ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการชำระเงิน

"ธปท." เร่งออกใบอนุญาตธุรกิจ E-Payment ชี้ "โควิด" ดันยอดพร้อมเพย์ พุ่ง สิ้นเดือนเม.ย. แตะ 16 ล้านรายการต่อวัน!

29/05/2020


น.ส.สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การใช้งานบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment)​ ได้รับความนิยมและมีปริมาณการใช้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริการโอนเงินและชำระเงิน ทำให้มีผู้สนใจประกอบธุรกิจด้านนี้เพิ่มขึ้นมาก

โดยปัจจุบัน มีผู้ประกอบธุรกิจการชำระเงินตาม พ.ร.บ.ระบบการชำระเงิน พ.ศ. 2561 จำนวน 118 ราย ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ธปท. มีการอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการการชำระเงินรายใหม่ไปแล้วจำนวน 17 ราย รวม 32 ใบอนุญาต และอยู่ระหว่างดำเนินการอีก 10 ราย

ทั้งนี้ ธปท.ได้กำหนดกระบวนการพิจารณาอนุมัติใบอนุญาตที่ชัดเจน โดยใช้เวลา 60 วันนับตั้งแต่วันที่ยื่นเอกสารครบถ้วนถูกต้องแล้ว ซึ่งรายละเอียดการขออนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจ ได้เผยแพร่ผ่านคู่มือประชาชนบนเว็บไซต์ ธปท.

โดยการพิจารณาได้ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง รูปแบบการประกอบธุรกิจ ความมั่นคงเข้มแข็งของระบบงาน และการคุ้มครองผู้ใช้บริการ รวมทั้งการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลที่ดีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

น.ส.สิริธิดา กล่าวว่า สำหรับธุรกรรมโอนเงินและชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ พร้อมเพย์ โดย ณ สิ้นเดือนเม.ย.63 มียอดลงทะเบียนแล้ว 52 ล้านหมายเลข ธุรกรรมเฉลี่ย 11 ล้านรายการต่อเดือน และในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีจำนวนธุรกรรมสูงสุดถึง 16 ล้านรายการต่อวัน ในวันสิ้นเดือนเม.ย.63 และมีร้านค้าที่รับชำระด้วย QR Code กว่า 6 ล้านจุด

ธปท.เผยการใช้ e-payment เพิ่มสูงขึ้นช่วงโควิด ชี้ ผู้ประกอบการรายใหม่ยื่นขอใบอนุญาตต่อเนื่อง หลังรออนุมัติอีก 10 ราย จากอนุมัติไปแล้ว 17 ราย 32 ใบอนุญาต จากในช่วง 2 ปีมีผู้ประกอบการกว่า 118 ราย ยันพร้อมอนุมัติหากคุณสมบัติครบ ระบุโควิด-19 ดันยอดพร้อมเพย์แตะ 16 ล้านรายการ ยอดลงทะเบียน 52 ล้านเลขหมาย

นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การใช้งานบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้รับความนิยมและมีปริมาณการใช้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริการโอนเงินและชำระเงิน ทำให้มีผู้สนใจประกอบธุรกิจด้านนี้เพิ่มขึ้นมาก

  • “ประธานใหญ่โตโยต้าญี่ปุ่น” มาทำอะไรในเมืองไทยเกือบ 2 สัปดาห์? 
  • พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
  • รู้จัก Dawn–AI Avatars แอปพลิเคชั่น ที่ดาราใช้แปลงร่างเป็นอวตาร

ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการชำระเงิน

ปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจการชำระเงินตาม พ.ร.บ.ระบบการชำระเงิน พ.ศ. 2561 จำนวน 118 ราย โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ธปท. มีการอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการการชำระเงินรายใหม่ไปแล้วจำนวน 17 ราย รวม 32 ใบอนุญาต และอยู่ระหว่างดำเนินการอีก 10 ราย

ทั้งนี้ ธปท. ได้กำหนดกระบวนการพิจารณาอนุมัติใบอนุญาตที่ชัดเจน โดยใช้เวลา 60 วันนับตั้งแต่วันที่ยื่นเอกสารครบถ้วนถูกต้องแล้ว ซึ่งรายละเอียดการขออนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจได้เผยแพร่ผ่านคู่มือประชาชนบนเว็บไซต์ ธปท.https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/PSA_Oversight/Application_Manual/Pages/default.aspx โดยการพิจารณาได้ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง รูปแบบการประกอบธุรกิจ ความมั่นคงเข้มแข็งของระบบงาน และการคุ้มครองผู้ใช้บริการ รวมทั้งการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลที่ดีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

สำหรับธุรกรรมโอนเงินและชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ พร้อมเพย์ ปัจจุบันมียอดลงทะเบียนแล้ว 52 ล้านหมายเลข ธุรกรรมเฉลี่ย 11 ล้านรายการต่อเดือน และในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 มีจำนวนธุรกรรมสูงสุดถึง 16 ล้านรายการในเดือนเมษายน 2563 และมีร้านค้าที่รับชำระด้วย QR Code กว่า 6 ล้านจุด

มายถึง บริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อครบกำหนดระยะเวลา ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋วแลกเงิน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยและหลักทรัพย์ ธุรกิจอนุพันธ์ทางการเงิน ธุรกิจธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (e-banking)  ธุรกิจการเงินและธุรกิจการให้บริการอื่น ธนาคารพาณิชย์แบ่งออกได้อีก 4 ประเภท ดังนี้​

1.1.1  ธนาคารพาณิชย์ไทย (ดูราย​ชื่อธนาคาร)​

1.1.2  ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (Retail Bank) มายถึง บริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้บริการทางการเงินพื้นฐาน เช่น การรับฝากเงิน การโอนและรับชำระเงินแก่ประชาชนรายย่อย  และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจที่มีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูง เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับ เงินตราต่างประเทศ และตราสารอนุพันธ์ (ดูรายชื่อธนาคาร)​​​​

1.1.3  ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (Subsidiary) หมายถึง บริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนในประเทศไทยและได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ โดยมีธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด (ดูรายชื่อธนาคาร)​

1.1.4  สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (Foreign Bank Branch / Full Branch) หมายถึง สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (ดูรายชื่อธนาคาร)​

​1.2  บริษัทเงินทุน (Finance Company)

หมายถึง บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ โดยสามารถรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่จะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และต้องฝากเงินไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบาท โดยสามารถให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ การรับซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยวิธีขายฝาก (ดูรายชื่อบริษัท)​​