ต่อพาสปอร์ตใช้เอกสารอะไรบ้าง 2563

ต่อพาสปอร์ตใช้เอกสารอะไรบ้าง 2563

Show

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต)

  • ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต)
  • การนัดหมายทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
  • การเตรียมเอกสารล่วงหน้า:
    1. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ใหญ่
    2. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้เยาว์ (อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์)
    3. กรณีพิเศษอื่น ๆ

ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต)

ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต)

  • ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 เป็นต้นมา สถานกงสุลใหญ่ ฯ ได้เข้าสู่ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต) หากหนังสือเดินทางของท่านเคยต่ออายุมาแล้วครั้งหนึ่งและใช้งานมาครบ 10 ปีแล้ว ท่านต้องมายื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต) ด้วยตัวเอง โดยต้องสำรองนัดหมายออนไลน์ล่วงหน้าที่เว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต (เข้าสู่ระบบสำรองนัดหมายล่วงหน้าสำหรับหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต))
  • หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต) มีอายุใช้งาน 5 ปี หรือ 10 ปี เท่านั้น ไม่สามารถต่ออายุได้ ต้องทำเล่มใหม่เท่านั้น
  • ควรติดต่อทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เล่มใหม่ล่วงหน้าภายใน 6 เดือน ก่อนหนังสือเดินทางเล่มเดิมหมดอายุ
  • สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ต่อไปนี้

069-69 86 8 214 - จันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 14.30-16.30 น.
069-69 86 8 215 - จันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 14.30-16.30 น.

ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2564 สถานกงสุลใหญ่ฯ เปิดให้บริการรับคำร้องขอทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอายุการใช้งาน 10 ปี

ค่าธรรมเนียม

ค่าหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อายุการใช้งาน 5 ปี) 35 ยูโร
ค่าหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อายุการใช้งาน 10 ปี) 50 ยูโร
ค่านิติกรณ์หนังสือเดินทาง 5 ยูโร

การนัดหมายทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

  • ท่านที่ต้องการทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องนัดหมายล่วงหน้า โดยนัดหมายออนไลน์ที่เว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต โดยเข้าสู่ “ระบบสำรองนัดหมายล่วงหน้าสำหรับหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต)”
  • หลังจากที่ได้นัดหมายแล้ว ท่านต้องเดินทางมายื่นคำร้องด้วยตัวเองที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต ตามวันและเวลาที่ได้นัดหมาย
  • สำหรับท่านที่มายื่นคำร้องโดยไม่ได้นัดหมายมาก่อน จะไม่สามารถยื่นคำร้องได้ เพื่อไม่ให้ผิดหวังและเสียเวลา ท่านต้องสำรองนัดหมายล่วงหน้าก่อนที่ระบบข้างต้น
  • คำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกรอกเตรียมไว้ล่วงหน้า

การเตรียมเอกสารล่วงหน้า:หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ใหญ่เอกสารประกอบการยื่นขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ผู้ใหญ่ในวันนัดหมายมีดังนี้

กรณีประสงค์จะใช้ชื่อ-นามสกุลเดิมในหนังสือเดินทางเล่มใหม่

  • คำร้องหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 แผ่น กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง
  • หนังสือยืนยันความถูกต้องของข้อมูลหนังสือเดินทาง 1 แผ่น
  • หนังสือเดินทางตัวจริง 
  • บัตรประจำตัวประชาชนไทยตัวจริง ซึ่งยังไม่หมดอายุ 
    • กรณีบัตรหมดอายุ/ชำรุด/สูญหาย ให้แจ้งขอทำบัตรใหม่ได้ที่หมายเลข 069 69 868 205 (จันทร์-ศุกร์ เวลา 14.30 – 16.30 น.)
    • กรณีผู้ที่ยังไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชน สถานกงสุลใหญ่ฯ จะพิจารณาออกหนังสือเดินทางฉุกเฉิน อายุการใช้งาน 1 ปีเพื่อให้เดินทางกลับไปทำบัตรประชาชนใบแรกที่ประเทศไทยก่อน จึงจะสามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง
  • ใบแสดงถิ่นที่อยู่ หรือ บัตร Aufenthaltstitel หรือ บัตรประจำตัวของเยอรมนี
  • ซองเขียนที่อยู่ถึงตัวท่านเองและติดแสตมป์ 4.25 ยูโร เพื่อส่งหนังสือเดินทางกลับคืนให้ท่าน และเพื่อป้องกันไม่ให้เอกสารได้รับความเสียหายระหว่างทางไปรษณีย์ ขอแนะนำให้ใช้ซองที่มีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ 5
  • ทั้งนี้เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

กรณีประสงค์จะใช้ชื่อ-นามสกุลใหม่(หลังสมรส)ในหนังสือเดินทางเล่มใหม่

  • สำเนาทะเบียนสมรสและสำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลมาประกอบคำร้อง
  • คำร้องหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 แผ่น กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง
  • หนังสือยืนยันความถูกต้องของข้อมูลหนังสือเดินทาง 1 แผ่น
  • หนังสือเดินทางตัวจริง 
  • บัตรประจำตัวประชาชนไทยตัวจริง ซึ่งได้เปลี่ยนนามสกุลใหม่แล้ว และยังไม่หมดอายุ
  • ใบแสดงถิ่นที่อยู่ หรือ บัตร Aufenthaltstitel หรือ บัตรประจำตัวของเยอรมนี
  • ซองเขียนที่อยู่ถึงตัวท่านเองและติดแสตมป์ 4.25 ยูโร เพื่อส่งหนังสือเดินทางกลับคืนให้ท่าน และเพื่อป้องกันไม่ให้เอกสารได้รับความเสียหายระหว่างทางไปรษณีย์ ขอแนะนำให้ใช้ซองที่มีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ 5
  • ทั้งนี้เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

***ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมย ต้องแสดงใบแจ้งหนังสือเดินทางหาย หรือ ใบแจ้งความหนังสือเดินทางถูกขโมยเพิ่มเติม พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่หายหรือถูกขโมย และกรอก“บันทึกสอบสวนประกอบคำร้องหนังสือเดินทางหาย” 1 ชุด

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้เยาว์ (อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์)

เอกสารประกอบการยื่นขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้เยาว์ในวันนัดหมายมีดังนี้

  • ต้องกรอกคำร้องหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 แผ่น กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง
  • หนังสือเดินทางตัวจริง 
  • สำเนาสูติบัตรไทย 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านไทยที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก 1 ชุด (ลูกพ่อแม่ไทย และ ลูกครึ่งที่เกิดในต่างประเทศต้องมีทะเบียนบ้านไทย)
  • บัตรประชาชนไทยตัวจริง ซึ่งยังไม่หมดอายุ (ในกรณีไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนไทยตัวจริง สามารถนำสำเนาบัตรประชาชนมาใช้ประกอบการยื่นคำร้องได้)
  • สำเนาใบแสดงสิทธิปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (ปค. 14) หรือบันทึกการหย่าที่ระบุว่ามีอำนาจปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาหนังสือเดินทางหรือบัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย จำนวน 1 ฉบับ
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยน) ของผู้ยื่นคำร้อง และบิดา มารดา(กรณีมารดาเปลี่ยนนามสกุลตามสามีใหม่ต้องแนบทะเบียนสมรสด้วย)
  • บิดามารดา หรือ ผู้ปกครองตามกฎหมาย ต้องมาลงนามในสัญญายินยอมของคำร้องหนังสือเดินทางต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วย
  • ใบแสดงถิ่นที่อยู่ หรือ บัตร Aufenthaltstitel หรือ บัตรประจำตัวของเยอรมนี
  • ผู้เยาว์อายุ 7 - 20 ปี หากยังไม่มีบัตรประชาชน จะต้องนำหนังสือรับรองการศึกษา (ภาษาอังกฤษ) จากสถานศึกษาในเยอรมนีประกอบการทำหนังสือเดินทาง
  • ซองเขียนที่อยู่ถึงตัวท่านเองและติดแสตมป์ 4.25 ยูโร เพื่อส่งหนังสือเดินทางกลับคืนให้ท่าน และเพื่อป้องกันไม่ให้เอกสารได้รับความเสียหายระหว่างทางไปรษณีย์ ขอแนะนำให้ใช้ซองที่มีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ 5
  • ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมย ต้องแสดงใบแจ้งหนังสือเดินทางหาย หรือ ใบแจ้งความหนังสือเดินทางถูกขโมยเพิ่มเติม พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่หายหรือถูกขโมย และกรอก“บันทึกสอบสวนประกอบคำร้องหนังสือเดินทางหาย” 1 ชุด
  • เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
  • กรณีผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของหน่วยงานราชการเยอรมัน ต้องดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
    • ต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานนั้นๆ ระบุชื่อผู้ปกครองหรือหน่วยงานนั้นๆ แปลเป็นภาษาไทย โดยคำแปลต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือ สถานกงสุลใหญ่ไทย มาก่อน
    • เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการนั้นๆ ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานที่มีอายุใช้งานอยู่ และยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประกอบคำร้อง 1 ชุด
    • หากมีหนังสือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เยอรมันเป็นผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย ต้องแปลหนังสือแต่งตั้งเป็นภาษาไทย และคำแปลต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือ สถานกงสุลใหญ่ไทย มาก่อน
    • ผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย (เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการเยอรมัน) ต้องมาลงนามในคำร้องในวันที่มายื่นขอหนังสือเดินทาง

กรณีพิเศษอื่น ๆ

  • ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมย ต้องแสดงใบแจ้งหนังสือเดินทางหาย หรือ ใบแจ้งความหนังสือเดินทางถูกขโมยเพิ่มเติม พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่หายหรือถูกขโมย และกรอก“บันทึกสอบสวนประกอบคำร้องหนังสือเดินทางหาย” 1 ชุด
  • กรณีนักเรียนทุนรัฐบาลไทยที่ถือหนังสือเดินทางระบบเดิม ยกเว้นค่าธรรมเนียมหมวด G เมื่อมายื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ต้องขอหนังสือรับรองจากสำนักงาน ก.พ. กรุงลอนดอน มาแสดง เนื่องจากสถานกงสุลใหญ่ฯ ประสานงานกับสำนักงาน ก.พ. กรุงลอนดอน แล้ว และนักเรียนทุนรัฐบาลไทยจะไม่ได้รับการยกเว้นการเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด
  • กรณีข้าราชการลาศึกษาต่อ หากสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทยไม่แจ้งรายชื่อให้สถานกงสุลใหญ่ฯ ทราบล่วงหน้าเพื่อตรวจสอบ ขอให้ติดต่อขอหนังสือรับรองจากสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทยมาแสดงด้วยทุกครั้ง และต้องจ่ายค่าธรรมเนียมตามประกาศของสถานกงสุลใหญ่ฯ
  • กรณีเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ต้องแสดงหนังสืออนุมัติของพระเถรสมาคมเพิ่มเติม อายุหนังสืออนุมัติต้องไม่เกิน 3 เดือน
  • กรณีที่ต้องการมีคำนำหน้านามนอกเหนือไปจาก (1) นาย (2) นาง (3) นางสาว (4) เด็กหญิง (5) เด็กชาย เช่น ศาสตราจารย์ รองศาสตรจารย์ ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร. ฯลฯ ขอให้แสดงสำเนาหลักฐานการได้รับตำแหน่ง หรือบรรดาศักดิ์ดังกล่าวประกอบด้วย 1 ชุดทุกครั้ง และขอให้หารือกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องหนังสือเดินทางก่อนทุกครั้งเมื่อติดต่อนัดหมายก่อนยื่นคำร้อง เพื่อหารือกับกระทรวงการต่างประเทศเป็นรายกรณีไป
  • กรณีที่การเปลี่ยนชื่อตัว หรือ นามสกุล ทุกกรณี (เปลี่ยนหลังสมรส/หลังหย่า/หลังสามีเสียชีวิต/หลังจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม/ตามมารดา) จะต้องมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาแสดงประกอบทุกครั้ง และการเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุลที่สมบูรณ์ สามารถพิจารณาจากทะเบียนบ้านไทย หากการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลสมบูรณ์ ในทะเบียนบ้านไทยจะต้องปรากฏชื่อ หรือ นามสกุล ตามที่แจ้งแก้ไขไว้ และหนังสือเดินทางจะผลิตตามชื่อและนามสกุลที่ปรากฏในทะเบียนบ้านไทย ทั้งนี้ รวมถึงกรณีบุตรบุญธรรม แม้ว่าจะได้มีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายไทยแล้วก็ตาม ก็จะต้องดำเนินการแก้ไขชื่อ/นามสกุล เช่นกัน หากว่ายังมิได้ดำเนินการแก้ไขในทะเบียนบ้านไทยให้เรียบร้อย ชื่อและนามสกุลขอฃบุตรบุญธรรมก็จะยังคงเดิม
  • เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

ต่อพาสปอร์ตต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอต่ออายุ.
บัตรประจำตัวต้นฉบับพร้อมสำเนา 1 ชุด.
ทะเบียนบ้านต้นฉบับพร้อมสำเนา 1 ชุด.
รูปถ่าย 1 รูป ( ต้องนำรูปถ่ายมาเอง ).
สำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่าย 1 ชุด.
ค่าธรรมเนียม 1,055 บาท (รวมค่าเขียนคำร้อง 10 บาท ค่าอากรแสตมป์ 5 บาทและค่าส่ง ทางไปรษณีย์ 40 บาท.

ต่อพาสปอร์ตใช้เอกสารอะไรบ้าง 2565

เอกสารสำหรับผู้ต่อพาสปอร์ต.
บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ.
ทะเบียนบ้านฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ.
รูปถ่าย 1 รูป.
สำเนาหนังสือเดินทางในหน้าที่มีรูปถ่ายตนเอง 1 ฉบับ.
นำพาสปอร์ตเล่มเดิมมายื่นด้วย หรือหากสูญหายจะต้องนำใบแจ้งความมายืนยัน.

ต่อพาสปอร์ตต้องใช้ทะเบียนบ้านไหม

ใช่ หากท่านต้องการต่อหนังสือเดินทาง (ไม่ใช่การขอหนังสือเดินทางเล่มแรก) ท่านจำเป็นต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไทยปกติ (ไม่ใช่ทะเบียนบ้านกลาง ทร.97)

ทําพาสปอร์ต ฟิวเจอร์ ใช้อะไรบ้าง

ผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์ บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง สูติบัตรฉบับจริง (หากอายุยังไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์) ... .
ผู้ที่อายุมากกว่า 20 ปี บริบูรณ์ บัตรประจำตัวประชาชน ... .
ผู้ที่ทำพาสปอร์ตใหม่ - บัตรประชาชนตัวจริง.
ผู้ที่ทำพาสปอร์ตหาย - บัตรประชาชนตัวจริง ... .
ผู้ที่ต่ออายุพาสปอร์ต - บัตรประชาชนตัวจริง.