หลักส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย ตัวอย่าง

ส่วนได้เสียตามกฎหมายประกันภัยเป็นสิ่งสำคัญตามกฎหมายซึ่งกฎหมายบังคับไว้ว่าผู้เอาประกันภัยนั้นจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ได้เอาประกันภัยไว้ มิเช่นนั้นจะมีผลให้สัญญาประกันภัยไม่ผูกพันคู่สัญญาอย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพณิชย์ มาตรา 863 โดยหากผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้ก็อาจทำให้สัญญาดังกล่าวเข้าข่ายเป็นลักษณะของการพนันขันต่อได้ ส่วนได้เสียตามกฎหมายประกัยในมาตรา 863 จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สามารถแยกประเภทของสัญญาประกันภัยกับการพนันขันต่อได้ โดยส่วนได้เสียตามกฎหมายนั้นสามารถแยกอธิบายได้ดังนี้

   1.ในกรณีของประกันวินาศภัย คือประกันภัยอย่างใดที่สามารถประมาณเป็นเงินได้ กล่าวคือผู้เอาประกันภัยนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่เอาประกันภัย

1.1เจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายประกันภัยดังจะเห็นได้ว่าหากทรัพย์สินใดๆ เสียหายย่อมทำให้ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่สามารถใช้ทรัพย์สินได้หรืออาจทำให้ทรัพย์สินนั้นเสื่อมราคาลงไปก็ย่อมทำให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นเสียหายได้ ดังนั้นจึงถือได้ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมาย

1.2สิทธิและประโยชน์ที่กฎหมายรับรอง ผู้มีสิทธิต่างๆ ต่อไปนี้ล้วนถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ผู้ครอบครองทรัพย์ เช่น ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้ยืมทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์ รวมไปถึงผู้มีสิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ เจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ และหุ้นส่วนสามัญ

1.3ความรับผิดตามกฎหมาย เช่นผู้มีความรับผิดตามกฎหมายซึ่งต้องรับผิดในชีวิตร่างกาย และทรัพย์สิน รวมถึงความรับผิดในทางละเมิดและทางสัญญา ในกรณีนี้ยังหมายความรวมถึงการประกันภัยค้ำจุนด้วย เช่น ผู้รับขน เป็นต้น ล้วนถือว่ามีส่วนได้เสียตามกฎหมายประกันภัย

2.กรณีของประกันชีวิต กล่าวคือสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จํานวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพ

หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง ในส่วนของการเอาประกันชีวิตของตนเองก็ย่อมถือว่ามีส่วนได้เสียอยู่แล้วเนื่องจากการทรงชีพของผู้เอาประกันภัยย่อมถือว่ามีส่วนได้เสียอยู่แล้ว รวมทั้งกรณีที่แม้จะมิใช่การเอาประกันภัยในตัวผู้เอาประกันก็ตามก็อาจสามารถเอาประกันได้หากมีส่วนได้เสียกันดังนี้

2.1กลุ่มที่อาศัยความสัมพันธ์ทางครอบครัวในการเอาประกันภัย จึงจถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ระหว่างบุพการีกับผู้สืบสันดาน สามีกับภรรยา ญาติพี่น้อง คู่มหมั้น เป็นต้น ย่อมถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายประกันภัยระหว่างกัน

2.2กลุ่มที่อาศัยความสัมพันธ์ทางธุรกิจ หรือมูลหหนี้ต่างๆ เช่น นายจ้างกับลูกจ้าง เจ้าหนี้กับลูกหนี้ หุ้นส่วนกับหุ้นส่วนด้วยกัน

โจทก์นำรถไปประกันกับบริษัทจำเลย เห็นได้ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถ และไม่ได้เป็นผู้ใช้รถหรือรับประโยชน์จากการใช้รถ โจทก์จึงมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย

ดังนั้น ถ้าไม่ใช่เจ้าของกรมสิทธิ์ถือว่าไม่มีส่วนได้เสีย ผลคือ สัญญาประกันภัยไม่ผูกพันตาม มาตรา 863 จำเลยไม่ต้องรับผิด

ฎ 115/2521 เมื่อเจ้าของขายรถไปแล้วเจ้าของย่อมไม่มีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยรถคันนั้น สัญญาประกันภัยไม่ผูกพันผู้รับประกันให้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อผู้รับประกันภัยใช้ค่าทดแทนไปแล้ว จึงไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธิฟ้องผู้ทำละเมิดให้รถคันนั้นเสียหาย

ฎ.4728/2540 โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทซึ่งเอาประกันภัยไว้กับจำเลย หลังจากทำสัญญาประกันภัย ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยยังมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ในขณะที่จำเลยรับประกันภัย สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่ผูกพันคู่สัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 863 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยรับผิดตามสัญญาประกันภัย

ข้อสังเกต หากมีข้อเท็จจริงการซื้อขายสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบ ระหว่างที่ยังไม่มีการส่งมอบ ถือว่าผู้ขายมีส่วนได้เสียอยู่ เช่น

ฎ. 4830/2537 ผู้มีสิทธิเอาประกันภัยมิได้จำกัดเพียงเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เอาประกันภัยเท่านั้น ผู้ที่มีความสัมพันธ์อยู่กับทรัพย์หรือสิทธิหรือผลประโยชน์หรือรายได้ใดๆซึ่งมีวินาศภัยเกิดขึ้นจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายซึ่งประมาณเป็นเงินได้ ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 863 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายจะต้องขนส่งสินค้าที่ขายจากกรุงเทพมหานครไปให้ผู้ซื้อที่ประเทศสิงคโปร์ โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะนำสินค้าไปมอบให้แก่ผู้ซื้อ โจทก์จึงมีสิทธิเอาประกันภัยสินค้าไว้กับจำเลย โดยมิต้องคำนึงถึงว่ากรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าวจะโอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่ เมื่อสินค้าที่เอาประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ได้

โดยปกติการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศแม้กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อแล้วตั้งแต่ขณะทำสัญญาซื้อขายกัน (มาตรา 458) ผู้ขายสามารถเอาประกันได้ เพราะเมื่อยังไม่มีการส่งมอบผู้ขายย่อมมีส่วนได้เสียในสินค้านั้นอยู่ หากสินค้าสูญหายหรือถูกทำลายไปก่อนส่งมอบ เช่น การซื้อขายระบบ ซี ไอ เอฟ (Cost ,Insurance ,Freight) ราคาสินค้าย่อมรวมค่าประกันภัย และค่าระวางสินค้าด้วย

2. สิทธิหรือประโยชน์ที่กฎหมายรับรอง ผู้ที่มีสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมายไม่ว่าเป็นทรัพยสิทธิในบรรพ 4 ได้แก่ เช่น ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ได้ภาระจำยอม ผู้มีสิทธิอาศัย ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดิน ผู้ทรงสิทธิเก็บกิน หรือบุคคลสิทธิ ได้แก่ ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้ยืม ผู้รับฝากทรัพย์

สำหรับผู้มีสิทธิอาศัยหากไม่ได้มีการจดทะเบียนยังไม่ถือว่ามีส่วนได้เสียในอาคารที่อาศัย คงเอาประกันภัยได้เฉพาะ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องไฟฟ้า สิ่งตกแต่งต่างๆ ภายในอาคารเท่านั้น