จริยธรรมที่ผู้ทำธุรกิจดิจิทัลต้องมี คืออะไรบ้าง

ไม่ว่าจะทำธุรกิจหรือทำอาชีพใดๆ สิ่งสำคัญที่สุดมากกว่าเรื่องของผลกำไร ก็คือเรื่อง “จริยธรรม” “จรรยาบรรณ” และ “ความรับผิดชอบต่อสังคม” เพราะนั่นจะทำให้คุณประสบความสำเร็จและอยู่ได้อย่างยั่งยืน

ธุรกิจโฆษณา ซึ่งถือว่ามีความใกล้ชิดกับผู้บริโภคอย่างมาก เพราะเกี่ยวข้องกับทั้งกลุ่มทุน กลุ่มธุรกิจ และต้องทำการสื่อสารกับผู้บริโภคหรือประชาชนโดยตรง ดังนั้น ผู้คนจึงเรียกร้องให้วงการโฆษณาจะต้องมีหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณในการควบคุมดูแลเนื้อหางานโฆษณาที่จะสื่อสารสู่ประชาชนออกไปด้วย ซึ่งวงการโฆษณาไทย โดย “สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย” (aat) ก็ไม่นิ่งนอนใจ จึงได้วางหลักการพื้นฐานจรรยาบรรณวิชาชีพโฆษณาเอาไว้เป็นหลักในการยึดถือเพื่อปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง มีจริยธรรม จรรยาบรรณ และรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีทั้งหมด 3 ข้อหลักด้วยกัน

จริยธรรมที่ผู้ทำธุรกิจดิจิทัลต้องมี คืออะไรบ้าง
ถอดบทเรียนการตลาด: “จริยธรรม” “จรรยาบรรณ” และ “ความรับผิดชอบต่อสังคม” บนแลนด์สเคปสื่อที่เปลี่ยนไป
  1. การโฆษณาทุกชิ้นต้องถูกกฎหมาย มีเกียรติ ซื่อสัตย์ และนำเสนอความจริง
  2. การโฆษณาไม่ควรมีความขัดแย้งกับศีลธรรมอันดีและระเบียบสังคม ในการสร้างสรรค์งานโฆษณา ควรกระทำด้วยการตระหนักถึงการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ภายใต้หลักของการแข่งขันที่ยุติธรรม ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในวงการธุรกิจ
  3. การโฆษณาต้องไม่ทำให้สาธารณชนเกิดความรู้สึกไม่มั่นใจในการโฆษณา

ธุรกิจเอเจนซี่ ที่มีนักการตลาดเป็นผู้ขับเคลื่อน ก็จำเป็นต้องมีจริยธรรมและจรรยาบรรณไม่ต่างจากอาชีพอื่นๆ โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่การแข่งขันและการแย่งชิงเวลาของผู้บริโภคมีความสำคัญ จนอาจก่อให้เกิดความผิดพลาดได้ ด้าน “สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย” (MAT) ก็ได้วางแนวทางการทำการตลาดเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์และไม่ขัดต่อ “จรรยาบรรณวิชาชีพนักการตลาด” เพื่อใช้เป็นหลักการทำงานที่ดี 8 ข้อ

  1. นักการตลาดไทยต้องมีจิตตระหนักในภาระหน้าที่และบทบาทที่จะช่วยกันเสริมสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยและของประเทศไทยในตลาดโลก
  2. ดำเนินกิจกรรมทางการตลาดด้วยคุณธรรมและความรับผิดชอบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยระมัดระวังไม่ให้มีผลกระทบในทางลบต่อจารีตประเพณีขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมอันดีงามของประชาชนคนไทยและชาติไทย
  3. รับผิดชอบต่อผลการกระทำของตน และพยายามทุกวิถีทางให้มั่นใจว่าการตัดสินใจหรือการกระทำใดๆของตนเป็นไปเพื่อบ่งชี้ตอบสนองและสร้างความพึงพอใจให้แก่กลุ่มสาธารณะที่เกี่ยวข้องโดยรวม
  4. ปฏิบัติตามกฎหมายและค่านิยมที่ดีทางสังคม
  5. ตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริตและความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ผู้ซื้อ ผู้ขาย ลูกจ้าง พนักงานและสาธารณะชนทั่วไป
  6. กระทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ร่วมอาชีพและบุคคลอื่น
  7. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณนักการตลาดละเว้นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน
  8. ยินดีเผยแพร่ความรู้ความสามารถในวิชาชีพของตนเพื่อสาธารณะประโยชน์

ในขณะที่มุมมองของ “คุณสุภาวดี ตันติยานนท์” Chief of Government Partnerships, สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย, Founder eXperience Matters และอดีต CEO MullenLowe Group Thailand

ได้กล่าวถึงการทำงานของวงการตลาดและวงการโฆษณาในยุคดิจิทัลไว้ในเรื่อง “บทเรียนราคาแพง” ซึ่งทำให้เห็นภาพในมุมกว้างของผู้ที่ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่องานที่ผลิตออกมา ซึ่งกล่าวย้ำในตอนท้ายว่า

บทเรียนราคาแพง

เมื่อการตลาดยุคปลายนิ้วเข้ามา เราบอกว่ามัน disrupt ต้องเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง รีสกิล อัพสกิล แต่สิ่งหนึ่งที่นักการตลาด นักประชาสัมพันธ์ ครีเอทีฟ คนทำงานทุกคนพึงจะมีติดตัวคือสามัญสำนึก จริยธรรม มโนธรรม ในการทำงาน เราไม่ทำการใดๆที่ไปละเมิด ดูถูก เหยียดหยาม สร้างความเกลียดชังมนุษย์ด้วยกัน แล้วคิดว่าเท่ สร้างกระแสเป็นไวรัลแล้วดัง

ยิ่งการทำงานยุคปลายนิ้วมันง่าย เร็ว สะดวก แต่การทำงานแบบรับผิดชอบ ละเอียด และ มีรสนิยม tasteful ก็ไม่ควรหนีหายไปไหน  คนที่เกี่ยวข้องทั้งระบบไม่ว่าจะเป็น ทีมการตลาด บริษัทโฆษณา ทีมครีเอทีฟ นักแสดง เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ คนวางสื่อมีเดีย เพราะไม่ว่าคุณจะอยู่จุดไหนเมื่อเห็นงานที่ล่อแหลม ไร้รสนิยม ผิดกฏหมาย ทำร้ายสังคม คุณมีสิทธิ์ที่จะหยุดมันก่อนที่จะออกมาสู่สาธารณะ แต่เพราะเราอยู่ในยุคการตลาดบนปลายนิ้ว คิดน้อยไป ไม่รับผิดชอบ เรื่องแบบนี้ถึงเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก

#จริยธรรมการตลาด #ทำงานแบบมืออาชีพ #ความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นเรื่องที่จะยังอยู่ติดตัวคนทำงานไม่ว่าโลกจะหมุนเร็วขึ้นแค่ไหน มันไม่ได้หายไปไหน แต่กลับจำเป็นให้คนทำงาน ผู้นำในองค์กรเข้มงวดมากขึ้นไม่ใช่หยาบลง

สุภาวดี ตันติยานนท์

 

ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพียงเรื่องราวดราม่าเดียวแล้วจะจุดประเด็นเรื่องของการทำงาน แต่สังคมคาดหวังว่าการทำธุรกิจและการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะด้านการสื่อสาร จะต้องทำงานโดยยึดถือหลักของการทำงานที่ดี มีจริยธรรม จรรยาบรรณ และความรับผิดชอบต่อสังคม เช่นนี้สืบเนื่องตลอดต่อไปด้วย

การทDำธiุgรกiิtจอaดาิอlจจิาอทMรันยล์ทไaิเบพสลrยนนนรkอั์ตสืe่นอ์ อtสัาiงชnนคะgมชัย

จัดทำโดย
นางสาวรสริน มะยมทอง เลขที่ 17 ธป. ปวส.1

การตลาดดิจิทัล
Digital Marketing

ความหมาย

Digital Marketing คือ การทำการตลาดรูปแบบหนึ่ งโดยการ
โปรโมทสินค้าหรือบริการผ่านทางสื่อดิจิทัล และสามารถสร้างการมีส่วน
ร่วมกับผู้บริโภค เพื่อเพิ่มยอดขายโดยใช้กลยุทธ์ต่างๆ ทางสื่อดิจิทัล ซึ่ง
กำลังเป็นที่นิ ยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่ องจากผู้บริโภค
สามารถเข้าถึงสื่อเหล่านี้ ได้ง่าย และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาตลอด
24 ชั่วโมง

นอกจากนี้ การตลาดดิจิทัลคืออีกทางเลือกหนึ่ งของการสร้างการรับ
รู้ให้เกิดขึ้นกับธุรกิจแบรนด์ใหม่ ทำให้การรับรู้ในวงกว้างไม่ใช่เรื่องที่
ยากอีกต่อไป อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ในจำนวน
มากได้โดยตรง ธุรกิจแบรนด์ใหม่จึงมีโอกาสที่จะเป็นที่รู้จักและเติบโต
ได้อย่างรวดเร็วผ่านช่องทางต่างๆ ของการตลาดแบบดิจิทัล

เครื่องมือ

10 เครื่องมือ Digital Marketing สำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ
ออนไลน์

1. Google Analytics.
2. Webmaster Tool.
3. Google Ads.
4.SEM Rush.
5 Ubersuggest.
6. WordPress.
7.Yoast Plugin for WordPress.
8. Zanroo.
9.E-mail Marketing.
10. Hubspot CRM.

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ของ Digital Marketing
วัตถุประสงค์หลักของ Digital Marketing ก็คือการเข้าถึงกลุ่ม
ลูกค้าที่ต้องการขายเครื่องมือดิจิตอลและออนไลน์ การตลาดแบบนี้ มี
ตัวเลือกที่หลากหลาย สามารถให้ข้อมูลที่เจาะลึก ธุรกิจสามารถเริ่ม
ทำการตลาดด้วยงบที่น้ อยในตอนแรก แล้วค่อยปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงตามผลประกอบการในเวลาจริง เราจะเห็นแล้วว่าธุรกิจ
สมัยนี้ หากไม่ใช่ธุรกิจขายของออนไลน์ ไปเลย ก็จะเป็นธุรกิจที่มีเพจ
Facebook หรือเว็บไซต์เป็นของตัวเอง แม้แต่ร้านขายข้าวแกงบางทีก็
ยังมีตัวตนอยู่ในโลกออนไลน์ นั้ นก็เพราะว่าการตลาดดิจิตอลเป็น
‘การสื่อสารหลักที่ผู้บริโภคนิ ยม’ หมายความว่าหากลูกค้าของเรา
อยากจะหาข้อมูลหรือหาร้านค้าอะไร ลูกค้าส่วนมากก็คาดหวังและ
ต้องการถ้าสามารถหาข้อมูลส่วนนี้ ได้ในโลกออนไลน์
สรุปง่ายๆก็คือ การตลาดดิจิตอลเป็นวิธีที่บริษัทจะสามารถแข่งขันกับ
เจ้าอื่นได้

แน่ นอนว่าการตลาดดิจิตอลนั้ นประกอบไปด้วยช่องทางการ
ตลาดออนไลน์ หลากหลายชนิ ด แต่ละช่องทางก็จะมีกลุ่มลูกค้าไม่
เหมือนกัน ลูกค้าแต่ละกลุ่ม แต่ละช่องทางก็จะมีพฤติกรรมที่แตกต่าง
นั่ นก็แปลว่าการตลาดดิจิตอลสามารถตอบโจทย์ของธุรกิจได้หลาก
หลายขนาด หลากหลายชนิ ด ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกช่องทางการ
ตลาดให้เหมาะกับงบการตลาดและกลุ่มลูกค้าของเราได้หรือเปล่า

จริยธรรมในการทำธุรกิจออนไลน์

จริยธรรม 10 ข้อในการทำธุรกิจออนไลน์

1.ขายของดี มีคุณภาพ ในราคายุติธรรม ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับ
ผู้ใช้

2.ขายของที่ถูกกฎหมาย ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ นำเข้าอย่างถูกต้อง ไม่
ปลอมแปลงหรือคัดลอกสิ นค้าของผู้อื่นมาเป็นของตัวเอง

3.ไม่โฆษณาเกินจริง บิดเบือนคุณภาพ สรรพคุณของสินค้า

4.ระบุรายละเอียดที่มา ขนาด ราคา วันหมดอายุ ของสินค้าให้
ชัดเจน

5.ไม่กลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสีใคร

6.เก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวและบัญชีของลูกค้าไว้เป็นความลับ และ
ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลลูกค้าแก่ผู้อื่นทราบโดยไม่ได้รับอนุญาต

7.ตรงต่อเวลา จัดส่งสินค้าตามที่แจ้ง

8.ตรวจสอบสิ นค้าและพัฒนาปรับปรุ งให้มีคุณภาพอยู่เสมอ

9.ถามมา ตอบได้ ตอบไว ไม่หนี ไม่โกง

10.ใช้ช่องทางรับชำระเงินที่เชื่อถือได้

ตัวอย่างการมีจริยธรรม
ในการทำธุรกิจ5 ตัวอย่าง

1.รายงานพฤติกรรมที่ผิดจรรยาบรรณ
หากพนั กงานสังเกตเห็นพฤติกรรมใดที่ผิดจรรยาบรรณในที่

ทำงาน พวกเขาควรมีช่องทางในการรายงานพฤติกรรมดังกล่าว ซึ่ง
บริษัทมีหน้ าที่จัดหาช่องทางในการรายงานพฤติกรรมเหล่านั้ น และ
ออกแบบในลักษณะที่ป้องกันอันตรายให้กับพนั กงานผู้รายงานโดย
ไม่ต้องกลัวผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามมา

2.มีความโปร่งใส
ความโปร่งใสและการสื่อสารที่ชัดเจนเป็นสิ่ งสำคัญของการมี

จริยธรรมทางธุรกิจ ธุรกิจที่ไม่มีความโปร่งใส ไม่พูดความจริงกับผู้
บริโภค อาจทำลายความไว้วางใจและส่งผล
กระทบต่อธุรกิจอย่างร้ายแรงได้ หากบริษัทเผชิญวิกฤตกับสาธารณะ
บริษัทก็ควรเรียกประชุมร่วมกับพนั กงานของตนและจัดการปัญหา
อย่างตรงไปตรงมา สิ่ งสำคัญคือ ต้องอธิบายสถานการณ์ตามความ
เป็นจริงเพื่อหาทางคลี่คลาย ร่วมกัน นำเสนอแนวทางแก้ไข และ
ยอมรับคำวิจารณ์ ด้วยความถ่อมตน

3.ให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับแรก
บริษัทควรสร้างวัฒนธรรมในการทำงานให้กับพนั กงาน โดย

คำนึ งถึงความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับแรก ตัวอย่างเช่น หาก
ลูกค้ากำลังมองหาผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการ สิ่ งสำคัญของ
พนั กงานคือ ต้องจัดหาผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดและตรงกับความต้องการ
ให้กับพวกเขา แทนที่จะพยายามขายหรือกระตุ้นให้พวกเขาซื้อ
ผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่ตรงตามความต้องการ

4.เคารพข้อมูลลูกค้า
ธุรกิจจำนวนมากหรือแทบจะทุกธุรกิจต้องมีการเก็บรวบรวม

ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการชำระเงิน ข้อมูลสุขภาพ
หรือข้อมูลการทำงาน บริษัทต้องมีการรักษาความปลอดภัยและ
ปกป้องข้อมูลของลูกค้าอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะธุรกิจโรงพยาบาล
หากเจ้าหน้ าที่แบ่งปันข้อมูลผู้ป่วยสู่ภายนอกไม่ว่าทางใดก็ตาม ไม่
เพียงแต่เป็นการดูหมิ่นความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยเท่านั้ น แต่ยังอาจ
ทำให้โรงพยาบาลเสี่ยงต่อการละเมิดกฎข้อบังคับของ HIPAA หรือ
ระบบรักษาข้อมูลตามมาตรฐานสากล เพื่อการปกป้องเวชระเบียน
ของบุคคลและข้อมูลสุขภาพส่ วนบุคคล

5.ถูกต้องตามกฎหมาย
จรรยาบรรณทางธุรกิจยังรวมถึงการปฏิบัติตามข้อบังคับทาง

กฎหมายด้วย อย่างเรื่องภาษี ความปลอดภัยของลูกจ้าง หรือเป็นไป
ตามกฎหมายแรงงาน บริษัทที่ดำเนิ นกิจการภายใต้ขอบเขตของ
กฎหมาย มีความน่ าเชื่อถือและยังสามารถสร้างชื่อเสียงในเชิงบวกที่
แข็งแกร่งในฐานะนายจ้าง ซึ่งอาจดึงดูดลูกจ้างมากฝีมือให้มาร่วม
งานกับบริษัทของคุณได้อีกด้วย


จริยธรรมในการในการทำธุรกิจดิจิทัลมีอะไรบ้าง

จริยธรรมในการทา ธุรกิจดิจิทัล 1. ขายสินค้าและบริการในราคายุตธรรมและตรงตามคุณภาพที่ระบุไว้ 2. ละเว้นการกลั่นแกล้ง ให้ร้าย ข่มขู่หรือกีดกัน ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม 3. ควรตรงไปตรงมาชัดเจนแน่วแน่น 4. ไม่ละเมิดสิทธิทางปัญญาของบุคคลอื่น 5. ไม่ส่งสแปมเมลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ขยะ เพื่อสร้างความราคาญ ให้แก่ผู้รับ

หลักจรรยาบรรณที่สำคัญในการขายออนไลน์มีอะไรบ้าง

1) ขายของดีมีคุณภาพ ในราคายุติธรรม ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้ 2) ขายของที่ถูกกฎหมาย ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์นำเข้าอย่างถูกต้อง ไม่ปลอมแปลง หรือ คัดลอกสินค้าของผู้อื่นมาเป็นของตัวเอง 3) ไม่โฆษณาเกินจริง บิดเบือนคุณภาพ สรรพคุณของสินค้า 4) ระบุรายละเอียดที่มา ขนาด ราคา วันหมดอายุของสินค้าให้ชัดเจน 5) ไม่กลั่นแกล้ง ...

จริยธรรมของการทำธุรกิจควรมีอะไรบ้าง

1.ความซื่อสัตย์ 2. ความยุติธรรม 3. ความรับผิดชอบ 4. ความน่าเชื่อถือ 5. การเคารพสิทธิของบุคคล 6. การบ ารุงรักษาสิ่งแวดล้อม

จริยธรรมทางธุรกิจคืออะไร

จริยธรรมทางธุรกิจ คือ แนวปฏิบัติหรือตัวกำหนดว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด หรือสิ่งใดเหมาะสมในที่ทำงาน เป็นการศึกษาว่าธุรกิจควรดำเนินการอย่างไรเมื่อต้องเผชิญกับประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม หรือสถานการณ์ความขัดแย้งต่างๆที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงวิธีการควบคุมธุรกิจ บทบาทของธุรกิจในประเด็นทางสังคม และอื่น ๆ