Demand Forecasting ตัวอย่าง

ในการเรียนบทนี้ เราจะใช้วิธีการในรูปแบบของ Time-Series Forecasting  ประกอบไปด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

(Time-Series Forecasting = มีตัวแปร 1 ตัวเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา)

3. Weighted Moving Average

5. Exponential Smoothing with Trend Adjustment

6. Seasonal Variations in Data

การแบ่งช่วงเวลาในการพยากรณ์

1. Short-range forecast = มีช่วงเวลาน้อยกว่า 3 เดือน

     เหมาะกับการพยากรณ์ เพื่อจัดการกับ การจัดซื้อ , ตารางงาน , แรงงาน , การมอบหมายงาน , ปริมาณการผลิต

2. Medium-range forecast = มีช่วงเวลาอยู่ระหว่าง 3 เดือน ถึง 3 ปี

     เหมาะกับการพยากรณ์ เพื่อจัดการกับ การวางแผนการขายและการผลิต รวมถึงงบประมาณ

3. Long-range forecast = มีช่วงเวลามากกว่า 3 ปี

      เหมาะกับการพยากรณ์ เพื่อจัดการกับ การวางแผนสำหรับสินค้าใหม่ , สถานที่สำหรับอุปกรณ์/เครื่องมือสนับสนุน , 

ประเภทของการพยากรณ์ (Types of Forecasts)

1. Economic forecasts = การพยากรณ์ทางเศรษฐศาสตร์

2. Technological forecast

3. Demand forecast -->(เรียนเฉพาะเรื่องนี้)

กลยุทธที่สำคัญของการพยากรณ์

1. ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) = การจ้างงาน , การฝึกอบรม , การเลิกจ้างพนักงาน

2. ศักยภาพ ความสามารถ (Capacity)

3. การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) = ความสัมพันธ์ที่ดีกับSupplier และความได้เปรียบด้านราคา

7 ขั้นตอนสำคัญในการพยากรณ์

    - ต้องรู้ว่าจะพยากรณ์เพื่ออะไร (ต้องตอบให้ได้ว่าจะเอาการพยากรณ์นั้นไปทำอะไร)

       Determine the use of the forecast

    - เลือกสิ่งที่ต้องการพยากรณ์

       Select the items to be forecasted

    - แบ่งช่วงเวลาที่ต้องการพยากรณ์

       Determine the time horizon of the forecast

    - เลือกรูปแบบที่จะทำการพยากรณ์

       Select the forecasting model(s)

    - ตรวจสอบแล้วนำไปใช้วางแผนงานจริง

       Validate and implement results

1. ไม่มีการพยากรณ์ใดที่สมบูรณ์ 100%

2. เทคนิค/ทฤษฎีทั้งหมดตั้งอยู่บนระบบที่มีความเสถียร (Stability in the system)

3. การพยากรณ์ในภาพรวมของผลิตภัณฑ์มีความแม่นยำกว่าการพยากรณ์รายตัวผลิตภัณฑ์

องค์ประกอบของอนุกรมเวลา (Time Series Components)

    - การสุ่ม , ไร้รูปแบบ (Random)

    - วงจร/วัฎจักร (Cyclical)

Demand Forecasting ตัวอย่าง

แหล่งที่มา : Prentice Hall, Inc.

    จากรูปจะเห็นว่า ส่วนประกอบของ Demand ประกอบด้วย Trend , Season Cycle และ Random

    - รูปแบบการเพิ่มขึ้น หรือ ลดลง อย่างต่อเนื่อง

    - เปลี่ยนแปลงตาม จำนวนประชากร , เทคโนโลยี , อายุ และวัฒนธรรม เป็นต้น

    - จะเป็นรูปแบบที่ใช้เวลาหลาย ๆ ปี

    - เป็นรูปแบบความผันผวน ขึ้น/ลง ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ

    - เปลี่ยนแปลงตาม ฤดูกาล , ลูกค้า เป็นต้น

    - จะเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นภายในเวลา 1 ปี

    - เป็นการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ของการเพิ่มขึ้น/ลดลง

    - เป็นผลกระทบมาจาก วัฐจักรของธุรกิจ , การเมือง และองค์ประกอบของเศรษฐกิจ

    - จะเป็นรูปแบบที่ใช้เวลามากกว่า 1 ปีในการเกิด

    - การไม่เป็นระบบ ไม่มีแบบแผน

    - เป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงแบบสุ่ม หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน

    - เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ และไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก

ต่อไปจะเข้าสู่การคำนวณตามรูปแบบ Time - Series Forecasting

    - สมมุติว่าความต้องการในช่วงเวลาถัดไป จะมีขนาดเท่ากับความต้องการในช่วงเวลาล่าสุด

            เช่น ถ้าเดือน มกราคม มียอดขาย 68 หน่วย ก็จะคาดการณ์ว่าเดือน กุมภาพันธ์ ก็น่าจะขายได้ 68 หน่วยเช่นกัน

    - สามารถใช้เป็นจุดตั้งต้น(เริ่มต้น)ที่ดี

    - MA เป็นอนุกรมของค่าเฉลี่ยทางคณิตศาสตร์

    - สามารถใช้ได้ถ้าเป็นการพยากรณ์ที่มีแนวโน้มเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีแนวโน้ม

    - มักจะใช้กับเหตุการณ์ที่มีแนวโน้มคงที่

                

Demand Forecasting ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

 เดือนยอดขายจริง 3-Month Moving Average 4-Month Moving Averageมกราคม10 กุมภาพันธ์
12 มีนาคม13 เมษายน 16 (10+12+13)/3=11.67  พฤษภาคม19 (12+13+16)/3=13.67 (10+12+13+16)/4=12.75 มิถุนายน23 (13+16+19)/3=16  (12+13+16+19)/4=15กรกฎาคม 26 (16+19+23)/3=19.33  (13+16+19+23)/4=17.75 สิงหาคม(19+23+26)/3=22.67 (16+19+23+26)/4=21 

3. Weighted Moving Average

    - นิยมใช้เมื่อเหตุการณ์มีแนวโน้มเข้ามาเกี่ยวข้อง

            ส่งผลให้ข้อมูลที่มีความเก่ามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความสำคัญลดลงตามไปด้วยเช่นกัน

    - ค่าถ่วงน้ำหนักนั้น จะขึ้นอยู่กับประการณ์และสัญชาตญาณของผู้ทำการพยากรณ์

                  

Demand Forecasting ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

    กำหนดให้ค่าถ่วงน้ำหนักของ    เดือนล่าสุด = 3 , สองเดือนที่ผ่านมา = 2 , สามเดือนที่ผ่านมา = 1

                                                  และ    เดือนล่าสุด = 7 , สองเดือนที่ผ่านมา = 3 , สามเดือนที่ผ่านมา = 1  

 เดือนยอดขายจริง 3-Month Weighted
Moving Average (3-2-1) 3-Month Weighted
Moving Average (7-3-1)มกราคม10 กุมภาพันธ์
12 มีนาคม13 เมษายน 16 [(13x3)+(12x2)+(10)]/6=12.17[(13x7)+(12x3)+(10)]/11=12.45  พฤษภาคม19 [(16x3)+(13x2)+(12)]/6=14.33[(16x7)+(13x3)+(12)]/11=14.82มิถุนายน23 [(19x3)+(16x2)+(13)]/6=17[(19x7)+(16x3)+(13)]/11=17.64กรกฎาคม 26 [(23x3)+(19x2)+(16)]/6=20.5[(23x7)+(19x3)+(16)]/11=21.27 สิงหาคม[(26x3)+(23x2)+(19)]/6=23.83 [(26x7)+(23x3)+(19)]/11=24.55 

ปัญหาของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average)

    1. ถ้า n มีขนาดใหญ่เกินไป จะทำให้ไม่ไวต่อการเปลี่ยนแปลง

    2. พยากรณ์แนวโน้มได้ไม่ดี

    3. ต้องการข้อมูลย้อนหลังค่อนข้างมาก

    - เป็นรูปแบบของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก (weighted moving average)

            โดยค่าถ่วงน้ำหนักนั้นจะลดลงแบบเอ็กโพเนนเชียล

            ซึ่งข้อมูลล่าสุดจะมีค่าถ่วงน้ำหนักมากที่สุด และลดลงไปตามเวลาของข้อมูล

    - ต้องมีค่าคงที่ของการปรับให้เรียบ 

            มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1  และมีวิธีการเลือกโดยการสุ่ม

    - ต้องการข้อมูลในอดีตไม่มากนัก


Demand Forecasting ตัวอย่าง

Demand Forecasting ตัวอย่าง

*** สำคัญ ***

1. ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเร็ว/มาก  ควรเลือกค่าคงที่ของการปรับให้เรียบมีค่ามากๆ  (เข้าใกล้ 1)

2. ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงช้า/น้อย  ควรเลือกค่าคงที่ของการปรับให้เรียบมีค่าน้อยๆ (เข้าใกล้ 0)

5. Exponential Smoothing with Trend Adjustment

เมื่อมีแนวโน้มเกิดขึ้น  ทำให้ Exponential smoothing ได้มีการปรับเปลี่ยน ดังนี้

            

Demand Forecasting ตัวอย่าง

ขั้นที่ 3 คำนวณหาค่า พยากรณ์ FIT = Ft + Tt

    กำหนดให้ แอลฟ่า=0.2 , เบต้า=0.4


 Month   Actual
 Demand 
     Smoothed Forecast , Ft
            Smoothed Trend , Tt Forecast Including Trend
                    FIT112 112 13 2 17 0.2(12)+0.8(13)=12.80.4(12.8-11)+0.6(2)=1.9212.80+1.92=14.723 20 0.2(17)+0.8(14.72)=15.180.4(15.18-12.8)+0.6(1.92)=2.10 15.18+2.10=17.28 4 19 0.2(20)+0.8(17.28)=17.82 0.4(17.82-15.18)+0.6(2.10)=2.32 17.82+2.32=20.14 5 24 0.2(19)+0.8(20.14)=19.91 0.4(19.91-17.82)+0.6(2.32)=2.23 19.91+2.23=22.14 6 21 0.2(24)+0.8(22.14)=22.51 0.4(22.51-19.91)+0.6(2.23)=2.38 22.51+2.38=24.89 7 31 0.2(21)+0.8(24.89)=24.11 0.4(24.11-22.51)+0.6(2.38)=2.07 24.11+2.07=26.18 8 28 0.2(31)+0.8(26.18)=27.14 0.4(27.14-24.11)+0.6(2.07)=2.45 27.14+2.45=29.59 9 36 0.2(28)+0.8(29.59)=29.28 0.4(29.28-27.14)+0.6(2.45)=2.32 29.28+2.32=31.60 10 0.2(36)+0.8(31.60)=32.48 0.4(32.48-29.28)+0.6(2.32)=2.68 32.48+2.68=35.16 

6. Seasonal Variations In Data

    1. หาค่าเฉลี่ยความต้องการในแต่ละฤดูกาล

    2. หาค่าเฉลี่ยของทุก ๆ ฤดูกาลรวมกัน (หาค่าเฉลี่ยรวมของข้อมูลทั้งหมด)

    3. หาค่าดัชนีฤดูกาล (Seasonal Index)

    4. คาดหมาย/ประมาณการ ความต้องการทั้งปีของปีหน้า

    5. นำค่าที่ได้จากข้อ 4 มาหารด้วยจำนวนฤดูกาล แล้วคูณกับค่าในข้อ 3


Month2005 
2006 
2007            Average
        2005-2007  Average
  Monthly      Seasonal
        IndexJan 80 85 105 (80+85+105)/3=9094 90/94=0.957Feb 70 85 85 (70+85+85)/3=80 94 80/94=0.851 Mar 80 93 82 (80+93+82)/3=85 94 85/94=0.904 Apr 90 95 115 (90+95+115)/3=100 94 100/94=1.064 May 113 125 131 (113+125+131)/3=12394 123/94=1.309 Jun110 115 120 (110+115+120)/3=115 94 115/94=1.223 Jul 100 102 113 (100+102+113)/3=105 94 105/94=1.117 Aug 88 102 110 (88+102+110)/3=100 94 100/94=1.064 Sep 85 90 95 (85+90+95)/3=90 94 90/94=0.957 Oct 77 78 85 (77+78+85)/3=80 94 80/94=0.851 Nov 7572 83 (75+72+83)/3=80 94 80/94=0.851 Dec 8278 80 (82+78+80)/3=80 94 80/94=0.851 ***โจทย์จะให้ข้อมูลมา 4 Column แรก  ส่วน Column ที่ 5 (Average 2005-2007) , Column ที่ 6 (Average monthly) และ Column ที่ 7 (Seasonal Index) จะต้องทำการหาเอง

การหาค่า Average Monthly ทำได้ 2 วิธี คือ

    1. นำค่าทุกตัวที่โจทย์กำหนดให้ คือ 80 , 85 , 105 , 70 , 85 , 85 , .... , 82 , 78 , 80 มารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด ซึ่งในที่นี้คือ 36 จำนวน  (3,374/36 = 93.72 = 94)

    2. นำค่า Average 2005-2007 (ค่าเฉลี่ยของแต่ละฤดูกาล) มารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนฤดูกาล 

(90+80+85+100+123+115+105+100+90+80+80+80)/12=94

ถ้าโจทย์ให้ค่าประมาณการยอดขายทั้งปี 2008 = 1,200 จงหาค่าประมาณการยอดขายในแต่ละเดือน

    การประมาณการยอดขายแต่ละเดือน หาได้จาก (ปริมาณยอดขายทั้งปี/จำนวนฤดูกาล)x Seasonal Index

    Jan    =    (1,200/12)*0.957    =    95.7    =    96

    Feb    =    (1,200/12)*0.851    =    85.1    =    85

    Dec    =    (1,200/12)*0.851    =    85.1    =    85

    เมื่อเราสามารถหาค่าประมาณการ/พยากรณ์ได้แล้วนั้น  จะเห็นว่าเรามีหลายวิธีการในการประมาณการ 

ดังนั้นเราจึงต้องมีการตรวจสอบหาความคลาดเคลื่อน/ผิดพลาดของการพยากรณ์ ว่ารูปแบบใดมีความคลาดเคลื่อนมากน้อยกว่ากัน หรือมีความคาดเคลื่อนคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ยอดรับได้หรือไม่

1. การหาความคลาดเคลื่อน (Error) สำหรับใช้เปรียบเทียบค่าการพยากรณ์ของแต่ละรูปแบบ (ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าค่าที่พยากรณ์นั้นดีพอหรือยัง  จะบอกได้เพียงว่า การพยากรณ์ใด มีความคลาดเคลื่อนมากน้อยกว่ากัน)

    - MAD (Mean Absolute Deviation)

                                    

Demand Forecasting ตัวอย่าง


    - MSE (Mean Squared Error)

2. การหาความคลาดเคลื่อน (Error) ว่าการพยากรณ์มีความคลาดเคลื่อนเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ เพื่อใช้ในการสรุปว่า การพยากรณ์มีความแม่นยำเพียงพอหรือไม่

Demand Forecasting มีอะไรบ้าง

Demand Forecasting คือการคาดการณ์ความต้องการสินค้าคงคลังเป็นกระบวนการทำนายความต้องการของลูกค้าสำหรับรายการสินค้าคงคลังในช่วงเวลาที่กำหนด การคาดการณ์ความต้องการสินค้าคงคลังที่แม่นยำ มีส่วนช่วยให้บริษัท ไม่ต้องสต็อกของมากหรือน้อยเกินไป ซึ่งแนวโน้มของข้อมูลในอดีตและการทำความเข้าใจตลาดว่า Demand สามารถผันผวนได้อย่างไร จะ ...

Forecasting คือข้อใด

การพยากรณ์ (Forecasting) หมายถึง การคาดคะเนการทํานายการเกิดเหตุการณ์หรือ สภาพการณ์ต่าง ๆ ในอนาคต โดยการพยากรณ์จะทําการศึกษาแนวโน้มและรูปแบบการเกิดเหตุการณ์ จากข้อมูลในอดีตและ/หรือใช้ความสามารถ ความรู้ ประสบการณ์ และดุลยพินิจของผู้พยากรณ์ (นิภา นิรุตติกุล, 2551)

การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง

การพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้าทำเพื่ออะไร เพื่อสามารถผลิตและขายสินค้าตามปริมาณและเวลาที่ลูกค้าต้องการได้อย่างใกล้เคียงมากขึ้น ลดต้นทุนการผลิตสินค้าได้ โดยไม่ต้องผลิตสินค้าก่อนการส่งมอบทุกครั้ง ด้วยการลดเวลาการ Setup เครื่องจักร และลดเวลาการใช้เครื่องจักรรวมถึงพนักงานในการผลิตสินค้านอกเวลา (Over time)

การพยากรณ์มีความสําคัญอย่างไร

การพยากรณ์ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการวางแผนเพื่อช่วยองค์กรเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งช่วยให้ผู้จัดการสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นใจ ควบคุมการดำเนินงานทางธุรกิจ และตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนการเติบโตในอนาคตได้ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจใช้การพยากรณ์เพื่อทำสิ่งต่อไป ...