เทคโนโลยีด้านการศึกษามี อะไร บาง

เทคโนโลยีการเรียนการสอน

เทคโนโลยีด้านการศึกษามี อะไร บาง
เทคโนโลยีการเรียนการสอน  ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทาง ICT  กับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า Digital Divide ในขณะเดียวกันประเทศทั่วโลกต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge Based Society) จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างสังคมที่สมบูรณ์ด้วยความรู้กับสังคมที่ด้อยความรู้ ที่เรียกว่า Knowledge Divide  ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา เราเร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน แต่การให้ความสนใจกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนก็อาจหลงทางได้ ถ้าผู้บริหารสถานศึกษายึดถือการมีเทคโนโลยีเป็นจุดหมายปลายทางของการศึกษา แทนที่จะยึดถือผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นจุดหมาย ปรากฎการณ์ของการหลงทางจะพบเห็นในการประชาสัมพันธ์ถึงความพร้อมทางระบบคอมพิวเตอร์ การมีเครือข่ายโยงเข้า Internet สะดวก ผู้เรียนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี และมีโอกาสใช้ได้เต็มที่ แต่ในบางสถานศึกษาผู้เรียนอาจใช้เทคโนโลยีไม่คุ้มค่า ขาดเป้าหมายในการเรียนรู้สาระสำคัญตามหลักสูตรวิชาต่าง ๆ  และขาดโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการทางปัญญาอย่างแท้จริง

    เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยาหมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)

       เทคโนโลยีจะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 3 ลักษณะ คือ

  1. การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology) ได้แก่เรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น
  2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) ได้แก่การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะ บางประการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น
  3. การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่การเรียนรู้ด้วยระบบการสื่อสาร 2 ทาง กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง เป็นต้น

แนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ 

  1. การใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญา ระบบคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดในกระบวนการทางปัญญา โดยครูอาจจัดข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ในวิชาที่สอน ให้ผู้เรียนฝึกรับรู้ แสวงหาข้อมูล นำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นความคิดรวบยอดและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแสดงแผนผังความคิดรวบยอด (Concept Map) โยงเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ ซึ่งผู้สอนสามารถจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนฝึกการนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ จนสรุปเป็นองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล บันทึกสะสมไว้เป็นคลังความรู้ของผู้เรียนต่อไป
  2. การใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา   การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำโครงงานแสวงหาความรู้ตามหลักสูตรเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ลักษณะนี้จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นเรื่อง ตามมาด้วยการวางแผนกำหนดข้อมูลหรือสาระที่ต้องการ ผู้สอนอาจจัดบัญชีแสดงแหล่งข้อมูล ทั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์และจาก Electronic Sources เช่น ชื่อของ Web ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นคำตอบ สร้างเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วย และครูช่วยกำกับผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการ

การจัดปัจจัยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้

       ปัจจัยพื้นฐานคือการสร้างความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีสมรรถนะและจำนวนเพียงต่อการใช้งานของผู้เรียน รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีได้ตลอดเวลาจะเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ สิ่งที่ควรเป็นปัจจัยเพิ่มเติมคือ

  1. ครูสร้างโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ การที่ครูออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้กระบวนการแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากการสังเกตในสถานการณ์จริง การทดลอง การค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์และจากสื่อ Electronic
  2. ครูและผู้เรียนจัดทำระบบแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้   ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลสารสนเทศ (Information Sources) เป็นตัวเสริมที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มคุณค่าของระบบเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ครูและผู้เรียนควรช่วยกันแสวงหาแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีเนื้อหาสาระตรงกับหลักสูตรหรือสนองความสนใจของผู้เรียน
  3. สถานศึกษาจัดศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของครูและผู้เรียน เรียกว่าห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) หรือ E – Library จะมีคุณประโยชน์ในการมีแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าในวิทยาการสาขาต่าง ๆ
  4. การบริการของกรมหรือหน่วยงานกลางทางเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้  กรมต้นสังกัดหรือหน่วยงานกลางด้านเทคโนโลยีควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษาด้วยการบริการด้านข้อมูลสารสนเทศ

รูปแบบการใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการแข่งขันการพัฒนาทางด้านซอฟต์แวร์ ในปัจจุบัน ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการศึกษากันมาก การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction) มีบทบาทและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีรูปแบบการใช้ ICT ดังนี้

  1. จัดการเรียนรู้ “ตลอดเวลา” (Anytime) เวลาใดก็สามารถเรียนรู้ได้ ระยะแรกเริ่มให้นักเรียนสามารถใช้ Computer สืบค้นหาความรู้จากห้องสมุด ซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการระบบ Internet
  2. เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ “ทุกหนแห่ง” (Anywhere) นักเรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันจากสื่อต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ โทรทัศน์ CAI และอื่นๆ
  3. การให้ทุกคน (Anyone) ได้เรียนรู้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพของตน ตั้งแต่ระดับอนุบาลเป็นต้นไป

การใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้

การเรียนรู้ในปัจจุบันแตกต่างจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหมายความว่า ผู้เรียนมีโอกาส มีอิสระในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ สร้างทักษะด้วยตนเอง ครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็น ผู้ให้คำแนะนำ นอกจากนี้ทั้งครูและศิษย์สามารถเรียนรู้ไปพร้อมกันได้ การจัดการเรียนที่โรงเรียนดำเนินการได้ในขณะนี้

  1. การสอนโดยใช้สื่อ CAI ช่วยสอนให้เกิดการเรียนรู้ตามความสนใจ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม หรือ สปช. วิชาภาษาอังกฤษ
  2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักสืบค้นวิทยาการใหม่ ๆ จากอินเทอร์เน็ต จาก E-book จาก E-Library
  3. ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนและการค้นคว้าหาความรู้ โดยกำหนดให้ผู้เรียนได้เล่นเกมการศึกษา (Education Games ) ที่ผ่านการวิเคราะห์ของครูผู้รับผิดชอบว่าไม่เป็นพิษภัยต่อผู้เล่น และเป็นการสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่ดีให้กับเด็ก
  4. ใช้แผนการสอนแบบ ICT บูรณาการเรียนรู้ในสาระวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และ คอมพิวเตอร์
  5. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนรู้
  6. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดระบบและเผยแพร่ความรู้
  7. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน และภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น
  8. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน

หลักการ แนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนด้วย  ICT  และโปรแกรมปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

หลักการสอนด้วย  ICT  และโปรแกรมปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

เลือกใช้โปรแกรม  (Soft ware) ที่เหมาะสมกับวิชา

ออกแบบการสอน  (Instructional Design) โดยใช้โปรแกรมทั้งหมด หรือบางส่วน  เพื่อมุ่งสู่ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหรือวัตถุประสงค์ตามแผนการสอนผสมผสานโปรแกรมกับหลักการ แนวคิดทฤษฏีการสอนโดยทั่วไปที่จะช่วยให้การเรียนการสอนมีชีวิตชีวา (Active Learning)  ทั้งในและนอกห้องเรียน ก่อให้เกิดการเรียนรู้เร็ว รู้จริง รู้แจ้ง เชื่อมโยงกับความรู้เดิม และนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่

การใช้ ICT  และโปรแกรมปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในกลุ่มสาระ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ มีโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน(โรงเรียนในฝัน) ดังนี้ Sketchpad  Graphic Calculator   Visual lab   ProDesktop Photo Shop      Namo  Dreamweaver  Swish  GSP Crocodile   Java Applete   Flash   Tell Me More

การเตรียมห้องเรียน อุปกรณ์การสอน ดังนี้ 

ห้อง Lab มีผู้รับผิดชอบอำนวยความสะดวกให้กับครูผู้สอนดูแลอุปกรณ์การสอนให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้ได้ตลอดเวลา

ก่อนทำการสอน ครูผู้สอนเตรียมเนื้อหา และเตรียมนำเสนอร่วมกับครูผู้รับผิดชอบห้อง Labทดลองใช้ดูว่าอุปกรณ์ต่างๆ ใช้การได้หรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเสียเวลาในการสอน

หลังการสอน เก็บเนื้อหาสาระที่สอนไว้ในคอมพิวเตอร์และเก็บไว้กับตัวครูผู้สอน  ในกรณีมีผลงานนักเรียนเกิดขึ้น ให้บรรจุลงในโฟลเดอร์ของรายบุคคล และกลุ่มที่จัดเตรียมไว้ทั้งนี้เพื่อไว้ใช้ในครั้งต่อไป หรือใช้เพื่อการอื่นได้สะดวก

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 

– ให้ดูซีดี

– ให้สืบค้นข้อมูลจาก internet ที่โรงเรียนช่วงพักกลางวันหรือ ที่บ้าน (สำหรับนักเรียนที่มีความพร้อม) สำหรับนักเรียนที่มีคอมพิวเตอร์ที่บ้าน  มอบโปรแกรมให้ไปทำที่บ้าน และนำผลงานมาเสนอ  มอบชิ้นงาน /โครงงานให้ทำ แล้วให้นำเสนอโดย Sketchpad ให้ฝึกทักษะจาก online Soft ware  เช่น  GPS, Google Earth และ   Soft ware ในคอมพิวเตอร์

– จัดกิจกรรมพี่สอนน้อง  เพื่อนสอนเพื่อน  เกี่ยวกับโปรแกรม

– จัดชุมนุม เช่น  ชุมนุม GPS4.06

– ครูนำเสนอสื่อ  ICT  เพื่อสร้างความเข้าใจในเนื้อหา

– ให้นักเรียนนำเสนอด้วย  Power Point

– ทำการบ้านในเว็ปไซต์  

– ส่งงานทางผ่าน  e – mail

– ส่งงานลงใน โฟลเดอร์เฉพาะบุคคล ลงในคอมพิวเตอร์ของครู

การตรวจงานนักเรียน 

–  ตรวจในเครื่องคอมพิวเตอร์ของครูที่กำหนดให้นักเรียนส่ง

– ตรวจจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นักเรียนใช้งาน

– ตรวจจากชิ้นงานที่ พิมพ์ส่งครู

การทดสอบนักเรียน 

– ทดสอบ online

– ทดสอบโดยโปรแกรมที่ใช้

ความสำเร็จในการใช้ ICT ในการเรียนรู้

  1. ผู้เรียน : จะต้องมีทักษะพื้นฐานในการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้
  2. หลักสูตร : จะต้องมีการสอดแทรก ICT เข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนและส่งเสริมให้เกิดการคิด วิเคราะห์ และการสร้างองค์ความรู้
  3. ผู้สอน/ผู้บริหาร : จะต้องมีทักษะพื้นฐาน และสามารถนำ ICT ไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการ สอน
  4. เทคโนโลยี : เลือกใช้เทคโนโลยีได้สอดคล้อง และเหมาะสมกับผู้เรียน

ดังนั้น การจะพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจำเป็นที่จะต้องมีการส่งเสริม พัฒนาโครงสร้าง ICT ให้ครอบคลุมทั่วทุกภาค ทั้งเขตเมือง และชนบท รวมทั้งการส่งเสริมการใช้ ICT ของประชากร ทั้งในการดำรงชีวิต และในการทำงาน ซึ่งจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องศึกษา และหาวิธีการที่จะกระตุ้นเพื่อให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการใช้ ICT

ข้อดีของ ICT

  1. เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล
  2. ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
  3. ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
  4. ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี

ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ

ข้อเสียของ ICT

  1. ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
  2. ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
  3. ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน
  4. ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้

ที่มา : https://docs.google.com/document/เทคโนโลยีการเรียนการสอน

https://sites.google.com/site/technologyofdevelopment/profile

เทคโนโลยีในด้านการศึกษามีอะไรบ้าง

5 เทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาการศึกษา ... .
1. การเรียนรู้แบบไฮบริด (Hybrid Learning) ... .
2. เทคโนโลยีจากเกม (Gamification) ... .
3. การเรียนรู้แบบไมโคร (Microlearning) ... .
4. เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) ... .
5. การเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิทัล (Digital Storytelling).

เทคโนโลยีการศึกษามีความสําคัญอย่างไร

1เทคโนโลยีการศึกษาทาให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้นทาให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทาให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น 2 เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถ ของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาคืออะไร

มีแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แห่งให้ความหมายของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (Technology in Education) ในหมายความว่า การนำเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มาใช้กับงานด้านการศึกษา โดยประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการศึกษา เช่น การจัดการเรียนการสอน เพื่อให้การศึกษาการสอนการเรียนมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอาจเรียกได้อีก ...

เทคโนโลยีการศึกษาช่วยในเรื่องใด

เทคโนโลยีการศึกษาที่น่าจับตามอง (และมีอยู่ทั่วไป) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการพัฒนาการศึกษา ซึ่งผู้คนสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้ ที่ตอบโจทย์และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ โดยเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถนำไปต่อยอดทางด้านการเรียนรู้ได้อีกมากหมายในอนาคต คือ การเรียนรู้แบบไฮบริด (Hybrid Learning)