ศักราชที่ใช้ในประวัติศาสตร์ไทยมีอะไรบ้าง

…แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยจะใช้ พุทธศักราช อย่างเป็นทางการก็ตาม แต่ในอดีต ดังที่ปรากฏอยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้น พุทธศักราช จะไม่ถูกนำมาใช้โดยตรงเหมือนเช่นสมัยนี้ จะใช้ก็เพียงเป็นส่วนประกอบในการบอกศักราชประเภทอื่นในบางครั้งบางคราวเท่านั้น ที่บันทึกว่า ศักราชที่บันทึกไว้นั้นตรงกับเวลาที่พระพุทธเจ้านิพพานไปแล้วกี่ปี

ศักราชอื่นที่ใช้ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทยนั้นคือ มหาศักราชกับจุลศักราช

มหาศักราช มีใช้อยู่ในศิลาจารึกรุ่นเก่าร่วมสมัยกับอาณาจักรขอมกัมพูชา ศิลาจารึกของสุโขทัยบางหลักกับเอกสารที่เป็นกฎหมาย

จุลศักราช เป็นศักราชที่ใช้อยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นศิลาจารึกของอยุธยา ล้านนา หรือสุโขทัย ตำนานพงศาวดารของล้านนา พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆ ฯลฯ

ศักราชทั้งสองนี้แม้จะมีเรื่องเล่าในลักษณะนิทานปรัมปราของล้านนา เช่น ตำนานสิงหนวัติเล่าว่า พระเจ้าตรีจักขุพุกาม เป็นผู้ตั้งมหาศักราชเมื่อ พ.ศ. 622 (หรือ 621) หรือพระเจ้าอนิรุธกรุงพุกามตั้งจุลศักราชขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1182 (หรือ 1181) ก็ตาม

แต่โดยข้อเท็จจริงนั้น ศักราชทั้งสองมีพัฒนาการมาจากศักราชโบราณของพราหมณ์ในอินเดีย คือ ศักราชกาลียุค หรือนวติงสันติ ที่มีอายุเก่ากว่าพุทธศักราชสองพันกว่าปี ซึ่งศักราชเหล่านี้เป็นศักราชทางโหราศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับการโคจรของดวงดาวต่างๆ ในจักรวาล…


หมายเหตุ : คัดเนื้อหาส่วนหนึ่งจากบทความ “อัญชนะศักราช ศักราชที่ไม่มีคนใช้” โดย พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับธันวาคม 2538

จะเริ่มนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคสมัยต่างๆ จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของศักราชต่างๆ ด้วย เพราะจะช่วยให้ทราบว่าในปีนั้นๆ มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง การนับปีศักราชนับว่าเป็น ภูมิปัญญาของมนุษย์สมัยโบราณ ศักราชมีทั้งแบบสากลและแบบไทย ดังนี้

การนับปีศักราชแบบสากล

1) คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. โดยใช้เหตุการณ์สำคัญทางคริสต์ศาสนาเป็นจุดเริ่มต้น เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติเป็นปี ค.ศ. 1 สำหรับช่วงเวลาก่อนพระเยซูประสูติให้เรียกเป็น ก่อนคริสต์ศักราช (ก่อน ค.ศ. หรือ B.C = Before Christ)

2) ฮิจเราะห์ศักราช หรือ ฮ.ศ. ฮิจเราะห์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การอพยพ   เป็นการนับศักราชในประเทศที่มีการนับถือศาสนาอิสลามโดยเริ่มนับ ฮ.ศ. 1 เมื่อท่านนบีมูฮัมหมัดนำเหล่าสาวกอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา ตรงกับพุทธศักราช 1165 หากจะเทียบ ปีฮิจเราะห์ศักราชเป็นปีพุทธศักราช จะต้องบวกด้วย 1122 เพราะการเทียบรอบปีของฮิจเราะห์ศักราชและพุทธศักราช จะมีความคลาดเคลื่อนทุก ๆ 32 ปีครึ่งของฮิจเราะห์ศักราชจะเพิ่มขึ้นอีก 1 ปี เมื่อเทียบกับพุทธศักราช

การนับศักราชแบบไทย

1) พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชที่นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา มีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และใช้กันอย่างเป็นทางการของประเทศไทย ครั้งแรกใน พ.ศ. 2455 แทนรัตนโกสินทร์ศก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยประเทศไทยเริ่มนับ พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วครบ 1 ปี เป็น พ.ศ. 1

2) มหาศักราช (ม.ศ.) นิยมใช้มากในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทศิลาจารึกและพงศาวดารต่าง ๆ ทั้งสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยาตอนต้น มหาศักราชถูกตั้งขึ้นโดยพระเจ้า กนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์ผู้ครองอินเดีย โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 622 (มหาศักราชตรงกับ พ.ศ. 622)

3) จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า โดยพระมหากษัตริย์ของพุกาม เริ่มใช้นับครั้งแรกในพม่า พ.ศ. 1182 และใช้แพร่หลายเข้าสู่อาณาจักรล้านนา โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 1181 ปี ไทยนิยมใช้จุลศักราชในการคำนวณทางโหราศาสตร์ ใช้บอกปีในจารึก ตำนาน จดหมายเหตุ พงศาวดาร จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศยกเลิก และมีการใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) แทน

4) รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงกำหนดใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2325 โดยเริ่มนับปีที่ได้มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใน พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1 และได้ประกาศยกเลิกใช้ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

การเทียบศักราช

การนับศักราชที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยและสากล ดังนั้น การเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น ตลอดจนทำให้ทราบถึงช่วงศักราชหรือช่วงเวลาเดียวกัน ในแต่ละภูมิภาคของโลกเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ศึกษาอย่างแท้จริง  จึงต้องมีการเทียบศักราช จากศักราชหนึ่งไปยังอีกศักราชหนึ่ง โดยคำนวณจากศักราชทั้งสองมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันอยู่กี่ปี  แล้วนำไปบวกหรือลบแล้แต่กรณีหลักเกณฑ์การเทียบศักราช โดยคำนวณหาเกณฑ์บวกลบเฉพาะพุทธศักราช (พ.ศ.) มีดังนี้ 

ความสับสนของศักราช ไทยเคยใช้ทั้ง จ.ศ.- ร.ศ.ก่อนเป็น พ.ศ.!แต่ พ.ศ.ของไทยก็ไม่ตรงกับ พ.ศ.ของหลายชาติ!!

เผยแพร่: 19 ก.พ. 2564 09:11   ปรับปรุง: 19 ก.พ. 2564 09:11   โดย: โรม บุนนาค


ศักราชที่ใช้ในประวัติศาสตร์ไทยมีอะไรบ้าง

“ศักราช” ก็คือสิ่งที่กำหนดขึ้นหรือสมมุติขึ้นตามแต่ที่มา โดยนับเวลาเป็นปี เป็นภูมิปัญญาของมนุษย์เพื่อให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด และเกิดก่อนหลังกันนานแค่ไหน

ในสมัยกรุงสุโขทัย เราใช้มหาศักราช (ม.ศ.) ซึ่งเป็นศักราชที่กำหนดขึ้นโดยพระเจ้ากนิษกะ แห่งอินเดีย โดยเริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระองค์มีชัยต่อแว่นแคว้นโดยรอบใน พ.ศ.๖๒๒ เป็นมหาศักราชที่ ๑ มหาศักราชจึงมีขึ้นหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี และได้แพร่เข้ามาสู่สุวรรณภูมิพร้อมกับอารยธรรมอินเดีย ใช้ในย่านนี้มาก่อนกรุงสุโขทัย ปรากฏหลักฐานอยู่ในศิลาจารึกต่างๆ

ส่วนจุลศักราช (จ.ศ.) ตั้งขึ้นโดยสังฆราชบุตุโสระหัน แห่งพม่า หลังจากที่สึกออกมาชิงราชบัลลังก์ได้ใน พ.ศ.๑๑๘๒ จากนั้นได้แพร่เข้าในล้านนา เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ มีการติดต่อกับพม่าอย่างใกล้ชิดในฐานะประเทศราช จุลศักราชจึงถูกนำมาใช้ในกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ปี ๒๑๑๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้รัตนโกสินทร์ศกแทนจุลศักราช

รัตนโกสินศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งขึ้นใน พ.ศ.๒๔๓๒ โดยยึดถือเอาปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีใน พ.ศ.๒๓๒๕ เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่ ๑ และปีที่ประกาศใช้เป็นปี ร.ศ.๑๐๘ แต่ใช้อยู่ถึง ร.ศ.๑๓๑ แค่๒๔ ปีก็สิ้นสุด เปลี่ยนมาใช้ พ.ศ.ในต้นรัชกาลที่ ๖

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริในเรื่องเปลี่ยนศักราชนี้ไว้ในจดหมายเหตุรายวันว่า

“...ศักราชรัตนโกสินทร์ ซึ่งใช้อยู่ในราชการเดี๋ยวนี้ มีข้อบกพร่องสำคัญอยู่ คือเป็นศักราชที่สั้นนัก จะกล่าวถึงเหตุการณ์ใดๆในอดีตภาคก็ขัดข้อง ด้วยว่าพอกล่าวถึงเรื่องราวก่อนสร้างกรุงขึ้นไปแล้ว ก็ต้องหันไปใช้จุลศักราชบ้าง มหาศักราชบ้าง และในข้างวัดใช้พุทธศักราช ฝ่ายคนไทยสมัยใหม่ที่อยากจะกล่าวถึงเหตุการณ์อันมีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ก็มักหันไปใช้คฤศตศักราช ซึ่งดูเป็นการเสียรัศมีอยู่ จึ่งเห็นว่าควรใช้พุทธศักราชจะเหมาะดีด้วยประการทั้งปวง เปนศักราชที่คนไทยเรารู้จักซึมทราบดีอยู่แล้ว ทั้งในประกาศใช้พุทธศักราชอยู่แล้ว และอีกประการ ๑ ในเวลานี้ก็มีแต่เมืองไทยเมืองเดียวที่มีพระเจ้าแผ่นดินถือพระพุทธศาสนา...”

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เริ่มใช้พุทธศักราชเป็นศักราชในราชการมาตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๖
พุทธศักราช เป็นศักราชที่นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ในประเทศไทยก็มีการใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่นิยมใช้ในทางศาสนาเท่านั้น แต่เมื่อมีการประกาศใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้แล้ว พ.ศ.ของไทยที่ใช้ในลาวและเขมรด้วย ก็ไม่ตรงกับ พ.ศ.ในแบบของลังกาที่นิยมใช้ในอินเดียและพม่า คือพุทธศักราชแบบไทย ลาว เขมร เริ่มนับพุทธศักราชในวันที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมาครบ ๑ ปี เป็น พ.ศ. ๑ แต่แบบลังกา อินเดีย พม่า นับตั้งแต่พระพุทธเจ้านิพพานเป็นพุทธศักราช ๑ จึงเร็วกว่าไทย ๑ ปี อย่างในปีนี้ของเราเป็น พ.ศ.๒๕๖๔ แต่ของลังกา อินเดีย พม่า เป็น พ.ศ.๒๕๖๕ แล้ว

การเริ่มนับศักราช จะเริ่มนับจากจุดใดจุดหนึ่งที่เห็นว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญ อย่าง คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับในปีที่พระเยซูประสูติ ส่วนฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เริ่มนับในปีที่นบีมุฮัมมัด ศาสดาของศาสนาอิสลาม เริ่มอพยพชาวมุสลิมออกจากนครเมกกะใน พ.ศ.๑๑๖๕ ไปตั้งฐานใหม่ที่เมืองเมดินะห์ ซึ่งเป็นการอพยพครั้งสำคัญของศาสนาอิสลาม

ปัจจุบัน มีประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ใช้พุทธศักราชในราชการ โดยเปลี่ยนพุทธศักราชในวันแรกของเดือนมกราคม

ศรีลังกา ใช้คริสตศักราชเป็นปีราชการ และใช้พุทธศักราชในทางพุทธศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันวิสาขบูชา

เมียนม่า ใช้จุลศักราชเป็นปีราชกาล และใช้พุทธศักราชในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันวิสาขบูชาเช่นกัน

กัมพูชา ใช้คริสตศักราชเป็นปีราชการ และใช้พุทธศักราชในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันสงกรานต์
ส่วนลาว ใช้คริสตศักราชเป็นปีราชการ และพุทธศักราชในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันสงกรานต์
แต่อย่าลืมว่า ถ้าไปเจอคนลังกา อินเดีย หรือพม่า เขาบอกว่าเกิดใน พ.ศ.เดียวกับเรา ไม่ใช่เขาอายุเท่าเรานะ แต่แก่กว่าเรา ๑ ปี

กำลังโหลดความคิดเห็น