เพราะเหตุใดบริเวณรอบๆแปซิฟิกถึงถูกขนานนามว่าเป็นวงแหวนแห่งไฟ

เพราะเหตุใดบริเวณรอบๆแปซิฟิกถึงถูกขนานนามว่าเป็นวงแหวนแห่งไฟ

RING OF FIRE

(วงแหวนแห่งไฟ)

  • “วงแหวนแห่งไฟ” นั้นเป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหว และ “ภูเขาไฟระเบิด” บ่อยครั้ง 
  • มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร

  • ประมาณการว่า 90% ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลก และกว่า 80% ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 
  • เกิดขึ้นในบริเวณ “วงแหวนแห่งไฟ” เป็นส่วนหนึ่งจากเนื้อหาที่มีการระบุไว้ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีโดยสังเขปคือ… 
  • วงแหวนแห่งไฟ นั้นเป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหว และ “ภูเขาไฟระเบิด” บ่อยครั้ง 
  • มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร 
  • วางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟ และบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก 
  • โดย มีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายใน “วงแหวนแห่งไฟ” ทั้งหมด 452 ลูก
  • และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่เป็นจำนวนมาก มากในระดับกว่า 75% ของภูเขาไฟที่คุกรุ่นทั้งโลก !!

  • วงแหวนแห่งไฟ เป็นผลมาจากการเคลื่อนที่และการชนกันของแผ่นเปลือกโลก 
  • แบ่งเป็นส่วนวงแหวนทางตะวันออก มีผลมาจากแผ่นนาซคาและแผ่นโคคอส ที่มุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้ 
  • ส่วนของแผ่นแปซิฟิกที่ติดกับแผ่นฮวนดีฟูกา ซึ่งมุดตัวลงแผ่นอเมริกาเหนือ 
  • ส่วนทางตอนเหนือที่ติดกับทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นแปซิฟิก มุดตัวลงใต้บริเวณเกาะเอลูเชียนจนถึงทางใต้ของญี่ปุ่น 
  • และส่วนใต้ของวงแหวนแห่งไฟ เป็นส่วนที่มีความซับซ้อนของแผ่นเปลือกโลก มีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กมากมายที่ติดกับแผ่นแปซิฟิก ซึ่งเริ่มตั้งแต่หมู่เกาะมาเรียน่า ประเทศฟิลิปปินส์ เกาะบัวเกนวิลเล ประเทศตองกา และ นิวซีแลนด์ 
  • แนววงแหวนแห่งไฟยังมีแนวต่อไปเป็นแนวอัลไพน์ (อีกหนึ่งแนวที่มีการเกิดแผ่นดินไหว) ซึ่งเริ่มต้นจากเกาะชวา เกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย

“รอยเลื่อน” ที่ตั้งอยู่บน “วงแหวนแห่งไฟ” นี้ ก็ได้แก่ 

  • รอยเลื่อนซานอันเดรียส ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเกิดแผ่นดินไหวเล็ก ๆ เป็นประจำ, 
  • รอยเลื่อนควีนชาร์ลอตต์ ทางชายฝั่งตะวันตกของหมู่เกาะควีนชาร์ลอตต์ รัฐบริติชโคลัมเบีย แคนาดา ซึ่งเคยเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ 3 ครั้ง คือ ขนาด 7 ริกเตอร์ เมื่อ ค.ศ.1929 ขนาด 8.1 ริกเตอร์ ปี 1949 (แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในแคนาดา) และขนาด 7.4 ริกเตอร์ ในปี 1970

  • สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นในแนว “วงแหวนแห่งไฟ” นี้ เช่น 
  • แผ่นดินไหวคาสคาเดีย ขนาด 9 ริกเตอร์ เมื่อ ค.ศ.1700, 
  • แผ่นดินไหวโลมาพรีเอตา ในแคลิฟอร์เนีย, 
  • แผ่นดินไหวภาคคันโต ในญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ.1923 มีผู้เสียชีวิตกว่า 130,000 คน, 
  • แผ่นดินไหวเกรตฮันชิน ในปี 1995 และอีกครั้งใหญ่ที่เคยบันทึกไว้คือแผ่นดินไหวเมื่อ ค.ศ.2004 บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ขนาด 9.3 ริกเตอร์ ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่มบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะอินโดนีเซียถูกถล่มด้วยคลื่นสูงราว 10 เมตร มีผู้เสียชีวิตรวมราว 230,000 คน ล่าสุด เมื่อบ่ายวันศุกร์ที่11มี.ค.2011 ญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ครั้งใหญ่สุดอีกครั้งหนึ่งของโลก จากแผ่นดินไหวรุนแรงถึง 9.0 ริคเตอร์ ในทะเลนอกชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ แรงไหวทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิความสูง 10 เมตร พัดกระหน่ำเข้าหาชายฝั่ง ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้าพังพินาศ มีผู้เสียชีวิตบาดเจ็บและสูญหายจำนวนมาก

  • ทั้งนี้ ประเทศที่ตั้งหรือมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในแนว “วงแหวนแห่งไฟ” ได้แก่ เบลีซ โบลิเวีย บราซิล แคนาดา โคลัมเบีย ชิลี คอสตาริกา เอกวาดอร์ ติมอร์ตะวันออก เอลซัลวาดอร์ ไมโครนีเซีย ฟิจิ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น คิริบาตี เม็กซิโก นิการากัว ปาเลา ปาปัวนิวกินี ปานามา เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน ตองกา ตูวาลู สหรัฐอเมริกา และรวมถึง นิวซีแลนด์ ที่เพิ่งเกิด “วิปโยคแผ่นดินไหว”เมื่อไม่นานมานี้ด้วย

  • นักธรณีวิทยาประมาณว่า… วันหนึ่ง ๆ โลกเกิดแผ่นดินไหวราว 1,000 ครั้ง แต่ส่วนใหญ่เป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ 
  • ทั้งนี้ จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวนั้นมักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกระดับต่าง ๆ ของผิวโลก 
  • โดยแผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นจะหนาต่างกัน บางแผ่นหนาถึง 70 กิโลเมตร 
  • บางแผ่น เช่น ส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร หนาเพียง 6 กิโลเมตร และแผ่นเปลือกโลกแต่ละแห่งจะมีส่วนประกอบทางกายภาพและทางเคมีที่แตกต่างกัน เมื่อเคลื่อนที่แยก หรือชนกัน ก็จะเกิดการสั่นสะเทือนที่รุนแรงมากน้อยต่างกัน

  • แต่ประเด็นคือ…แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือตำแหน่งจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว จะอยู่ที่บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก 
  • โดยที่ กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจะเกิดรอบ ๆ มหาสมุทรแปซิฟิก หรือที่เรียกกันว่า “วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire)” “วงแหวนแห่งไฟ” มักเป็นพื้นที่ที่เกิด “หายนะใหญ่ต่อชาวโลก” เป็นประจำ ต้องจับตาดูว่าคิวต่อไป คือที่ไหน !!!

  • ตามรอบมหาสมุทรแปซิฟิคมาจนถึงแถวหมู่เกาะสุมาตรานั้น มีการเกิดแผ่นดินไหว และ ภูเขาไฟระเบิดอยู่ตลอดมาในประวัติศาสตร์ 
  • นักวิทยาศาสตร์จึงเรียกว่า วงแหวนไฟ หรือ Ring of Fire มาตั้งแต่ก่อนที่จะมีความเข้าใจเรื่องการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเสียอีก 
  • แม้เราจะเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลกแล้ว นักธรณีวิทยาก็ยังเรียกภูมิภาคส่วนนี้ว่า Ring Of Fire เช่นเดิมเพราะเป็นชื่อที่เหมาะสมมาก 
  • จะเห็นได้ว่าอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขต “วงแหวนไฟ” หรือเขตรอยต่อของเปลือกโลก ซึ่งต้องเผชิญภัยแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง

  • Ring of Fire มีความเกี่ยวเนื่องกับการเกิด สึนามิ ซึ่งสรุปง่ายๆได้เป็นข้อๆ ดังนี้

  • 1.โลกของเราทั้งส่วนที่เป็นมหาสมุทรและทวีปประกอบไปด้วยแผ่นเปลือกโลก(plates) เป็นชิ้นๆต่อกันอยู่เหมือนจิ๊กซอว์ ดังนั้น plates เหล่านี้จึงมีทั้งแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร (oceanic plates) และแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป (continental plates) ซึ่งมีความหนาตั้งแต่ 70-250 กิโลเมตร

  • 2.plates เหล่านี้มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาเนื่องจากมีการหมุนเวียนหรือไหลวนของหินหลอมละลายภายในโลกที่รองรับ plates เหล่านี้อยู่

  • 3.การเคลื่อนที่ของ plates เหล่านี้เป็นต้นเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวซึ่งไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดที่ไหน เมื่อไรและด้วยความรุนแรงเท่าใด

  • 4.บริเวณรอยต่อของ plates เหล่านี้ที่เกิดขึ้นแผ่นดินไหวขึ้นบ่อยๆ เรียกว่า วงแหวนไฟ(Ring of Fire)

  • 5.ในมหาสมุทรแปซิฟิก จะถูกล้อมด้วยวงแหวนไฟ

  • การระเบิดของภูเขาไฟและแผ่นดินไหวกับการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ล้วนมีผลมาจากแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนตัว ซึ่งเมื่อขอบเปลือกโลกชนกันก็เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้น แต่อย่างไรก็ตามนักวิชาการได้ยืนยันว่าการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ ต้องใช้เวลาเป็นร้อยหรือเป็นพันปี และความเสียหายจะจำกัดเฉพาะจุดเท่านั้น

  • เขตอันตรายของโลกก็คือบริเวณรอบมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเรียกกันว่า “วงแหวนไฟ” นี้ ด้วยเป็นเขตที่มีภูเขาไฟเรียงรายและทำนายกันว่าจุดเสี่ยงมากที่สุดก็คือ ญี่ปุ่นกับแคลิฟอร์เนียและลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา

ขอบคุณข้อมูลจาก วิชาการดอทคอม และภาพประกอบ