สื่อกลางในการ สื่อสาร ข้อมูล

สื่อกลางในการ สื่อสาร ข้อมูล

ระบบเครือข่ายคือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่า 2 เครื่องขึ้นไป มาเชื่อมต่อกันเพื่อสื่อสารรับส่งข้อมูลกัน โดยผ่านทางสื่อกลาง ซึ่งสื่อกลางส่วนใหญ่ที่เราจะรู้กันก็คือ สายแลน สายไฟเบอร์ เป็นต้น แต่ว่าสื่อกลางใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีแค่สายสัญญาณ ในโลกยุคปัจจุบันเราสามารถสื่อสารรับส่งข้อมูลจากทางไกลได้โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณ แต่ผ่านทางสื่อกลางแบบไร้สายแทน ในบทความนี้เราจะพาไปรู้จักกับสื่อกลางประเภทไร้สายกัน

สื่อกลางแบบไร้สายคืออะไร

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับการสื่อสารแบบไร้สายกันก่อน การสื่อสารแบบไร้สายคือการรับส่งข้อมูลโดยไม่ผ่านสายสัญญาณ แต่ใช้อากาศเป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูล ดังนั้นสื่อกลางแบบไร้สายก็คือ คลื่นสัญญาณในอากาศที่ใช้รับส่งข้อมูลระหว่างกันนั้นเอง ถ้าอธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆ ให้นึกถึงโทรทัศน์ที่เราใช้ โทรทัศน์รับคลื่นสัญญาณจากดาวเทียม และประมวลผลกลายเป็นภาพและเสียงรายการโปรดให้เราได้ดูกัน

สื่อกลางแบบไร้สายมีอะไรบ้าง

แม้ว่าการสื่อสารแบบไร้สายอาจฟังดูไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อะไรมาก แต่ว่าการรับส่งข้อมูลแบบไร้สายนั้นจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ 2 ตัว ที่ต้องใช้ในระบบ นั้นก็คือ อุปกรณ์ส่งสัญญาณ กับ อุปกรณ์รับสัญญาณ ซึ่งอุปกรณ์ส่งสัญญาณค่อยทำหน้าที่แปลงข้อมูลกลายเป็นคลื่นสัญญาณและส่งผ่านคลื่นนั้นไปในอากาศ ส่วนอุปกรณ์รับสัญญาณคืออุปกรณ์ที่รับคลื่นสัญญาณนั้น แล้วแปลงกลับไปเป็นข้อมูล ซึ่งการรับส่งข้อมูลแบบไร้สายนี้มีข้อเสียอยู่นั้นก็คือปัญหาเรื่องระยะทางและโอกาสที่สัญญาณจะถูกรบกวน ทำให้ข้อมูลที่ส่งมาเสียหายหรือผิดเพี้อนได้ ทำให้ต้องมีการแบ่งช่วงความถี่ของสัญญาณในการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ทำให้มีคลื่นสัญญาณความถี่ต่างๆ ที่เราเรียกกันในปํจจุบัน ดังนั้นเราจะมาดูกันว่าคลื่นสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลในปัจจุบันนั้นมีคลื่นสัญญาณอะไรบ้าง

1. คลื่นวิทยุ (Radio Wave)

คลื่นวิทยุเป็นคลื่นที่มีการกระจายตัวรอบทิศทางผ่านเสาอากาศส่งคลื่นวิทยุ โดยลักษณะรอบทิศทางแบบนี้ ทำให้มีประโยชน์สำหรับการสื่อสารแบบ Multicasting ซึ่งมีหนึ่งผู้ส่ง แต่หลายผู้รับ เช่น สถานีวิทยุ ระบบมือถือ โทรทัศน์ แต่อย่างไรก็ตาม คลื่นวิทยุมีข้อเสียอยู่หนึ่งอย่างนั้นก็คือ คลื่นมีความอ่อนไหวต่อการรบกวนจากเสาอากาศตัวอื่นที่ส่งสัญญาณความถี่แบบเดียวกัน

สื่อกลางในการ สื่อสาร ข้อมูล

2. สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave)

ไมโครเวฟเป็นคลื่นที่เดินทางในทิศทางเดียว มีความเร็วสูง ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกลโดยการส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวตามความโค้งของผิวโลกได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรักส่งข้อมูลเป็นระยะ และส่งข้อมูลต่อกันระหว่างสถานี จนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้า ตึกสูง หรือยอดเขา เพื่อหลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีดขวางในแนวการเดินทางของสัญญาณ

สื่อกลางในการ สื่อสาร ข้อมูล

3. อินฟราเรด (Infrared)

อินฟราเรคเป็นสื่อสารที่ใช้คลื่นแสงที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า สามารถส่งข้อมูลด้วยคลื่นอินฟราเรดต้องส่งในแนวเส้นตรง และไม่สามารถทะลุสิ่งกีดขวางที่มีความหนาได้ นิยมใช้ในการส่งถ่ายโอนข้อมูลสำหรับอุปกรณ์แบบพกพา ตัวอย่างเช่น รีโมทโทรทัศน์ที่เราใช้งานกันอยู่ทั่วไป

สื่อกลางในการ สื่อสาร ข้อมูล

4. ดาวเทียม (Satellite)

ดาวเทียมเป็นการสื่อสารโดยคลื่นสัญญาณแบบเดียวกันกับไมโครเวฟในการรับส่งข้อมูล แต่ว่าคลื่นไมโครเวฟมีข้อเสียที่คลื่นเดินทางในแนวตรง ทำให้พื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหรือตึกสูงมีผลต่อการบดบังคลื่น จึงมีการพัฒนาดาวเทียมให้เป็นสถานีไมโครเวฟที่อยู่เหนือพื้นผิวโลก ทำหน้าที่เป็นสถานีส่งและรับข้อมูล ทำให้การสื่อสารมีลักษณะแบบการส่งข้อมูลจากภาคพื้นดินไปยังดาวเทียม และจากดาวเทียมมาสู่ภาคพื้นดิน

สื่อกลางในการ สื่อสาร ข้อมูล

5. บลูทูธ (Bluetooth)

บลูทูธเป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์แบบสองทาง ด้วยคลื่นวิทยุระยะสั้น และไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ่งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่า โดยหลักของบลูทูธจะถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากใช้การขนส่งข้อมูลในจำนวนที่ไม่มาก อย่างเช่น ไฟล์ภาพ, เสียง, แอพพลิเคชั่นต่างๆ และสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ขอให้อยู่ในระยะที่กำหนดไว้เท่านั้น

สื่อกลางในการ สื่อสาร ข้อมูล

ถ้านักเรียนต้องการติดตั้งระบบเครือข่ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งซึ่งมีระยะทางห่างกันประมาณ

   10 กิโลเมตร นักเรียนคิดว่าควรเลือกใช้สื่อกลางประเภทสายสัญญาณใดในการสื่อสารข้อมูล เพราะเหตุใด

เฉลย

           ควรใช้สื่อกลางประเภทสายสัญญาณ คือ สายไฟเบอร์ออปติก เนื่องจากเป็นสายสัญญาณที่มีความเร็วสูงสุดถึง 100 Gbps ใช้เชื่อมต่อระยะทางมากกว่า 2 กิโลเมตรได้ และใช้เป็นสายแกนหลักในการระบบเครือข่าย

หรือใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่อยู่ห่างไกลกันได้

สื่อกลาง

ข้อดี

ข้อเสีย

สายคู่บิดเกลียวแบบ STP

สื่อกลางในการ สื่อสาร ข้อมูล

- ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า 
  แบบไม่มีฉนวนหุ้ม

- สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี

- มีขนาดใหญ่กว่าแบบไม่มีฉนวน
  หุ้ม

- ไม่ยืดหยุ่น ดัดโค้งงอได้ไม่มาก

- ราคาแพงกว่าแบบไม่มีฉนวนหุ้ม

สายโคแอกเชียล

สื่อกลางในการ สื่อสาร ข้อมูล

- ราคาถูก

- มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน

- ติดตั้งง่ายและมีน้ำหนักเบา

- ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอก
  ได้ง่าย

- ใช้ได้ในระยะทางจำกัด

สายไฟเบอร์ออปติก

สื่อกลางในการ สื่อสาร ข้อมูล

- สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวน
  มาก

- มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา

- มีอายุการใช้งานนาน

- เส้นใยแก้วนำแสงเปราะบาง
  แตกหักง่าย

- ไม่สามารถดัดโค้งงอได้

- ในการติดตั้งต้องใช้เครื่องมือ
  พิเศษ


สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูลมีกี่แบบ อะไรบ้าง

ตัวกลางการสื่อสาร เป็นสื่อที่ต่อเชื่อมการสื่อสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับข้อมูล ตังกลางที่ใช้ในการ สื่อสารแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือสื่อนาข้อมูลแบบมีสาย ( wired media )และสื่อนาข้อมูลแบบไร้ สาย ( wireless media ) 1. สื่อนาข้อมูลแบบมีสาย ( wired media ) สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี3 ชนิดดังนี้ 1.1 สายคู่บิตเกลียว ( ...

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูลมีความสําคัญอย่างไร

1. ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มาก 2. ส่งข้อมูลได้ระยะไกลโดยไม่ต้องมีตัวขยายสัญญาณ 3. การดักสัญญาณทำได้ยาก ข้อมูลจึงมีความปลอดภัยมากกว่าสายส่งแบบอื่น 4. ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงและสามารถส่งได้มาก ขนาดของสายเล็กและน้ำหนักเบา

สื่อกลางที่ใช้กันมากในการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายแลนคือข้อใด

ส่วนเครือข่าย LAN ที่ใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อกลางในการส่งสัญญาณข้อมูลนั้นจะเป็นคลื่นวิทยุที่มีย่านความถี่อยู่ในช่วง 902-925 Hz ซึ่งเป็นย่านเดียวกันกับโทรศัพท์มือถือ การส่งสัญญาณจะใช้เทคนิคการส่งคลื่นวิทยุแบบ Spread Spectrum สัญญาณข้อมูลจะกระจายไปรอบๆเครื่องผู้ส่ง ทำให้จุดผู้รับไม่จำเป็นต้องอยู่ในแนวตรงกันกับจุดผู้ส่ง และ ...

Transmission Medium คืออะไร

สื่อกลางในการส่งข้อมูล, สิ่งที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูล/ข่าวสารไปยังจุดหมายปลายทาง โดยสื่อกลางในการส่งข้อมูลจะมีทั้งแบบมีสาย เช่น สายเคเบิล สายยูทีพี เส้นใยนำแสง และสื่อกลางในการส่งข้อมูลแบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ และดาวเทียม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]