การหาความคุ้มค่าและจุดคุ้มทุน

การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน           การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน เป็นการวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับต้นทุนสินค้า จำนวนสินค้าที่ขาย และกำไรจากการขายสินค้าเพื่อดูว่ากิจการจะต้องผลิตและขายสินค้าเป็นจำนวนเท่าใดจึงจะคุ้มทุนพอดี ซึ่งจำนวนหน่วยของสินค้าที่ขายหรือปริมาณยอดขายจะทำให้ยอดขายหรือรายได้ของกิจการเท่ากับต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดพอดี เรียกว่า “จุดคุ้มทุน” (Break Even Point) ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้เนื่องจากมื่อสามารถจำหน่ายได้สูงกว่านี้ไปกำไรจะเกิดขึ้น และถ้าขายยังไม่ถึงจุดนี้ก็จะเกิดการขาดทุนผู้บริหารอาจใช้จุดคุ้มทุนเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดราคาขาย ปริมาณขาย และกำไรได้ซึ่งถ้าหากตั้งราคาขายให้สูงขึ้นจุดคุ้มทุนก็จะเกิดขึ้นเร็ว หรือถ้าต้องการกำไรจำนวนหนึ่ง ควรจะผลิตและขายสินค้าเป็นจำนวนเท่าไร ในการคำนวณหาจุดคุ้มทุนนั้นจะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ราคาขาย ต้นทุนผันแปรต้นทุนคงที่ จำนวนสินค้าที่ขาย และสัดส่วนของการขายสินค้า ทั้ง นี้สามารถวิเคราะห์ได้หลายลักษณะ แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนด้วยแผนภูมิเท่านั้น

การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนด้วยแผนภูมิ


การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนด้วยแผนภูมิ เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ต้นทุน ปริมาณ และกำไรโดยแสดงออกมาในลักษณะของแผนภูมิหรือกราฟ ที่แสดงให้เห็นถึงรายได้หรือยอดขาย ต้นทุนรวม และกำไรที่จะเกิดขึ้น ณ ระดับปริมาณการขาย โดยการกำหนดให้แกนตั้งแสดงระดับของจำนวนเงิน และแกนนอนแสดงระดับของปริมาณการขาย ในแผนภูมิจะประกอบด้วยเส้นรายได้รวม (ยอดขาย) และเส้นต้นทุนรวม โดยที่เส้นต้นทุนรวมนี้จะได้จากเส้นต้นทุนผันแปรรวมกับเส้นต้นทุนคงที่ ซึ่งการใช้แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ของต้นทุนปริมาณ และกำไรนี้เป็นวิธีแบบหยาบ

ตัวอย่าง บริษัท บลูสกาย จำกัด ผลิตและขายสินค้า โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนและการขาย ดังนี้
ราคาขาย 30 บาทต่อหน่วย
ต้นทุนผันแปร 18 บาทต่อหน่วย
ต้นทุนคงที่รวม 24,000 บาท

ความสัมพันธ์ของต้นทุน ปริมาณและกำไร

          จากกราฟจะพบว่าจุดคุ้มทุน คือ จุดที่เส้นรายได้รวมตัดกับเส้นต้นทุนรวม ซึ่งมียอด ขาย 60,000 บาทหรือปริมาณ 2,000 หน่วย โดยที่เส้นรายได้รวมจะมีความชัน (Slope) เท่ากับราคาขายของสินค้าแต่ละหน่วย คือ30 บาท (การขายสินค้าเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จำนวนเงินเพิ่มขึ้น 30 บาท) เส้นต้นทุนผันแปรก็จะมีความชันเท่ากับต้นทุนผันแปรต่อหน่วย คือ 18 บาท ซึ่งจุดที่เส้นรายได้รวมตัดกับเส้นต้นทุนรวมก็คือ จุดคุ้มทุน นัน่ คือจุดที่ปริมาณการขายมีรายได้รวมเท่ากับต้นทุนรวมพอดี ส่วนของพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าจุดคุ้มทุน คือ ส่วนที่เกิดกำไร ซึ่งมีกำไร 12 บาทต่อหน่วย (30 – 18) และส่วนของพื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่าจุดคุ้มทุน คือ ส่วนที่เกิดขาดทุน

          จากแผนภูมิสามารถอ่านค่าได้ว่าจุดคุ้มทุน คือ 60,000 บาท (จากการลากเส้นตรงจากจุดคุ้มทุนไปยังแกนตั้ง) และปริมาณขาย ณ จุดคุ้มทุน คือ 2,000 หน่วย (จากการลากเส้นตรงจากจุดคุ้มทุนไปยังแกนนอน)หมายความว่า บริษัทจะต้องขายให้ได้ปริมาณดังกล่าวจึงจะไม่ขาดทุนหรือเท่าทุนพอดี พิสูจน์ได้ดังนี้

ขาย (2,000 หน่วย x 30)                 =      60,000 บาท -
หัก ต้นทุนผันแปร (2,000 x 18)       =      36,000 บาท
กำไรส่วนเกิน                                 =       24,000 บาท -
หัก ต้นทุนคงที่                               =       24,000 บาท
กำไรก่อนภาษี                                =                0 บาท