอนการทำแฟ้มผลงาน

– ผลงานควรเรียงจากรางวัลใหญ่ ไปรางวัลเล็ก เช่น การแข่งขันระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับภายในโรงเรียน

– ควรแสกนรูปภาพผลงาน แบบสี เพื่อความสวยงาม ชัดเจน ขนาดรูปภาพไม่ควรเล็กจนเกินไป
จะทำให้เห็นรายละเอียดได้ไม่ชัดเจน

– ต้องเขียนคำบรรยายใต้ภาพด้วยว่า เราเข้าร่วมกิจกรรมหรือการแข่งขันอะไร และได้รับรางวัลอะไรมาบ้างในทุกๆภาพให้กระชับที่สุด

ควรมีใบรับรองจากอาจารย์ในพอร์ตฟอลิโอ

เป็นส่วนที่ให้อาจารย์ประจำชั้น อาจารย์ที่ปรึกษา หรืออาจารย์ที่สนิทของน้องๆ  มาเขียนบรรยายถึงพฤติกรรม บุคลิกภาพ นิสัย ผลการเรียนของน้องๆเมื่ออยู่ภายในโรงเรียน  ซึ่งจะทำหรือไม่ทำก็ได้แต่ถ้าทำก็จะช่วยยืนยันและส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับน้องๆมากขึ้นไปอีกค่ะ

ขั้นตอนการทำแฟ้มผลงาน

– ต้องให้อาจารย์เขียนบรรยายด้วยลายมือส่วนตัวเท่านั้น พร้อมลงลายเซ็นกำกับให้ชัดเจน

– ควรเป็นรูปภาพที่แสกนออกมาเพื่อความชัดเจน และไม่ควรใช้เอกสารฉบับจริง
เพราะน้องๆอาจจะต้องนำไปใช้ยื่นพอร์ตหลายที่ได้

หน้าปิดท้าย : เพื่อให้ Portfolio มหาวิทยาลัย สมบูรณ์

เป็นส่วนที่ไม่มีก็ได้เช่นกัน แต่ถ้ามีก็จะทำให้ Portfolio เล่มนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยที่น้องๆสามารถใส่คำว่า ขอบคุณค่ะ หรือ Thank you ปิดท้าย ก็จะช่วยให้ไม่จบแบบห้วนจนเกินไป

แต่พี่เอิธขอแอบแนะนำนิดนึงนะคะว่า น้องๆสามารถใส่ คติประจำใจของน้องๆ เข้าไปอีกได้นะคะ
เพื่อการปิดจบที่สวยงามมากขึ้นไปอีกค่ะ

ขั้นตอนการทำแฟ้มผลงาน

ตัวอย่างพอร์ตของพี่ๆ เอาไปเป็นแนวทาง

ซึ่งพี่ได้นำ Portfolio ของรุ่นพี่ ที่ได้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัย พร้อมตัวอย่างในการทำพอร์ตโฟลิโอ มาให้น้องๆดูเป็นแนวทางแล้ว

คลิกดูตัวอย่างพอร์ต

และนี่ก็เป็นเทคนิคการทำพอร์ตฟอลิโอทั้งหมดที่พี่เอิธ SMP NEWS ได้นำมาแชร์ให้กับน้องๆทุกคนกันในวันนี้นะคะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆไม่มากก็น้อยเนอะ และพี่ก็ขออวยพรให้น้องๆ Dek66 ที่จะยื่น Portfolio ในรอบที่ 1 นี้สมหวังดังใจกันทุกคนเลยนะคะ สู้ๆนะเด็กๆ^_^

ขั้นตอนการทำแฟ้มสะสมผลงานมีอะไรบ้าง

ในการดําเนินงานนั้น อาจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบางขั้นตอน แต่ก็มีขั้นตอนหลักๆ อยู่ 4 ขั้นตอน คือ 1. การรวบรวมผลงานหรือหลักฐาน 2. การคัดเลือกผลงาน 3. การแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึก 4. การประเมินผลงาน

ขั้นตอนแรกในการทำ Portfolio คือขั้นตอนใด

1.เตรียมส่วนสำคัญของ Portfolio. เตรียมส่วนสำคัญที่คาดว่าจะได้ใช้แน่นอนไว้ก่อน ส่วนไหนไม่ตรงตามมหาวิทยาลัยกำหนด ค่อยทำเพิ่มเติมทีหลัง 2.เตรียม Portfolio รูปแบบเต็ม เตรียม Portfolio ในแบบของเราไว้ก่อนได้เลย หากศึกษารายละเอียดระเบียบการแล้วมหาวิทยาลัยกำหนดรายละเอียดของ Portfolio มาให้ด้วย ก็ปรับเนื้อหาให้ตรงตามที่กำหนด

ข้อใดคือขั้นตอนแรกของการจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน *

ขั้นตอนการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน มีขั้นตอนที่สำคัญ 10 ขั้นตอน คือ.
การวางแผนการจัดทำแฟ้มสะสมงาน.
การเก็บรวบรวมผลงาน.
การคัดเลือกงานหรือหลักฐาน.
การแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกต่อผลงาน.
การตรวจสอบความสามารถของตนเอง.
การประเมินผลงาน.
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับแฟ้มสะสมงาน.
การปรับเปลี่ยนผลงาน.

แฟ้มสะสมผลงานต้องมีอะไรบ้าง

หน้าปก ... .
ประวัติส่วนตัว ... .
ประวัติทางการศึกษา ... .
รางวัลและผลงานที่ได้รับ ... .
ผลงานที่ประทับใจ ... .
กิจกรรมที่ทำระหว่างเรียน ... .
ผลงานตัวอย่าง ... .
ความสามารถพิเศษด้านต่าง ๆ.