การออกแบบผลิตภัณฑ์ ตัวอย่าง

Post Views: 14,147

หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ และ บรรจุภัณฑ์ 

การออกแบบผลิตภัณฑ์ ตัวอย่าง

ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และ บรรจุภัณฑ์ นอกจากความสวยงาม น่าสนใจแล้ว สิ่งที่หลายคนลืม ไม่เคยนึกถึง หรือ อาจจะไม่รู้เลยด้วยซ้ำ ว่าจะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้เข้ามาร่วมด้วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และ บรรจุภัณฑ์ด้วย

ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และ บรรจุภัณฑ์ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย 

เป็นเรื่องแรก ๆ ทีเราควรต้องรู้ว่าสินค้าของเราเหมาะกับใคร ผู้ประกอบการต้องเข้าใจความต้องการของตลาด ความต้องการของผู้บริโภค โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์ และ บรรจุภัณฑ์ให้ตรงต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด เช่น วัย เพศ อายุ ที่อยู่อาศัย ลักษณะความชอบ ความต้องการในการใช้สินค้า 

การกำหนดกลุ่มเป้าหมายนอกจากคำนึงถึงตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว เรียกว่ากลุ่มเป้าหมายโดยตรง เรายังต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่ซื้อแต่ได้บริโภคเองด้วย เช่น ของฝาก อาหารเด็ก น้ำหอม เครื่องประดับ โดยผู้ซื้ออาจจะไม่ได้นำไปบริโภคเองแต่ซื้อเพราะนำไปให้คนอื่น ดังนั้นปัจจัยเหล่านี้ต้องรวมเข้าไปในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายด้วย

2. กำหนดชื่อตราสินค้า

ชื่อสินค้าก็เปรียบเหมือน “ชื่อคน” หากกำหนดให้เรียกยากเกินไปก็ไม่เกิดการจดจำเพราะจำยาก หากกำหนดให้เขียนยาก-สะกดยากก็ไม่เกิดการจดจำอีกเช่นกัน

ส่วนมากผู้ประกอบการมักจะนำชื่อบริษัท สถานที่ตั้ง ชื่อจดทะเบียน ชื่อตนเอง ชื่อที่เป็นมงคล คำอื่น ๆ ที่นำมาผสมกันให้เกิดคำ ชื่อที่เป็นมงคล ฯลฯ

ดังนั้นหลักการที่ควรจำในการกำหนดชื่อตราสินค้าควรเป็นดังนี้

  • จดจำง่าย อ่านง่าย เขียนง่าย 
  • มีเอกลักษณ์ โดดเด่น
  • ไม่พยายามลอกเลียนแบรนด์อื่น หรือ ทำให้เกิดความเข้าใจผิด
  • บอกถึงคุณสมบัติสินค้า
  • ไม่เป็นคำที่ชวนให้เข้าใจผิดไปจากคุณสมบัติสินค้า
  • จดทะเบียนได้ โดยไม่ซ้ำกับแบรนด์อื่น

เหล่านี้ล้วนเป็นหลักการคร่าว ๆ ของการกำหนดชื่อตราสินค้า โดยนำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม

3. วัสดุที่ใช้ผลิตในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และ บรรจุภัณฑ์

วัสดุมีความสำคัญในแง่ของความแข็งแรงในการขนส่ง สร้างภาพลักษณ์ให้ผลิตภัณฑ์ ปกป้องผลิตภัณฑ์ไม่ให้เกิดความเสียหาย

ดังนั้นวัสดุจึงมีความสำคัญในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และ บรรจุภัณฑ์เป็นอย่างมาก ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของเรา เช่น มิตรต่อผู้ใช้ และ สิ่งแวดล้อม รีไซเคิลได้ ย่อยสลายได้ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ผลิตจากธรรมชาติ กันน้ำ แข็งแรง คุณภาพสูงต้นทุนต่ำ ฯลฯ

4. รูปทรงลักษณะบรรจุของบรรจุภัณฑ์

นอกจากความสวยงามแล้ว ควรคำนึงถึงความคงทนในการขนส่ง ภาพลักษณ์ของสินค้า การสร้างความน่าสนใจ ง่ายต่อการใช้งาน มีเอกลักษณ์แต่สามารถใช้งานได้จริง

5. การออกแบบกราฟิก

เราลองนึกถึงเวลาเราเลือกผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งในตลาดดูสิครับ สินค้าออกใหม่เหมือนกัน ชนิดเดียวกัน ประเภทเดียวกัน ราคาเท่ากัน วางอยู่ในชั้นขายสินค้าอันเดียวกัน อะไรคือเหตุผลว่าเราจะหยิบสินค้าชิ้นไหน

หากยังจำบทความ “สีกับจิตวิทยาในการจูงใจลูกค้า” (หรือยังไม่ได้อ่าน คลิก) จะเห็นได้ว่าปัจจัยในการเลือกสินค้าของผู้บริโภคมักใช้ “อารมณ์” ในการเป็นตัวตัดสินใจในการเลือกสินค้าชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ดังนั้นการออกแบบกราฟิกจึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสม การสื่ออารมณ์ เนื้อเรื่อง เนื้อหา การรับรู้ ลวดลาย การใช้ตัวอักษร ที่มาของผลิตภัณฑ รายละเอียดต่าง ๆ ของประเภทผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใส่ลงไปด้วย

ผู้สนับสนุน

บทความแนะนำ:

บทความล่าสุด

2020-08-28

DESIGN PATENT

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

ความคิดสร้างสรรค์วเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น การออกแบบแก้วน้ำให้มีรูปร่างเหมือนรองเท้า เป็นต้น ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม คือเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ ยังไม่มีใช้แพร่หลายในประเทศหรือยังไม่ได้เปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสาร หรือสิ่งพิมพ์ก่อนวันขอรับสิทธิบัตร หรือไม่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการ คือ

  1. ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่
  2. ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใหม่

                พ.ร.บ.สิทธิบัตร ไม่ได้ให้คำนิยามไว้โดยตรงว่ากาออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่คืออะไร หรือมีลักษณะอย่างไร เพียงแต่ระบุถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ไว้ 4 ประเภทดังนี้

                1.แบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้ว คือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ หรือ มีการใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์อย่างแพร่หลายอยู่แล้วในประเทศก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ตัวอย่างเช่น ผู้ออกแบบได้นำผลิตภัณฑ์นั้นไปผลิตผลิตภัณฑ์และวางขายจำหน่ายก่อนที่จะยื่นขอรับสิทธิบัตร ก็ถือว่าไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้

                2.แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสาร หรือ สิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ถือว่าไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปิดเผยต่อสาธารณชนโดยวิธีในลักษณะอื่น เช่น การนำแบบผลิตภัณฑ์ออกแสดงในนิทรรศการ หรือการประชุมการวิชาการ เป็นต้น

                3.แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการประกาศโฆษณามาก่อนวันขอรับสิทธิบัตร คือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทย และได้มีการพิมพ์ประกาศโฆษณาแล้วกฎหมายถือว่าไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่

                4.แบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ประเภทที่ (1)-(3) มากจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ คือแบบผลิตภัณฑ์ที่แม้จะไม่เหมือนกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วทุกกประการ แต่มีสาระสำคัญเหมือนหรือคล้ายกันมากให้ถือว่าไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หลักเกณฑ์นี้คล้ายกับหลักเกณฑ์ในเรื่องขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของการประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้

1368สายด่วนกรมทรัพย์สินทางปัญญา / ติดต่อ 02-528-7010

รองรับการทำงานบน Internet Explorer v9+, Firefox v.20+, Safari v.5+, Chrome v.25+, Opera v.10+

การออกแบบผลิตภัณฑ์ ตัวอย่าง
กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
เลขที่ 563 ถนนนนทบุรี  ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 อีเมล์ : สายด่วน 1368 

สงวนลิขสิทธิ์ © 2564 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์