ปัจจุบันประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙) ได้จัดทำขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกว่าช่วงที่ผ่านมา ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘–๑๐ สังคมไทยได้อัญเชิญหลัก"ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปัจเจก ครอบครัวชุมชน สังคม จนถึงระดับประเทศ ซึ่งได้มีส่วนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ทุกภาคส่วนในสังคมไทยเห็นพ้องร่วมกันน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งให้เกิดภูมิคุ้มกันและมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม เพื่อให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน

ในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ทั้งในระดับชุมชน ระดับภาค และระดับประเทศในทุกขั้นตอนของแผนฯ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทำรายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ "สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง"

การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ จึงเป็นการนำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ พร้อมทั้งเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกัน ยังจำเป็นต้องบริหารจัดการแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้หลักการพัฒนาพื้นที่ภารกิจ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของสังคมไทยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

29 ส.ค. 2565 เวลา 8:04 น. 16.6k

รัฐสภา ไฟเขียว แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 เตรียมประกาศใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 พัฒนาประเทศในช่วง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2566 – 2570 เป้าหมายดันรายได้ต่อหัวคนไทยแตะ 300,000 บาท ลดความเหลื่อมล้ำให้แคบลงกว่าเดิม

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า รัฐสภาได้มีมติรับทราบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) แล้ว เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยหลังจากนี้จะเป็นขั้นตอนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ต่อไป

สำหรับ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ถือเป็นแผนระดับที่ 2 ตามแผนกำหนดให้เป็นกลไกที่สำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติและกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ประเทศควรมุ่งเน้นในระยะ 5 ปีถัดไปคือปี 2566 – 2570 

ปัจจุบันประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด

เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเจตนารมณ์ของยุทธศาสตร์ชาติ มีสาระสำคัญผ่านหลักการและแนวคิด 4 ประการคือ 

  1. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  2. การสร้างความสามารถในการ ล้มแล้ว ลุกไว
  3. เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ 
  4. การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) 

ขณะที่เป้าหมายหลักของการพัฒนามี 5 ประการ มีดังนี้

  1. การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม
  2. การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่
  3. การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม
  4. การเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืน 
  5. การเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบทโลกใหม่ 

ปัจจุบันประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด

ทั้งนี้ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ได้กำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญ ดังนี้

  • รายได้ประชาชาติต่อหัวเท่ากับ 9,300 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 300,000 บาท โดยปี 2564 รายได้ประชาชาติต่อหัวเท่ากับ 7,097 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 227,000 บาท
  • ดัชนีความก้าวหน้าของคนอยู่ในระดับสูง เท่ากับ 0.7209  โดยปี 2563 อยู่ที่ 0.6501
  • ความแตกต่างของความเป็นอยู่หรือรายจ่าย ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงสุดร้อยละ 10 และต่ำสุดร้อยละ 40  มีค่าต่ำกว่า 5 เท่า โดยปี 2562 มีค่าเท่ากับ 5.66 เท่า
  • ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบเคียงกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกปกติที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยปี 2561การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานลดลงร้อยละ 16 

สำหรับในแนวทางการผลักดันให้การขับเคลื่อนแผนเป็นไปตามเป้าหมาย สศช. กำหนดหมุดหมาย หรือแนวทางการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ไว้ทั้งหมด 13 หมุดหมาย จำแนกออกเป็น 4 มิติ ดังนี้ 

1.มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย จำนวน 6 หมุดหมาย ได้แก่ 

  • ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง
  • ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน
  • ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก
  • ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง
  • ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค 
  • ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยและอุตสาหกรรมดิจิทัลของอาเซียน

2.มิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม มี 3 หมุดหมาย ได้แก่ 

  • ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูงและสามารถแข่งขันได้
  • ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน และไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง 
  • คนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม 

3.มิติความยั่งยืน ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มี 2 หมุดหมาย ได้แก่ 

  • ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ และไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 
  • มิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ มี 2 หมุดหมาย ได้แก่ ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต และไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน

ปัจจุบันประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด


นายดนุชา กล่าวว่า เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม สศช. จึงกำหนดจัดประชุมประจำปี 2565 รูปแบบออนไลน์ “พลิกโฉมประเทศไทย ก้าวไปด้วยกัน” ในวันที่ 23 กันยายน 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาประเทศภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ที่ต้องการจะสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเพื่อแก้ไขจุดอ่อนและข้อจำกัดที่มีอยู่ในปัจจุบัน 

พร้อมกับยกระดับขีดความสามารถเพื่อสร้างสรรค์โอกาสจากบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งหวังที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่ประเทศที่มีสังคมก้าวหน้า และเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นภาพอนาคตที่ทุกคนอยากเห็นและอยากให้เกิดขึ้น สะท้อนผ่านแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยถูกใช้ในปีใดเป็นครั้งแรก

ต่อมา ปี 2502 ในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ปรับโครงสร้างการทำงานและเปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติและได้จัดทำ "แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ” ฉบับแรกขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2504 และใน พ.ศ. 2515 ได้นำกระบวนการวางแผนพัฒนาสังคมมาใช้ควบคู่กับการวางแผน ...

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใดที่มุ่งให้ "คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา"

9) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545–2549) มุ่งพัฒนาประเทศภายใต้ แนวคิดที่เรียกว่า “อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน าทางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฉบับ ที่ 8 ที่ยึด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” โดยมุ่งการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และ สิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาสู่ “สังคมที่เข้มแข็งและ ...

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบันเน้นการพัฒนาอะไร

1. การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ 2. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม 3. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน 4. ยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ประเทศไทยใช้อะไรเป็นกรอบในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

ประเทศไทยมีกรอบการพัฒนาของตนเองที่กำลังใช้อยู่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยอาศัยหลักภูมิปัญญาและความซื่อสัตย์สุจริตตลอดจนหลักการเดินทางสายกลาง ความสมเหตุสมผลและความรอบคอบตามแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จุดเน้นของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือความยั่งยืนและได้รับการ ...

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยถูกใช้ในปีใดเป็นครั้งแรก แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใดที่มุ่งให้ คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบันเน้นการพัฒนาอะไร ประเทศไทยใช้อะไรเป็นกรอบในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ ล่าสุด แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทุกฉบับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-13 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สรุป แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2565