พร บ หลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ 2550

ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นการบริการด้านสุขภาพของรัฐที่ให้ความเป็นธรรมกับประชาชนทุกส่วน ทุกคนในสังคมควรได้รับการประกันสุขภาพอย่างเท่าเทียมกันบนหลักการสำคัญที่ว่า บริการที่จำเป็นด้านสุขภาพเป็นของทุกคน ซึ่ง นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ คือ ผู้ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งผู้หนึ่งในการริเริ่มผลักดันเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย โดยผ่านการเรียนรู้ ทดลองปฎิบัติและต่อสู้กับอุปสรรค จนสามารถผลักดันเป็นนโยบายที่สำคัญของประเทศและใช้จริงมาจนถึงปัจจุบัน

พร บ หลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ 2550

ที่มาของแนวคิด “30 บาท รักษาทุกโรค” : โครงการอยุธยา

เป็นโครงการเล็กๆ เพื่อการปรับเปลี่ยนระบบบริการสาธารณสุข เริ่มต้นทดลองพัฒนาสถานพยาบาลใกล้บ้านที่มีคุณภาพเพื่อคอยดูแลประชาชนถึงครอบครัวและชุมชน เริ่มโครงการระดับอำเภอที่อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ตามมาด้วยระดับจังหวัดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้ขยายกลายเป็นโครงการในระดับประเทศในชื่อว่า “โครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข”

พร บ หลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ 2550

โครงการประกันสังคม เมื่อ พ.ศ. 2533

เป็นอีกส่วนหนึ่งโดยนายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ได้มีส่วนในการจัดตั้งสำนักงานประกันสังคม ด้วยแนวคิดว่าจะใช้พลังทางด้านการเงิน (financial power) ในการกำกับทิศทางของโรงพยาบาลตามที่ต้องการ ทำให้ได้เรียนรู้ การทำให้โครงการใหญ่ๆ มีความยั่งยืนทางการเงิน ใช้การจัดสรรงบประมาณและสถานพยาบาลแบบเหมาจ่ายรายหัว พัฒนาการเกิดเครือข่ายสถานพยาบาลของโรงพยาบาลที่จับกลุ่มกับคลีนิกเอกชน

พร บ หลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ 2550

Health Care Reform Project ปี พ.ศ. 2540 – 2543

โครงการสนับสนุนการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข เกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสหภาพยุโรป (EU) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขในประเทศไทย ระยะแรก (phase 1) ได้นำแนวคิดและประสบการณ์การพัฒนารูปแบบการจัดบริการปฐมภูมิจากโครงการอยุธยาและจังหวัดอื่นๆ มาพัฒนาต่อ ทั้งในพื้นที่ อยุธยา พะเยา ยโสธร ขอนแก่น สงขลา นครราชสีมา สมุทรสาคร และจังหวัดที่อยู่ภายใต้งานเวชปฏิบัติครอบครัวของแผนพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 8

พร บ หลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ 2550

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ : กฎหมายแม่บทด้านสุขภาพ

เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ของคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา รัฐบาลได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (คปรส.) และสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) ทำหน้าที่ยกร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้เป็นกฎหมายแม่บทด้านสุขภาพของประเทศไทย โดยมีการทำงานทางวิชาการควบคู่ไปกับการเคลื่อนไหวทางสังคมภายใต้แนวคิดสำคัญ คือ “สร้างนำซ่อม” ในช่วงเดียวกัน ภาคประชาชนได้ “ร่วมผลักดัน” กฎหมายหลักประกันสุขภาพด้วยการ “ขับเคลื่อนสังคม” อย่างกว้างขวาง

พร บ หลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ 2550

โครงการ “30 บาท รักษาทุกโรค”

จากการขายแนวคิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่พรรคการเมืองหลายพรรค ในช่วงเลือกตั้ง พรรคไทยรักไทย เห็นถึงความเป็นไปได้ จึงนำมาเป็นนโยบายในการหาเสียง และได้นำมาใช้เมื่อพรรคได้รับเลือกให้จัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของ ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นได้ประกาศนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่ประชาชน ในชื่อ โครงการ “30 บาท รักษาทุกโรค” ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544

พร บ หลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ 2550

ฝันที่เป็นจริง

รัฐบาลเริ่มนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับคนไทย โดยการนำร่องในโครงการ “30 บาท รักษาทุกโรค” เริ่มดำเนินการในระยะที่ 1 เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 ใน 6 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ ปทุมธานี สมุทรสาคร นครสวรรค์ ยโสธร พะเยา และยะลา ครอบคลุมประชาชนที่ยังไม่มีหลักประกันสุขภาพใดๆ โดยสถานพยาบาลที่เข้าร่วมให้บริการเป็นสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ในเดือนมิถุนายน 2544 และได้ขยายพื้นที่ดำเนินการจนสามารถครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา

พร บ หลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ 2550

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

จากผลการสำรวจของโพล ประชาชนพอใจกับนโยบายนี้เป็นอย่างมาก จึงได้มีการผลักดันจนเกิดเป็น “พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545” ได้สำเร็จ และจัดตั้ง “สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)” ขึ้นเป็นหน่วยงานบริหารระบบ เพื่อทำหน้าที่เป็น “ตัวแทน” ของประชาชนในการกำหนดสิทธิประโยชน์ และเป็นตัวแทนในการคุ้มครองดูแลให้ประชาชนได้รับบริการอย่าง เท่าเทียม มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ เป็นเป้าหมายสำคัญ โดยนายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เป็นเลขาธิการ สปสช. คนแรก

 

หมวดที่ ๑ สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ

มาตรา ๑๒
บุคคล มีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียง เพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การดำเนินการตามหนังสือแสดง เจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่ง แล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12

• ผู้ ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต สามารถแสดงความประสงค์ที่จะไม่รับบริการทางการแพทย์ เช่น การใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่เป็นไปเพื่อยืดความเจ็บป่วยทรมานโดยไม่จำ เป็น หากแต่ผู้ป่วยยังคงได้รับการดูแลจากแพทย์ พยาบาลตามความเหมาะสมเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดและอาการต่าง ๆ 

• บุคคล ทั่วไปหรือผู้ป่วยที่มีสติสัมปชัญญะดี สามารถทำหนังสือแสดงเจตนาตามมาตรา 12 ได้ด้วยตนเอง (กรุณาดูตัวอย่างแบบฟอร์มประกอบ)  แต่ควรปรึกษาหารือกับแพทย์ พยาบาลที่มีความเข้าใจเรื่องนี้  ในกรณีผู้ป่วยเด็กนั้น ควรให้พ่อ แม่ ผู้ปกครองหรือญาติที่ให้การดูแลมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือกับแพทย์

• ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาควรแจ้งให้คนในครอบครัว ญาติมิตร คนใกล้ชิดรับทราบเรื่องการทำหนังสือดังกล่าว

• แพทย์ พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย  เพราะทำด้วยเจตนาดี ตามความประสงค์ของผู้ป่วย และกฎหมายสุขภาพแห่งชาติให้ความคุ้มครองไว้

• แพทย์ พยาบาลควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคหรือสภาพของผู้ป่วยแก่ผู้ป่วยหรือญาติตาม ความเป็นจริง ไม่ควรปิดบังข้อมูลใดๆ  ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงช่วงเวลาและจังหวะที่เหมาะสม

• สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลควรจัดทำแบบฟอร์มหนังสือแสดงเจตนา เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องการทำหนังสือแสดงเจตนา

• แพทย์ พยาบาลควรอธิบายขั้นตอนการทำหนังสือแสดงเจตนาดังกล่าวให้ผู้ป่วยหรือญาติทราบ  

พร บ หลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ 2550