ประวัติ สุโขทัย ภาษาอังกฤษ

อาณาจักรสุโขทัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์โดยมีหลักฐานชัดเจนในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์(พ่อขุนบางกลางหาว พ.ศ.1781 – 1822) ต่อมาอาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อำนาจของอาณาจักรสุโขทัยในช่วงรัชสมัยของพระองค์มีความมั่นคงจาก ทรงแผ่อาณาเขตออกไปโดยรอบ วัฒนธรรมไทยได้เจริญขึ้นทุกสาขา ดังปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเจริญ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ การสงคราม ภูมิศาสตร์ กฎหมาย ประเพณี การปกครอง การเศรษฐกิจ การสังคม ปรัชญา พระพุทธศาสนา การประดิษฐ์อักษรไทย ราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พระร่วง หรือ สุโขทัย) ได้ปกครองอาณาจักรสุโขทัยสืบต่อมาเป็นเวลา 200 ปี ก็ถูกรวมเข้ากับ อาณาจักรอยุธยา

ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวัง และวัดมากถึง 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ ได้รับการบูรรปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากร ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี นักท่องเที่ยวสามารถเดินเท้า นั่งรถราง หรือ ขี่จักรยาน เที่ยวชมได้อย่างสะดวกปลอดภัย

ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2534 องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และ อุทยานประวัติศาตร์ศรีสัชนาลัย ภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นนับเป็น ตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศไทย

นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมได้ ๓ วิธี คือ เดินเท้า ปั่นจักรยาน และ การนั่งรถรางไฟฟ้า โดยทางอุทยานฯ มีรถจักรยานให้เช่าด้วย นอกจากนี้ หน้าโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแต่ละแห่งยังมีป้าย OR Code สำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟน สามารถสแกนเข้าไปอ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ มีให้เลือก ๔ ภาษา ได้แก่ ไทย จีน ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส

เมืองสุโขทัย ก่อตั้งขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สันนิษฐานว่าสุโขทัยในยุคแรกได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบขอมจากละโว้หรือลพบุรี ต่อมายกฐานะเป็นราชธานี โดยมีพ่อขุนบางกลางหาว หรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์ เป็นจุดเริ่มต้นอาณาจักรแห่งแรกของไทย ราวปี ๑๗๙๒ อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์องค์ที่ ๓ บันทึกในศิลาจารึกบอกถึงเขตอาณาจักรอันกว้างขวาง ทิศเหนือจดเมืองแพร่ น่าน หลวงพระบาง ทิศใต้จดเมืองนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออกจดเมืองเวียงจันทน์ และทิศตะวันตกจดเมืองหงสาวดี การปกครองเป็นระบบ พ่อปกครองลูก เอื้อสิทธิเสรีภาพให้ประชาชน

จุดเด่นของผังเมืองสุโขทัยคือระบบชลประทาน เป็นระบบที่กระจายน้ำเพื่อการทำเกษตรกรรม อุปโภค บริโภคให้ชาวเมืองได้อย่างทั่วถึง และยังสามารถช่วยระบายน้ำเอ่อล้นช่วงหน้าน้ำหลากได้ดีเช่นกัน ในช่วงการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงชาวเมืองสุโขทัยมีความเป็นอยู่อย่างสงบร่มเย็น ด้วยพระองค์ทรงมีความเอาใจใส่ทำนุบำรุงศาสนาอย่างเต็มที่ สังเกตจากลักษณะพระพักตร์ของพระพุทธรูปที่สร้างขึ้น ส่วนใหญ่จะมีพระโอษฐ์ยิ้ม สะท้อนเอกลักษณ์ของยุคสมัย และจำนวนวัดวาที่ถูกสร้างขึ้นอย่างมากมาย เมื่อปี ๒๕๓๔ องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอีก ๒ แห่ง ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร”

เที่ยวชมวัด ย้อนรอยสุโขทัยก่อนยุคราชธานี

ปั่นจักรยานย้อนกลิ่นอายความเป็นมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้น ที่ วัดพระพายหลวง และ วัดศรีชุม  ซึ่งตั้งอยู่ด้านนอกกำแพงเมืองทางทิศเหนือ เป็นจุดเริ่มต้นของชุมชนก่อนที่จะสถาปนาเป็นอาณาจักรสุโขทัย จุดเด่นของวัดพระพายหลวง คือ เป็นศาสนาสถานที่มีองค์ประธานเป็นพระปรางค์แบบขอม ๓ องค์ ปัจจุบันเหลือเพียงพระปรางค์องค์เหนือ มีหลักฐานลวดลายปูนปั้นที่คล้ายกับพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี สื่อถึงการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมขอมสู่สุโขทัยผ่านอาณาจักรละโว้ซึ่งริเริ่มก่อตั้งสุโขทัยขึ้นมา

จากวัดพระพายหลวง มีทางเชื่อมต่อมาถึงวัดศรีชุม คำว่า ศรี มาจากภาษาถิ่นดั้งเดิมว่า สะหลี แปลว่าต้นโพธิ์ ดังนั้นวัดศรีชุมจึงคาดว่าน่าจะหมายถึงวัดที่ตั้งอยู่ในดงต้นโพธิ์ ต่อมาในสมัยอยุธยาเพี้ยนมาเป็นวัดฤาษีชุม เป็นวัดแห่งเดียวในเมืองสุโขทัยที่มีมณฑปศิลปะพุกาม จุดที่น่าสนใจคือมีอุโมงค์เจาะเป็นช่องลึกเข้าไปในผนัง บนเพดานของอุโมงค์มีภาพจารลายเส้นวาดบอกเล่าเรื่องราวพุทธชาดกด้วยอักษรสุโขทัย โดยอุโมงค์นี้เจาะเชื่อมเป็นทางเดินขนาดพอดีตัวคนวนถึงรอบมณฑปซึ่งเป็นที่ ประดิษฐาน พระอจนะ พระพุทธรูปปางมารวิชัยขึ้นดินฉาบปูนองค์ใหญ่ ลักษณะสกุลช่างสุโขทัย จุดเด่นคือ พระพักตร์รูปไข่ หากลองมองไล่ตั้งแต่ฐานพระไปจนถึงพระเศียรจะพบกับยอดมณฑปด้านบนที่ไม่มีหลังคารวมถึงภาพของกรอบสี่เหลี่ยมหยักมุมที่ล้อมองค์พระ มีท้องฟ้าสีฟ้าสดเป็นฉากหลังสวยงามรับกันอย่างน่าประทับใจ ถือเป็นจุดต้องห้ามพลาดมาชม

สู่ยุครุ่งเรือง เมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย

ภายในเขตกำแพงเมือง คือที่ตั้งชุมชนแห่งใหม่หลังเริ่มต้นการสถาปนาเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี มีวัดสำคัญคือวัดมหาธาตุ ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางเมือง เปรียบเสมือนพระอารามหลวง มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดในบรรดาวัดทั้งหมด มีเจดีย์กว่า ๒๐๙ องค์ เจดีย์ประธานเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ ทรงดอกบัวตูม หรือ ทรงพุ่งข้าวบิณฑ์ ภายในแกนกลางบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ล้อมรอบทั้งสี่ทิศด้วยเจดีย์ขนาดเล็ก จุดที่น่าสนใจคือเหนือซุ้มวงโค้ง (ซุ้มจระนำ) ของพระปรางค์องค์หน้าสุด มีรูปปูนปั้นตอนพระนางสิริมหามายากำลังโน้มกิ้งสาละเพื่อประสูติเจ้าชายสิทธัตถะ ลายผ้านุ่งที่ปรากฎในปูนปั้น ปัจจุบันนำมาประยุกต์เป็นลวดลายบนเครื่องแต่งกายสำหรับฟ้อนรำสุโขทัย

นอกจากนี้ยังมีวัดเด่นๆ อยู่ไม่ไกลกัน เช่น วัดศรีสวาย เป็นศาสนสถานของพราหมณ์ ลักทธิไศวะนิกาย รูปแบบปราสาทขอม ๓ องค์ เป็นวัดเพียงแห่งเดียวที่หันหน้าไปทางทิศใต้ สันนิษฐานประการแรกว่าเพื่อการสักการะเมืองละโว้ (ลพบุรี) ซึ่งเป็นเมืองแม่ ศูนย์กลางอารยธรรมขอมในขณะนั้นประการที่สอง คือเพื่อหันไปทางแนวเขาหลวง ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเมืองเชื่อว่าเป็นที่สถิตของเทวดาและหมู่ผีที่ปกปักรักษาเมืองคำว่า สวาย แปลว่า มะม่วง บ่งบอกว่าวัดนี้ตั้งอยู่ในดงมะม่วง ซึ่งรอบบริเวณก็ยังมีต้นมะม่วงป่าต้นสูงใหญ่ แผ่กิ่งก้านแตกใบเป็นพุ่มราวตัดแต่งดูแปลกตา

ตระพังทั้ง ๔ มาจากคำว่า ตระเปรียง ในภาษาขอมโบราณ แปลว่าสระน้ำ ตามหลักศิลาจารึกระบุว่าภายในกำแพงเมืองมีตระพังใหญ่ ๔ แห่ง เป็นแหล่งน้ำกินน้ำใช้จากการรองน้ำฝนและรับน้ำจากคูเมืองผ่านทางเชื่อมใต้ดิน ทุกตระพังล้อมรอบวัดและอุโบสถไว้ตรงกลาง วัดตระพังทั้ง ๔ ได้แก่ วัดสระศรี (ตระพังตระกวน) วัดตระพังเงิน วัดตระพังทอง และวัดตระพังสอ

ก่อนกลับแวะสักการะ อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง รูปหล่อพระองค์ท่านประทับบนพระแท่น ถัดลงมาด้านล่างเยื้องไปด้านข้างมีหลักศิลาจารึก และเมื่อเดินเข้ามาจะพบระฆังร้องทุกข์ที่สร้างจำลองไว้ตรงด้านหน้า เชื่อว่าถ้าลั่นระฆังแล้วขอพรจากพ่อขุมรามคำแหง เสมือนหนึ่งลูกมาพึ่งพ่อจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล

ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย มีเอกลักษณ์ด้วยเครื่องเคราแสนอร่อยอย่างเนื้อหมูชิ้น หมูสับเครื่องในลวก หมูแดงฝานเป็นผ่านบางๆ ถั่วฝักยาวหั่นแฉลบ โรยถั่วลิสงคั่วไชโป๊วฝอย ที่เมื่อคลุกเคล้ากันแล้วมีรสชาติหวานนำเล็กน้อย แต่อร่อยกำลังดี สั่งได้ทั้งแบบน้ำและแห้ง ถ้าอยากชิมรสชาติดั้งเดิมต้องสั่งก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กเท่านั้น

เครื่องสังคโลก เป็นชื่อเรียกเครื่องปั้นเคลือบที่ผลิตขึ้นในสุโขทัย มีความรุ่งเรืองราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๒ ซึ่งเป็นช่วงที่สุโขทัยอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยา โดยเป็นแหล่งผลิตใหญ่สำหรับการส่งออกไปดินแดนใกล้เคียง เช่น เกาะชวา เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว เกาะเซบู เกาะมินดาเนา ในคาบสมุทรเกาหลี และญี่ปุ่น ลักษณะเด่นของเครื่องสังคโลกคือ การเขียนลายลงบนดินขึ้นรูปที่เผาแล้ว ก่อนนำไปเคลือบ เรียกว่า การเขียนใต้เคลือบ และนำไปเผาอีกครั้งด้วยความร้อนสูง จนได้ออกมาเป็นวัตถุเคลือบใสทับบนสี ไม่หลุดร่อน แตกลายงาทั่วพื้นผิวเป็นเอกลักษณ์จำเพาะ มักผลิตเป็นภาชนะ หม้อ ไห ตุ๊กตา หรือชิ้นส่วน ประดับอาคาร

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ของไทยสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่ ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็น “มรดกโลก” เนื่องจากในอดีตเมืองสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทยมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา และเศรษฐกิจ ภายในอุทยานประกอบด้วยสถานที่สำคัญๆ ได้แก่

  • พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาด 2 เท่าขององค์จริง สูง 3 เมตร ประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าทรงสั่งสอนประชาชน แท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้ข้างๆ ลักษณะพระพักตร์เหมือนอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้น ด้านข้างมีภาพแผ่นจำหลักจารึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ตามที่อ้างถึงในจารึกสุโขทัย
  • กำแพงเมืองสุโขทัย ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึก เรียกว่า ตรีบูร มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 1,300 เมตร ยาว 1,800 เมตร กำแพงชั้นในเป็นศิลาแลงก่อบนคันดิน กำแพงสองชั้นนอกเป็นคูน้ำสลับกับคันดิน นอกจากทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกแล้ว คูน้ำยังใช้ระบายน้ำไม่ให้ไหลท่วมเมืองอีกด้วย ระหว่างกึ่งกลางแต่ละด้านมีประตูเมือง และป้อมหน้าประตูด้วย
  • วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่กลางเมือง เป็นวัดใหญ่และวัดสำคัญของกรุงสุโขทัย มีพระเจดีย์มหาธาตุทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูม ศิลปะแบบสุโขทัยแท้เป็นเจดีย์ประธาน รายรอบด้วยเจดีย์ 8 องค์ บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง 4 และเจดีย์ทรงปราสาทก่อด้วยอิฐได้รับอิทธิพลมาจากล้านนา จากการสำรวจพบว่าบริเวณวัดมหาธาตุมีเจดีย์แบบต่างๆ มากถึง 200 องค์ วิหาร 10 แห่ง ซุ้มพระ (มณฑป) 8 ซุ้ม พระอุโบสถ 1 แห่ง ตระพัง 4 แห่ง ด้านตะวันออกบนเจดีย์ประธานมีวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง มีแท่นซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในโบสถ์วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ กรุงเทพฯ
  • วัดชนะสงคราม ตั้งอยู่ใกล้กับหลักเมือง เดิมเรียกว่า วัดราชบูรณะ มีลักษณะเด่นคือ เจดีย์ทรงระฆังกลมขนาดใหญ่เป็นเจดีย์ประธาน
  • เนินปราสาทพระร่วง หรือ เขตพระราชวังในสมัยสุโขทัย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับวัดมหาธาตุ รัชกาลที่ 6 สันนิษฐานว่าเคยเป็นฐานปราสาทราชวังของกษัตริย์เมืองสุโขทัย กรมศิลปากรได้ขุดแต่งบูรณะ พบฐานอาคารแบบฐานบัวค่ำและบัวหงาย มีลักษณะเป็นฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 27.50 x 51.50 เมตร มีบันไดที่ด้านหน้าและด้านหลัง
  • วัดตระพังเงิน (คำว่า “ตระพัง” หมายถึง สระน้ำหรือหนองน้ำ) ตั้งอยู่บริเวณขอบตระพังเงินด้านทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ โบราณสถานนี้ไม่มีกำแพงแก้ว ประกอบด้วยเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูมเป็นประธาน เรือนธาตุทั้งสี่ด้านประดิษฐานพระพุทธรูปยืนและพระพุทธรูปปางลีลา มีวิหารประกอบอยู่ด้านหน้า
  • วัดสระศรี ตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำขนาดใหญ่ ชื่อว่า ตระพังตระกวน สิ่งสำคัญของวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงลังกา ด้านหน้าวิหารขนาดใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย มีเจดีย์ขนาดเล็ก ศิลปะศรีวิชัยผสมลังกา ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ มีซุ้มพระพุทธรูป 4 ทิศ ด้านหน้ามีเกาะกลางน้ำขนาดย่อมเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถขนาดเล็ก วัดแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นจุดที่มีทัศนียภาพสวยงาม
  • วัดศรีสวาย อยู่ในกำแพงแก้ว ประกอบด้วยปรางค์ 3 องค์ ศิลปะลพบุรี ตั้งอยู่บนฐานเตี้ยๆ ลวดลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน เดิมพบทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูปและศิวลึงค์ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน แล้วแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนาโดยต่อเติมวิหารขึ้นที่ด้านหน้า

โบราณสถานนอกกำแพงเมือง

  • ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นอาคารทรงไทยสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย ภายในอาคารเป็นศูนย์ให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่มาชมอุทยาน รวมทั้งจัดแสดงแบบจำลองโบราณสถานต่างๆ ในเขตเมืองเก่าสุโขทัย
  • แหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย (เตาทุเรียง) อยู่บริเวณแนวคูเมืองเก่าที่เรียกว่า “แม่โจน” เป็นเตาเผาถ้วยชามสมัยสุโขทัย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 พบเตาโดยรอบ 49 เตา เตาเผาเครื่องสังคโลกมีลักษณะคล้ายประทุนเกวียน เครื่องปั้นดินเผาที่พบบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นถ้วยชามขนาดใหญ่ หนา น้ำยาเคลือบขุ่นสีเทาแกมเหลือง มีลายเขียนสีดำ ส่วนใหญ่ทำเป็นรูปดอกไม้ ปลา และจักร
  • วัดพระพายหลวง เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียกว่า คูแม่โจน วัดพระพายหลวงเป็นศูนย์กลางของชุมชน มีพระปรางค์ 3 องค์ เป็นปรางค์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลง ศิลปะเขมรแบบบายน ด้านหน้าของวัดเป็นอาคารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น สี่อิริยาบถ คือ นั่ง นอน ยืน และเดิน
  • วัดศรีชุม เป็นวัดที่ประดิษฐาน พระอัจนะ “อจนะ” แปลว่า “ผู้ไม่หวั่นไหว ผู้มั่นคง” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 11.30 เมตร ลักษณะของวิหารสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป แต่หลังคาพังทลายลงมาหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน แต่ละด้านก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน ช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่มีอายุเกือบ 700 ปี เพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายชาดกต่างๆ
  • วัดช้างรอบ วัดสำคัญประกอบด้วย เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีช้างโผล่ครึ่งตัว จำนวน 24 เชือก พระอุโบสถอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน และมีเจดีย์ราย 5 องค์ ล้อมรอบเจดีย์ประธาน และโบสถ์
  • เขื่อนสรีดภงค์ หรือ ทำนบพระร่วง เป็นคันดินกั้นระหว่างเขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายมา สร้างขึ้นเพื่อกักน้ำ และชักน้ำไปตามคลองสู่กำแพงเมืองไหลเข้าสระตระพังเงิน ตระพังทอง เพื่อนำไปใช้ในเมือง และพระราชวังในสมัยสุโขทัย
  • วัดเชตุพน  เป็นมณฑปสร้างด้วยหินชนวน ประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบถ คือ นั่ง นอน ยืน เดิน ภายในมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโดยมีการใช้วัสดุทั้งอิฐ หินชนวน ศิลาแลง สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด คือ กำแพงแก้วที่ล้อมรอบมณฑปจตุรมุข สร้างจากหินชนวนขนาดใหญ่และหนา โดยมีการสกัดและบากหินเพื่อทำเป็นกรอบและซี่กรงเลียนแบบเครื่องไม้ และยังได้พบศิลาจารึกหลักที่ 58 จารึกไว้ใน พ.ศ.2057 กล่าวว่าเจ้าธรรมรังสีสร้างพระพุทธรูปในวัดนี้
  • วัดเจดีย์สี่ห้อง สิ่งที่น่าสนใจ คือ ที่ฐานเจดีย์ประธานมีภาพปูนปั้นประดับ เป็นรูปบุรุษและสตรี สวมอาภรณ์ เครื่องประดับ ในมือถือภาชนะ มีพรรณพฤกษางอกโผล่พ้นออกมาที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์
  • วัดสะพานหิน วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินเขา สูงประมาณ 200 เมตร ทางเดินขึ้นปูลาดด้วยหินชนวน สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระประธานเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ ปางประทานอภัย สูง 12.50 เมตร เรียกว่า “พระอัฏฐารศ”

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

วัดศรีชุม ซึ่งเป็นวัดที่ประดิษฐานพระอัจนะ “อจนะ” แปลว่า “ผู้ไม่หวั่นไหวผู้มั่นคง” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 11.30 เมตร 

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 64210
โทรศัพท์ : 055-697 241 / 055-633 236
โทรสาร : 055-697 527
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/sukhothaihistoricalpark/

ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://www.legendhasukhothai.com/th/sukhothai-hotels/sukhothai-historical-park

ประวัติ สุโขทัย ภาษาอังกฤษ

Author: Tuemaster Admin

ทีมงานจากเว็บไซต์ติวกวดวิชาออนไลน์ที่ดีที่สุด !! สำหรับ การเรียนออนไลน์ ม.ปลาย (ม.4, ม.5, ม.6)