หนังสือมอบอํานาจ ไม่ลงวันที่

เข้าสู่ระบบ


วันที่ในหนังสือมอบอำนาจ

กรณีแจ้งเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด มีมติเลิก 31 ธค 58เอกสารแจ้งเลิกได้ให้สมาชิกเนติบัณฑิตยสภา ลงลายมือชื่อรับรองวันที่ 4 มค59 <br> หนังสือมอบอำนาจต้องลงวันที่ 4 มค59 <br> หรือว่าลงวันที่ที่ผู้รับมอบอำนาจไปยื่นคำขอแจ้งเลิกห้างฯ ค่ะ <br> ผู้รับมอบไปติดต่อยื่นคำขอแจ้งเลิกห้างวันที่ 11 มค 59 ค่ะ

วรรณี 11 มกราคม 2559 19:27:22 IP: 103.55.140.107

ความคิดเห็นที่ 1

วันที่เป็นวันที่มีมติที่ประชุมหรือวันที่ยื่นคำขอฯ ก็ได้ กรณีระบุวันที่ยื่นคำขอจะต้องไม่เป็นวันที่ก่อนวันที่ที่มีมติที่ประชุม ซึ่งกรณีของท่านสามารถระบุวันที่ในหนังสือมอบอำนาจได้ตั้งแต่ วันที่ 4 ม.ค. 59 เป็นต้นไป (วันที่สมาชิกเนติบัณฑิตยสภาลงลายมือชื่อรับรอง)

ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น (ถ้อยคำที่สุภาพ สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม)

กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความคิดเห็น

คำพิพากษาฎีกาที่808/2533

บ.ยูไนเต็ดมอเตอร์เวิกส์(สยาม) จำกัด

โจทก์

นิวไลอ้อนแมชชีนเนอรี่อิมปอร์ตเอ็กซ์ปอรต์ จำกัด

จำเลย

เรื่อง ผิดนัด

กฎหมายที่เกี่ยวข้องประมวลรัษฎากร มาตรา 118

แพ่ง ผิดนัด(ม.204)

โจทก์ฟ้องว่า ได้มอบอำนาจให้นายธงไชย ภาณุมาภรณ์ นางพรทิพย์ มลิทอง และนางอรุณี โคมทอง เป็นผู้ดำเนินกิจการแทนโจทก์และผู้รับมอบ อำนาจดังกล่าวได้ มอบอำนาจช่วงให้แก่นายประสิทธิ์ ไกรฤกษ์ ฟ้องคดีนี้ จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เดิมชื่อบริษัทนิวไลอ้อนแมชชินเนอรี่ เป็นต้น ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อบริษัทนิวไลอ้อนแมชชีนเนอรี่อิมปอร์ตเอ็กซ์ปอร์ต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2526 จำเลยซื้อรถตัดหญ้าไปจากโจทก์ 80 คัน เป็นเงิน 468,000 บาท หลังจากหักส่วนลดพิเศษ 22 เปอร์เซ็นต์ให้แล้ว จำเลยต้องชำระราคาดังกล่าวแก่โจทก์ภายในวันที่ 13 ธันวาคม 2526 ครบ กำหนดจำเลยไม่รับชำระ แต่เมื่อโจทก์ทวงถาม จำเลยผ่อนชำระให้บางส่วน เป็นเงิน 334,000 บาท คงยังค้างอยู่อีก 134,000 บาท โจทก์ทวงถามแล้ว จำเลยเพิกเฉย ขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่ โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระ เสร็จ จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่เคยมอบอำนาจให้ผู้ใดมีอำนาจทำการแทนโจทก์ หนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 และหนังสือมอบอำนาจช่วง ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ต่างถูกทำปลอกขึ้นและปิดอากรแสตมป์ ไม่ครบตามประมวลรัษฎากร โดยเฉพาะหนังสือมอบอำนาจช่วงไม่ได้ระบุให้ มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยเฉพาะเจาะจง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยไม่เคย ซื้อสินค้าตามฟ้องจากโจทก์โจทก์ไม่เคยทวงถามและฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นพิพากษาว่า ให้จำเลยชำระเงิน 134,000 บาทแก่โจทก์ ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2526 จนกว่าจะชำระ เสร็จ แต่ดอกเบี้ยก่อนฟ้องต้องไม่เกิน 15,075 บาทจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนจำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่จำเลยฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ปิดอากรแสตมป์ไม่ครบเพราะปิดเพียง 10 บาท และหนังสือมอบอำนาจช่วง เอกสารหมาย จ.3 ปิดอากรแสตมป์ไม่สมบริบูรณ์ เพราะมิได้มีการขีดฆ่าและ ลงวันที่ ถือไม่ได้ว่ามีการมอบอำนาจ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อพิจารณา หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ปรากฏว่าเอกสารฉบับนี้ปิดอากรแสตมป์ 40 บาท หาใช่ 10 บาท ดังที่ จำเลยฎีกาไม่หนังสือมอบอำนาจฉบับนี้จึงปิด อากรแสตมป์ครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 ตามประมวลรัษฎากร แล้ว รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ที่จำเลยฎีกาว่าหนังสือมอบอำนาจช่วงเอกสารหมาย จ.3 อากรแสตมป์ แล้วเพียงแต่มิได้ลงวันที่เท่านั้น เห็นว่า การระบุวันเดือนปีพร้อมกับขีดฆ่านั้น เพียงมุ่งหมายให้ทราบว่าได้มีการปิดและขีดฆ่าเมื่อวันใดเท่านั้น เมื่อเอกสาร ฉบับนี้ได้มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ก่อนมีคำพิพากษาแล้วเช่นนี้ แม้จะไม่ได้ลง วันที่ที่ขีดฆ่าก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เช่นกันและที่จำเลยฎีกาเป็นทำนองว่า เมื่อจำเลยให้การต่อสู้มา แต่ต้นว่า หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3 มีผู้ทำปลอมขึ้น ลายมือชื่อบุคคลในเอกสารดังกล่าวมิใช่ลายมือชื่อที่แท้จริง จึงควรที่โจทก์ และต้องนำนายปลิว จันทรัศมี หรือนายบรรเวช จันทรัศมี ซึ่งตามหนังสือ มอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ระบุว่า เป็นกรรมการมาเบิกความยืนยัน แต่โจทก์หาได้นำบุคคลดังกล่าวมาเบิกความไม่ จึงต้องฟังว่าเอกสารทั้งสอง ฉบับดังกล่าวถูกทำปลอมขึ้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเห็นว่าแม้โจทก์จะ ไม่ได้นำบุคคลดังกล่าวมาเบิกความ แต่โจทก์ก็มีนายประสิทธิ์ ไกรฤกษ์ ซึ่ง อ้างว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้เป็นผู้ฟ้องคดีนี้มาเบิกความยืนยัน โดยมีนาย พรเทพ จรูญพิพัฒน์กุล มาเบิกความสนับสนุน จำเลยไม่มีพยานมาหักล้าง ดังนี้ฟังได้ว่า หนังสือมอบอำนาจและหนังสือมอบอำนาจช่วงตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3 เป็นเอกสารที่แท้จริง ประกอบกับเอกสารดังกล่าวได้ปิดอากร แสตมป์บริบูรณ์ ดังได้วินิจฉัยแล้วข้างต้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ส่วนปัญหาที่ว่า จำเลยเป็นหนี้ค่าสินค้าโจทก์ตามฟ้อง และโจทก์ทวงถาม แล้วหรือไม่ เห็นว่า เมื่อโจทก์ฟ้องอ้างว่าเดิมจำเลยชื่อบริษัทนิวไลอ้อนแมชชีน เนอรี่ จำกัด ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทนิวไลอ้อน แมชชีนเนอรี่อิมปอร์ตเอ็กปอร์ต จำกัด ในเวลาต่อมา จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ จึงฟังได้ว่าเดิมจำเลยชื่อบริษัท นิวไลอ้อนแมชชีนเนอรี่ จำกัดโจทก์มีนายพรเทพ จรูญพิพัฒน์กุล ซึ่งเป็น พนักงานขายของโจทก์เบิกความยืนยันว่าได้นำรถตัดหญ้าตามฟ้องที่จำเลย สั่งซื้อไปสั่งให้แก่จำเลยที่บริษัทตามใบส่งของเอกสารหมาย จ.17 จำเลยออก เช็คสั่งจ่ายเงินชำระค่ารถตัดหญ้าดังกล่าวให้ 2 ฉบับ จึงได้ออกใบเสร็จรับเงิน ชั่วคราวตามเอกสารหมาย จ.18 แต่เมื่อเช็ค 2 ฉบับดังกล่าวถึงกำหนด ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หลังจากนั้นได้มีการทวงถามกันหลายครั้ง จำเลย ชำระเงินให้บางส่วน คงค้างชำระ 134,000 บาทโดยโจทก์มีประสิทธิ์ ไกรฤกษ์ ซึ่งเป็นหัวหน้าพนักงานเก็บเงินของโจทก์มาเบิกความสนับสนุนได้ความสอด คล้องต้องกัน เห็นว่า ใบส่งของเอกสารหมาย จ.17 ระบุชื่อเดิมของจำเลยเป็น ผู้รับของ แม้จะไม่มีลายมือชื่อผู้รับรอง แต่ก็ได้ความจากคำเบิกความของนาย ประสิทธิ์ว่า ใบส่งของเอกสารหมาย จ.17 เป็นสำเนา ส่วนต้นฉบับมีลายมือ ชื่อผู้รับของด้วย แต่เมื่อชำระเงินแล้วคืนต้นฉบับให้จำเลยไป จากคำเบิกความ ของนายประสิทธิ์ดังกล่าวฟังประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยออกเช็คสั่งจ่าย เงินชำระค่ารถตัดหญ้า แต่เช็คถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามคำเบิกความ ของนายพรเทพที่เบิกความไว้ข้างต้น ที่ใบส่งของเอกสารหมาย จ.17 ไม่มี ลายมือชื่อผู้รับของจึงฟังเป็นข้อพิรุธยังไม่ถนัด ยังได้ความจากคำเบิกความ ของนายประสิทธิ์อีกว่า จำเลยเป็นลูกค้าซื้อสินค้าจากโจทก์มาหลายปีแล้ว โดยมีใบส่งของเอกสารหมาย จ.5 ถึง จ.16 เป็นพยานสนับสนุนได้ความว่า เอกสารดังกล่าวระบุชื่อเดิมของจำเลยทั้งสิ้น ส่วนจำเลยคงมีแต่นายกำพล เพชรกรจักร ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยมาเบิกความลอย ๆ ว่า ไม่เคยซื้อ สินค้าของโจทก์เท่านั้น ประกอบกับมาคำนึงถึงข้อที่ว่า หากโจทก์จะปั้นแต่ง เรื่องขึ้นฟ้องจำเลย น่าจะอ้างว่าจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้ทั้งหมด ไม่น่าจะอ้าง ว่าจำเลยชำระหนี้ให้แล้วบางส่วน ดังนี้พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อ ถือดียิ่งกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ฟังได้ว่าจำเลยซื้อรถตัดหญ้าโจทก์ไป และยังค้างชำระเงิน 134,000 บาทตามฟ้อง ส่วนปัญหาเรื่องการทวงถาม นั้น จำเลยฎีกาว่า โจทก์ต้องทวงถามก่อนจึงจะฟ้องคดีนี้ได้ เห็นว่า โจทก์ นำสืบแล้วว่าการซื้อขายสินค้ารายได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ 60 วัน นับแต่ วันที่ส่งมอบสินค้าเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแล้ว ดังนี้ ไม่ว่าโจทก์จะได้ทวงถามก่อนแล้วหรือไม่ ย่อมไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยน แปลงไป ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
(นาม ยิ้มแย้ม ประชา บุญวนิช เดชา สุวรรณโณ)