ข้อใดไม่ใช่การคิดเชิงโต้แย้ง

ข้อใดไม่ใช่การคิดเชิงโต้แย้ง

ข้อใดไม่ใช่การคิดเชิงโต้แย้ง
การโต้แย้งเป็นการแสดงทรรศนะที่แตกต่างกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ผู้แสดงทรรศนะต้องพยายามหาเหตุผล สถิติ หลักการ อ้างข้อมูลและหลักฐานต่างๆ มาสนับสนุนทรรศนะของตนให้น่าเชื่อถือ และคัดค้านทรรศนะของอีกฝ่ายหนึ่งเรื่องที่ควรทราบเกี่ยวกับการโต้แย้ง มีดังนี้
1. โครงสร้างของการโต้แย้ง
2. หัวข้อและเนื้อหาของการโต้แย้ง
3. กระบวนการโต้แย้ง
4. การวินิจฉัยเพื่อตัดสินข้อโต้แย้ง
5. ข้อควรระวังในการโต้แย้ง

โครงสร้างของการโต้แย้ง
โครงสร้างของการโต้แย้งคือ โครงสร้างของการแสดงเหตุผล เพราะกระบวนการโต้แย้งต้องอาศัยเหตุผลเป็นสำคัญ ซึ่งการโต้แย้งจะต้องประกอบด้วย
" ข้อสรุป " และ " เหตุผล "

ดังตัวอย่าง ทรรศนะที่ 1

นักเรียนระดับมัธยมตอนปลายของโรงเรียนนี้ส่วนใหญ่ต้องการออกไปประกอบอาชีพ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ( เหตุผล )
ดังนั้นโรงเรียนของเราจึงควรเปิดรายวิชาเลือก วิชาพื้นฐานอาชีพที่มีอยู่ในหลักสูตรให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ( ข้อสรุปหรือข้อเสนอทรรศนะ )

ทรรศนะที่ 2

เรายังไม่ได้สำรวจอย่างเป็นกิจจะลักษณะเลยแม้แต่ครั้งเดียวว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วนักเรียนของเราในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมุ่งหมาย
ที่จะไปทำอะไรต่อไป จะมีก็เพียงแต่การคาดคะเนเอาเองตามความรู้สึกส่วนตัวเท่านั้น ( เหตุผล )
ฉะนั้นเราอาจประสบความล้มเหลวก็ได้ ถ้าเรามุ่งที่จะเปิดวิชาพื้นฐานอาชีพให้มากยิ่งขึ้นกว่าที่ได้เคยเปิดมาแล้ว ( ข้อสรุปหรือข้อโต้แย้งทรรศนะที่ 1 )

ทรรศนะที่ 3
การสอบเข้ามหาวิทยาลัย น่าจะสอบครั้งเดียวก็พอ จะได้ลดภาวะความเครียดของเด็ก สอบครั้งเดียวก็น่าจะตัดสินได้
เพราะเด็กที่เก่ง จะสอบกี่ครั้งก็ได้คะแนนดีทุกครั้ง

ทรรศนะที่ 4
เด็กที่จะเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น ควรต้องผ่านการทดสอบหลาย ๆ ด้าน การวัดเฉพาะความรู้เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องมีการวัดด้านความถนัดด้วย
เพราะการเรียนในระดับสูงเด็กต้องวิเคราะห์เป็น สังเคราะห์ได้
รู้จักเชื่อมโยง และการสอบหลายครั้งทำให้เด็กได้มีโอกาสเลือกโครงสร้างของการโต้แย้งอาจขยายกว้างออกไปเป็นเหตุผลหลายข้อ
ประกอบกัน และมีข้อสรุปหลายข้อด้วยก็ได้ ข้อสนับสนุนและข้อสรุปจะสั้นยาวเพียงใด อยู่ที่ดุลพินิจของผู้โต้แย้งหัวข้อและเนื้อหาของการโต้แย้ง
ตามปกติหัวข้อและเนื้อหาของการโต้แย้งกว้างขวางมากไม่มีขอบเขตจำกัด แต่ในการโต้แย้งจริงๆ ต้องกำหนดประเด็นในการโต้แย้งเพื่อไม่ให
้เกิดความสับสน โต้แย้งกันให้ตรงประเด็น ไม่ออกนอกเรื่อง ผู้ที่เริ่มการโต้แย้งควรเสนอสิ่งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ฝ่ายตรงข้ามอาจคัดค้าน
การเปลี่ยนแปลงนั้น โดยอ้างเหตุผลมาหักล้าง เพื่อชี้ให้เห็นว่าข้อเสนอนั้นไม่เหมาะสม หรือไม่มีประโยชน์

กระบวนการโต้แย้ง
กระบวนการโต้แย้งมี 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง
2. การนิยามคำสำคัญในประเด็นในการโต้แย้ง
3. การค้นหาและเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะของตน
4. การชี้ให้เห็นจุดอ่อนของทรรศนะฝ่ายตรงข้าม

การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง
การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง หมายถึง คำถามที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งกัน ซึ่งผู้โต้แย้งต้องรู้จักวิธีการตั้งประเด็นโดยไม่ให้ออกนอก
ประเด็น การโต้แย้งจะต้องรู้ว่ากำลังโต้แย้ง
เกี่ยวกับทรรศนะประเด็นใด เพื่อจะได้ไม่ได้แย้งออกนอกประเด็น แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. การโต้แย้งเกี่ยวกับนโยบายเพื่อให้เปลี่ยนแปลงสภาพเดิม
การโต้แย้งประเภทนี้เริ่มจากมีผู้เสนอทรรศนะของตน เพื่อให้บุคคลอื่นพิจารณายอมรับผู้เสนอ
ทรรศนะก็จะหาเหตุผลมาสนับสนุนข้อเสนอของตน ชี้ให้เห็นว่าหลักการเดิมนั้นมีจุดอ่อนจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง
แล้วเสนอหลักการใหม่ที่จะแก้ไขจุดอ่อนนั้นได้และชี้ให้เห็นผลดีที่ได้รับจากหลักการใหม่นั้น การโต้แย้งประเภทนี้มีข้อที่ควรคำนึงของทั้งฝ่ายเสนอและฝ่ายโต้แย้งดังนี้

ฝ่ายเสนอ
ประเด็นที่ 1 ชี้ให้เห็นข้อเสียหายของสภาพเดิม
ประเด็นที่ 2 เสนอว่าการเปลี่ยนแปลงสามารถแก้ไขข้อเสียหายได้
ประเด็นที่ 3 ชี้ให้เห็นผลดีของข้อเสนอ

ฝ่ายโต้แย้ง
ประเด็นที่ 1 ชี้แจงว่าไม่มีข้อเสียหาย หรือมีก็ไม่มากนัก
ประเด็นที่ 2 แย้งว่าข้อเสนอนั้นปฏิบัติได้ยาก
ประเด็นที่ 3 แย้งให้เห็นว่าเป็นตรงกันข้าม

2. การโต้แย้งเกี่ยวกับข้อเท็จจริง
ฝ่ายเสนอและฝ่ายโต้แย้ง ควรคำนึงในเรื่องต่อไปนี้

ฝ่ายเสนอ
ประเด็นที่ 1 เรื่องนำมาอ้างมีอยู่จริง อยู่ที่ไหน
ประเด็นที่ 2 การตรวจสอบว่าเรื่องนั้นมีจริง ๆ สามารถตรวจสอบได้

ฝ่ายโต้แย้ง
ประเด็นที่ 1 แย้งว่าเรื่องนั้นไม่มีอยู่จริง
ประเด็นที่ 2 แย้งว่าได้ตรวจสอบแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่ามี
3. การโต้แย้งเกี่ยวกับคุณค่า
การโต้แย้งประเภทนี้จะมีความรู้สึกส่วนตัวแทรกอยู่ด้วย
การนิยามคำสำคัญในประเด็นในการโต้แย้ง
การนิยาม คือ การกำหนดความหมายของคำว่า คำ ที่ต้องการจะโต้แย้งนั้นมีขอบเขตความหมายอย่างไร เพียงใด เพื่อการโต้แย้งจะ
ได้เข้าใจตรงกันไม่ให้สับสนวิธีการนิยามอาจทำได้โดยใช้พจนานุกรมสารานุกรมหรือนิยามด้วยการเปรียบเทียบ หรือยกตัวอย่างก็ได้การค้นหาและเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะของตนทรรศนะจะน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับข้อสนับสนุน
ผู้โต้แย้งต้องพยายามแสดงทรรศนะที่มีข้อสนับสนุนที่หนักแน่น หลักฐานและเหตุผลต่างๆ เกี่ยวโยงสัมพันธ์
กันอย่างน่าเชื่อถือ วิธีการเรียบเรียงข้อสนับสนุนเป็นเรื่องสำคัญ เริ่มตั้งแต่ส่วนอารัมภบทต้องดึงดูด
ความสนใจของผู้ฟัง ชวนให้ติดตามการแสดงทรรศนะนั้น สาระสำคัญที่เป็นประเด็นการโต้แย้งต้องแสดงข้อสนับสนุนอย่างชัดเจน
แจ่มแจ้ง และตรงตามความเป็นจริง

การชี้ให้เห็นจุดอ่อนของทรรศนะฝ่ายตรงข้าม
จุดอ่อนของทรรศนะของบุคคลจะอยู่ที่การนิยามคำสำคัญ ปริมาณและความถูกต้องของข้อมูล และสมมติฐานและวิธีการอนุมาน ผู้โต้แย้งจะต้องชี้ให้เห็นจุดอ่อนของการนิยามของฝ่ายตรงข้ามว่ามีจุดอ่อนอย่างไร
จุดอ่อนในด้านการนิยามคำสำคัญ นิยามที่ดีจะต้องชัดเจน รัดกุม นิยามที่ไม่ดี มีลักษณะดังนี้
1. นำเอาคำที่นิยามไปบรรจุไว้ในข้อความที่นิยาม
2. ข้อความที่ใช้นิยามมีถ้อยคำที่เข้าใจยากจนสื่อความหมายไม่ได้
3. ผู้นิยามมีเจตนาไม่สุจริต สร้างข้อโต้แย้งให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตนจุดอ่อนในด้านปริมาณและความถูกต้องของข้อมูล หมายถึง ข้อมูลที่นำมาแสดงทรรศนะ
ผิดพลาดหรือน้อยเกินไป ทำให้ไม่น่าเชื่อถือจุดอ่อนในด้านสมมติฐานและวิธีการอนุมาน สมมติฐานหรือการอนุมานจะด้วยวิธีใดก็ตาม
ต้องเป็นที่ยอมรับเสียก่อน กล่าวคือ ต้องเป็นสมมติฐานที่ไม่เลื่อนลอย เป็นวิธีการอนุมานที่ไม่มีความผิดพลาด ถ้าชี้ให้เห็นว่า
สมมติฐานมีจุดอ่อน ไม่ควรค่าแก่
การยอมรับวิธีการอนุมานผิดพลาด ก็จะทำให้ทรรศนะนั้นมีน้ำหนักน้อย ไม่น่าเชื่อถือ
การวินิจฉัยเพื่อตัดสินข้อโต้แย้ง
การที่จะตัดสินว่าทรรศนะของฝ่ายใดควรแก่การยอมรับ หรือไม่ยอมรับนั้น มี 2 วิธี คือ
1. พิจารณาเฉพาะเนื้อหาสาระที่นำมาโต้แย้งกันเท่านั้น
2. พิจารณาโดยใช้ดุลพินิจในคำโต้แย้งของทั้งสองฝ่ายโดยละเอียด
ข้อควรสังเกตในการโต้แย้ง มีดังนี้
1. การโต้แย้งทำให้มีความคิดที่กว้างไกลขึ้น มองเห็นผลดีและผลเสียชัดเจนขึ้น
2. การโต้แย้งไม่กำหนดระยะเวลา วิธีการ จำนวนบุคคล และสถานะของผู้โต้แย้ง
3. การโต้แย้งแตกต่างจากการโต้เถียง เพราะเป็นการใช้ความคิดและวิจารณญาณที่อาศัยเหตุผลและหลักฐานเป็นสำคัญ
ข้อควรระวังในการโต้แย้ง
1. หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ พยายามทำใจให้เป็นกลาง เคารพในเหตุผลของกันและกันโต้แย้งให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์
2. มีมารยาทในการโต้แย้ง ควรใช้ภาษาที่สุภาพ เหมาะสมกับบุคคล สถานที่ และเนื้อหาแสดงความอ่อนน้อมและมีสัมมาคารวะ
3. เลือกประเด็นในการโต้แย้งเพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ หลีกเลี่ยงประเด็นที่ไม่มีใครรู้
ข้อเท็จจริงที่แน่นอน หรือประเด็นที่โต้กันแล้วจะทำให้เกิดการแตกแยกเข้าใจผิด ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
การโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจ คือ การใช้ความพยายามที่จะเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติค่านิยมและ
การกระทำของบุคคลอื่น ด้วยกลวิธีที่เหมาะสมให้มีผลกระทบใจบุคคลนั้น จนเกิดการยอมรับและยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจต้องการ
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์กับการโน้มน้าวใจ
ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เป็นแรงผลักดันให้มนุษย์สร้างทัศนคติความเชื่อค่านิยม รวมทั้งกระทำพฤติกรรมอื่น ๆ
อีกนานัปการ เพื่อสนองความต้องการ ของตน เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ถูกเร้าจนประจักษ์ว่า ถ้าตนได้ปรับเปลี่ยนความคิดและการกระทำไปตามแนวทางที่
ถูกรบเร้านั้นแล้ว ตนก็จะได้รับสิ่ง ซึ่งสนองความต้องการ ขั้นพื้นฐาน ตามความปรารถนา เมื่อนั้นมนุษย์ก็จะตกอยู่ในสภาวะ
ที่ถูกโน้มน้าวใจได้ หลักสำคัญที่สุดของการโน้มน้าวใจคือการทำให้มนุษย์
ประจักษ์แก่ใจตนเองว่า ถ้าเชื่อเห็นคุณค่าหรือกระทำตามที่ผู้โน้มน้าวใจชี้แจงหรือชักนำ ก็จะได้รับผลที่ตอบสนองความต้องการขึ้นพื้นฐานของตน
การแสดงให้ประจักษ์ถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจ
1. การแสดงให้ประจักษ์ถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจโดยธรรมดาบุคคลที่มีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ มีความรู้จริง
มีคุณธรรม และมีความปรารถนาดี ต่อผู้อื่นย่อมได้รับความเชื่อถือจากบุคคลทั่วไป
2. การแสดงให้ประจักษ์ ตามกระบวนการของเหตุผลผู้โน้มน้าวใจต้องแสดงให้ประจักษ์ว่า เรื่องที่ตนกำลังโน้มน้าวใจมีเหตุผลหนักแน่น
และมีคุณค่าควร แก่การยอมรับ อย่างแท้จริง
3. การแสดงให้ประจักษ์ถึงความรู้สึก และอารมณ์ร่วมบุคคลที่มีอารมณ์ร่วมกันย่อมคล้อยตามกันได้ง่ายกว่าบุคคลที่มีความ รู้สึก
ปฏิปักษ์ต่อกัน เมื่อใดที่ผู้โน้มน้าวใจ ค้นพบ และแสดงอารมณ์ร่วมออกมา การโน้มน้าวใจก็จะสัมฤทธิ์ผล
4. การแสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสียผู้โน้มน้าวใจต้องโน้มน้าวผู้รับสารให้ เชื่อถือ หรือปฏิบัติเฉพาะทางที่ตนต้องการ
โดยชี้ให้ว่าสิ่งนั้น มีด้านที่เป็นโทษ อย่างไรด้านที่เป็นคุณอย่างไร
5. การสร้างความหรรษาแก่ผู้รับสารการเปลี่ยนบรรยากาศ ให้ผ่อนคลายด้วยอารมณ์ขัน จะ ทำให้ผู้รับสารเปลี่ยนสภาพจากการต่อต้านมาเป็นความรู้สึกกลาง ๆ พร้อมที่จะคล้อยตามได้
6. การเร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า เมื่อมนุษย์เกิดอารมณ์ขึ้นอย่างแรงกล้า ไม่ว่าดีใจโกรธแค้น อารมณ์เหล่านี้ มักจะทำให้มนุษย์ไม่ใช่เหตุผลอย่างถี่ถ้วน พิจารณาถึง ความถูกต้องเหมาะควร เมื่อมีการตัดสินใจ ก็อาจจะคล้อยไปตามที่ผู้โน้มน้าวใจเสมอแนะนำได้ง่าย

น้ำเสียงของภาษาที่โน้มน้าวใจ
ควรใช้ภาษาในเชิงเสนอแนะ ขอร้อง วิงวอน หรือเร้าใจซึ่งในการใช้ถ้อยคำให้เกิดน้ำเสียงดังกล่าว จะต้องเลือกใช้คำที่สื่อ
ความหมายตามที่ต้องการ โดยคำนึงถึง จังหวะและความนุ่นนวลในน้ำเสียง
การพิจารณาสารโน้มน้าวใจลักษณะต่าง ๆ
1. คำเชิญชวน เป็นการแนะให้ช่วยกันกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง กลวิธีคือ การชี้ให้เห็นผู้ถูกโน้มน้าวใจเกิดความภาคภูมิใจว่า
ถ้าปฏิบัติตามคำเชิญชวน จะได้ชื่อว่า เป็นผู้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม
2. โฆษณาสินค้าหรือโฆษณาบริการลักษณะสำคัญของโฆษณาสินค้าคือ
2.1 จะมีส่วนนำที่สะดุดหูสะดุดตาซึ่งมีผลทำให้สะดุดใจสาธารณชน
2.2 ตัวสารจะไม่ใช่ถ้อยคำที่ยืดยาว มักเป็นรูปประโยคสั้นๆ หรือวลีสั้นๆ
2.3 เนื้อหาจะชี้ให้เห็นถึงความดีของสินค้า
2.4 ผู้โฆษณาจะโน้มน้าวใจที่มุ่งสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
2.5 เนื้อหาของการโฆษณา จะขาดเหตุผลที่หนักแน่นและรัดกุม
2.6 สารโฆษณาจะปรากฏทางสื่อต่าง ๆ ซ้ำ ๆ กัน
3. โฆษณาชวนเชื่อ เป็นการพยายามโดยจงใจเจตนา ที่จะเปลี่ยนความเชื่อและการกระทำของบุคคลให้เป็นไปในทางที่ตนต้องการ
ด้วยวิธีต่าง ๆ โดยไม่คำนึง ถึงความถูกต้อง ของเหตุผลและข้อเท็จจริง ผู้โฆษณามีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนความเชื่อ
และอุดมการณ์ของคน ให้นิยมเลื่อมใสในอุดมการณ์ฝ่ายตน และกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ ตามที่ฝ่ายโฆษณาชวนเชื่อต้องการ
กลวิธีในการโฆษณาชวนเชื่อ
1. การตราชื่อ เป็นการเบนความสนใจและผู้รับสารไปจากเหตุผลและข้อเท็จจริง ผู้รับสารควรพิจารณาหลักการและเนื้อหาต่าง ๆ
ให้รอบคอบเสียก่อน โดยไม่ใช้ความคิด หรือเหตุผลตรวจสอบ
2. การกล่าวสรุปรวม ๆ ด้วยถ้อยคำหรูหรา ผู้โน้มน้าวใจมักจะใช้ถ้อยคำที่ผูกพันความคิด หลักการ บุคคล สถาบันและอุดมการณ์
ทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ เลื่อมใส ด้วยความคิด บุคคลและสถาบัน
3. การอ้างบุคคลหรือสถาบัน ผู้โฆษณาจะเน้นการใช้วิธีอ้างถึงสถาบันหรือบุคคลที่ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ผู้ฟังเกิด
ทัศนคติที่ดี หรือเกิดความนิยมชมชอบนโยบาย หลักการหรืออุดมการณ์ของตน
4. การทำเหมือนชาวบ้านธรรมดา ผู้โฆษณาจะเชื่อมโยงตนเองและหลักการหรือความคิดของตน ให้เข้าไปผูกพันกับชาวบ้านเพื่อแสดงตนว่า ตนเป็นพวกเดียวกับ ชนเหล่านั้น
5. การกล่าวแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน ผู้โฆษณาจะเลือกนำแต่เฉพาะแง่ที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตนมากล่าวโดยพยายาม
กลบเกลื่อนแง่อื่นที่เป็นโทษ
6. การอ้างคนส่วนใหญ่ ผู้โฆษณาชวนเชื่อพยายามชักจูงให้ผู้รับสารเกิดความตระหนักว่าคนส่วนใหญ่ ประพฤติปฏิบัติเช่นนี้การโน้มน้าวใจจะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ ก็ต่อเมื่อ ผู้โน้มน้าวใจมีเจตนาที่ลวง กลบเกลื่อน หรือปิดบังไม่ให้ผู้รับการได้รับรู้ความจริงและเหตุผลที่จะเป็นต้องรู้

ข้อใดไม่ใช่การคิดเชิงโต้แย้ง

       https://www.im2market.com/2015/12/23/2250

ข้อใดไม่ใช่การคิดเชิงโต้แย้ง