พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา วิจัย


  1. ChiangMai Rajabhat University Intellectual Repository
  2. Research and Development Institute
  3. Research Report

Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/808

Title:  พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Other Titles:  Exercise Behaviors of Students in the Faculty of Education Chiang Mai Rajabhat University
Authors: 
Issue Date:  2550
Publisher:  Chiang Mai Rajabhat University
Description:  การศึกษาเรื่องพฤติกรรมการออกกำลังกาย ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการออกกำลังกายของนักศึกษาสาขาการศึกษา ในระดับปริญญาตรี หลักสูตร คบ. 5 ปี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษาเจตคติเกี่ยวกับการออกกำลังกายของนักศึกษาสาขาการศึกษา ในระดับปริญญาตรี หลักสูตร คบ. 5 ปี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาสาขาการศึกษา ในระดับปริญญาตรี หลักสูตร คบ. 5 ปี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการออกกำลังกาย ในทางด้าน ความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา สาขาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 หลักสูตร คบ. 5 ปี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 18 สาขา ได้แก่ สาขาวิชา เกษตรกรรม, การวัดผลและการวิจัย, การศึกษานอกระบบ, การศึกษาพิเศษ, จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว, การศึกษาปฐมวัย, เคมี,ชีววิทยา, ฟิสิกส์, คณิตศาสตร์, คอมพิวเตอร์ศึกษา พลศึกษา, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, ภาษาจีน, ดนตรีศึกษา, สังคมศึกษา,อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2550 ภาคเรียนที่ 1 โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 254 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม จำนวน 245 ชุด และได้ทำการสังเกต สัมภาษณ์ และสอบถามเกี่ยวกับ พฤติกรรม เจตคติ และปัจจัยที่ส่งเสริมสนับสนุนการออกกำลังกาย ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง พร้อมกับวิเคราะห์ข้อมูล สถิติพรรณนาคือ การแจกแจงความถี่ คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา สาขาการศึกษาในระดับปริญญาตรีหลักสูตร คบ. 5 ปี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีผลสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา ส่วนมาก พักอาศัยอยู่ที่หอพักมีระยะทางห่างจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เฉลี่ย 1-2 กิโลเมตร เดินทางโดยใช้รถจักยานยนต์เป็นยานพาหนะ ส่วนความสามารถพิเศษทางด้านกีฬาส่วนมากไม่เคยเป็นนักกีฬาและไม่ได้ออกกำลังกาย กิจกรรมทางกีฬาที่เลือกใช้ในการออกกำลังกายเป็นกิจกรรมประเภท กรีฑา กิจกรรมอื่นๆ เช่น จักรยาน และว่ายน้ำ เวลาที่ใช้ในออกกำลังกายส่วนใหญ่ใช้ช่วงเวลาว่างหลังเลิกเรียนเวลา 15.00 -19.00 นาฬิกา และใช้เวลาเรียนในชั่วโมงที่เรียนในวิชาพลศึกษาที่นักศึกษาได้ลงทะเบียนเรียน 2. ในทางด้านความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการออกกำลังกายของนักศึกษาสาขาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พบว่า นักศึกษาส่วนมาก มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย สรุปได้ดังนี้ 2.1 ในทางด้านความถี่ในการออกกำลังกายในแต่ละสัปดาห์พบว่า นักศึกษาออกกำลังกายเฉลี่ย 1-2 วัน คิดเป็นร้อยละ 46.5 และได้ออกกำลังกาย 3-5 วัน คิดเป็นร้อยละ 29.4 ไม่เคยออกกำลังกาย คิดเป็นร้อยละ 14.7 และได้ออกกำลังกายทุกวัน คิดเป็นร้อยละ 9.4 2.2 ในช่วงเวลาที่ได้ใช้ในออกกำลังกายในแต่ละครั้งส่วนมาก ใช้เวลา 15-30 นาที คิดเป็นร้อยละ 36.7 และใช้เวลา 5-15 นาที คิดเป็นร้อยละ 31.0 ใช้เวลา 31-60 นาที คิดเป็นร้อยละ 19.6 ใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 11.8 2.3 ในทางด้านความหนักในระหว่างขั้นตอนของการออกกำลังกายและปฏิบัติหลังจากเสร็จสิ้นการออกกำลังกายของนักศึกษาส่วนมาก มีเหงื่อไหลออกมามากกว่าปกติและรู้สึกเหนื่อยเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 51.8 และสามารถพูดคุยกับบุคคลได้เหมือนปกติ คิดเป็นร้อยละ 31.4 มีอาการเหนื่อยมากต้องหยุดพักเป็นเวลานานกว่าปกติ คิดเป็นร้อยละ 12.7 2.4 พฤติกรรมในทางด้านความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนก่อนออกกำลังกายของนักศึกษาส่วนมาก ไม่เคยปฏิบัติในการจับชีพจรก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 84.1 และได้ให้เหตุผลว่า ไม่รู้ว่าต้องจับชีพจร คิดเป็นร้อยละ 23.9 ไม่ได้สนใจ คิดเป็นร้อยละ 19.3 เอานิ้วกดที่แขน ข้อมือ คิดเป็นร้อยละ 17.4 ไม่เคยจับและจับไม่เป็น คิดเป็นร้อยละ 12.8 ไม่จำเป็น คิดเป็นร้อยละ7.3 ขี้เกียจ คิดเป็นร้อยละ 4.6 ชีพจรปกติและลืม คิดเป็นร้อยละ 2.8 2.5 พฤติกรรมในทางด้านความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนแรกการออกกำลังกายของนักศึกษาส่วนมากได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของออกกำลังกายโดยวิธีการการยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อน คิดเป็นร้อยละ 35.5 เดินเบาๆ และกินอาหารก่อนวิ่ง คิดเป็นร้อยละ 26.5 วิ่งเบาๆคิดเป็นร้อยละ 8.6 ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ได้ปฏิบัติถูกต้องแล้ว 2.6 พฤติกรรมในทางความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรับประทานอาหารกับออกกำลังกายของนักศึกษา ส่วนมากจะให้ท้องว่างก่อนออกกำลังกายอย่างน้อยตั้งแต่เวลา 30-60 นาที คิดเป็นร้อยละ 45.7 และให้ท้องว่างอย่างน้อย ตั้งแต่เวลา 1-2 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 11.0 และออกกำลังกายพร้อมกับรับประทานอาหารไปด้วย คิดเป็นร้อยละ 2.4 2.7 ในการพิจารณาเลือกกิจกรรมที่ใช้ในการออกกำลังกายของนักศึกษาส่วนมาก ได้ใช้กิจกรรมในการออกกำลังกายประเภทกิจกรรมเบาๆ คิดเป็นร้อยละ 74.7 โดยใช้กิจกรรมแอโรบิก คิดเป็นร้อยละ 27.3 กิจกรรมแบดมินตัน และโยคะ คิดเป็นร้อยละ18.2 และกิจกรรมวิ่ง จักรยาน กายบริหารและเดินคิดเป็นร้อยละ 9.1 3. ปัจจัยหลักทางด้านความรู้และความเข้าใจในเรื่องการออกกำลังของนักศึกษา โดยภาพรวมส่วนมาก มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับดี 4. พฤติกรรมในปัจจัยหลักทางด้านเจตคติต่อการออกกำลังกาย ของนักศึกษา โดยรวมทั้งหมดมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย 5. ปัจจัยสนับสนุนทางด้านทรัพยากรท้องถิ่นและการเลือกใช้ทรัพยากรออกกำลังกาย ของนักศึกษาโดยภาพรวมทั้งหมดส่วนมาก มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย 6. ปัจจัยเสริมทางด้านการสนับสนุนทางสังคมในการออกกำลังกายของนักศึกษา โดยภาพรวมส่วนมาก มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก จากปัญหาที่เกิดขึ้นในทางด้านพฤติกรรมการอออกกำลังกายเพื่อสุขภาพยังไม่ถูกต้อง ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข โดยการสนับสนุน ส่งเสริมในทางด้านความรู้ ความเข้าใจและสร้างทัศนคติเกี่ยวพฤติกรรมในการอออกกำลังกายที่ถูกต้องที่ต้อง โดยกำหนดไว้ในหลักสูตรบังคับในสาขาการศึกษาให้กับนักศึกษาทุกคนต้องได้เรียนรู้ในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแบบยั่งยืน
URI:  http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/808
Appears in Collections: Research Report

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.