เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจําวัน มจร

เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจําวัน มจร

Show


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์


สาระสำคัญเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม ในการใช้ทรัพยากรมาทำการผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด โดยแบ่งเป็นเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค ซึ่งมีความสำคัญ และมีประโยชน์เพราะเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้ผลิต เจ้าของปัจจัยการผลิต หรือผู้บริโภค และยังได้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปยังศาสตร์อื่น ๆซึ่งเป็นไปตามวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมของสังคมประเทศนั้น ๆเนื้อหาสาระ1. ความหมายของเศรษฐศาสตร์                2. ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์                3. ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์              4. ปัจจัยการผลิต                5. ปัญหาพื้นฐานในการผลิต                6. ประเภทวิชาเศรษฐศาสตร์                7. ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์                8. ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆจุดประสงค์การเรียนรู้                1. อธิบายความหมายของเศรษฐศาสตร์ได้             2. อธิบายความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์ได้                3. อธิบายความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์ได้                4.อธิบายปัจจัยที่ใช้ในการผลิตได้                5.จำแนกปัญหาพื้นฐานในการผลิตได้                6.จำแนกประเภทวิชาเศรษฐศาสตร์ได้               7.แจกแจงประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์ได้                8.อธิบายความสัมพันธ์ของวิชาเศรษฐศาสตร์กับวิชาอื่น ๆ ได้

เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจําวัน มจร

ความหมายของเศรษฐศาสตร์

1. ความหมายของเศรษฐศาสตร์  เศรษฐศาสตร์ หรือ  Economics มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า “Oikonomikos”  หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับการจัดการ ควบคุมดูแลภายในครัวเรือน ซึ่งในช่วงเวลาต่อมาสังคมและประเทศต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงและขยายตัวทางด้านการผลิต  การค้า การบริโภค และการแลกเปลี่ยนอย่างมากมาย จึงทำให้นักเศรษฐศาสตร์ในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้ให้ความหมายหรือคำนิยามของเศรษฐศาสตร์แตกต่างกันออกไป  แต่ความหมายของเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับความนิยมใช้มาก  เพราะเป็นความหมายที่สะท้อนให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและต้องแก้ไขตลอด ตั้งแต่อดีตถึง ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งให้ไว้โดยลีอองเนล รอบบินส์ (Lionel Robbins) โดยกล่าวว่า“เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมที่เกี่ยวกับการเลือกใช้ทรัพยากรอันมีอยู่อย่างจำกัด  เพื่อผลิตสินค้าและบริการไปบำบัดความต้องการของมนุษย์อันมีอยู่อย่างไม่จำกัด” ความหมายนี้บอกให้ทราบว่าทรัพยากรมีอยู่เป็นจำนวนจำกัด จำเป็นต้องเลือกใช้หรือจัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด กล่าวคือ ต้องใช้อย่างประหยัดที่สุด และให้เกิดประโยชน์มากที่สุด (วิริยา อนันตศิริ และมาลี ตรีทศายุธ, 2547 : 3) (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจําวัน มจร


วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่ของการทำให้เกิดการกินดีอยู่ดีของมนุษย์ในสังคม  เศรษฐศาสตร์จึงเกี่ยวข้องกับการทำมาหากินของมนุษย์โดยตรง  เมื่อมีคนมาอยู่รวมกันมีการผลิตและแลกเปลี่ยนผลิตผลซึ่งกันและกัน เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่มากมายไม่จำกัด  ในขณะที่โลกมีทรัพยากรที่ใช้ทำการผลิตอยู่อย่างจำกัด ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ  โดยให้มีการใช้ทรัพยากรในการผลิตสินค้าและบริการอย่างประหยัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด  และจำแนกแจกจ่ายให้ผู้คนใช้บำบัดความต้องการได้อย่างทั่วถึงกัน  เพื่อให้มนุษย์ได้มีความอยู่ดีกินดี  เนื่องจากในสมัยก่อนชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ยังอยู่ในสังคมที่แคบ การผลิตในสมัยนั้นเป็นการผลิตเพื่อใช้ในการบริโภคกันเองภายในครอบครัว  สินค้าที่ผลิตส่วนใหญ่จะเป็นพวกอาหารและสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ ซึ่งการดำเนินการผลิตและบริโภคในสมัยนั้นกระทำโดยยึดหลักของความประหยัดเป็นสำคัญ  ในสมัยต่อมาเมื่อการผลิตขยายตัวกว้างมากขึ้น มีการแบ่งกันผลิตสินค้าตามความชำนาญของแต่ละคนแล้วนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน  ซึ่งการดำเนินการผลิตและแลกเปลี่ยนในระยะนี้ยังคงยึดหลักของความประหยัดเช่นเดียวกัน           นอกจากนั้นยังมีนักเศรษฐศาสตร์อีกหลายท่านที่ให้นิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ไว้ต่าง  ๆ กัน ดังต่อไปนี้

เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจําวัน มจร

อัลเฟรด มาร์แชล (Alfred  Marshall) นักเศรษฐศาสตร์ที่มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1842 - ค.ศ. 1924 ได้ให้คำนิยามไว้ในหนังสือ Principles of Economics ว่า “Political  Economy or Economics is a study mankind in the ordinary business of  life, it examine that part of individual and social action which is most closely connected with the attendment and  with the use of the material requisites of well being”

เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจําวัน มจร

พอล แซมมวลสัน (Paul  Samuelson) ได้ให้คำนิยามไว้ว่า “Economic  is the study of how men and society end up choosing, with or without the use of  money, to employ scarce productive resources which could  have alternative uses, to produce various commodities and distribute them for  consumption, now or in the future among various people and groups in  society”จากข้อความข้างต้นอาจสรุปได้ว่า  “วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงวิธีการที่มนุษย์และสังคมตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่หาได้ยาก และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลาย ๆ ทางไปผลิตสินค้าและบริการต่าง  ๆ ตลอดจนการจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าและบริการเหล่านั้นไปยังบุคคลต่าง ๆ ในสังคม  ทั้งในปัจจุบันและอนาคต (รัตนา สายคณิต และชลลดา จามรกุล, 2550 : 2)  ประยูร  เฉลิมศรี กล่าวว่า  เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาสังคมศาสตร์ที่ศึกษาว่ามนุษย์เลือกตัดสินใจอย่างไรในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด  เพื่อผลิตสิ่งของและบริการ และแบ่งปันสิ่งของและบริการเหล่านั้นเพื่ออุปโภคและบริโภคระหว่างบุคคลต่าง ๆ ในสังคม ทั้งเวลาปัจจุบันและในอนาคต(จรูญ โกสีย์ไกรนิรมล, 2547 :  11)                 การที่มนุษย์เราต้องเลือกใช้ทรัพยากรในการผลิตสินค้าและบริการก็เนื่องมาจากความไม่สมดุลระหว่างความต้องการในสินค้าและบริการของมนุษย์กับทรัพยากรที่จะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการนั้น กล่าวคือ  มนุษย์มีความต้องการสินค้าและบริการไม่จำกัดจำนวน และนับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย  ๆจะเห็นได้ว่ามนุษย์ในสมัยก่อนมีความเป็นอยู่อย่างง่าย  ๆ  ความต้องการของมนุษย์ในขณะนั้นจึงจำกัดอยู่เพียงแค่ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต  ซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค  แต่ต่อมาเมื่อสังคมเจริญขึ้น วิวัฒนาการด้านการผลิตมีความก้าวหน้าขึ้น  มนุษย์สามารถนำทรัพยากร มาใช้ผลิตสินค้าและบริการได้มากชนิดขึ้น  ความต้องการในสินค้าและบริการของมนุษย์ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน  นอกจากความต้องการในปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพแล้ว  มนุษย์ยังมีความต้องการในสิ่งอำนวยความสะดวกและความสุขในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย  ๆ  เช่น  เมื่อยังไม่มีโทรทัศน์ จึงอยากได้โทรทัศน์ แต่เมื่อได้โทรทัศน์แล้ว  ยังอยากได้เทปและวิดีโอตามมาอีกมากมายไม่รู้จบสิ้น  ในขณะที่ทรัพยากรที่จะนำมาใช้ผลิตสินค้าและบริการเหล่านั้นมีจำนวนจำกัด  และนับวันยิ่งจะลดลงทุกที  ทำให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากรขึ้นในสังคมทุกสังคม  ซึ่งหากมนุษย์ไม่รู้จักเลือกใช้ทรัพยากรที่จะนำมาบำบัดความต้องการของมนุษย์  จะทำให้ทรัพยากรหมดเปลืองไปโดยที่สังคมคงจะไม่ได้รับสินค้าและบริการมาบำบัดความต้องการมากเท่าที่ควรจำเป็น ดังนั้น จึงจำเป็น ต้องหาวิธีที่จะนำทรัพยากรเหล่านั้นมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการอย่างประหยัดที่สุด  หรืออย่างมีประสิทธิภาพทางเทคนิคสูงสุด  และหาวิธีจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าและบริการที่ผลิตได้ไปยังบุคคลต่าง  ๆ ในสังคมให้ได้รับความพอใจสูงสุดด้วย  ซึ่งถ้าการจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทางเทคนิค และทำให้สังคมได้รับความพอใจสูงสุดแล้ว  ก็ถือว่าการจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ                      จากความหมายต่าง ๆ  ที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า เศรษฐศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษาหาหนทางในการที่จะใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาทำการผลิตสินค้าและบริการให้ได้มากที่สุด และตรงกับความต้องการของประชาชนผู้บริโภค  2. ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์  วิชาเศรษฐศาสตร์เกิดขึ้นมาพร้อมกับการมีสังคมมนุษย์ตั้งแต่โบราณกาล  ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับวิชานี้ นักปราชญ์ได้พยายามสอดแทรกลงไปในหนังสือหรือบทความต่าง ๆ  ต่ความคิดเหล่านั้นยังไม่ถือเป็นทฤษฎีหรือหลักเกณฑ์ที่จะใช้วิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจได้  จนถึงศตวรรษที่ 13-16 ซึ่งเป็นช่วงที่ธุรกิจการค้าของทวีปยุโรปเจริญก้าวหน้ามาก  เพราะประชาชนตระหนักว่าการค้านำความมั่งคั่งมาสู่ประเทศของตน  จึงหาวิธีการที่จะส่งสินค้าออกไปขายให้ได้มากกว่าการซื้อสินค้าจากประเทศอื่นเข้ามา  หรือที่เรียกว่าการได้เปรียบทางการค้า  แนวคิดดังกล่าวนี้กลายมาเป็นลัทธิทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า “ลัทธิพาณิชย์นิยม”ในขณะเดียวกัน  อดัม สมิธ (Adam  Smith) ชาวอังกฤษได้เขียนหนังสือ“ความมั่งคั่งของชาติ”  (The  Wealth of Nations) ซึ่งถือเป็นหนังสือทางเศรษฐศาสตร์เล่มแรก  จากนั้นเป็นต้นมา  วิชาเศรษฐศาสตร์  ซึ่งเคยเป็นส่วนประกอบในวิชาอื่น ๆ  จึงได้เริ่มมีลักษณะเป็นวิชาการที่กว้างขวางขึ้นมีเนื้อหาที่เน้นหนักไปทางวิเคราะห์หาเหตุผลในเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยเฉพาะ  ทำให้แนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์เปลี่ยนมาเป็นวิชาเศรษฐศาสตร์อย่างแท้จริงลัทธิพาณิชย์นิยมเสื่อมความนิยมในศตวรรษที่18 และอดัมสมิธ  ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการแบ่งงานกันทำตามความถนัด และให้เอกชนมีเสรีภาพในการผลิต ที่เรียกว่า  “เศรษฐกิจแบบเสรี”  ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญรุ่งเรือง ในช่วงศตวรรษที่ 19 ทวีปยุโรปมีการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว  มีการอพยพแรงงานจากภาคเกษตรกรรมเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น   จนปลายศตวรรษที่ 19 อัลเฟรด มาร์แชล (Alfred  Marshall) ได้เสนอทฤษฎีว่าด้วยการผลิต อันเป็นที่มาของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค  (Micro-nomics Theory)  แต่ต่อมาเกิดเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก ประชาชนว่างงานมากขึ้น จอห์น เมนาร์ด เคนส์ (John  Maynard Keynes) จึงเสนอทฤษฎีว่าด้วยการจ้างงาน (Theory of  Employment)โดยแนะนำให้รัฐบาลใช้นโยบายการคลังและการเงินเข้าช่วยแก้ไข เมื่อประเทศเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ  จึงกลายเป็นที่มาของเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macro  Economics) (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});   ส่วนประเทศไทยใช้หลักการทางด้านเศรษฐศาสตร์ในกิจการด้านการค้า  การเก็บภาษีอากรมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  แต่ยังไม่ได้รวบรวมตามหลักวิชาการอย่างเป็นแบบแผน จนมาถึง พ.ศ. 2454 พระยาสุริยานุวัตรได้เรียบเรียงหนังสือชื่อว่า “ทรัพย์ศาสตร์” ขึ้น ถือเป็นหนังสือเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของไทย และในปี พ.ศ. 2459 กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) ได้เขียนหนังสือชื่อ “ตลาดเงินตรา” ขึ้นในปีพ.ศ. 2477มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  จึงได้มีการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์อย่างจริงจังโดยใช้หนังสือตำราของประเทศฝรั่งเศส ทำให้มีการแปลตำราต่าง ๆ เป็นภาษาไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  รวมทั้งหนังสือเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยเศรษฐกิจการค้า  และเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเงินของพระสารสาสน์พลขันธ์เป็นหนังสือที่กระตุ้นให้คนไทยตื่นตัวในการทำการค้ามากขึ้น  วิชาเศรษฐศาสตร์จึงได้บรรจุเป็นหลักสูตรของการศึกษาทุกระดับของไทย  และเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไปในปัจจุบันดังนั้น  บุคคลแรกที่ได้วางรากฐานของวิชานี้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ อดัม สมิธ   (Adam Smith) หนังสือชื่อ The Wealth of Nations หนังสือของท่านผู้นี้ถือเป็นตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของโลก ซึ่ง Adam Smith ถือว่าเป็น “บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์”  นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานวิชาเศรษฐศาสตร์ นอกจาก อดัม สมิธแล้วยังมีนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษอีก 3 ท่าน คือ เดวิด ริคาร์โด  (David  R icardo) อัลเฟรด มาร์แชล (Alfred  Marshall) และจอห์น เมนาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) แนวความคิดที่สำคัญของคนกลุ่มนี้ ถือความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (Laissez  Faire) ซึ่งให้ความสำคัญแก่ภาคเอกชน โดยเห็นว่ารัฐไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวในทางกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่ควรปล่อยให้เอกชนดำเนินธุรกิจต่าง  ๆ โดยอิสระเสรี แต่อัลเฟรด มาร์แชล  ยังมีความคิดเพิ่มเติมเน้นถึงทรัพยากรซึ่งมีจำนวนจำกัด และการใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้านบุคคลและธุรกิจ อันเป็นจุดรวมของเศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro –  Economics)จอห์น เมนาร์ด เคนส์ (John  Maynard Keynes) ได้เขียนหนังสือชื่อThe  General Theory of Employment Money  and Interest โดยได้อธิบายสาเหตุของภาวะสินค้าล้นตลาดและการว่างงานทั่วไป วิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและการว่างงานโดยใช้นโยบายการเงินและการคลัง  หนังสือเล่มนี้ถือเป็นหนังสือเศรษฐศาสตร์มหภาค(Macro – Economics) เล่มแรกของโลก3. ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นการศึกษาวิธีที่จะนำเอาทรัพยากรต่าง ๆ อันมีอยู่อย่างจำกัดไปทำการผลิตสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคอันมีอยู่อย่างมากมายและไม่จำกัดในฐานะที่มนุษย์มีบทบาทเป็นทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต ในฐานะผู้บริโภคจะมีความต้องการสินค้าที่สามารถสนองความพอใจได้สูงสุด ในฐานะผู้ผลิตจะต้องใช้ความรู้ความสามารถจัดการกับปัจจัยการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่คน นอกจากนั้น คนทุกคนต้องมีส่วนในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองและของประเทศ ซึ่งสามารถนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปช่วยในการตัดสินใจกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมีกฎเกณฑ์ ช่วยให้เข้าใจปัญหาเศรษฐกิจของบ้านเมือง เข้าใจนโยบายของรัฐบาล เช่น นโยบายการลงทุน การแก้ไขภาวะการเงิน การช่วยเหลือสินค้าเกษตร เป็นต้นหากประชาชนมีความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ จะมีส่วนช่วยให้กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้บรรลุผล เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิต (Quality ofLife)ที่ดีขึ้นทั้งปัจจุบันและอนาคตดังนั้น วิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความสำคัญดังเหตุผลต่อไปนี้                3.1   ทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่อย่างจำกัด จึงจำเป็นต้องศึกษาเพื่อดำเนินการผลิตสินค้าและบริการรวมทั้งการจัดจำหน่ายไปยังบุคคลต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ                3.2   ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในระบบเศรษฐกิจ การเรียนรู้วิชาเศรษฐศาสตร์ จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการทำงานของระบบเศรษฐกิจได้ดี เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจทั้งส่วนตัวและส่วนรวม                3.3   เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ภาวะเงินตึง ภาวะเงินฝืด ภาวะเงินเฟ้อ ดุลการค้า ดุลการชำระเงิน การผูกขาด การว่างงาน เป็นต้น เพื่อให้เศรษฐกิจมีความก้าวหน้า 4. ปัจจัยการผลิต                 การผลิตสินค้าจะต้องอาศัยปัจจัยการผลิตทั้งสิ้น ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ                4.1  ที่ดิน (Land) หมายถึง พื้นดินและทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่อยู่ในดิน หากประเทศใดมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์จะมีโอกาสในการพัฒนาประเทศมีความมั่งคั่งได้อย่างรวดเร็วแต่ปัญหาคือ ที่ดินมีจำกัด และประชากรมีเพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการใช้ที่ดินมีเพิ่มขึ้น ซึ่งผลตอบแทนของที่ดินคือค่าเช่า (Rent)                4.2  ทุน (Capital) หมายถึง สิ่งที่จะนำไปใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ เช่น เครื่องจักรเครื่องมือ โรงงาน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นสินค้าประเภททุน ซึ่งผลตอบแทนของทุนคือดอกเบี้ย (Interest)                4.3  แรงงาน (Labour) หมายถึง การใช้พลังงานของมนุษย์เพื่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการทั้งด้านกำลังกายและกำลังความคิด เพื่อแสวงหารายได้มาดำรงชีพ ซึ่งผลตอบแทนของแรงงานคือ ค่าจ้าง (Wage)                4.4  ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) หมายถึง ผู้จัดตั้งองค์กรผลิตโดยนำเอาปัจจัยการผลิต คือที่ดิน ทุน แรงงาน มาดำเนินการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตมากที่สุด ซึ่งผลตอบแทนคือกำไร (Profit)                ในปัจจัยการผลิตทั้ง 4 ข้อ ผู้ประกอบการสำคัญที่สุด เพราะเป็นผู้ทำการคิดริเริ่มจะทำการผลิต จึงไปรวบรวมที่ดิน ทุน แรงงาน มาดำเนินการผลิต การผลิต และการจ้างงานจึงเกิดขึ้น  5. ปัญหาพื้นฐานในการผลิตเนื่องจากทรัพยากรมีจำกัด ไม่พอที่จะบำบัดความต้องการของทุกคนในสังคมได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นสังคมจึงต้องประสบกับปัญหาอย่างเดียวกัน ดังนี้ คือ                5.1  ปัญหาผลิตอะไร (what) เป็นปัญหาตัดสินใจว่าควรจะผลิตเป็นสินค้าอะไร ผลิตเป็นจำนวนเท่าไร ด้วยปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ปัญหานี้เกิดจากทรัพยากรการผลิตมีจำนวนน้อยจึงต้องเลือกผลิตเฉพาะที่จำเป็น เช่น เลือกผลิตกางเกงในเพราะทุกคนต้องใช้ ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้หญิงหรือผู้ชาย                5.2  ปัญหาผลิตอย่างไร (How) เป็นการพิจารณาว่าจะผลิตสินค้าและบริการด้วยเทคนิคการผลิตแบบไหน และใช้ปัจจัยการผลิตอะไรบ้างเป็นสัดส่วนเท่าไร เช่น ผลิตกางเกงในใช้ผ้าอะไร รูปทรงอย่างไร สีอะไรที่เป็นที่นิยม                5.3  ผลิตเพื่อใคร (For Whom) หมายความว่า สินค้าและบริการที่ผลิตจะจำแนกแจกจ่าย จำหน่ายแก่ใครบ้าง ด้วยวิธีการอย่างไร เช่น กางเกงในที่ผลิตจะจำหน่ายที่ไหนภายในหรือต่างประเทศ ด้วยทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด6. ประเภทวิชาเศรษฐศาสตร์ ใน ค.ศ.1936 จอห์น เมนาร์ดเคนส์ (John Maynard Keynes) ได้พิมพ์หนังสือ The General Theory of Employment Interest and Money ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือเศรษฐศาสตร์มหภาคที่สมบูรณ์เล่มแรกของโลก จึงมีแนวคิดว่าควรจะมีการแบ่งขอบเขตของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ออกเป็น 2 ส่วน คือ “เศรษฐศาสตร์มหภาค” (Macro-Economics) และ “เศรษฐศาสตร์จุลภาค” (Micro-Economics) เศรษฐศาสตร์มหภาค คือ การศึกษาเศรษฐกิจของทั้งระบบ ได้แก่ รายได้ประชาชาติ ระดับราคาสินค้าและบริการทั้งหมดโดยทั่วไป ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ การบริโภค การออมและการลงทุน ระดับการจ้างงานโดยทั่วไป การใช้จ่ายของรัฐบาล การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศหรือการศึกษาภาวะเศรษฐกิจโดยส่วนรวมทั้งระบบเศรษฐกิจหรือทั้งประเทศ เช่น ศึกษาการบริโภค การออม การลงทุน การจ้างงาน รายได้ประชาชาติ การใช้จ่ายของรัฐบาล การค้าระหว่างประเทศ และการชำระเงินระหว่างประเทศ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ และการจ้างงานบางครั้งจึงเรียกว่า “ทฤษฎีรายได้และการจ้างงาน” (Income and Employment Theory)เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro - Economics) เป็นการศึกษาเศรษฐกิจของหน่วยย่อย เช่นการกำหนดราคาของสินค้าแต่ละชนิด ต้นทุน และปริมาณการผลิตของสินค้าแต่ละชนิด หรือแต่ละอุตสาหกรรมในตลาดสินค้าแบบต่างๆ การกำหนดราคาของปัจจัยการผลิตต่าง ๆ เป็นต้น(วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน, 2551 : 7)หรือการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของส่วนย่อย ๆ ในสังคม เช่น การศึกษาการผลิตของธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งว่าจะผลิตสินค้าและบริการจำนวนเท่าใด กำหนดราคาขายอย่างไรจึงจะได้กำไรสูงสุด ศึกษาการบริโภคของคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งว่าจะบริโภคสินค้าและบริการอย่างไรจึงจะได้รับความพอใจสูงสุดศึกษาการลงทุนของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเป็นต้น นักเศรษฐศาสตร์บางท่านเรียกเศรษฐศาสตร์จุลภาคอีกชื่อหนึ่ง คือ “ทฤษฎีราคา” (Price Theory)มีผู้พยายามชี้ให้เห็นภาพของความแตกต่างของเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาคไว้ว่า “การศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาคเปรียบเหมือนการสำรวจต้นไม้แต่ละต้น แต่เศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นการวิเคราะห์ป่าทั้งป่า หรือการศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นการมองภาพผ่านกล้องจุลทรรศน์ในขณะที่เศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นการมองผ่านกล้องโทรทัศน์” ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในการค้า กฎหมาย การเมืองและการปกครอง ย่อมมีส่วนสัมพันธ์กับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจอยู่มาก สำหรับผู้ที่ศึกษาเศรษฐศาสตร์โดยตรงก็ย่อมใช้ความรู้ของตนประกอบอาชีพได้มีงานมากมายที่ต้องอาศัยความสามารถของนักเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะดังที่กล่าวมาแล้วว่าเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่สอดแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป ไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในฐานะอะไร ดังนั้น การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ย่อมจะให้ประโยชน์ในแง่ที่ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในฐานะผู้บริโภค ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถประมาณการและวางแผนการใช้จ่ายของครอบครัวเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้รับความสุขสบายมากที่สุด เช่น ช่วยในการตัดสินใจว่า ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ ควรเลือกซื้อสินค้าชนิดใดบ้าง และควรเก็บออมไว้เท่าใดจึงจะทำให้ครอบครัวได้รับความพอใจสูงสุด ในฐานะผู้ผลิต ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการค้าและการลงทุน เช่น ควรลงทุนในกิจการใดเมื่อใด หรือควรจะผลิตสินค้าชนิดใดในปริมาณและราคาเท่าใด หรือควรเลือกใช้เทคนิคการผลิตอย่างไร จึงจะเสียต้นทุนต่ำที่สุดและได้รับกำไรสูงสุด ในฐานะบุคคลทั่วไปที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินและแรงงานที่สามารถนำไปใช้ผลิตสินค้าและบริการได้หลาย ๆ ชนิด ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะช่วยในการตัดสินใจว่า ควรจัดสรรทรัพย์สินและแรงงานไปใช้ในการผลิตสินค้าและบริการใดจึงจะได้รับผลตอบแทนสูงสุด เช่น คนงานควรเลือกทำงานอะไรดี ทำกี่ชั่วโมง พักผ่อนกี่ชั่วโมง จึงจะมีรายได้สูงสุดโดยไม่ทำให้สุขภาพทรุดโทรม เจ้าของเงินทุนควรนำเงินออกให้กู้ยืมหรือฝากธนาคาร เจ้าของที่ดินควรนำที่ดินไปใช้สร้างตึกแถวหรือสร้างบ้านให้เช่าจึงจะได้ค่าเช่าสูงสุด เป็นต้น นอกจากนี้ ในฐานะผู้บริหารประเทศหรือรัฐบาลความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะช่วยให้เข้าใจปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศตลอดจนรู้ถึงแนวทางที่จะแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้ถูกต้อง ทั้งยังมีส่วนช่วยในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจตลอดจนการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเหมาะสม เช่น เมื่อรัฐบาลรู้ถึงปัญหาความยากจนในชนบท ทำให้รัฐบาลรู้ว่าควรแก้ไขปัญหานั้นอย่างไรอย่างไรก็ตาม ถึงแม้การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์จะเป็นประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปแต่การที่จะนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ให้ได้ผล จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในขณะนั้นด้วย เช่น การที่จะนำมาตรการลดค่าของเงินมาใช้แก้ปัญหาดุลการค้าจะได้ผลตามที่คาดหมายหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมาย อาทิเช่น สินค้านั้นมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด ประเทศที่สั่งซื้อมีสินค้าเหล่านั้นเพียงพอหรือยังรายได้ของประชากรของประเทศที่ซื้อขายกับเราสูงต่ำแค่ไหน และกำลังผลิตในประเทศเราอาจเพิ่มได้มากน้อยเพียงใดหากมีผู้ต้องการซื้อสินค้าจากเรามากขึ้น ๆ จะเห็นได้ว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวถึงต่างก็มีส่วนที่จะทำให้การลดค่าเงินได้ผลหรือไม่ได้ผล ดังนั้นก่อนที่จะนำมาตรการนี้มาใช้ จึงต้องคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้เสียก่อน และถ้าเห็นว่าปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้นเอื้ออำนวยให้การลดค่าของเงินได้ผลดี จึงควรตัดสินใจเลือกใช้มาตรการดังกล่าว8. ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น ๆ มากมายดังต่อไปนี้                8.1  เศรษฐศาสตร์สัมพันธ์กับรัฐศาสตร์ การเมือง และกฎหมายอย่างใกล้ชิด ในสมัยก่อนเรียกวิชาเศรษฐศาสตร์ว่า “เศรษฐศาสตร์การเมือง” เพราะการค้าเป็นกิจกรรมต่าง ๆ มักถูกรัฐบาลเข้าแทรกแซงเสมอ แม้กระทั่งในปัจจุบันก็เช่นกัน และมีความสัมพันธ์กับกฎหมายในแง่ที่ว่าการออกกฎหมายบางเรื่องอาจเกิดขึ้นจากการพยายามที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เช่น กฎหมายการค้ากำไรเกินควร กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ เป็นต้น                8.2  เศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กับการบริหารธุรกิจอย่างมาก เพราะในการตัดสินใจของนักธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการเลือกโครงการลงทุน การกำหนดปริมาณการผลิตและกำหนดราคาสินค้า จำเป็นต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์เข้าช่วยในการตัดสินใจ รวมทั้งต้องเข้าใจถึงระบบเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจ เพราะจะมีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรง                8.3 เศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กับหลักจิตวิทยาด้วย เพราะพฤติกรรมของมนุษย์ในการตัดสินปัญหาเศรษฐกิจ ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยาด้วย เช่น การตั้งราคาสินค้าให้ลงท้ายด้วย 9 199 299399 เป็นต้น เพื่อทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้ามีราคาถูกโดยเฉพาะ เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง หรือการมีของแถมให้กับผู้บริโภคถ้าซื้อปริมาณมาก เป็นต้น               8.4 เศรษฐศาสตร์กับภูมิศาสตร์ การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ต้องเกี่ยวกับเรื่องทรัพยากร ดิน ฟ้า อากาศ ตลอดจนที่ตั้งของหน่วยเศรษฐกิจหรือประเทศต่าง ๆ ดังนั้นความรู้ทางภูมิศาสตร์จึงสามารถช่วยให้นักเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์เรื่องต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น เช่น การวิเคราะห์ปัญหาการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น และทรัพยากรธรรมชาติจะมีความเกี่ยวข้องกับความรู้ทางภูมิศาสตร์มาก                8.5  เศรษฐศาสตร์กับประวัติศาสตร์ การอาศัยเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เป็นสิ่งช่วยอธิบายหรือคาดคะเนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรืออาจเกิดขึ้นในอนาคต เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อาจเป็นสิ่งเตือนใจให้นักเศรษฐศาสตร์ระลึกว่า ถ้ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นจะมีสิ่งใดเกิดตามมาเพื่อจะได้รับเหตุการณ์นั้นได้ดียิ่งขึ้น                8.6           เศรษฐศาสตร์กับนิติศาสตร์ การออกกฎหมายบางอย่างหรือโดยบางประเทศอาจมีส่วนจำกัดหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการทางเศรษฐกิจ เช่น กฎหมายสงวนอาชีพบางอย่าง หรือแม้แต่การตรากฎหมายภาษีอากร กฎหมายการค้า กฎหมายส่งเสริมการลงทุน การกำหนดอาณาเขตไมล์ทะเลระหว่างประเทศ เป็นต้น มีส่วนกระทบกระเทือนถึงการดำเนินการทางเศรษฐกิจของประเทศที่เกี่ยวข้องในทำนองเดียวกัน การจะออกกฎหมายอะไรอาจต้องคำนึงถึงสถานะทางเศรษฐกิจว่าเมื่อออกกฎหมายแล้วจะมีผลกระทบกระเทือนถึงประชาชนมากน้อยแค่ไหน                8.7  เศรษฐศาสตร์กับจริยศาสตร์ เนื่องจากศาสนามีอิทธิพลเหนือการกระทำของคนมานานแล้ว บทบัญญัติทุกศาสนาล้วนแต่สอนให้บุคคลมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มิให้เอารัดเอาเปรียบกัน สอนให้คนละเว้นความโลภ ถ้าจะมองในเชิงเศรษฐศาสตร์ หมายความว่า ศาสนาประณามการเอารัดเอาเปรียบกันในการค้าขาย เช่น การค้ากำไรเกินควร การปลอมแปลงสินค้าการให้กู้ยืมโดยเรียกดอกเบี้ยสูง ๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการทำนาบนหลังคนแบบหนึ่ง และเป็นผลเสียแก่เศรษฐกิจส่วนรวมในปัจจุบัน ยังมีการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์เข้ากับศาสตร์อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ประยุกต์เข้ากับโครงการทางวิศวกรรม ซึ่งจะเรียกชื่อว่าเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ประยุกต์เข้ากับโครงการอุตสาหกรรม เรียกชื่อว่าเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม ประยุกต์เข้ากับโครงการทางสาธารณสุขเรียกชื่อว่าเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข รวมทั้งประยุกต์เข้ากับโครงการทางแพทย์เรียกชื่อว่าเศรษฐศาสตร์การแพทย์ เป็นต้นกล่าวโดยสรุปได้ว่า วิชาเศรษฐศาสตร์มิใช่วิชาที่โดดเดี่ยว ผู้ที่ศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ได้ดี และสามารถนำเอาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ให้เกิดผล จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจศาสตร์อื่น ๆ ในส่วนที่อยู่เคียงข้างเศรษฐศาสตร์ด้วยในทำนองเดียวกันนักศึกษาของศาสตร์อื่นใดก็ตามจะได้ประโยชน์อย่างมากถ้าหากได้ศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิชานั้น ๆ ด้วยในทำนองเดียวกัน การจะออกกฎหมายอะไรอาจต้องคำนึงถึงสถานะทางเศรษฐกิจว่าเมื่อออกกฎหมายแล้วจะมีผลกระทบกระเทือนถึงประชาชนมากน้อยแค่ไหนสรุปวิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อนำมาผลิตสินค้าและบริการให้ได้มากที่สุด เพื่อนำมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มีมาช้านานแล้วตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 โดยสอดแทรกอยู่ในความเชื่อถือและปรัชญา ต่อมาจึงได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนรู้จักกันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นหลักการที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันอยู่อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภค ผู้ผลิต และรัฐบาล เศรษฐศาสตร์มี 2 แขนง ได้แก่ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งเป็นการศึกษาถึงระบบเศรษฐกิจส่วนย่อยๆแต่ละบุคคล เช่น การผลิต การจำหน่าย การซื้อขายแลกเปลี่ยนในแต่ละวัน และเศรษฐศาสตร์มหภาค ซึ่งเป็นการศึกษาถึงระบบเศรษฐกิจส่วนรวมระดับประเทศ เช่น การศึกษารายได้ประชาชาติ คือศึกษาถึงรายได้ของประชาชนทั่วประเทศ หรือ ศึกษาถึงภาวะการลงทุน การว่างงาน ภาวะการเงินต่าง ๆ นอกจากนั้นเศรษฐศาสตร์ยังมีความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น ๆ เช่น บริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ จิตวิทยา ดังนั้น การศึกษาเศรษฐศาสตร์จึงทำให้เข้าใจถึงระบบเศรษฐกิจ ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิตสินค้า เพื่อนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันให้เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุด                

คำศัพท์ที่น่ารู้                                Economics                        เศรษฐศาสตร์                                Laissez Faire                    ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม                                 Micro-Economics              เศรษฐศาสตร์จุลภาค                                 Macro-Economics              เศรษฐศาสตร์มหภาค                                 Quality of life                     คุณภาพของชีวิต

กิจกรรมการเรียนที่ 1หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์                                                                                             ชื่อสมาชิก                1. ...........................................................             ชั้น........................          เลขที่......................                2. ..........................................................             ชั้น........................          เลขที่......................                3. ...........................................................             ชั้น........................          เลขที่......................จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม                จำแนกแขนงวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาคได้สื่อและอุปกรณ์                หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารลำดับขั้นในการปฏิบัติงาน                1.   แบ่งผู้เรียนออกเป็น 5-6 กลุ่ม ๆ ละ เท่า ๆ กัน ตามความสมัครใจ                2.   ครูแจกหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารให้แต่ละกลุ่ม ๆ ละ 2-3 เล่ม เพื่อหาข่าวเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค อย่างละ 1 ข่าวรวมกลุ่มละ 2 ข่าว                3.   เขียนสรุปข่าวแบบฝึกหัดท้ายหน่วยหน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์                                                                                                                 คำสั่งจงทำเครื่องหมายกากบาท (x) คำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อละ 1 คะแนน)1.  เศรษฐศาสตร์คือการศึกษาเกี่ยวกับอะไร                ก.   การศึกษาเรื่องการใช้ทรัพยากร                ข.   การศึกษาเรื่องการลงทุน                ค.   การศึกษาเรื่องการผลิตและการบริโภค                ง.    การใช้ทรัพยากรในการผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของประชาชน2. บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์คือใคร               ก.   อดัมสมิธ               ข.   จอห์น เมนาร์ดเคนส์               ค.   อัลเฟรด มาร์แชล               ง.    ลีอองเนล รอบบินส์3. หนังสือที่ถือเป็นตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของโลกคือเล่มใด              ก.   An Essay in the Nature              ข.   Quality of Life              ค.   The Wealth of Nations              ง.    Wage Theory4 ความสำคัญและความมุ่งหวังของวิชาเศรษฐศาสตร์คือข้อใด            ก.   ความมั่นคงทางการเมือง            ข.   การเป็นผู้นำการส่งออก            ค.   ความกินดีอยู่ดีของประชาชน            ง.    ความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจ5.เมื่อผู้ประกอบการคิดจะทำการผลิตต้องไปหาปัจจัยการผลิตข้อใดต่อไป           ก.   ที่ดิน           ข.   ทุน           ค.   แรงงาน           ง.    วัตถุดิบ6.ปัญหาการผลิตอันดับแรกที่ผู้ผลิตต้องพิจารณาคือข้อใด          ก.   ผลิตทำไม          ข.   ผลิตอย่างไร          ค.   ผลิตอะไร          ง.    ผลิตเพื่อใคร7. การแก้ไขปัญหาสินค้าราคาแพงของรัฐบาลจัดว่าเป็นเศรษฐศาสตร์ประเภทใด         ก.   เศรษฐศาสตร์การเกษตร         ข.   เศรษฐศาสตร์การค้า         ค.   เศรษฐศาสตร์จุลภาค         ง.    เศรษฐศาสตร์มหภาค8. ข้อใดคือเศรษฐศาสตร์จุลภาค        ก.   ภาวะการลงทุน        ข.   ภาวะการว่างงาน        ค.   ภาวะการจ้างงาน        ง.   ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ9. ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์        ก.   ทำให้มีหลักเกณฑ์และเหตุผลในการตัดสินใจบริโภคสินค้า        ข.   เข้าใจวิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล        ค.   เข้าใจปัญหามลพิษ        ง.    เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์10. ท่านคิดว่าวิชาใดมีความสัมพันธ์กับวิชาเศรษฐศาสตร์มากที่สุด        ก.   กฎหมาย        ข.   จริยศาสตร์        ค.   บริหารธุรกิจ        ง.    คหกรรมศาสตร์