แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาล

บทความนี้เรียบเรียงจาก NHS health career ของประเทศอังกฤษ ซึ่งกล่าวถึงบทบาทของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ในประเทศอังกฤษ

Show

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะวินิจฉัย จัดการและป้องกัน โรคจากการทำงาน ซึ่งหมายถึง โรคซึ่งเกิดจากการทำงานหรืออาการของโรคที่เป็นอยู่กำเริบจากปัจจัยในที่ทำงาน แพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับมิติต่างๆ ของผลจากงานต่อสุขภาพ และผลต่อสุขภาพที่มีต่องาน

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ จะเยี่ยมสถานประกอบการและประเมินขอบเขตของผลของงานต่อสุขภาพ หน้าที่สำคัญคือช่วยให้คนทำงานสามารถทำงาน หรือกลับเข้าทำงานหลังเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย โดยงานของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะมีหลากหลาย เป็นการรวมการมีเวชปฏิบัติทางคลินิกกับการมีอิทธิพลและปรับพฤติกรรมของคนทำงาน และองค์กร การป้องกันการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บซึ่งเกิดจากงานเป็นงานสำคัญของอาชีวเวชศาสตร์เช่นเดียวกับการฟื้นฟูหลังเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์อาจถูกจ้างโดยรัฐบาลหรือองค์กรขนาดใหญ่ เช่นหน่วยงานฉุกเฉิน กองทัพ หรือ หน่วยงานคมนาคม รวมถึงรถไฟ ซึ่งเป็นโอกาสดีสำหรับการทำงาน part time การถูกจ้างหลายงาน โรงงานส่วนใหญ่จะมีบริการอาชีวอนามัยของตนเอง ซึ่งทำให้แพทย์มีโอกาสถูกจ้าง แม้ว่ามีแนวโน้มจะลดลงในประเทศอังกฤษ

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ยังถูกจ้างโดยหน่วยงานอาชีวอนามัยที่เป็นอิสระซึ่งให้บริการอาชีวอนามัยกับนายจ้างจำนวนหนึ่ง

ปัจจัยทางจิตวิทยา เป็นเรื่องสำคัญในอาชีวเวชศาสตร์ เช่น ในกองทัพ เรื่องการดื่มเหล้า ภาวะซึมเศร้า และการตัดสินใจผิดปกติ ซึ่งมีมาก และที่จะลืมไม่ได้คือ Post traumatic stress disorder

ตัวอย่างที่สำคัญที่เป็นปัญหาท้าทายแพทย์อาชีวเวชศาสตร์เช่นการดื่มเหล้าจนทำให้เกิดปัญหาความปลอดภัย การควบคุมน้ำหนักสำหรับคนงานในอุตสาหกรรมขนส่ง และการจัดการให้บุคลากรทางการแพทย์กลับเข้าทำงานภายหลังไปทำงานในประเทศที่มีความเสี่ยงต่อโรคติดต่อ

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ยังต้องใช้ความรู้ทางคลินิกร่วมกับความเข้าใจในกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงาน ความผิดทางอาชญากรรม ร่วมกับกฎหมายเกี่ยวกับสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม

เนื่องจากความสำคัญของการทำงานต่อสุขภาพ ซึ่งมีความเข้าใจกว้างขวางขึ้น อาชีวเวชศาสตร์ก็ขยายบทบาทเป็นหัวข้อทางการเมือง และจะเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในอนาคต

การสอนนักเรียนแพทย์และแพทย์ประจำบ้านจะเป็นส่วนหนึ่งของงานของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ซึ่งทำงานในโรงพยาบาลที่มีการเรียนการสอนหรือในมหาวิทยาลัย

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะประเมินสถานที่ทำงานเพื่อดูความเสี่ยงต่อสุขภาพ และสร้างโมเดลการทำงานหลายๆแบบเพื่อควบคุมความเสี่ยงเหล่านั้น โดยการทำงานโดยตรงกับคนงานเป็นรายบุคคล

เนื่องด้วยในสภาวการณ์ในปัจจุบัน ได้มีการอบรมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ในหลายสถาบัน ฝึกอบรม สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ จำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานสมรรถนะของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ที่ได้รับวุฒิบัตรและ หนังสืออนุมัติ จากแพทยสภา ซึ่งถือเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเป็นแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ รวมถึงกำหนด สมรรถนะแพทย์ผู้ผ่านการอบรมเบื้องด้นทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ หลักสูตร 2 เดือน เพื่อควบคุมมาตรฐานการ ปฏิบัติงานทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน รวมถึงเป็นแนวทางในการจัด หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ สมาคมโรคจากการ ประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย จึงขอประกาศสมรรถนะแพทย์ผู้ปฏิบัติงานทางด้านอาชีวเวช ศาสตร์ ดังต่อไปนี้

  1. สมรรถนะของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์(วุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติ)รับรองโดยแพทยสภา
  2. สมรรถนะของแพทย์อบรมความรู้เบื้องด้นด้านอาชีวเวชศาสตร์ หลักสูตรที่ได้รับการรับรองโดย อฝส.

สมรรถนะของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ (วุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติ) รับรองโดยแพทยสภา

1. Medical Emergency in Workplace

  • วางแผน ออกแบบ และบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่อาจเกิดในที่ทำงาน ได้แก่ การจำแนกความรุนแรงของการบาดเจ็บและเจ็บป่วย (injury and illness classification) การออกแบบระบบตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ภายในสถานประกอบการและชุมชน การใช้ข้อมูลทางด้านภูมิประเทศ ลมฟ้าอากาศ สิ่งคุกคามต่อสุขภาพ ทรัพยากรทางการแพทย์มาประกอบการวางแผนและประเมินความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ ตลอดจนการให้คำแนะนำการจัดห้องปฐมพยาบาล ตลอดจนอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนที่จำเป็น

2. Exposure assessment

  • สามารถดำเนินการสำรวจสถานประกอบการ (walkthrough survey) ได้ด้วยตนเองและ ทีมงาน เพื่อค้นหาสิ่งคุกคามต่อสุขภาพ ประเมินการสัมผัสสิ่งคุกคาม ประเมินการปฏิบัติตาม มาตรฐานหรือกฎหมาย สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินการทางด้านอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ รวมถึงประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพเพื่อใช้ในการวางแผนเฝ้าระวัง สุขภาพของคนงาน เช่น การกำหนดรายการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง ตามลักษณะการ ทำงาน และรวมถึงเป็นข้อมูลในการช่วยการวินิจฉัยโรคจากการประกอบอาชีพและ สิ่งแวดล้อม
  • มีความรู้เบื้องด้นเกี่ยวกับความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม (industrial hygiene) อ่าน และแปลผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานด้วยสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ตลอดจนการ ใช้เครื่องมืออื่น ๆ ในการประเมินการสัมผัส เช่น ข้อมูลทางระบาดวิทยา JEM (job exposure matrix)
  • มีความเข้าใจด้านการควบคุมความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน และสามารถสื่อสารให้ เกิดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้ปลอดภัย โดยสามารถทำงานร่วมกับวิชาชีพ อื่น ๆ ที่เป็นวิชาชีพด้านความปลอดภัยในการทำงาน สุขศาสตร์อุตสาหกรรม พยาบาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล เป็นต้น

3. Health and Medical Surveillance

  • วางแผน ออกแบบ และบริหารจัดการโครงการด้านสุขภาพอาชีวอนามัยภายในสถาน ประกอบการ สถานพยาบาลภาครัฐ ภาคเอกชน และภายในชุมชนรอบสถานประกอบการ (การเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพการทำงานและจากสิ่งแวดล้อม)
  • สามารถประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ (health risk assessment; HRA) โดยสามารถ เลือกใช้รูปแบบการประเมินHRA ได้อย่างเหมาะสมกับสิ่งคุกคาม (เนื่องจากมีหลายวิธี)
  • ออกแบบและสามารถให้การประเมินความพร้อมทางสุขภาพของพนักงานได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
  • กำหนดเกณฑ์การเฝ้าระวังทางการแพทย์ (medical surveillance) ที่ถูกต้องและเหมาะสม กับภาวะสิ่งคุกคามต่อสุขภาพในที่ทำงาน ทั้งนี้ต้องสามารถเลือกใช้แนวทาง การเฝ้าระวังทาง การแพทย์ (medical surveillance) ของต่างประเทศที่มีแนวทางกำหนดเป็นมาตรฐาน เช่น OSHA (US), HSE (UK), Australia, Singapore เป็นด้น
  • สามารถกำหนดมาตรฐาน ตรวจสอบ และรับรองคุณภาพการให้บริการตรวจสุขภาพทางอาซี วอนามัย (การบริการอาชีวอนามัยฯ) และบริการด้านสุขภาพอาชีวอนามัยอื่น ๆ อย่างมือ อาชีพ (professional)
  • รับรองผลการวิเคราะห์การแปลผลแบบเทียบข้อมูลพื้นฐานรายกลุ่ม ทุกประเภท (NIOSH, OSHA, OSHA age correction, etc.)
  • รับรองผลการปรับเลือกข้อมูลพื้นฐานการตรวจสมรรถภาพการได้ยินตามมาตรฐานสากล
  • รับรองผลตรวจสุขภาพรายบุคคล และรายกลุ่ม
  • วิเคราะห์และวิจัย ผลตรวจสุขภาพข้อมูลทางสุขภาพอาชีวอนามัย และผลการตรวจวัด สภาพแวดล้อมการทำงาน โดยอาศัย สถิติทางการแพทย์ ระบาดวิทยา พิษวิทยา อาชีวเวช ศาสตร์ เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม และหลักการด้านสุขภาพอาชีวอนามัยอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อ บ่งชี้สาเหตุของความผิดปกติทางสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การป้องกัน

4. Fitness for Duty and Return to Work

  • กำหนดเกณฑ์การประเมินความสมบูรณ์พร้อมในการทำงานสำหรับแต่ละลักษณะการทำงาน
  • รับรองผลการประเมินความสมบูรณ์พร้อมในการทำงานและการประเมินการสูญเสียอวัยวะที่ เกี่ยวข้องกับการทำงาน
  • รับรองผลการประเมินการกลับเข้าทำงานของผู้ป่วย หรือ พนักงาน

5. Diagnosis (Work-relate and Occupational)

  • รับรองผลการสอบสวนโรคจากการทำงานและการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน
  • วินิจฉัยโรคจากการทำงานด้วยหลักการวินิจฉัยที่เป็นสากล และอาศัยข้อมูลทางการแพทย์ที่ ทันสมัยในการสนับสนุนการวินิจฉัย
  • มีทักษะในการใช้เครื่องมือในการวินิจฉัยโรคเหตุอาชีพ ได้ในระดับดีถึงดีมาก เช่น questionnaire, spirometry, serial peak flow, skin prick test, patch tests, audiometry และการเลือกใช้ค่ามาตรฐาน BEIs เป็นด้น

6. Other

  • ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพอาชีวอนามัย ด้วยข้อมูลวิชาการทางการแพทย์ที่เป็นปัจจุบันทั้ง ข้อมูลภายในประเทศและข้อมูลจากต่างประเทศ เป็นไปตามหลักจริยธรรมด้านอาชีวอนามัย และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • วิทยากรอบรมความรู้ด้านสุขภาพอาชีวอนามัย
  • สามารถอธิบายกลไกการเกิดพิษจากสารเคมีในสถานที่ทำงาน โดยอาศัยหลักการทางพิษวิทยา และให้คำแนะนำการวางระบบเฝ้าระวังสุขภาพ
  • มีความรู้เบื้องด้นและสามารถให้คำแนะนำ เกี่ยวกับ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถาน ประกอบการที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน เช่น ระบบระบายอากาศ บ่อบำบัด น้ำเสีย ระบบไฟฟ้า การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน การจัดทำแผนที่สถานการณ์ ทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นด้น
  • กำกับดูแลการปฏิบัติงานของแพทย์อบรมความรู้เบื้องด้นด้านอาชีวเวชศาสตร์ (สามารถใช้ ประกอบการยื่นสอบหนังสืออนุมัติ)
  • ลักษณะงานทางอาชีวอนามัยที่กำหนดให้แพทย์อบรมความรู้เบื้องด้นด้านอาชีวเวชศาสตร์ สามารถปฏิบัติได้
  • ปฏิบัติงานร่วมกับ ฝ่ายบุคคล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย พยาบาลอาชีวอนามัย แพทย์อบรม ความรู้เบื้องด้นด้านอาชีวเวชศาสตร์ แพทย์เฉพาะทางสาขาอื่น ๆ สถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน
  • ภาระงานอื่น ๆที่มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพอาชีวอนามัย
  • มีคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพ

สมรรถนะของแพทย์อบรมความรู้เบื้องด้นด้านอาชีวเวชศาสตร์ หลักสูตรที่ได้รับการรับรองโดย อฝส.

แพทย์อบรมความรู้เบื้องด้นด้านอาชีวเวชศาสตร์ สามารถทำได้ด้วยตนเอง

1. Medical Emergency in Workplace

  • ดูแลรักษาเบื้องด้นสำหรับผู้ป่วยที่เกิดภาวะฉุกเฉินภายในสถานประกอบการก่อนดำเนินการ ส่งต่อแพทย์เฉพาะทางประจำสถานพยาบาลในพื้นที่ เช่น อุบัติภัยสารเคมี ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน

2. Health and Medical Surveillance

  • ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
  • ตรวจสุขภาพประจำปี
  • ตรวจสุขภาพทั่วไป
  • การสื่อสารความเสี่ยงทางสุขภาพ
  • ให้ความเห็นเบื้องด้นเกี่ยวกับ สุขภาพของพนักงานเข้าทำงานในที่อับอากาศ
  • ใช้เครื่องมือในการตรวจและแปลผลการสุขภาพตามความเสี่ยงได้ด้วยตนเอง เช่น ตรวจ สมรรถภาพการได้ยิน ตรวจสมรรถภาพการมองเห็น ตรวจสมรรถภาพปอด
  • แปลผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ทั้งแบบมีข้อมูลพื้นฐาน (ที่ปรับเลือกโดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์) และ ไม่มี
  • เข้าใจมิติในเรื่อง การสร้างสุขในองค์กร (Happy workplace) และนำไปประยุกต์ใช้ ได้อย่าง เหมาะสม

3. Diagnosis (Work-related and Occupational)

  • วินิจฉัยโรคจากการทำงานที่พบได้บ่อย
  • คัดกรองพนักงาน/ผู้ป่วยที่สงสัยโรคจากการทำงานเพื่อส่งพบแพทย์อาชีวเวชศาสตร์วินิจฉัย
  • วิทยากรอบรมความรู้เบื้องด้นด้านสุขภาพอาชีวอนามัย เช่น โรคจากการทำงานที่พบได้บ่อย และการป้องกัน
  • ตระหนัก ประเมิน ควบคุมสิ่งคุกคาม เฝ้าระวังและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพและ สิ่งแวดล้อม

4. Others

  • ปฏิบัติงานร่วมกับแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ที่ได้รับการรับรองโดยแพทยสภา ฝ่ายบุคคล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย พยาบาลอาชีวอนามัย แพทย์เฉพาะทางสาขาอื่น ๆ สถาน ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยตระหนักถึงขอบเขตงานที่ทำได้ด้วย ตนเอง
  • มีคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพ

แพทย์อบรมความรู้เบื้องต้นต้านอาชีวเวชศาสตร์ สามารถทำได้ในลักษณะเป็นทีมภายใต้การกำกับ ดูแลการปฏิบัติงานโดยมีแพทย์อาชีวเวชศาสตร์เป็นหัวหน้าทีม

  1. ดำเนินการสำรวจสถานประกอบการ (walkthrough survey) ค้นหาสิ่งคุกคามต่อสุขภาพ ประเมินการสัมผัสสิ่งคุกคาม การปฏิบัติตามมาตรฐานหรือกฎหมาย เพื่อใช้ประกอบการวาง แผนการดำเนินการทางด้านอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ ประกอบการวางแผนเฝ้า ระวังสุขภาพของคนงาน และประกอบการวินิจฉัยโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
  2. กำหนดรายการ ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง ตรวจสุขภาพเพื่อประเมินความสมบูรณ์พร้อม ในการทำงาน
  3. สอบสวนโรคจากการทำงาน
  4. ประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ
  5. ประเมินการกลับเข้าทำงานของผู้ป่วย หรือ พนักงาน
  6. เขียนเอกสารงานวิจัยประกอบการยื่นสอบหนังสืออนุมัติ

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ คืออะไร

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ (occupational physician) เป็นแพทย์ที่มีความรู้เฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพของคนทำงาน การทำงานของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงงาน (factory) หรือองค์กรธุรกิจ (business organization) ต่างๆ นั้นมีหลากหลายกิจกรรม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้คนทำงานมีสุขภาพดีขึ้นทั้งสิ้น

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์เรียนกี่ปี

แรกเริ่มนะครับหลังจากหมอบีทำงานเป็นแพทย์ทั่วไปอยู่ 3 ปี จากนั้นจึงเข้าอบรมหลักสูตรแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ระยะสั้นสองเดือน หรือแปดสัปดาห์ที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีครับ จะเป็นหลักสูตรอบรมที่สั้นที่สุดและได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งครับ ภาพรวมรุ่นแพทย์ประจำบ้านสาขาอาชีวเวชศาสตร์โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ^^

อาชีวเวชศาสตร์และการพยาบาลคืออะไร

อาชีวเวชศาสตร์” (occupational medicine) เป็นวิชาการแพทย์แขนงหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องการดูแลสุขภาพของคนทำงาน วิชาอาชีวเวชศาสตร์นี้ ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพของคนทำงาน แต่เนื่องจากปัญหาโรคจากการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่ป้องกันได้ องค์ความรู้ของวิชานี้ในปัจจุบันจึงเน้นหนักไปทางการป้องกันโรค ...

เเพทย์อาชีวอนามัยมีหน้าที่อย่างไร

1. ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของผู้ท างานจากอันตรายใน การท างาน 2. ปรับปรุงสภาพการท างานให้เหมาะสมกับผู้ท างาน 3. ส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้ท างาน 4. รักษาและฟื้นฟูสภาพของผู้ท างานจากการบาดเจ็บหรือป่วย เป็นโรคจากการท างาน 5. ให้บริการทางสุขภาพทั่วไปแก่ผู้ท างานและครอบครัว กิจกรรมในการให้บริการอาชีวอนามัย