ผลงานทัศนศิลป์ของไทยในปัจจุบัน

 ผลงานทัศนศิลป์ของศิลปินที่มีชื่อเสียง

ตัวชี้วัด 1. สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ไทย สากล โดยศึกษาจากแนวคิดและวิธีการสร้างงานของ                                     

                 ศิลปินที่ตนชื่นชอบ(ศ 1.1 ม.4-6/10)

  2.ระบุงานทัศนศิลป์ของศิลปินที่มีชื่อเสียง และบรรยายผลตอบรับของสังคม(ศ  1.2 .4-6/2)                                   

                                              ผลงานทัศน์ศิลป์ของศิลปินที่มีชื่อเสียง

                                          -ผลงานทัศนศิลป์ของศิลปินไทยและต่างประเทศ

                                          -ความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์กับสังคม

     สาระการเรียนรู้

 1.ผลงานทัศนศิลป์ของศิลปินไทยและต่างประเทศ

    -ผลงานทัศนศิลป์ของศิลปินไทยที่มีชื่อเสียง

    -ผลงานทัศนศิลป์ของศิลปินไทยที่มีชื่อเสียง

2.ความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์กับสังคม

    -ผลงานทัศนศิลป์ อิทธิพลต่อสังคมและผลตอบรับ

แนวคิดหลัก การศึกษาผลงานทัศนศิลป์ของศิลปินที่มีชื่อเสียง ทั้งศิลปินไทยและสากล รวมถึงความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์กับสังคม  จะทำให้ทราบถึงแนวคิด วิธีการของศิลปิน และผลตอบรับของสังคมที่มีต่อผลงาน เพื่อนำไปปรับใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียน

   คำถามท้ายหน่วย

   -นักเรียนคิดว่า ภาพวาด  โมนาลิซ่า  เป็นผลงานของศิลปินคนใด

   -นักเรียนคิดว่า ทัศนศิลป์กับสังคมมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ยกตัวอย่างมา 1 ข้อ

ผลงานทัศนศิลป์ของศิลปินไทยและต่างประเทศ

ศิลปินด้านจิตกรรม

1.            อาจารย์ถวัลย์   ดัชนี

ผลงานของถวัลย์   ดัชนี เป็นที่ยอมรับและยกย่องทั้งในและต่างประเทศ การสร้างสรรค์ผลงานเกิดจากการนำแนวปรัชญาพุทธศิลป์มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ศิลปะไทยร่วมสมัยที่ทรงพลัง ลุ่มลึก และแกร่งกร้าว มีเนื้อหาสาระและท่วงทีที่มีชีวิตวิญญาณของความเป็นไทย รวมถึงผสมผสานระหว่างแนวปรัชญาตะวันออกและตะวันตกเข้าไว้ในผลงาน

      2.  รองศาสตราจารย์ปริญญา   ตันติสุข

           ปริญญา   ตันติสุข  สร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยการนำเสนอและเข้าร่วมแสดงในนิทรรศการศิลปะสำคัญๆทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอตลอดมา  ทั้งการจัดนิทรรศการเดี่ยวและนิทรรศการกลุ่ม  ผลงานปริญญาแสดงถึงการเริ่มต้นด้วยความคิดและรูปแบบที่เกี่ยวโยงกับรูปธรรม  แล้วเปลี่ยนแปรห่างออกไปด้วยจินตนาการและศิลปินโดยมีการประสานสัมพันธ์ของสีเป็นวิธีสำคัญ  จนกลายเป็นงานแบบนามธรรมไปในที่สุด

    ศิลปินด้านจิตกรรมและสื่อผสม

1.       อาจารย์ธงชัย   รักประทุม

ธงชัย   รักประทุม  เป็นศิลปินที่มีความเชี่ยวชาญด้านศิลปะทั้งไทยและสากล  ด้วยเพราะเคยได้รับทุนไปศึกษาต่อด้านศิลปะร่วมสมัยที่ประเทศอิตาลี ธงชัยได้สร้างผลงานด้วยความมุ่งมั่นและแน่วแน่อยู่บนเส้นทางเดินของการสร้างศิลปะร่วมสมัยมาต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน   ผลงานมีลักษณะเฉพาะตัวและโดดเด่น   มีเนื้อหาสาระและแนวคิดที่ก้าวลึกไปสู่วิถีชีวิตในเชิงวัฒนธรรมของสังคมยุคใหม่ 

 ผลงานล่าสุดของปี 2555 มีรูปแบบทั้งผลงานจิตกรรม 2 มิติ กึ่ง 3 มิติ โดยมีการเชื่อมสัมพันธ์อย่างลงตัวกับรูปร่าง  รูปทรง พื้นผิววัสดุ  และความคิดฝัน  เป็นผลงานที่มีความก้าวหน้าทัดเทียมกับศิลปะของนานาอารยประเทศ

เกร็ดความรู้

   ศิลปะแบบสื่อผสม (Mixed Media)  เป็นวิจิตรศิลป์  ในการนำสื่อมากกว่าสองสื่อขึ้นไปมาสร้างเป็นผลงานต่างๆ โดยนิยมใช้สื่อที่แตกต่างกันมานำจุดเด่นใช้ร่วมกัน  ได้แก่ งานจิตกรรม   ปติมากรรม  ภาพพิมพ์  และงานวาดเส้น  ศิลปะสื่อผสมอาจมีลักษณะเป็น 2 มิติหรือ 3 มิติก็ได้  ศิลปะสื่อผสมนอกจากจะเป็นศิลปะสมัยใหม่แล้วยังเป็นงานสะท้อนให้เห็นสังคมในรูปแบบต่างๆด้วย เพราะปัจจุบันการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ไม่ได้อยู่แค่บนกระดาษหรือผ้าใบ  แต่เป็นการพัฒนาการสร้างผลงานผสมกันทั้งการวาดเขียน  การระบายสี  การพิมพ์  เป็นต้น  ผสมผสานกับเทคโนโลยีใหม่ๆ  เช่น วีดิโอ  คอมพิวเตอร์  ซึ่งเป็นสื่อใหม่ๆ  ที่มีการพัฒนาตลอดเวลาและมีความทันสมัยในปัจจุบัน

2.ศาสตราจารย์กมล  ทัศนาญชลี

     กมล  ทัศนาญชลี   เป็นศิลปินที่ได้รับการยกย่องทั้งในและต่างประเทศ  ผลงนาของกมลมีเอกลักษณ์ตามแนวทางสากลที่มีพื้นฐานจากศิลปะแบบประเพณี  วิถีชีวิตไทย  มีการใช้สื่อผสมในการสร้างสรรค์งานจิตกรรมทั้งรูปแบบ 2 มิติและ 3 มิติ  อาศัยเทคนิควัสดุสมัยใหม่สะท้อนการเชื่อมโยงเรื่องราววัฒนธรรมระหว่างตกวันตกและตะวันออก   ทำให้ผลงานมีความร่วมสมัย

3. ศาสตราจารย์   วราชุน

      ผลงานในช่วงแรกๆ ของเดชา   วราชุน  เป็นผลงานภาพพิมพ์   โดยใช้ประสบการณ์จากการรวบรวมข้อมูลของรูปทรงที่สนใจทั้งจากรูปทรงเลขาคณิตและเริ่มทำงานสื่อวัสดุปะปิดด้วยการใช้มวลธาตุทางทัศนศิลป์เป็นมูลเหตุสำคัญในการสร้างผลงาน  เดชาพัฒนาภาพผลงานอย่างต่อเนื่องตามลำดับจนได้รับเกียรติเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมประเภทภาพพิมพ์ในปี 2525 เดชาเปลี่ยนแปลงการสร้างผลงานให้จริงจังขึ้นเมื่อปี 2539 เพื่อต้องการสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตของสังคมปัจจุบันที่ดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมของความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ศิลปินด้านประติมากรรม

1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์เขียน  ยิ้มศิริ

      เขียน  ยิ้มศิริ  เป็นบรมครูด้านการสร้างสรรค์งานประติมากรรมและด้านวิชาการศิลปะคนสำคัญของไทยเป็นศิลปินผู้บุกเบิกในการนำเอาคุณค่าลักษณะแนวไทยมาเป็นรูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงาน  โดยจะเห็นได้ถึงพัฒนาการจากประติมากรรมแนวไทยประเพณีคลี่คลายมาสู่ประติมากรรมแบบร่วมสมัยที่แฝงความเป็นไทยอยู่  เนื้อหาของการแสดงออกเป็นอิริยาบถต่างๆ  ที่อ่อนช้อยละเมียดละไมให้ความรู้สึกถึงความงามของเส้นที่เคลื่อนไหวประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์  จนได้รับเกียรติเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมเมื่อปี 2496

2.ศาสตราจารย์ชลูด  นิ่มเสมอ

        ชลูด    นิ่มเสมอ ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะหลายด้าน  ผลงานยุคแรกๆ  เป็นผลงานด้านจิตรกรรมที่แสดงวิถีชีวิตของชนบท  ที่แสดงถึงความสัมพันธ์  ความเอื้ออาทรที่มีในสังคม  ระยะต่อมาชะลูดได้สร้างสรรค์ผลงานด้านประติมากรรมซึ่งมีรูปแบบหลากหลาย เช่น การนำวัสดุท้องถิ่นมาประกอบในผลงาน  เพื่อแสดงความผูกพันที่มีต่อชนบท  ผลงานที่มีชื่อเสียงส่วนมากจะเป็นประติมากรรมติดตั้งภายนอกอาคาร เช่น ผลงาน  โลกุตระ” ที่หน้าอาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

อาจารย์นนทิวรรธน์   จันทนะผะลิน

        นนทิวรรธน์  จันทนะผะลิน  เป็นศิลปินที่สร้างสรรค์งานศิลปะมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 37 ปี และเป็นประติมากรที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทย  ผลงานที่โดดเด่นเป็นรูปทรง 3 มิติ มีความสำคัญของเส้นและปริมาตรอันกลมกลืนงดงาม  โดยนำเสนอผ่านความรู้สึก  อารมณ์  และความปรารถนา  เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงความเป็นจริงของธรรมชาติต่อมาในภายหลังได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีเนื้อหาแฝงปรัชญาทางพระพุทธศาสนา  ผลงานของนนทิวรรธน์ ได้รับรางวัลจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติหลายครั้งรวมทั้งให้สร้างประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อมทั้งในและต่างประเทศ  นอกจากนี้ยังเป็นผู้เผยแพร่ความรู้และสร้างคุณประโยชน์ทางด้านศิลปะแก่สังคมและวงการศึกษาศิลปะของไทยมาโดยตลอด

ศิลปินด้านการพิมพ์

1.ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด  พงษ์ดำ

       ประหยัด  พงษ์ดำ  เป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานที่มีแนวทางเฉพาะ  คือการถ่ายทอดชีวิตสัตว์ในบรรยากาศแบบไทยๆ  โดดเด่นในเรื่องการทำงานด้านภาพพิมพ์  โดยเฉพาะแม่พิมพ์แกะไม้  ซึ่งได้รับการยกย่องว่ามีความเชียวชาญอย่างสูง  ผลงานประหยัดสะท้อนถึงความเรียบง่ายของวิถีชนบท  โดยนำเสนอผ่านเรื่องราวและลักษณะของสัตว์ต่างๆ

2.อาจารย์เฉลิมศักดิ์  รัตนจันทร์

     เฉลิมศักดิ์  รัตนจันทร์  เป็นอาจารย์ผู้สอนศิลปะ และเป็นศิลปินด้านภาพพิมพ์ที่มีความมุ่งมั่นพากเพียรในการสร้างสรรค์ผลงานตามความถนัดเฉพาะตัว  ไม่ว่าจะเป็นภาพพิมพ์ด้วยเทคนิค Silk  Screen  Lithograph  Intaglio  ซึ่งผลงานของเฉลิมศักดิ์ไม่ได้ยึดติดกับเทคนิคใดโดยเฉพาะ  ปัจจุบันเฉลิมศักดิ์ดำรงตำแหน่งคณบดี(คณะศิลปะวิจิตร) สถาบันฑิตพัฒนศิลป์  กระทรวงวัฒนธรรม

ศิลปินด้านสถาปัตยกรรม

1.            สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

          สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงเป็นศิลปินด้านสถาปัตยกรรมพระองค์ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่กับงานศิลปะและวิทยาการ       งานด้านสถาปัตยกรรมเป็นงานที่พระองค์ทรงพิถีพิถันอย่างมากงานสถาปัตยกรรมที่โปรดทำมากคือแบบพระเมรุผลงานที่เป็นที่รู้จักของพระองค์คือ     การออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ  และการออกแบบก่อสร้างอาคารโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

2.            อาจารย์ประเวศ  ลิมปรังษี

   ประเวศ  ลิมปรังษี  เป็นสถาปนิกที่มีความเป็นเลิศในการออกแบบผูกลายไทยได้งดงาม  ผลงานของประเวศเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ  ผลงานสำคัญ  เช่น  การออกแบบอุโบสถ  วัดพุธประทีปกรุงลอนดอน  บูรณะพระธาตุพนม  จังหวัดนครพนม  ออกแบบฐานพระประธานพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ผลงานทัศนศิลป์ของศิลปินต่างประเทศที่มีชื่อเสียง

ศิลปินต่างประเทศที่มีชื่อเสียง : ศิลปินชาย

1.แอนดี  วาร์ฮอล (Andy Warhol) ค.. 1928- ค..  1987

      แอนดี  วาร์ฮอล เป็นราชาแห่ง Pop Art มีชื่อเดิมว่า Andrew Warhola ในปี 1949 เขาได้เปลี่ยนชื่อตัวเองใหม่เป็น “WARHOL” ผลของเขาในช่วงแรกที่ประสบความสำเร็จมากคือภาพ Women is Shoes  ในปี 1960 วาร์ฮอลได้เริ่มวาดรูปที่เป็นงานแบบประชานิยม (Pop Art) ชิ้นแรกโดยมีรากฐานมาจากหนังสือการ์ตูนหลายเรื่อง  เช่น Dick Tracy, Popeye Superman  จากนั้นได้ปรับปรุงงานของตนเองเรื่อยมา  จนกระทั่งในปี 1962 วาร์ฮอลได้วาดภาพ Campbell is Soup   อันโด่งดัง และเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในฐานะของศิลปินแบบ Pop Art  งานที่ค่อนข้างทำให้เขามีชื่อเสียงมากก็คืองานในแบบ Silk Screen ที่ทำเป็นรูปต่างๆมากมาย และภาพเหมือน(Portrait) ของบุคลสำคัญต่างๆในแบบ  Pop Art 

            วาร์ฮอลเป็นศิลปิน Pop Art  ที่จับเอาอะไรๆ ต่างในสังคมช่วงนั้นมาใส่ในงานของเขา โดยผ่านเทคนิคการใช้สีและ Style ที่เป็นแบบเฉพาะของเขาเอง  และเขายังจับเอาสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นสิ่งธรรมดา เช่น กระป๋อง Campbell is Soup   มาทำให้มีคุณค่าทางศิลปะ ถือได้ว่าเป็นการทำงานที่เข้าสู้ความจริงในรูปแบบใหม่ๆ มากยิ่งขึ้น หรือที่เรียกว่า New Realism และวิธีการเช่นนี้ก็เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนตั้งแต่ยุคนั้นจนถึงปัจจุบัน

2.เดวิด ฮอคนี (David Hockney) ค.. 1937 ถึงปัจจุบัน

          เดวิด  ฮอคนี่ เป็นเจ้าพ่อ Pop Art  ชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงมาก  จนเป็นแรงบันดาลใจแก่วงการแฟชั่นในเรื่องสีสันและลวดลายต่างๆ สไตล์การแต่งกายของเขาเป็นที่ยอมรับของเหล่าดีไซน์เนอร์ ผลงานของฮอคนีส่วนใหญ่เป็นภาพของฝูงเพื่อน คนสนิท ภาพความสัมพันธ์ และชีวิตประจำวัน ผลงานของเขาได้รับอิทธิพลมาจากปิกัสโซ ผลงานจะเป็นแบบ Cubism เหลี่ยมๆ แบนๆ ในอิริยาบถแบบภาพถ่าย และกลายเป็น Photocubism  ในเวลาต่อมาซึ่งฮอคนีให้ความใส่ใจในวิธีการสร้างงานศิลปะของเขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

3.ชาร์ล  ซาตชิ (Charles  Saatchi) ค.. 1943  ถึงปัจจุบัน

            ชาร์ล  ซาตชิ เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก  เขาเป็นนักสะสมศิลปะ  และเป็นเจ้าของ Saatchi  Gallery  ซึ่งเป็นแกลเลอรีที่แสดงผลงานศิลปะที่เขาได้รวบรวมมาหลายปี  ผลงานของเขาได้รับอิทธิพลจากศิลปะสมัยใหม่และแบบประชานิยม (Pop Art) เขาได้รับความบันดาลใจจากศิลปินหลายท่านในการสร้างสรรค์ผลงาน  ซึ่งเขาเป็นคนที่ให้ความสนใจรายละเอียดในผลงานของเขามาก

4.เจฟฟ์  คูนส์  (Jeff Koons) ค.. 1955 ถึงปัจจุบัน

              เจฟฟ์   คูนส์   เป็นศิลปินชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียงโด่งดังมากในแวดวงศิลปะนานาประเทศ   ผลงานของคูนส์ในช่วงแรกๆ  เป็นรูปแบบ “Conceptual  Sculpture”  ผลงานที่สร้างชื่อให้เขามีชื่อชุดว่า Equilibrium  หรือดุลยภาพเมื่อปี 1985 ในทศวรรษที่ 1980 เขสร้างสรรค์ผลงานที่มีชื่อเสียงมากคือ Michael  Jackson  and  Bubbles  ซึ่งถือเป็นงานเซรามิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ในปี 2008  เขาได้รับเกียรติให้แสดงผลงานเดี่ยว ณ พระราชวังแวร์ซายส์  ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันเขาอาศัยและทำงานส่วนใหญ่ในนิวยอร์ก  สหรัฐอเมริกา

5.โยชิโตโมะ  นาระ (Yoshitomo Nara)ค.. 1959   ถึงปัจจุบัน

              โยชิโตโมะ   นาระ  เป็นศิลปิน Pop  ร่วมสมัยชาวญี่ปุ่นที่โด่งดังมาก   นาระได้แสดงผลงานเดี่ยวทั่วโลกมาแล้วกว่า 40 ครั้ง และเคยแสดงผลงานร่วมกับศิลปินไทยหลายครั้ง  เช่น ประติมากรรม  Phuket Dog และบริจาคให้กับเมืองภูเก็ต                               

ปัจจุบันผลงานของนาระเป็นภาพวาดการ์ตูนเด็กผู้หญิงน่าตาน่ารัก  แต่แฝงไว้ซึ่งความลึกลับและความน่ากลัวไว้ภายใน   โดยได้รับแรงบันดาลใจจากข่าวที่โด่งดังของญี่ปุ่น   ที่เด็กผู้หญิงคนหนึ่งฆ่าเพื่อนร่วมชั้นของเธอเนื่องจากว่าถูกล้อเลียนเรื่องผมหน้าม้า   โดยเธอบอกว่าเธอกล้าทำเพราะได้รับแรงบันดาลใจจากสื่อ   ผลงานของนาระต้องการบ่งบอกว่า   ภายในสิ่งที่ดูน่ารักบอบบางนั้น  บางทีก็แฝงไปด้วยความน่ากลัว  หากเยาวชนที่เปรียบเสมือนผ้าขาวไม่ได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครองในเรื่องการบริโภคสื่ออย่างถูกต้อง  ปัจจุบันนาระอาศัยอยู่ที่ซานเมือง  กรุงโตเกียว

ศิลปินต่างประเทศที่มีชื่อเสียง:ศิลปินหญิง

1.จอร์เจีย  โอคีฟ (Georgia  O Keeffe) ค.ศ. 1887-ค.ศ.1986

           จอร์เจีย  โอคีฟ  เป็นศิลปินที่มีความสำคัญมากในวงการศิลปะในอเมริกาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1920  โอคีฟเป็นที่จักกันมากจากการผสมผสานนามธรรมและการนำแสนอ เสมือนจริงในภาพวาดดอกไม้  หิน  เปลือกหอย  กระดูกสัตว์  และทิวทัศน์   ภาพวาดของโอคีฟนำเสนอรูปทรงโค้งที่เต็มเปี่ยมไปด้วยการไล่โทนสีต่างๆอย่างหลักแหลม  และโอคีฟยังนิยมแปรเปลี่ยนสิ่งที่วาดให้เป็นรูปนามธรรมที่เปี่ยมพลังอีกด้วย

2.ฟรีดา  คาห์โล  ( Frida  Kahlo) ค.ศ. 1907 – ค.ศ. 1954

            ฟรีดา  คาห์โล   เป็นจิตรกรชาวเม็กซิกัน  แนวผสมแบบเหมือนจริง  สัญลักษณ์นิยม  และเหนือจริง  ภาพเขียนของฟรีดาส่วนใหญ่เป็นรูปเหมือนของ ( Self  Portrait) สะท้อนชีวิตอันขื่นขมอย่างตรงไปตรงมา  ผลงานของเธอสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์เกี่ยวกับบาดแผลทางกายและทางใจของตัวเอง  แม้ว่างานของฟรีดาถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบเหนือจริงและได้แสดงออกกับพวกลัทธิเหนือจริงของยุโรป  แต่ฟรีดาไม่นับตัวเองเป็นพวกลัทธิเหนือจริง  ผลงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับสตรี ส่งผลให้ฟรีดากลายเป็นแม่แบบของนักสตรีนิยมในทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ฟรีดาถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ. 1954 ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ศิลปะต่างๆเก็บงานของเธอไว้มากมาย

3.กีกี  สมิธ (Kiki  Smith) ค.ศ. 1954 ถึงปัจจุบัน

        กีกี  สมิธ  เป็นศิลปินอเมริกันที่จัดเป็นศิลปิน Feminist  การเคลื่อนไหวทางศิลปะของเธอเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยใช้ร่างกายของเธอเป็นศิลปะย้อมสีที่สื่อถึงความสำคัญทางการเมือง การรอบทำร้าย  การรับรองอารมณ์ของผู้หญิง  และปัญหาทางสังคมที่ซ่อนเงื่อน  งานของเธอที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด  คือ ปติมากรรมด้านการสรางวัตถุ  และภาพวาดตามอวัยวะ  รูปแบบ การเคลื่อนที่ และระบบประสาทของมนุษย์

4. ชิริน  เนสแซต ( Shirin  neshat) ค.ศ. 1957 ถึงปัจจุบัน

          ชิริน  เนสแซต  เป็นศิลปินชาวอิหร่านที่ใช้ชีวิตในนิวยอร์ก  เธอเป็นที่รู้จักในการทำงานภาพยนตร์วิดีโอและถ่ายภาพ  หลังจากเรียนจบเธอเริ่มการทำงานกับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่เรียกว่าหนาร้านศิลปะและสถาปัตยกรรม และสถานที่แห่งนี้กลายเป็นสถานที่ที่ได้รับประสบการณ์ที่มีค่า  และมีผลให้เธอมีแนวคิดที่จะเป็นส่วนหนึ่งในงานศิลปะ   

    ผลงานส่วนใหญ่ของเธอหมายถึง  สังคม วัฒนธรรม ศาสนา ของสังคมมุสลิม  และความซับซ้อนบางอย่าง เช่น ชาญและหญิง  แม้ว่าวัตถุประสงค์ของผลงานเกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามแต่ก็ไม่ได้ขัดแย้งอย่างชัดเจนผลงานของเธอรับรู้ได้ทางสติปัญญาถึงเรื่องราวของศาสนาที่ซับซ้อน รวมถึงการปรับตัวของสตรีมุสลิมทั่วโลกในปี 1996 เธอได้รับรางวัล International Award จาก XLVIII ทำให้เธอเป็นที่รู้จักในสากลมากยิ่งขึ้น

5.มาริโกะ โมริ  (Mariko Mori)  ค.ศ. 1967 ถึงปัจจุบัน

            มาริโกะ  โมริ เป็นศิลปินที่ทำผลงานโดยการนำวิดีโอและถ่ายภาพมาประยุกต์ข้ากับผลงาน  ผลงานของเธอเป็นการผสมผสานตำนานตะวันออกกับวัฒนธรรมตะวันตกซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ    ผลงานของเธอมักจะเป็น Layering  ภาพถ่าย  และภาพดิจิทัล เช่น  ภาพเธอแสดงเป็นเจ้าแม่นิพพาน  ซึ่งเป็นบทบาทแรกของเธอผ่านทางเทคโนโลยีและรูปภาพ ละทิ้งวิวทิวทัศน์  สังคมเมือง และชีวิตจริงผลงานของเธอสร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดและคมชัดที่สุดในการผลิตผลงานในยุคปัจจุบัน                                                                                                                                                                                                                                                        ความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์กับสังคม

       ศิลปะ  จำแนกตามลักษณะการรับสัมผัสของมนุษย์ได้เป็น 3 สาขา คือ                       

1.ทัศนศิลป์ (Visual  Art)  ศิลปะที่รับสัมผัสด้วยการเห็น  ได้แก่ จิตกรรม  ประติมากรรม  สถาปัตยกรรม

2.โสตศิลป์  (Aural Art) ศิลปะที่สัมผัสด้วยการฟัง ได้แก่ ดนตรีและวรรณกรรม (ผ่านการอ่านหรือร้อง)

3.โสตทัศนศิลป์ (Audio Visual Art) ศิลปะที่รับสัมผัสด้วยการฟังและการเห็นพร้อมกัน ได้แก่ การแสดงภาพยนตร์

        ศิลปะทั้ง 3 สาขามีความเกี่ยวข้องและดำเนินควบคู่ไปกับสังคม  เช่น  ลวดลายของเสื้อผ้า  (ทัศนศิลป์)  การฟังเพลง (โสตศิลป์) การดูละคลโทรทัศน์ (โสตทัศนศิลป์)  จะเห็นได้ว่ากิจกรรมในชีวิตประจำวันจะมีศิลปะเข้ามาร่วมด้วยเสมอ

ผลงานทัศนศิลป์  อิทธิผลของสังคมและผลตอบรับ

         ผลงานทัศนศิลป์ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาไม่ว่าจากศิลปินคนใด  เมื่อผลงานนั้นถูกส่งไปถึงสายตาของคนในสังคมแล้ว  สิ่งที่สะท้อนกลับมาสู่ศิลปินคือผลตอบรับของสังคมที่มีต่อผลงาน  ว่าจะชื่นชอบและเข้าใจวัตถุประสงค์ของศิลปินมากน้อยเพียงใด  ผลงานบางชิ้นอาจเป็นที่ชื่นชมและถูกยกย่อง  กระทั่งกลายเป็นผลงานศิลปะทางประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ในทางกลับกันผลงานบางชิ้นอาจไม่เป็นที่ยอมรับและถูกต่อต้านจากสังคม เช่น ผลงานที่ถ่ายทอดความรู้สึกทางด้านลบของศาสนาหรือการเมือง เป็นต้น

         จะเห็นได้ว่าผลงานทัศนศิลป์มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อสังคมอย่างมาก  ยกตังอย่างเช่น

              -ผลงานเป็นทัศนศิลป์เป็นกระจกสะท้อนความเป็นไปของสังคมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง  เห็นได้จากผลงานศิลปะในยุคต่างๆ ที่มีการถ่ายทอดเรื่องราว ความเชื่อ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น  เช่น สะท้อนความรุนแรงของสงคราม ปัญหาสังคม เหตุการณ์ทางการเมือง  วิถีชีวิตผู้คน ซึ่งศิลปินได้ถ่ายทอดความรู้สึกที่มีต่อเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้น ผ่านทางผลงานศิลปะของตน

               -ผลงานทัศนศิลป์ส่วนหนึ่งซึ่งนอกเหนือจากการสะท้อนภาพให้เห็นความเป็นไปในสังคมหรือสิ่งที่ศิลปินพบเห็นแล้ว  ยังมีส่วนช่วยสร้างความจรรโลงใจให้กับผู้คนในสังคม  ช่วยให้มีจิตใจที่ละเอียดอ่อน

เช่น   ผลงานศิลปะที่ถ่ายทอดความงามของธรรมชาติ   ประเพณี  

           -ผลงานทัศนศิลป์เป็นเครื่องมือที่ช่วยชักจูงความคิด   ความเชื่อของคนในสังคม  ให้เห็นคล้อยตามความคิดของศิลปิน   เช่น   ผลงานศิลปะที่ถ่ายทอดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำลายสิ่งแวดล้อมการรณรงค์ในเรื่องต่าง

หน่วยการเรียนรู้ที่8

รูปแบบงานทัศนศิลป์ของวัฒนธรรมต่างๆ

ตัวชี้วัด 1 วิเคราะห์และเปรียบเทียบงานทัศนศิลป์ในรูปแบบตะวันออกและรูปตะวันตก  (ศ 1.2  ม.4-.6/1)

            2 อภิปรายเกี่ยวกับอิทธิพลของวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่มีผลต่อทัศนศิลป์ในสังคม  (ศ 1.2 .4-.6/3)

สาระการเรียนรู้ 

1 งานทัศนศิลป์ของวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก

   -ศิลปะตะวันออก

  -ศิลปะตะวันตก

2 สรุปรูปแบบงานทัศนศิลป์

แนวคิดหลัก  รูแบบงานทัศน์ศิลป์ของแต่ละท้องถิ่น  มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป  ขึ้นอยู่กับอิทธิพลจากสิ่งต่างๆ  เช่น  ความเชื่อ  วัฒนธรรมประเพณีของทิองถิ่นนั้น  นอกจากนี้  วัฒนธรรมของท้องถิ่นใกล้เคียงยังเป็นอิทธิพลหนึ่งที่มีผลต่อการสร้างงานทัศนศิลป์

งานทัศนศิลป์ของวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก

-ศิลปะตะวันตก

    ศิลปะตะวันออก  มีรากฐานสำคัญจากศิลปะของอินเดียและจีน  เนื่องจากทั้งสองประเทศนี้มีอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่มาเป็นระยะเวลายาวนาน  ส่งผลให้ท้องถิ่นใกล้เคียงได้รับอิทธิพลด้านศิลปะจากอินเดียและจีน  เช่น  ไทย  พม่า  ลาว  ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปวัฒนธรรมจากอินเดีย  ส่วนญี่ปุ่น  เกาหลี เวียดนาม  ได้รับอิทธิพลจากจีน

         ลักษณะของศิลปะตะวันออกมีความเป็นอุดมคติ  นั่นคือไม่ยึดหลักความเป็นจริงตามธรรมชาติทั้งหมดจะสร้างสรรค์รูปแบบตามจินตนาการผสานไว้ในงามศิลปะ

        ศิลปะตะวันออกได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ  เช่น  ศาสนา  ประเพณี ภูมิประเทศ  ภูมิอากาศ  โดยศิลปะตะวันออกจะมีความหลากหลายกันไปในแต่ละท้องถิ่น  เนื่องจากมีการนับถือ  ศาสนา  วัฒนธรรม  ความเชื่อ  ที่แตกต่างกันออกไป                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               ศิลปะอินเดีย

          ประเทศอินเดีย    เป็นประเทศที่มีอารยธรรมของตนเองและได้รับวัฒนธรรมจากชนชาติอื่นร่วม  ได้แก่  เมโสโปเตเมีย  อิหร่าน  กรีก  โรมัน  วัฒนธรรมของอินเดียมีอิทธิพลแก่ชนชาติตะวันออกทั้งทางตรงและทางอ้อม   โดยเฉพาะทางด้านศิลปะ   ซึ่งได้ขยายอิทธิพลอย่างกว้างขวางไปสู่ภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก  และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ศิลปะอินเดียนั้นเกิดจากแรงบันดาลใจทางศาสนาและลัทธิความเชื่อต่างๆ  เช่น  ความเชื่อเรื่องเทพเจ้า                                                                                                                                                                  อินเดียเป็นประเทศที่มีการนับถือศาสนาหลากหลาย  ได้แก่  ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  ศาสนาพุทธ  ทำให้ศิลปะซึ่งส่วนใหญ่ได้รับแรงบรรดาลใจจากศาสนา  มีความแตกต่างกันไปตามความเชื่อของศาสนานั้นๆศิลปะอินเดียแบ่งออกได้ดังนี้                                                                                                                                                                                   ศิลปะแบบสาญจี   เป็นศิลปะสมัยที่เก่าแก่ที่สุด  อยู่ในราชวงศ์เมาริยะ   และราชวงศ์ศุงกะ (สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช)  โดยเป็นช่วงที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรื่อง   ส่งผลให้งานศิลปะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาสถาปัตยกรรม   ได้แก่   สถูปต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นรูปโอคว่ำมีฉัตรปักอยู่บนยอดและมีฐานรองรับตัวสถูปลักษณะพุทธศาสนสถานของศิลปะอินเดีย  ที่สำคัญอีกออย่างหนึ่ง  คือ  รั้วและเสา  โดยรั้วจะสร้างขึ้นล้อมรอบบริเวณอันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา  เช่น  บริเวณที่พระพุทธเจ้าประทับหรือสั่งสอนพระธรรม   หรือล้อมรอบองค์สถูป  ส่วนเสานั้นมีวัตถุประสงค์ที่ใช้หลายอย่าง  เช่น   ใช้สำหรับประดิษฐานสัญลักษณ์ของศาสนา  ใช้สำหรับจารึกเรื่องราวต่างๆหรือใช้เป็นเสาโคมไฟ  ประติมากรรมส่วนใหญ่จะนำมาประกอบกับสถาปัตยกรรม  เช่น   ภาพสลักบนรั้วและประตูล้อมรอบสถูปรูปแบบของศิลปะที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในสมัยนี้นิยมใช้สัญลักษณ์แทนรูปมนุษย์  ดังเช่นภาพสลักพระพุทธเจ้า 4 ปราง  คือ  ประสูติ  ตรัสรู้  ปฐมเทศนา  และปรินิพพาน  จะใช้รูปสัญลักษณ์แทน  ได้แก่   ดอกบัว  ต้นโพธิ์  ธรรมจักร  พระสถูป  แทนปางเหล่านั้นตามลำดับ

   ศิลปะแบบคันธาระ  (พุทธศตวรรษที่ 6  หรือ   7)   เป็นศิลปะที่มีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา  โดยได้รับอิทธิพลศิลปะจากกรีกและโรมัน  และศิลปะในยุคนี้ได้เริ่มประดิษฐ์พระพุทธรูปที่มีรูปลักษณ์ของมนุษย์แต่มีลักษณ์คล้ายชาวกรีกและโรมัน 

      ศลปะแบบมถุรา  (พุทธศตวรรษที่  6  หรือ  9) ประติมากรรมในยุคนี้นิยมการสลักพระพุทธรูปหรือเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาด้วยหินทราย  บางผลงานมีลักษณะของศิลปะกรีกและโรมัน  โดยพระพุทธรูปในยุคนี้มีลักษณะคล้ายชาวอินเดียมากขึ้น                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                            ศิลปะแบบอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ หรือ 7 ) ศิลปะในสมัยนี้มีรูปแบบอุดมคติ  เน้นลักษณะแสดงการเคลื่อนไหว   ประติมากรรมที่พบคือพระพุทธรูปซึ่งมีลักษณะพระพักตร์คล้ายแบบกรีกและโรมัน  ห่มจีวรเป็นริ้วทั้งองค์

    ศิลปะแบบคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 9 หรือ 13) จัดศิลปะสมัยใหม่  ประติมากรรมในสมัยนี้นิยมการสลักรูปนูนสูงมากกว่ารูปลอยตัว  ส่วนพระพุทธรูปมีลักษณะอินเดียแท้  ศิลปะที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้  ได้แก่  งานจิตรกรรม  ซึ่งค้นพบที่ผนังถ้ำอชันตา  ด้านสถาปัตยกรรมเริ่มมีการก่อสร้างด้วยอิฐ  นิยมสร้างเทวสถานซึ่งมีลักษณะใหญ่โตกว่าในสมัยก่อน

       ศิลปะแบบทมิฬ  (พุธศตวรรษที่  14 )   ศิลปะแบบทมิฬหรือดราวิเดียนมีประติมากรรมที่ทำจากหินสำริดและการสลักรูปจากไม้  ส่วนสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่นั้นสร้างจากหินซ้อนกันเป็นชั้นๆ และนิยมสร้างเทวส-

ถาน

         ศิลปะแบบปาละเสนะ (พุทธศตวรรษที่ 14-18 ) เป็นศิลปะที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยมีการผสมความเชื่อของลัทธิฮินดูเข้าไป  งานประติมากรรม  ได้แก่  ภาพสลักจากหิน  การหล่อด้วยสำริดโดยพระพุทธรูปในสมัยนี้มีลักษณะการทรงเครื่องมากขึ้น  และพบประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์

         โดยสรุปแล้ว ศิลปะอินเดียจะมีความเกี่ยวข้องกับศาสนา  โดยส่วนมากจะนิยมการสร้างงานประติมากรรมเพื่อการบูชา  สถาปัตยกรรมสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานหรือประกอบพิธีทางศาสนา  ส่วนจิต-กรรมมักไม่ค่อยกล่าวถึง  ซึ่งจิตกรรมอินเดียโดยรวมแล้วมีความเกี่ยวข้องทางศาสนาเช่นเดียวกัน  โดยเป็นภาพจิตกรรมฝาผนัง  หรือภาพเขียนประกอบคัมภีร์ ซึ่งมีการใช้สีที่สดใส  ไม่เน้นแสงเงา

ศิลปะจีน

          ชาวจีนนับถือกราบไหว้บรรพบุรุษมาตั้งแต่โบราณกาล  มีวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ของคนในสังคมกับธรรมชาติ  งานศิลปะของจีนจึงมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์  สังคมและธรรมชาติ  ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีของจีนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายอย่าง  เช่น  เครื่องปั้นดินเผาหม้อสามขา  แสดงให้เห็นว่าสังคมชาวจีนมีรากฐานมาจากการเกษตร  มีความรู้ทางฝีมือช่างมายาวนาน

           ประติมากรรมของจีนที่มีมาแต่โบราณได้แก่ภาชนะต่างๆ  ที่ทำด้วยสำริด  ใช้สำหรับงานพิธีกรรม  การเคารพบรรพบุรุษ  ภาชนะนิยมตกแต่งด้วยรูปสัตว์หรือรูปเกี่ยวกับธรรมชาติ  มีประติมากรรมหลายชิ้นที่พบแสดงให้เห็นถึงความเชื่อด้านศาสนา  เช่น  รูปสลักหินทีมีเรื่องราวเกี่ยวกับเทพนิยายตามความเชื่อของลัทธิเต๋า  หรือรูปเคารพที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ  ประติมากรรมที่มีชื่อเสียงของจีน  ได้แก่  การแกะสลักหยกเพื่อใช้เป็นเครื่องประดับ  และเครื่องเคลือบที่มีความแข็งแรง  ลวดลายสีสันสวยงาม

             จิตกรรมของจีนจะสัมพันธ์กับธรรมชาติ  โดยการใช้สีและเส้นอ่อนช้อยงดงาม  เต็มไปด้วยพลัง  นอกจากธรรมชาติแล้ว  จิตกรรมจีนยังได้รับอิทธิพลจากปรัชญาทางพระพุทธศาสนา  ลัทธิเต๋า  ลัทธิขงจื๊อ  จึงปรากฏภาพพุทธประวัติควบคู่ไปกับสวรรค์

               สถาปัตยกรรมของจีนที่มีชื่อเสียงที่สุด  คือกำแพงเมืองจีน  สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์จิ๋นเพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าทางเหนือ  นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมอื่นๆ  เช่น  เจดีย์ที่มีหลังคาทุกชั้น  ภายในอาคาตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบ

ศิลปะขอม

              ชนชาติขอมเป็นชนชาติหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลรูปแบบศิลปะจากอินเดียในระยะเริ่มแรกนั้นศิลปะขอมมีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียมาก  ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาเป็นรูปแบบของตนเอง  ซึ่งจะพบงานด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรมเป็นส่วนมาก

               สถาปัตยกรรมของขอมส่วนใหญ่ได้รับแบบอย่างมาจากอินเดีย  แต่มีลักษณะของศิลปะจีนร่วมด้วยและปรับเปลี่ยนให้เข้ากับศิลปะของตนเอง

                 วิหารของขอมได้รับอิทธิพลจากอินเดีย  โดยสถาปนิกได้สร้างงานสถาปัตยกรรมของตนขึ้นมาเป็นรูปแบบของขอม  ส่วนหลังคาแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของจีน  แต่เสาสี่เหลี่ยมที่มีหัวเสารูปครุฑยังคงเป็นรูปแบบของขอมโดยมีการประดับด้วยประติมากรรมต่างๆ

ศิลปะไทย

               ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีการผสมผสานกันในหลายเชื้อชาติ  ทั้งมอญ  เขมร  มลายู  ดังนั้นวัฒนธรรมไทยจึงได้รับอิทธิพลจากชนชาตินั้นด้วยโดยชนชาติเหล่านั้นเองต่างก็ได้รับอิทธิพลจาก            อารยธรรมอินเดีย  ศิลปะไทยจึงมีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดีย

                ศิลปะไทยมีรูปแบบเฉพาะในเรื่องความอ่อนหวาน  และได้สอดแทรกวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณี และความรู้สึกของคนไทยไว้ในงานอย่างลงตัวศิลปะไทยเริ่มต้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์   

ซึ่งมีการค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่ ตำบลบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี  รวมถึงภาพที่เกี่ยวกับพิธีกรรมและการใช้ชีวิต

ศิลปะสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16)

          ศิลปะสมัยทวารวดีสร้างขึ้นเพื่อพระพุทธศาสนานิกายมหายาน  การสร้างพระพุทธรูปสมัยนี้  ระยะแรกเป็นการเรียนแบบศิลปะคุปตะของอินเดีย  ต่อมาจึงพัฒนามาเป็นรูปแบบของตนเอง  งานประติมากรรมในสมัยนี้เป็นงานสำริดดินเผาไฟ  และปูนปั้น  สันนิษฐานว่าศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่บริเวณ   จังหวัดนครปฐม

ศิลปะสมัยศรีวิชัย(พุทธศตวรรษที่ 13-14)

สันนิฐานว่าอาณาจักรศรีวิชัยมีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย  ไปจนถึงเกาะสุมาตราและเกาะชวา  ศิลปะสมัยศรีวิชัยได้แพร่เข้ามาพร้อมกับศาสนาพุทธแบบมหายานและศาสนาฮินดู  จึงมักพบประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์

ศิลปะสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 16-18)

        อาณาจักรลพบุรีหรือละโว้  มีอาณาเขตบริเวณภาคกลาง  ภาคตะวันออก  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของงประเทศไทย  ศิลปะไทยในสมัยลพบุรีได้รีบอิทธิจากขอมซึ่งเป็นศิลปะที่ผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธนิกายมหายานกับศาสนาฮินดู  ประติมากรรมมักสร้างขึ้นจากโลหะและการสลักหิน ด้านสถาปัตยกรรมนิยมสร้างประสาทหิน เช่น ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ศิลปะล้านนา (พุทธศตวรรษที่ 18-23)

          อาณาจักรล้านนาหรือเชียงแสน  มีศูนย์กลางอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย  โดยพบโบราณสถานและโบราณวัตถุจำนวนมากที่จังหวัดเชียงรายและจังหวัดเชียงใหม่  ศิลปะสมัยนี้ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธนิกายเถรวาท  ประติมากรรมที่ปรากฏ  ได้แก่  พระพุทธรูปและลวดลายประดับโบราณสถาน

ศิลปะสมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19-20)

            อาณาจักรสุโขทัยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดสุโขทัย  ศิลปะสุโขทัยได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท  ลัทธิลังกาวงศ์  ประติมากรรมในสมัยสุโขทัยมีรูปแบบที่งดงาม  นิยมหล่อพระพุทธรูปด้วยโลหะผสมสำริด   ศิลปะประยุกต์ที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งคือ  เครื่องสังคโลก  ซึ่งเป็นเครื่องเคลือบดินเผาที่มีการเขียนสวดสายต่างๆลงบนเครื่องปั้น

     ศิลปะสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 19-24)

     อาณาจักรอยุธยามีศูนย์กลางอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  รูปแบบทางศิลปะในสมัยนี้มีความหลากหลายเนื่องจากอาณาจักรมีระยะเวลายาวนาน  โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์

      ด้านประติมากรรมส่วนใหญ่จะเป็นพระพุทธรูปที่มีรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยพระพุทธนิยมหล่อด้วยสำริด ในสมัยอยุธยาตอนต้นพระพุทธรูปเป็นศิลปะแบบอู่ทอง  ซึ่งเป็นการผสมผสานศิลปะทวารวดีกับลพบุรี ด้านสถาปัตยกรรมซึ่งนอกเหนือจากด้านศาสนาและพระมหากษัตริย์แล้ว  ได้มีสถาปัตยกรรมเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของประชาชนด้วย  สถาปัตยกรรมด้านศาสนาและพระมหากษัตริย์ที่ปรากฏในสมัยอยุธยาช่วงแรกคือ  พระปรางและเจดีย์ตามแบบอย่างศิลปะของลพบุรีและสุโขทัย                                                  ด้านจิตกรรมจะมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา  โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชาดก  พุทธประวัติจิตกรรมที่ปรากฏ  ได้แก่  การจำหลักลายเส้นบนแผ่นหิน

                ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ 25-ปัจจุบัน)

              ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นศิลปะที่ถ่ายทอดมาจากศิลปะอยุธยา  เริ่มต้นตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  (รัชกาลที่1)ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานีจนถึงปัจจุบัน                        ด้านประติมากรรม  ในช่วงแรกรูปแบบงานยังคงสืบทอดมาจากสมัยอยุธยา  จนถึงสมัยรัชกาลที่3ได้มีอิทธิพลจากศิลปะจีนเข้ามาจากการนำเข้ารูปสลักฝีมือช่างชาวจีนมาประดับอาคาร  ในสมัยราชกาลที่4-6ได้มีการติดต่อกับชาวต่างชาติมากขึ้น  โดยเฉพาะประเทศทางตะวันตก  ทำให้ศิลปะตะวันตดหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย

          ด้านสถาปัตยกรรม    นะยะแรกเป็นการสืบทอดแบบจารึกศิลปะอยุธยาแต่มีการตกแต่งประดับประดามากขึ้น  ในสมัยรัชกาลที่3 มีแบบสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า อย่างนอก คือแบบลายจีนเข้ามา  มีการตกแต่ง ศาสนสถานเป็นลวดลายแบบจีน  เช่น  อุโบสถวัดราชโอรส                                                                                                                                                                                ด้านจิตกรรมมีทั้งรูปแบบของไทยและแบบร่วมสมัย  ในช่วงแรกยังคงเน้นการวาดภาพประดับฝาผนังโบสถ์  วิหาร  โดยใช้สีที่มีความหลากหลายมากกว่าในสมัยอยุธยา นิยมปิดทองคำเปลวเพื่อให้ภาพดูสวยงามต่อมาได้มีการผสมผสานกับศิลปะตะวันตก  ทำให้วิธีการวาดภาพ  การใช้สี   มีความหลากหลาย  ภาพที่วาดมีความเหมือนจริงและเป็นแบบ 3 มิติ

ศิลปะตะวันตก

ศิลปะสมัยก่อนประวัติศาสตร์

        ยุคหินเก่า (Old Stone หรือ Paleolithic) ประมาณ 1,000,000-10,000 ปี ก่อนคริสตกาล                                                                                มนุษย์หินเก่าในทวีปยุโรปมีวิวัฒนาการรวดเร็วกว่าในภูมิภาคอื่นๆ เนื่องจากพบหลักฐานงานศิลปะด้านประติมากรรมที่สำคัญ คือ  ภาพจำหลักสตรี  ซึ่งเรียกกันว่า  วีนัสแห่งวิวเลนดอร์ฟ  ถูกค้นพบในประเทศออสเตรีย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์  ด้านจิตกรรมพบภาพเขียนเลียนแบบธรรมชาติไม่มีลักษณะของจินตนาการที่ผิดแปลกไปจากความจริง ปรากฏอยู่บนผนังถ้ำอัลตามิรา