มอเตอร์ที่ใช้ บ่อย ใน ครัวเรือน

มอเตอร์ไฟฟ้า มอเตอร์แอร์ อุปกรณ์สำคัญที่แอร์ขาดไม่ได้

แอร์บ้าน เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นับวันจะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ในแต่ละบ้านจะขาดไม่ได้ ด้วยอากาศของเมืองไทยที่ร้อนจัดทุกฤดู และหนึ่งในชิ้นส่วนอุปกรณ์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่แอร์จะไม่มีไม่ได้เลย นั่นก็คือมอเตอร์แอร์ไฟฟ้า เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ต้องประกอบอยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทุกชนิดนั่นเอง

มอเตอร์ไฟฟ้า มอเตอร์แอร์ อุปกรณ์สำคัญที่แอร์ขาดไม่ได้

มอเตอร์ไฟฟ้า คืออะไร

มอเตอร์ไฟฟ้าในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหลาย เป็นอุปกรณ์ซึ่งจะทำหน้าที่แปลงกระไฟฟ้าที่จะเดินในเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นโดยเปลี่ยนจากพลังงานไฟฟ้ามาเป็นพลังงานกล มอเตอร์ไฟฟ้าในเครื่องใช้แต่ละชนิดก็จะมีความเร็วรอบหรือมีกำลังแตกต่างกันไป

ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้า

ในส่วนของมอเตอร์แอร์ก็ได้มีการแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามลักษณะของการใช้กระแสไฟฟ้า ดังนี้

  1. มอเตอร์กระแสตรง (Direct Current Motor) หรือ ดีซีมอเตอร์
  2. มอเตอร์กระแสสลับ (Alternating Current Motor) หรือเอซีมอเตอร์ โดยมอเตอร์กระแสสลับ แบ่งออกได้อีก 2 ชนิด ได้แก่ มอเตอร์แบบเฟสเดี่ยว 2 สาย เช่น มอเตอร์ในคอมเฟสเซอร์หรือมอเตอร์ที่ระบายความร้อนในคอยด์ เป็นต้น และอีกชนิดคือ มอเตอร์แบบ 3 เฟส

ส่วนประกอบของมอเตอร์

ส่วนประกอบของมอเตอร์นี้หรือที่เรียกกันว่า Split Phase Motor ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนดังต่อไปนี้

1. สเตเตอร์ (Stator) เป็นชิ้นส่วนที่มีไว้สำหรับวางขดลวดหรือลวดอาบน้ำยา โดยมีลักษณะเป็นแผ่นเหล็กบางๆ และมีร่องที่เรียกว่า สล็อด โดยแบ่งออกได้คือ

  • ขดรัน (Running Winding) เป็นขดลวดที่มีน้ำยาพันอยู่ในขั้วของสล็อด มีลักษณะใหญ่ หากเอามิเตอร์วัดดูจะมีความต้านทานน้อย มีขั้วเป็น N กับ S และการนับจะนับเป็นคู่ๆ
  • ขดสตาร์ท (Start Winding) เป็นขดลวดสำหรับใช้ในการเริ่มทำงานของมอเตอร์ มีลักษณะเล็ก มีแรงต้านทานน้อย ซึ่งจะใช้พันทับลงบนขดลวดของรันอีกชั้นหนึ่ง

2. โรเตอร์ (Rotor) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่หมุนปล่อยวงจรของขดลวดให้แยกออกจากกัน โดยส่วนเพลาของโรเตอร์นี้จะมีสวิตซ์หมุนแบบหนีแรงเหวี่ยงของศูนย์กลางอยู่ด้วย (Centrifugal Swich)

3. สวิทซ์แบบหนีแรงเหวี่ยง (Centrifugal Swich) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือส่วนที่อยู่กับฝาครอบและส่วนที่หมุนอยู่ที่เพลาโรเตอร์ โดยทำหน้าที่ตัดขดลวดหลังจากที่โรเตอร์ซึ่งจะมีการหมุนอย่างเต็มพิกัดไปแล้วประมาณ 75%

4. แคปรัน (Capacitor Run) ในวงจรไฟฟ้าจะมีอุปกรณ์ชนิดนี้อยู่ข้างๆ เมื่อมอเตอร์มีปัญหาไม่มีแรงหมุนหรือหยุดหมุนมักพบว่าแคปรันรั่วหรือช็อตได้เสมอ ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหาหรืออาการดังกล่าว ควรเช็คแคปรันเป็นอันดับแรก

มอเตอร์ของแอร์ยังประกอบไปด้วยอุปกรณ์อีกหลายชิ้น โดยหนึ่งในนั้นคือ พัดลมระบายอากาศสำหรับแผงคอยล์ร้อนและพัดลมโพรงกระรอกในคอยล์เย็นและมอเตอร์บานสวิงซ้าย-ขวา ขึ้น-ลง ซึ่งมักเป็นแบบมอเตอร์กระแสสลับเฟสเดียวและแบบ 3 เฟส ในส่วนมอเตอร์กระแสสลับแบบเฟสเดียวยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบดังนี้

1. มอเตอร์สปลิทเฟส จะเหมือนกับมอเตอร์แอร์บ้าน สำหรับขดรันของมอเตอร์พัดลมแอร์บ้านจะมี 2 ขด ทำให้สามารถเปลี่ยนความเร็วให้ช้าหรือเร็วได้

2. มอเตอร์แบบแคปรัน มอเตอร์แบบนี้จะมีขดรัน 2 ชุดเหมือนมอเตอร์คอมเพรสเซอร์

3. มอเตอร์แชดเดดโปล เป็นแบบที่ตัวโรเตอร์และสเตเตอร์เหมือนกับสปลิทเฟส แต่จะมีขดลวดพันที่สเตเตอร์ขดรัน 2 ชุด ซึ่งไม่มีขดลวดสตาร์ท เพราะมีขั้วแชดเดดโปลซึ่งคอยทำหน้าที่เป็นตัวสตาร์ทแล้ว

จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า มอเตอร์ไฟฟ้าจะทำงานได้ก็จะต้องมีไฟฟ้าป้อนเข้าไปในขดลวดที่พันอยู่รอบเหล็กบนแกนหมุน จึงจะเกิดเป็นแม่เหล็กที่จะผลักหรือดูดบนตัวสเตเตอร์ได้ กล่าวโดยสรุปคือ การทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสนามแม่เหล็กในตัวมอเตอร์ และสนามแม่เหล็กซึ่งเกิดที่ขดลวดจนเกิดการผลักและดูด โดยแหล่งจ่ายไฟจากกระแสตรงหรือกระแสสลับ ส่งผลให้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์สำคัญที่อยู่ในงานหรืออุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น อุปกรณ์เครื่องเป่า พัดลม เครื่องมือช่าง หรือเครื่องใช้ในครัวเรือนนั่นเอง

มอเตอร์ที่ใช้ บ่อย ใน ครัวเรือน
electric-motor-16 มอเตอร์ไฟฟ้า คืออะไร

มอเตอร์ไฟฟ้า (Electric motor) คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลซึ่งจะแสดงออกมาเป็นกำลังที่เพลา

มอเตอร์ไฟฟ้าถูกนำไปใช้งานเป็นต้นกำลังขับ (Driver) ของอุปกรณ์ต่างๆเช่น พัดลม, ปั๊มน้ำหอยโข่ง, เครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน และดิสก์ไดรฟ์ จนกระทั่งไปถึงงานในอุตสาห์กรรมหนักพวก turbo-machinery พวก แก๊สคอมเพลสเซอร์ ที่ตัวหนึ่งขนาดหลาย MW เลยทีเดียวครับ

มอเตอร์ที่ใช้ บ่อย ใน ครัวเรือน
ขนาดต่างๆของ motor ขอบคุณภาพจาก ABB

หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า

การทำงานปกติของมอเตอร์ไฟฟ้า ส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่าง
1. “สนามแม่เหล็ก” ของแม่เหล็กในตัวมอเตอร์
และ 2. “สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากกระแสในขดลวด”
ทำให้เกิดการสร้าง แรงดูด และแรงผลักของสนามแม่เหล็กทั้งสอง ทำให้เกิดเป็นพลังงานกล ขึ้นมาครับ

หลักการสร้างพลังงานกลโดยอาศัยสนามแม่เหล็กทั้งสองชุด (D.C.motor)

ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้า

มอเตอร์ไฟฟ้าสามารถแบ่งได้ 2 แบบหลักๆตามลักษณะของกระไฟฟ้าคือ

1. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Motor)
เป็นมอเตอร์ที่ต้องใช้ไฟฟ้ากระแสตรง ผ่านเข้าไปในขดลวดเพื่อทำให้เกิดการดูดและผลักกันของแม่เหล็กถาวรกับแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากขดลวดมอเตอร์จึงหมุนได้

2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Motor)
เป็นมอเตอร์ที่ต้องใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ โดยใช้หลักการดูดและผลักกันของแม่เหล็กถาวร กับแม่เหล็กไฟฟ้าจากขดลวดมาทำให้เกิดการหมุนของมอเตอร์ และ 90% ในโรงงานอุตสาห์กรรมจะใช้แบบนี้เป็นหลักครับ

ข้อควรระวัง: ในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอรเป็นส่วนประกอบ ห้ามใช้เครื่องใช้ประเภทนี้ในช่วงที่ไฟตก หรือแรงดันไฟฟ้าไม่ถึง 220 โวลต์
เนื่องจากมอเตอร์จะไม่หมุนและทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าดันกลับ จะทำให้ขดลวดร้อนจัดจนเกิดไหม้เสียหายได้
เนื่องจากมอเตอร์กำลังหมุนจะเกิดการเหนี่ยวนำไฟฟ้าขึ้นทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าซ้อนขึ้นภายในขดลวด แต่มีทิศทางการไหลสวนทางกับกระแสไฟฟ้าที่มาจากแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าเดิม ทำให้ขดลวดของมอเตอร์ไม่ร้อนจนเกิดไฟไหม้ได้

แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare

#นายช่างมาแชร์