ติดหลังคาโซล่าเซลล์คุ้มไหม

ถ้าใครกำลังรอผมรีวิวการใช้งานโซลาร์เซลล์ หลังจากได้อ่านบล็อก เตรียมจะติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบออนกริด (On-grid) ที่บ้านแล้ว สัปดาห์นี้ (kafaak.blog) ของผม ขอออกตัวก่อนเลยว่าคงไม่ได้อ่านครับ เพราะหลังจากมีมหากาพย์ชุดใหญ่ไปแล้ว ผมก็อดติดตั้งครับ และผมขอเอาประสบการณ์ความพยายามติดตั้งที่ไม่สัมฤทธิ์ผลนี้ มาเป็นบทเรียนให้ได้อ่านกันว่า เราๆ ท่านๆ ควรจะรู้อะไรบ้าง ก่อนจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ใช้ที่บ้านครับ

Show

1. ประเทศไทยไม่ได้เหมาะกับการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อย่างที่คิดกัน

คนไทยชอบบ่นว่าประเทศไทยอากาศร้อน แดดแรงมาก เลยมีความเชื่อกันว่าน่าจะผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้ดี อันนี้เป็นความเชื่อที่ผิดนะครับ เพราะปัจจัยนึงที่จะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์ดีหรือแย่ ก็คืออุณหภูมิของตัวแผงครับ แล้วขึ้นชื่อว่าผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ก็หมายความว่าแผงโซลาร์เซลล์มันก็ต้องแหงนหน้าสู้แดดดิ จริงปะ แล้วเจอแดดกับอากาศร้อนๆ ของประเทศไทยเข้าไป แผงโซลาร์เซลล์ก็ร้อนครับ ก็จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร

2. ไม่ใช่แค่มีแสงแดดแล้ว โซลาร์เซลล์ก็จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เต็มที่ตลอดเวลา ตำแหน่งที่ติดตั้งสำคัญมาก

แผงโซลาร์เซลล์จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มันก็ต้องหันเข้าหาดวงอาทิตย์ครับ หลายคนก็จะคิดว่า แบบนี้ดีที่สุดก็หันไปทางทิศตะวันออก หรือ ทิศตะวันตก หรือ แหงนมองท้องฟ้าตรงๆ ไปเลยไหม จะได้รับแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ … บ้า!! … สำหรับประเทศไทย เขาว่ากันว่า ให้หันแผงโซลาร์เซลล์ไปทางทิศใต้ เราจะได้รับแสงแดดทั้งวันครับ และแต่ละจังหวัด ก็จะเอียงแผงโซลาร์ไม่เท่ากันอีกนะ เช่น กรุงเทพฯ เอียง 13.5 องศา แต่เชียงใหม่เอียง 18.4 องศา เป็นต้น (ข้อมูลจาก ทิศทางที่เหมาะต่อการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ – Energy Next)

การจะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะต้องหันถูกทิศแล้ว ยังต้องให้แน่ใจว่าจะไม่โดนเงาของอะไรมาบังด้วย (เช่น ตึกข้างๆ ต้นไม้ต่างๆ) การติดตั้งในตำแหน่งที่สูงที่สุดไม่ใช่คำตอบ แต่การติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่เงาอะไรมาบดบัง และหันไปในทิศทางที่เหมาะสม สามารถทำความสะอาดแผงได้ง่าย ขึ้นไปซ่อมบำรุงสะดวกต่างหาก จึงดีที่สุด

อ้อ! ว่ากันว่าขี้นกนี่คือศัตรูตัวฉกาจของแผงโซลาร์เซลล์เลยนะครับ และมันจะทำให้เราอาจจะต้องล้างแผงโซลาร์เซลล์เป็นระยะๆ ดังนั้น หากตำแหน่งที่ติดตั้ง มันไม่อยู่ในที่ที่ทำความสะอาดได้ง่ายๆ ขึ้นไปซ่อมบำรุงได้สะดวก เวลาสกปรกหรือมีปัญหาขึ้นมาจะลำบาก

3. สเปกของแผงโซลาร์เซลล์ก็สำคัญ

สเปกของแผงโซลาร์เซลล์มีรายละเอียดเยอะครับ แต่ 2 อย่างที่สำคัญมาก ที่ต้องดูตอนจะซื้อคือ ชนิดของแผงโซลาร์เซลล์ และ Tier ของแผงโซลาร์เซลล์ครับ ซึ่งในบทความ ทำความรู้จักกับ ‘3 ชนิด ของโซลาร์เซลล์’ – กระทรวงพลังงาน (energy.go.th) ได้มีการอธิบายถึงแผงโซลาร์เซลล์ทั้ง 3 ชนิดเอาไว้แล้ว

ติดหลังคาโซล่าเซลล์คุ้มไหม

ส่วนใหญ่แล้ว บริษัทต่างๆ จะนำเสนอขายแผงโซลาร์เซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline) ครับ เพราะนอกจากจะมีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่สูงแล้ว ยังมีอายุการใช้งานที่ทนทานราวๆ 25 ปีด้วย แต่ในกรณีที่เราอาจจะต้องไปติดตั้งในพื้นที่ที่อาจจะไม่ได้รับแสงเต็มที่ ผู้ให้บริการติดตั้งบางราย อาจนำเสนอแผงโซลาร์เซลล์ชนิด อมอร์ฟัส หรือบางทีเรียกว่า Thin film เพราะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้แม้จะอยู่ในที่แสงน้อย

ถัดมาคือเรื่องของ Tier ของแผงโซลาร์เซลล์ บอกเลยว่าให้เลือกผู้ให้บริการติดตั้งที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์ระดับ Tier 1 ครับ ซึ่งข้อมูลจากบทความ แผงโซลาร์เซลล์มาตรฐาน Tier 1 คืออะไร ทำไมถึงต้องเลือกใช้? | บ้านปู เน็กซ์ (banpunext.co.th) แผง Tier 1 มันมีคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้

1️⃣ บริษัทผู้ผลิตต้องควบคุมกระบวนการผลิตตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการผลิตแผ่นซิลิกอนไปจนถึงการประกอบแผง
2️⃣ บริษัทผู้ผลิตต้องมีการลงทุนทำวิจัยและพัฒนาแผงโซลาร์เซลล์รวมถึงกระบวนการผลิต เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพดีขึ้นเสมอ
3️⃣ บริษัทผู้ผลิตต้องใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติขั้นสูงในการผลิต
4️⃣ บริษัทผู้ผลิตต้องมีประสบการณ์ในการผลิตมากกว่า 5 ปี

ติดหลังคาโซล่าเซลล์คุ้มไหม

แล้วเราจะรู้ได้ยังไง ว่าแผงโซลาร์เซลล์อันไหนเป็นแผง Tier 1 ผู้ให้บริการติดตั้งก็อาจจะบอกสเปกไว้ แล้วระบุว่าเป็น Tier 1 แต่จะเชื่อถือได้ไหม? แนะนำให้ไปค้น Google คำว่า Tier 1 Solar Panel List ตามด้วยเลขปีปัจจุบันหรือปีก่อนหน้า (ในกรณีที่เราค้นหาช่วงต้นปีที่ข้อมูลยังไม่ปรับปรุง) ครับ ส่วนของปี 2021 ดูได้จาก Tier 1 Solar Panels List 2021 | RENVU

4. ข้อมูลค่าไฟที่ประหยัดได้ต่อเดือนที่ผู้ให้บริการติดตั้งนำเสนอ เป็นแค่การประมิน

เหตุผลนึงที่หลายๆ คนนึกอยากจะใช้โซลาร์เซลล์ที่บ้านก็คือ รายละเอียดว่าแพ็กเกจโซลาร์เซลล์แบบไหน จะช่วยประหยัดค่าไฟได้เดือนละเท่าไหร่ โดยผู้ให้บริการก็จะมีวิธีการนำเสนอแพ็กเกจแตกต่างกันไปบ้าง เช่น อาจจะนำเสนอเป็นจำนวนกิโลวัตต์ที่ผลิตได้สูงสุดประกอบกับค่าไฟที่ประหยัดได้ หรือบางที่อาจมีการนำเสนอด้วยว่า แพ็กเกจไหนเหมาะกับคนที่บ้านมีค่าไฟประมาณเท่าไหร่

ติดหลังคาโซล่าเซลล์คุ้มไหม
ที่มา: SCG Solar Roof Solutions – SCG Building Materials

แล้วเขาคำนวณกันยังไง? เขามองแบบนี้ครับว่า ใน 1 วัน เราจะมีแสงแดดอยู่ราวๆ 12 ชั่วโมง (ประมาณ 6 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็น บวกลบ) แต่ความเข้มของแสงอาทิตย์มันไม่ได้มากพอที่แผงโซลาร์เซลล์จะผลิตกระแสไฟได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้งวัน บทความ ระบบโซลาร์เซลล์…ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบยั่งยืน | บ้านปู เน็กซ์ (banpunext.co.th) ชี้ว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่แผงโซลาร์เซลล์สามรถผลิตได้ จะอยู่ที่ค่าเฉลี่ยประมาณ 5 ชั่วโมง เขาก็เอาตัวเลขเนี้ย มาคำนวณโดยพิจารณาจากปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงแต่ละกำลังการผลิต

แต่ในทางปฏิบัติจริงนั้น คุณจะได้ใช้ประโยชน์จากโซลาร์เซลล์แบบเต็มที่ จนอาจจะสามารถประหยัดไฟได้ตามตัวเลขที่ผู้ให้บริการติดตั้งนำเสนอ มันมีเงื่อนไขว่า

*️⃣ คุณต้องใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันเยอะพอสมควร อาจจะเรียกว่าใช้เกือบตลอดทั้งวันตั้งแต่ 8 โมงเช้า – 4 โมงเย็น อะไรประมาณนี้เลย และยิ่งหากระบบคิดค่าไฟฟ้าบ้านของคุณเป็นแบบ TOU (Time of Use Tariff) ละก็ จะยิ่งคุ้มมาก เพราะค่าไฟแบบ TOU จะคิดค่าไฟตอนกลางวันแพงกว่าปกติราวๆ 50% ในขณะที่ตอนกลางคืนก็จะถูกลงไปราวๆ 50% เอาโซลาร์เซลล์มาประหยัดไฟตอนกลางวันคือดีมาก
*️⃣ คุณจะต้องใช้ไฟฟ้าหนักๆ ในช่วงที่แผงโซลาร์เซลล์สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เต็มที่ เช่น ถ้าคุณเกิดเน้นใช้ไฟฟ้าช่วย 6 โมงเช้า – 9 โมงเช้า แล้วก็ไปใช้หนักๆ อีกทีตอนบ่าย 3 – 5 โมงเย็น แบบนี้ไม่คุ้มแน่นอน ต่อให้ใช้วันละ 6 ชั่วโมงทุกวัน เมื่อเทียบกับเน้นใช้ตอน 9 โมงเช้า – บ่าย 3
*️⃣ ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในขนาดที่เหมาะสมกับความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วย

ไอ้ที่เขาบอกว่า 8-10 ปี คืนทุนนั้น ถ้าไม่เข้าตามเงื่อนไข ผมว่าใช้เวลานานกว่านั้นกว่าจะคืนทุนครับ เผลอๆ จะกลายเป็นว่า จ่ายค่าไฟล่วงหน้า เพื่อไปลดค่าไฟในอนาคตแทน

อยากรู้ว่าเราเหมาะกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ใช้งานไหม ให้ลองจดมิเตอร์ไฟช่วง 8:00-16:00 ดูก็ได้ ว่าใช้ไฟกี่หน่วย แล้วมาลองดูว่าแผงโซลาร์เวลล์ที่จะติด มันจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้เฉลี่ยวันละกี่หน่วย มันเหมาะสมกันไหม ถ้าเหมาะสม ก็ดูเลยว่าเราพร้อมจะติดตั้งด้วยราคาขนาดนี้ไหม คุ้มไหม

5. การสำรวจหน้างานสำคัญมาก บริษัทไหนมาแบบชุ่ยๆ อย่าเลือกใช้บริการ

เป็นเรื่องปกติที่ผู้ให้บริการติดตั้งจะเสนอบริการสำรวจหน้างานฟรี แต่มันจะมีผู้ให้บริการบางราย (เช่น รายที่ผมดันเลือกมา) มักง่าย ส่งแค่เซลส์มาดูหน้างาน ซึ่งเซลส์ก็ไม่ได้มีความรู้เรื่องการติดตั้งมาก ก็จะได้ข้อมูลไปไม่ครบ อย่างในกรณีที่ผมเจอกับตัวเอง ตอนมาติดตั้งที่หน้างานกลับมาพบว่ามีปัญหาในการติดตั้งหลายอย่าง เช่น หลังคาบ้านในทิศที่จะติดตั้งเป็นกระเบื้องลอนคู่ ซึ่งช่างไม่ได้เตรียมอุปกรณ์มา, การติดตั้งที่ด้านหลังบ้านชั้น 3 ขึ้นไปไม่ได้ เพราะที่บ้านมีการทำหลังคาโรงรถแบบโค้ง รับน้ำหนักต่อพื้นที่ได้ไม่มากเพราะหลังคาเป็นเมทัลชีท และระเบียงชั้น 3 ก็ถูกต่อเติมเป็นห้องทำงาน ที่เป็นหลังคาเมทัลชีทอีกเช่นกัน การขึ้นไปบนหลังคาประเภทนี้ อาจสร้างความเสียหาย ร้ายแรงสุดคือรั่วโดยที่เราไม่รู้ (กว่าจะรู้ก็รอหน้าฝนโลด)

ผู้ให้บริการที่ดี เขาจะมีทีมช่างหรือวิศวกรมาดูที่หน้างานเลย เก็บข้อมูลละเอียดยิบ รวมถึงอาจจะมีการนำโดรนมาบินเพื่อสำรวจหลังคาหรือตำแหน่งที่จะติดตั้งให้เรียบร้อยด้วย

แถมให้อีกนิด เกี่ยวกับบทเรียนที่ได้จากการที่ติดตั้งไม่สำเร็จ

ผู้ให้บริการติดตั้งบางราย จะมีความทู่ซี้ในการติดตั้งมาก ยิ่งพวกที่สำรวจหน้างานแบบขอไปที ได้ข้อมูลมาไม่ครบ แล้วมาพบอีกทีว่าติดตั้งไม่ได้เพราะมีข้อจำกัดต่างๆ (เช่นกรณีของผม เป็นต้น) เขาจะพยายามยืนกรานว่าติดตั้งได้ แม้ว่าเราจะได้คุยกับช่างหน้างานแล้วว่าไม่น่ารอด แต่ถ้าบริษัทไปคุยกับช่างหน้างาน ช่างมักจะโดนกดดันให้พยายามหาทางติดตั้งให้ได้ (เพราะของเบิกมาแล้ว) และหากเรายืนกรานที่จะไม่ติดตั้ง ก็จะกลายเป็นว่าลูกค้าตัดสินใจยกเลิกเอง ก็จะโดนหักมัดจำไป (กินฟรี)

ในฐานะที่เจอมากับตัวเองโดยตรง ขอให้คุยให้แน่ใจกับช่างที่มาติดตั้งหน้างานเลยว่าติดตั้งได้ไหม จะมีปัญหาไหม หากต้องการบำรุงรักษาจะยุ่งยากไหม เพราะมันคือสิ่งที่จะต้องอยู่กับเราไปอีก 25 ปีนะครับ แม้ว่าเซลส์จะยืนยันว่าจะดูแลหลังการขายอย่างดี ให้คิดไว้เลยว่า เซลส์มันจะอยู่ดูแลเราถึง 25 ปีเหรอ มันจะไม่ลาออกย้ายไปทำงานที่อื่นก่อนเหรอ และประกันสินค้า มันกี่ปี และแต่ละอย่างมันครอบคลุมอะไรบ้าง มันจะอยู่ถึง 25 ปีไหม … ฉะนั้น ไฝว้ให้สุดครับ ถ้ามันมองหนทางติดตั้งไม่ได้จริงๆ อย่าฝืน เดี๋ยวจะไม่คุ้มเอาแล้วก็ต้องมาปวดหัวอีก แม้ค่าติดตั้งโซลาร์เซลล์จะไม่ได้แพงเท่าเมื่อก่อนแล้ว แต่มันก็ยังเริ่มต้นที่เกือบแสนอยู่นะครับ

โพสต์อื่นๆ ที่อาจสนใจ

ติดโซล่าเซลล์ดีอย่างไร

จุดเด่นสำคัญของระบบโซล่าเซลล์ ประหยัดพลังงานและไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศที่อาจเกิดขึ้นจากการผลิตไฟฟ้า สามารถใช้งานระบบโซล่าเซลล์ได้อย่างยั้งยืน เพราะรับพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยตรง ซึ่งเป็นพลังงานแสงที่ไม่มีวันหมด

ติดโซล่าเซลเจ้าไหนดี

9 บริษัทติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ ช่วยประหยัดค่าไฟ แถมลดโลกร้อน.
1. SCG Solar Roof Solutions. ภาพจาก เฟซบุ๊ก SCG Brand. ... .
2. Shera Solar System. ภาพจาก เฟซบุ๊ก SHERA. ... .
3. SPR Solar Roof. ภาพจาก sprsolarroof. ... .
4. Brilliant Power. ภาพจาก เฟซบุ๊ก Brilliant Power Co.,Ltd. ... .
5. NextE. ... .
6. J.T.N. ... .
7. KG Solar. ... .
8. Kitijarak Solar Energy..

ติดตั้งโซล่าเซลล์แพงไหม

ราคาติดตั้งโซล่าเซลล์แบบหยาบๆ สำหรับการติดโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน หากเราไปถามผู้ติดตั้งทั่วๆไปที่เน้นราคาถูกเราจะได้ราคาอยู่ที่ประมาณ 110,000 – 130,000 สำหรับระบบ 5kW (ขนาดที่นิยมสำหรับโฮมออฟฟิศขนาดเล็ก) ซึ่งจะลดค่าไฟได้ประมาณ 2,500-3,000 บาทต่อเดือนโดยประมาณ

แผงโซล่าเซลล์มีอายุการใช้งานกี่ปี

แผงโซลาร์เซลล์ใช้งานได้นานเพียงใด? เป็นคำถามที่หลายคนมีอยู่ในใจ จากการศึกษาพบว่า อายุของแผงโซลาร์เซลล์(life expectancy of solar panels) อยู่ในราว 30 ปี ก่อนถูกปลดระวาง