ไม่จ่ายค่าโทรศัพท์ true เป็นไรไหม

ความรู้

ค้างค่าโทรศัพท์-ค่าอินเทอร์เน็ตรายเดือน โดนฟ้องไหม? โพสต์นี้มีคำตอบ

ไม่จ่ายค่าโทรศัพท์ true เป็นไรไหม

ช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ดี รายรับรายจ่าย หลายคนชักหน้าไม่ถึงหลัง ก็อาจจะประสบปัญหากับการค้างจ่ายค่าบริการรายเดือนโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต รวมถึงค่าโทรศัพท์มือถือที่ยังคงติดสัญญาพ่วงรายเดือนที่ยังไม่ครบสัญญาการใช้บริการ  ที่ผ่านมายังมีความเข้าใจผิดของผู้ใช้บริการอีกมากเกี่ยวกับคดีการเป็นหนี้ค้างชำระค่าบริการสาธารณูปโภคเหล่านี้  โพสต์นี้ เราจึงรวบรวม 5 เรื่องความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการเบี้ยวหนี้ มาฝากกัน

ไม่จ่ายค่าโทรศัพท์ true เป็นไรไหม

ไม่จ่ายค่าโทรศัพท์ true เป็นไรไหม

ไม่จ่ายค่าโทรศัพท์ true เป็นไรไหม


ซึ่งต้องทำความเข้าใจกันอีกครั้งว่า การเป็นหนี้นั้น ต้องชดใช้ทุกกรณี แม้จะเป็นการค้างชำระค่าบริการแค่เพียงหลักร้อย หลักพัน หลายคนเข้าใจผิดว่ายอดหนี้ไม่เยอะ บริษัทโอเปอเรเตอร์ต่างๆ เค้าคงไม่เสียเวลามายื่นฟ้องขึ้นโรงขึ้นศาลเป็นคดีความให้เสียเวลา เสียค่าทนาย ค่าศาล แต่อันที่จริงแล้วหากรวมๆยอดหนี้ของลูกค้าหลายคนที่ค้างค่าบริการ ก็เป็นมูลหนี้มหาศาลสำหรับโอเปอร์เรเตอร์ผู้ให้บริการเช่นกัน จงจำไว้ว่า ไม่ว่าคุณจะเป็นหนี้ 10 บาท หรือ 20 บาท ถ้าคุณไม่ชำระหนี้ เขาฟ้องศาล ถึงแม้จะเป็นคดีแพ่ง แต่เขาก็สามารถที่จะยึดทรัพย์สินของคุณได้ ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะมีมูลค่าเท่าไหร่ก็ตาม


ซึ่งตามหลักกฏหมายแล้วการที่จะบังคับชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระ เจ้าหนี้ก็จะต้องไปฟ้องศาล พอเรื่องถึงฟ้องศาลหากเจ้าหนี้ชนะคดี ศาลสั่งให้ลูกหนี้จ่ายแล้วลูกหนี้ก็ยังไม่จ่าย เจ้าหนี้ก็ต้องไปผ่านขั้นตอน ไปสืบทรัพย์ว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอะไรบ้าง  ดั่งเช่นที่เคยเป็นข่าวดังเมื่อปลายปีที่แล้วกรณีหญิงสาวรายหนึ่งที่ จ.พิษณุโลก เบี้ยวค่าผ่อนมือถือ มูลค่ารวม 3 หมื่นกว่าบาท เหลือค่างวดอีกหมื่นเศษๆ แล้วไม่ผ่อนต่อ จึงถูกเจ้าหนี้ฟ้องศาล บังคับชำระหนี้ค่าโทรศัพท์ และยึดที่ดิน ขายทอดตลาด ทำให้เดือดร้อน


โดยในกรณีนี้ทาง ทนายรัชพล ศิริสาคร จากเพจเฟซบุ๊ก สายตรงกฎหมาย โดย ทนายรัชพล ศิริสาคร ให้ความเห็นว่าเกี่ยวกับการค้างชำระหนี้ไว้เป็นอุทาหรณ์


“เป็นเรื่องสัญญา คนที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็ต้องถูกบังคับชำระหนี้ เป็นกระบวนการทางกฎหมาย มันเป็นเรื่องปกติในวงการกฎหมาย แต่ว่าชาวบ้านอาจจะมองว่าไม่เป็นธรรม แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องปกติครับ การที่จะบังคับชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่เขาเบี้ยวมันก็เป็นไปตามกฎหมายแล้วครับ ก็คือว่า ถ้าลูกหนี้เบี้ยวไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็จะต้องไปฟ้องศาล พอฟ้องศาลปุ๊บ สมมติว่าชนะคดี ศาลสั่งให้ลูกหนี้จ่ายแล้วลูกหนี้ก็ยังไม่จ่าย เจ้าหนี้ก็ต้องไปผ่านขั้นตอน ไปสืบทรัพย์ว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอะไรบ้าง


มมติว่า อย่างเคสนี้เจอทรัพย์สินว่าลูกหนี้มีที่ดิน ก็ต้องดำเนินการขั้นตอนต่อไปก็คือบังคับคดี บังคับคดีก็คือ เอาที่ดิน ยึดที่ดินมานะครับ แล้วก็ไปขาดทอดตลาดได้เท่าไหร่ก็เอาเงินมาชำระหนี้ ส่วนที่เหลือก็ต้องคืนแก่ลูกหนี้ ก็ถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่างแล้ว เพราะฉะนั้นลูกหนี้ ถ้าใครรู้ว่าตัวเองเป็นหนี้อยู่แล้วไปเบี้ยวหนี้ อาจจะถูกบังคับคดี ยึดทรัพย์สินได้นะครับ ถ้ารู้ตัวเองว่าเป็นลูกหนี้ก็ควรชำระหนี้ อย่าปล่อยให้เกิดการฟ้องศาล หรือว่าบังคับชำระหนี้ขึ้นมา ไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดความเสียหายอย่างเช่นกรณีตัวอย่างได้”

เครดิตภาพจาก : 28_Sept /ทุกภาพ


เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

จำข่าวนี้ได้ไหม ที่มีชาวบ้านจังหวัดพิษณุโลกค้างชำระค่าโทรศัพท์ 16 งวด สุดท้ายรู้ตัวอีกทีโดนกรมบังคับคดียึดที่ดินไป 4 ไร่ นั่นหมายความว่าการค้างชำระค่าโทรศัพท์ หรือการขาดผ่อนส่งมือถืออาจไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ

เพราะด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ก็มีความผันผวนแปรปรวนอยู่ตลอดทำให้เราต้องเลือกที่ใช้จ่ายเพื่อให้รอดไปตามสภาพคล่องที่เรามี ซึ่งผมเองไม่อยากเห็นใครต้องมาสูญเสียอะไรที่ไม่ควรจะสูญไปนะครับ ดังนั้นผมอยากจะให้คิดให้ดีกันอีกสักทีก่อนที่จะทำสัญญาต่าง ๆ โดยเฉพาะค่าโทรศัพท์รายเดือน และการซื้อเครื่องติดโปรครับ

อย่างที่กล่าวไปเมื่อตอนต้นว่ามีคนถูกกรมบังคับคดียึดที่ดินไป 4 ไร่ เอาไปขายทอดตลาด เพื่อเอาเงินมาชำระค่าโทรศัพท์ที่ค้างอยู่ 16 งวด ซึ่งต้องบอกเลยนะครับว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง เพราะเราไปสัญญาไว้ว่าจะจ่ายตามที่กำหนด แต่ถึงเวลาเราไม่รักษาสัญญา ไม่ได้จ่ายตามนั้น เราก้มีสิทธิที่จะถูกฟ้องได้ตามกฎหมายนะครับ

มีหลายคนเข้าใจนะครับว่าหนี้มีอายุความ 2 ปี ถ้าขาดอายุความแล้ว เราไม่ต้องจ่ายก็ได้ ทุกอย่างจะจบเอง มันไม่จบนะครับ เพราะสิทธิ์ในการทวงหนี้เป็นของเจ้าหนี้ แม้จะขาดอายุความแล้วเขาก็ยังตามทวงได้
บางคนอาจจะบอกนะครับหนี้ไม่กี่พันบาทเขาไม่ฟ้องหรอก ซึ่งก็เป็นความจริงในยุคก่อนนะครับ แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปโดยจำนวนคนมีหนี้ประเภทนี้มากขึ้น ทำให้ผู้บริการจำต้องดิ้นรนเพื่อหาทางลดจำนวนหนี้เหล่านี้ โดยการ “สุ่มหรือเลือก” ฟ้องร้องผู้บริโภคบางรายที่มีหนี้น้อยกว่า 3,000 บาท เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างและลบความเชื่อว่าหนี้จำนวนน้อยไม่ถูกฟ้อง แต่แน่นอนครับไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลคนถูกฟ้องได้นะครับ เพราะเป็นเรื่องทางกฎหมาย

แต่ไม่ต้องกังวลเรื่องติดคุกติดตารางนะครับ เพราะหนี้เป็นคดีทางแพ่งครับ ไม่มีเรื่องโทษจำคุก
ซึ่งนอกจากเรื่องการของถูกฟ้องร้องแล้ว เราจะใช้บริการกับค่ายนั้นไม่ได้อีก หรือที่เรียกกันว่าติด blacklist ซึ่งในอนาคตการติด blacklist จะไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะมีข่าวนะครับอนาคตค่ายมือถือจะจับมือกันปฏิเสธการให้บริการลูกค้าที่ติด blacklist เพื่อป้องกันการหนีหนี้จากที่หนึ่ง ไปอีกที่หนึ่งนะครับ ซึ่งมันก็จะทำให้เราเสียสิทธิ์ในการใช้บริการไป

ยังมีอีกกรณีที่ต้องพูดถึงเหมือนกันก็คือการ ซื้อเครื่องในราคาพิเศษที่ถูกลง แต่ก็ต้องแลกมากับการที่จะต้องใช้บริการของค่าย ๆ นั้นให้ครบตามเงื่อนไข พูดง่าย ๆ ก็คือซื้อเครื่องติดโปร นั่นแหละครับ

ซึ่งก็มีบางคนนะครับที่พอซื้อเครื่องติดโปรจากค่ายนั้น แต่ก็พยายามไปหาที่ปลดล็อกให้ใช้บริการจากค่ายนู้น ซึ่งผมก็ไม่แนะนำให้ทำเลยนะครับ มันเสี่ยงมากที่เราจะถูกฟ้องร้องรุนแรงกว่าปกติ เพราะเหมือนเป็นการผิดสัญญา ต้องทำความเข้าใจนิดหนึ่งนะครับว่าเราจ่ายค่าเครื่องล่วงหน้าไปแล้วก็จริง แต่อย่าลืมว่านั่นเป็นราคาพิเศษที่แลกมาด้วยสัญญาตามที่ผู้ให้บริการระบุไว้ ดังนั้นถ้าเราทำอะไรที่เกินเลยไปก็เท่ากับผิดสัญญาครับ

ตรงนี้ก็ต้องพูดตามตรงนะครับว่ามันเป็นเรื่องของธุรกิจ เช่น มือถือราคา 35,000 บาท แต่ถ้าซื้อพร้อมโปรจะเหลือ 25,000 บาท ลดไปเป็นหมื่นเลย ส่วนต่างตรงนี้แหละครับที่ค่ายมือถือเขาออกให้ก่อนในตอนแรก ภายใต้เงื่อนไข 12 เดือน หรือ 24 เดือนก็ว่ากันไป ซึ่งถ้าหากอยู่ดี ๆ เราไปเลิกใช้ก่อนกำหนด เงินที่ทางค่ายควรจะได้รับตามสัญญาก็หดหายไป ทำให้เขาจำเป็นต้องฟ้องร้องตามกฎหมาย

ในกรณีนี้เองก็มีบางคนเข้าใจนะครับว่าการเอาซิมออก การถอดปลั๊กอุปกรณ์ หรือเลิกใช้งานแล้ว เขาจะยกเลิกสัญญาเครื่องติดโปรให้เอง ไม่ใช่นะครับ ส่วนนี้ต้องเข้าใจใหม่เลย เราเป็นผู้ใช้บริการ เราไปทำสัญญาแล้ว เราก็มีหน้าที่ที่จะต้องไปยกเลิกการใช้บริการและชำระค่าบริการให้ถูกต้องนะครับ เพราะมันเป็นสิทธิ์ของเราเองที่จะใช้งานหรือยกเลิก ผู้ให้บริการเขาไม่รู้เจตนาเรานะครับว่ายังใช้บริการอยู่หรือไม่ เพราะถ้าอยู่ดี ๆ เขาไประงับสัญญาณโดยไม่มีสาเหตุ ค่ายมือถือก็อาจจะมีความผิดได้ ดังนั้นจะใช้หรือไม่ใช้ ไปรักษาสิทธิ์แจ้งเจตนาของเราให้ชัดเจน ไม่งั้นค่าบริการก็จะเดินไปเรื่อย ๆ ครับ

อันนี้ก็รวมไปถึงการย้ายค่ายเปลี่ยนเบอร์ด้วยนะครับ ไปแจ้งให้เรียบร้อยนะครับ อย่าปล่อยเฉย ๆ เพราะค่าบริการมันเดินอยู่ตลอด เหมือนที่บางคนบอกนะครับว่าใช้จริงแค่ 2,000 เอง เพราะหลังจากนั้นเราย้ายค่ายแล้ว ทำไมจดหมายทวงมา 8,000 ละ มันก็มาตามสัญญาที่เราตกลงไว้ตอนแรกนั่นแหละครับ

และเพื่อไม่ให้คุณผู้ชมของผมต้องสูญเสียในสิ่งไม่ควรจะสูญเสีย ผมจะมาแนะนำถึงทางออกของเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ครับ

ในกรณีที่ผิดสัญญาค่าบริการ: ผมก็อยากแนะนำให้ติดต่อผู้ให้บริการเพื่อแสดงเจตนาที่ดีในการชำระค่าบริการ ซึ่งถ้าหากเรื่องเลยเถิดไปถึงการฟ้องร้องแล้ว มีโอกาสสูงมากที่โทษหนักจะกลายเป็นเบา

ในกรณีที่ผิดสัญญาค่าเครื่อง: ก็แน่นอนว่าต้องติดผู้ให้บริการเพื่อแสดงเจตนาที่ดีในการชำระค่าบริการเช่นกัน แต่นั่นคือการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุแล้ว ถ้าย้อนกลับไปที่ต้นเหตุ เราอาจจะลองมองสมาร์ตโฟนที่ราคาถูกแต่คุณภาพเกินตัว ซึ่งเดี๋ยวนี้ร้านสะดวกซื้อบางแห่งก็มีขายแล้ว แถมมีซิมเติมเงินรายเดือนให้มาด้วย

ข้อดีนอกจากเรื่องของราคาและค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงแล้ว ยังไม่มีสัญญาผูกมัด เพราะอยากใช้เท่าไหร่ ก็จ่ายเท่านั้น หมดกังวลเรื่องถูกฟ้องร้องจากการผิดสัญญาค่าบริการ

และทั้งหมดนี้ก็สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้นะครับ ถ้าเราไม่จ่ายค่าโทรศัพท์ หรือค้างชำระค่าเครื่องติดโปร ด้วยสภาพเศรษฐกิจแบบนี้การเลือกใช้จ่ายเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งสิทธิในการเลือกนั้นเป็นของเรานะครับ ถ้าเราอ่านสัญญาแล้ว คิดว่ามันแพงไป ไม่เป็นธรรมก็อย่าไปทำสัญญา ถอยออกมาดีกว่า

สำคัญที่สุดนะครับ อย่าใช้เกินตัวจนลำบาก อย่าคิดจะไปโกงใคร เท่านี้ชีวิตดีครับ

See also

ไม่จ่ายค่าโทรศัพท์ true เป็นไรไหม

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส