จังหวัดที่ปลูกข้าวมากที่สุด 2564

ผลพยากรณ์การผลิตข้าว ปี 2560-2565

รายการ

2560

2561

2562

2563

2564

2565*

+/- (%)

ข้าวนาปี
เนื้อที่ปลูก (ล้านไร่)

59.220

59.980

61.197

62.437

62.820

62.839

0.03

เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ล้านไร่)

54.962

55.627

54.108

60.093

59.853

60.578

1.21

ผลผลิต (ล้านตัน)

24.934

25.178

24.064

26.423

26.369

26.922

2.10

ผลผลิตต่อพื้นที่ปลูก (ก.ก.ต่อไร่)

421

420

393

423

420

428

1.90

ผลผลิตต่อพื้นที่เก็บเกี่ยว (ก.ก.ต่อไร่)

454

453

445

440

441

444

0.68

ข้าวนาปรัง
เนื้อที่ปลูก (ล้านไร่)

10.456

12.066

10.925

7.342

8.343

11.217

34.46

เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ล้านไร่)

10.403

12.035

10.922

7.220

8.307

11.171

34.48

ผลผลิต (ล้านตัน)

6.620

7.964

7.170

4.553

5.311

7.212

35.82

ผลผลิตต่อพื้นที่ปลูก (ก.ก.ต่อไร่)

633

660

652

620

637

643

0.94

ผลผลิตต่อพื้นที่เก็บเกี่ยว (ก.ก.ต่อไร่)

636

662

656

631

639

646

1.10

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

29 พ.ค. 2565 เวลา 10:33 น. 624

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก หรือ สศท.2 เผยข้อมูลพยากรณ์ - บูรณาการข้อมูลเกาะติด "สถานการณ์ข้าวนาปี 6 จังหวัดภาคเหนือ" พิษณุโลก สุโขทัย แพร่ อุตรดิตถ์ น่าน ตาก ฤดูกาลผลิต 2565/66

นายประเสริฐศักดิ์ แสงสัทธา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการบูรณาการจัดทำข้อมูลพยากรณ์เนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2565/66

ข้อมูลจากหน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานเกษตรจังหวัดทั้ง 6 จังหวัด เศรษฐกิจการเกษตรอาสาในพื้นที่รับผิดชอบ และเจ้าหน้าที่ส่วนสารสนเทศการเกษตร สศท.2 ณ วันที่ 12 เมษายน 2565) ของ 6 จังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย แพร่ อุตรดิตถ์ น่าน และตาก โดยบูรณาการวิเคราะห์ข้อมูลจาก ผลการพยากรณ์ มีดังนี้
 

จังหวัดที่ปลูกข้าวมากที่สุด 2564

เนื้อที่เพาะปลูก คาดว่า จังหวัดพิษณุโลก มีจำนวน 1,487,347 ไร่ ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 2.32

จังหวัดสุโขทัยมีจำนวน 1,129,280 ไร่ ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 0.01

จังหวัดแพร่ มีจำนวน 299,420 ไร่ ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 0.01

เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนของจังหวัดพิษณุโลกปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปทำเกษตรผสมผสาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

เกษตรกรบางส่วนของจังหวัดสุโขทัยเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปรังล่าช้าจึงต้องปล่อยพื้นที่ว่างในฤดูเพาะปลูกข้าวนาปี เกษตรกรบางรายมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกมันสำปะหลัง เพราะเห็นว่าสถานการณ์ราคาดีต่อเนื่อง ต้นทุนการผลิตต่ำ และบางรายก็มีการปรับเปลี่ยนไปปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากสถานการณ์ราคาจูงใจ   

ในขณะที่จังหวัดอุตรดิตถ์ มีจำนวน 599,645 ไร่ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2564/65 ร้อยละ 0.57 จังหวัดน่าน มีจำนวน 336,747 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2564/65 ร้อยละ 2.16 เนื่องจากเกษตรกรคาดการณ์ว่าจะมีน้ำปริมาณมากกว่าปีที่ผ่านมา ครอบคลุมพื้นที่ปลูกข้าวนาปีมากขึ้น และน่าจะมีเพียงพอตลอดรอบการผลิต ปรับเปลี่ยนมาปลูกข้าวในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง

รวมทั้งมีแรงจูงใจจากมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว อาทิ โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65  ส่วนจังหวัดตาก  มีจำนวน 383,170 ไร่ เท่ากับปีที่ผ่านมา 

จังหวัดที่ปลูกข้าวมากที่สุด 2564

ผลผลิตต่อไร่ คาดว่า จังหวัดพิษณุโลก มีจำนวน 597 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2564/65 ร้อยละ 1.85 และจังหวัดสุโขทัย มีจำนวน 550 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2564/65 ร้อยละ 8.35 เนื่องจากปีนี้มีฝนตกตั้งแต่ต้นปีทำให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลเอาใจใส่ดีขึ้นเนื่องจากคาดหวังผลตอบแทนที่จะได้รับจากการผลิต 

แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยแล้ง และฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายน และโรคแมลงศัตรูพืช ส่งผลกระทบให้ผลผลิต เนื้อที่เก็บเกี่ยว และผลผลิตต่อไร่อาจได้รับความเสียหาย

ส่วนผลผลิตต่อไร่ของทั้ง 4 จังหวัด ที่มีผลผลิตเท่ากับปีที่ผ่านมา ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีจำนวน 593 กิโลกรัม/ไร่ จังหวัดแพร่ มีจำนวน 578 กิโลกรัม/ไร่ จังหวัดน่าน มีจำนวน 511 กิโลกรัม/ไร่ และจังหวัดตาก มีจำนวน 415 กิโลกรัม/ไร่ เนื่องจากคาดว่ายังคงมีปริมาณน้ำเพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงแตกกอและออกรวงเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา


ด้านปริมาณผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด จังหวัดพิษณุโลก คาดว่าผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2565 -มกราคม 2566 จำนวน 887,946 ตัน จังหวัดสุโขทัย คาดว่าจะเริ่มออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2565 - กุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 621,104  ตัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนสิงหาคม 2565 - มกราคม 2566 จำนวน 355,589 ตัน

จังหวัดที่ปลูกข้าวมากที่สุด 2564

เนื่องจากเกษตรกรในบางพื้นที่อาจปลูกข้าวนาปีล่าช้า ซึ่งหากเป็นข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิจะมีอายุเก็บเกี่ยวนานถึง 120 วัน 

ทั้งนี้ ผลผลิตของทั้ง 3 จังหวัด จะเริ่มมีปริมาณมากช่วงเดือนตุลาคม 2565 และกระจุกตัวเดือนพฤศจิกายน 2565 ส่วนจังหวัดแพร่ ตาก น่าน และอุตรดิตถ์ มีช่วงระยะเวลาที่ผลผลิตออกสู่ตลาดสั้นกว่าจังหวัดอื่น เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกและเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาเดียวกัน โดยจังหวัดแพร่ ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2565 จำนวน 173,065  ตัน

จังหวัดน่าน ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนตุลาคม 2565 - มกราคม 2566 จำนวน 172,078 ตัน และจังหวัดตาก ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกันยายน - ธันวาคม 2565 จำนวน 159,016 ตัน

ในขณะที่ภาพรวมสถานการณ์การตลาดข้าวไทย ปี 2565 ราคาข้าวเปลือกเจ้า ณ ความชื้น 15 % คาดว่าปรับตัวสูงขึ้น เพียงเล็กน้อย เฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 8,900 - 9,400 บาท เนื่องจากข้าวเปลือกเจ้าพื้นแข็งของไทยมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าประเทศคู่แข่งทำให้ไม่สามารถแข่งขันด้านราคาในตลาดโลก

รวมทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่มีความแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ในการส่งออกข้าวเริ่มคลี่คลายลง ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะช่วยหนุนให้ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยเพิ่มขึ้น รวมทั้งความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่มีมากขึ้นตามกรอบแนวทางการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร  


ทั้งนี้ สศท.2 จะดำเนินการติดตามสถานการณ์เพื่อใช้เป็นข้อเสนอแนะในการวางแผนบริหารจัดการข้าวตั้งแต่ช่วงต้นฤดูกาล  อาทิ กรมชลประทานควรวางแผนบริหารจัดการน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ปรับการระบายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยคำนึงถึงปริมาณน้ำ ระยะเวลา ผลกระทบ และการมีส่วนร่วมของพื้นที่

การแจ้งเตือนภัยเพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามความต้องการของตลาด (ข้าวพื้นนุ่ม) ให้ทันฤดูกาลเพาะปลูก ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้านการตลาดต่างประเทศควรแจ้งเตือนสถานการณ์ตลาดล่วงหน้าเพื่อให้ภาคการผลิตสามารถวางแผนทั้งเชิงรุกและเชิงรับ

และทุกจังหวัดควรใช้กลไกคณะทำงานประสานงานด้านการตลาด (Demand Site) วิเคราะห์ข้อมูลสมดุลสินค้า (Demand Supply) เพื่อให้ทราบผลผลิตส่วนเกินหรือส่วนขาดเพื่อวางแผนบริหารจัดการผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากท่านใดสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ ส่วนสารสนเทศการเกษตร สศท.2 โทร. 05 532 2658 ต่อ 205 หรืออีเมล [email protected]

จังหวัดใดมีการปลูกข้าวมากที่สุด

2554
ลำดับที่
จังหวัด
ผลผลิต
1
สุพรรณบุรี
808,558
2
นครสวรรค์
647,496
3
พิจิตร
620,988
จังหวัดที่มีผลผลิตข้าวมากที่สุด10 อันดับ - TH - สำนักงานสถิติแห่งชาติservice.nso.go.th › nso › nsopublish › TopTennull

ภาคใดมีพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุด

ปัจจุบันการปลูกข้าวในประเทศไทย คงมีเพียงข้าวเมล็ดป้อมที่พบมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่ข้าวเมล็ดยาว พบมากในภาคกลางและภาคใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกข้าวคิดเป็น 45 % ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศ ส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ซึ่งเป็นข้าวคุณภาพดีที่สุดของโลก ข้าวที่ปลูก ...

การปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยคือบริเวณใด

ปลูกข้าวส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี 1.78 ล้านไร่หรือร้อยละ 25.95 ของพื้นที่อนุภาค พื้นที่ ป่าไม้ 1.60 ล้านไร่หรือร้อยละ 23.32 ของพื้นที่อนุภาค พื้นที่ใช้ที่ดินอื่น ๆ 0.58 ล้านไร่หรือร้อยละ 8.45 (4) อนุภาคตะวันออก มีพื้นที่เกษตรกรรมมากที่สุด 6.37 ล้านไร่หรือร้อยละ 76.84.

ภูมิอากาศแบบใดที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวมากที่สุด

ศูนย์สถิติการเกษตรได้จัดแบ่งพืชส าคัญในประเทศไทยเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. ข้าว (Rice) เป็นพืชที่ขึ้นได้ดีระหว่างละติจูด 10 – 23 องศาเหนือ ต้องการอุณภูมิสูง เฉลี่ยในหน้าร้อนไม่ต ่ากว่า 25 องศาเซลเซส ต้องการน ้าฝนเฉลี่ยปีละ 1,750 มิลิเมตร การปลูกข้าว ในเมืองไทยที่ส าคัญมี 2 ประเภท คือ ข้าวนาปี (Major Rice) และข้าวนาปรัง ( ...